มะขาม
มะขาม
ชื่ออื่นๆ : หมากแดง ตะลูบ ขาม มะขามกระดาน บอดแล ส่ามอเกล มะขามไทย ม่อง โคล้ง ฮำเปียล
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ : Tamarind
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือกมีกระเล็กๆสีดำ ใบประกอบเล็ก แตกกิ่งก้านสาขามาก เนื้อแข็งเหนียวมาก ดอกเล็กๆ สีขาวเหลืองคล้ายนกกระยาง ออกเป็นช่อ ฝักกลม แบนเล็กน้อย ยางปลายมีหนามเล็กๆ หนึ่งอัน เปลือกสีน้ำตาล เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาลดำ ปลูกเป็นอาหาร ขายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ใบอ่อนดอกมีรสเปรี้ยว ใส่ให้อาหารรสเปรี้ยว ต้มยำ ต้มโคล้ง ฝักอ่อนรสเปรี้ยวใช้ปรุงอาหาร น้ำพริกมะขาม ฝักแก่รสเปรี้ยว ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แกงส้ม แกงคั่ว ทางยา ใบแก่ ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ เนื้อในผลแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ ลดอาการกระหายน้ำ เมล็ดแก่ เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก
การขยายพันธุ์ : ตอนกิ่ง และเมล็ด ทาบกิ่ง ติดตา ต่อกิ่ง
การปลูกและการดูแล : การปลูก เตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง-ยาวและลึกด้านละ 60 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าดินรองก้นหลุม รดน้ำให้ชุ่มมะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น การดูแล เมื่อเริมปลูกควรเอาใจใส่ดายหญ้ารอบต้นและรดน้ำทุกวัน ถ้าปลูกในดินที่เป็นทรายในฤดูแล้งควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโตนานกว่าต้นจะแข็งแรง นอกจากนี้ควรฉีกยาป้องกันราแป้ง และแมลงพวกหนอนเจาะผัก ควรเจาะเมล็ดในระยะที่ยังเป็นดอกอยู่
สรรพคุณ
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นเนื้อไม้ที่เหนียวทน
ใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดคัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบ ใช้รับประทานเป็นอาหารได้
ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้
เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝัก นำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูกเป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำหรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณ รับประทานเป็นยาขับเลือดลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน หรือฝี
เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกะเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กะเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี
รกมะขาม แก้ท้องเสีย
แก่น กล่อมเสมหะและโลหิต
Category: พืชผัก, พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร บ-ม, เครื่องดื่ม