banner ad

กล้วยหอม

| November 13, 2015

กล้วยหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA Group) “Kluai hom”
วงศ์  : Musaceae
กลุ่มย่อย : Gross Micheal
ชื่อท้องถิ่น : กล้วยหอม กล้วยหอมทอง

แหล่งที่ปลูก ได้แก่

ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่

ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี นนทบุรี จันทบุรี

ภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์

ภาคอีสาน ได้แก่ หนองคาย สกลนคร

พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก คือ พันธุ์หอมทอง และพันธุ์หอมเขียว

การผลิตปี 2558

1. เนื้อที่ให้ผลผลิต 34,018 ไร่ ผลผลิต 113,936 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 3,349 กิโลกรัม ต้นทุนการผลิต 4.99 บาทต่อกิโลกรัม

2. ราคาเฉลี่ย 9.92 บาทต่อกิโลกรัม? ผลตอบแทนสุทธิ 4.93 บาทต่อกิโลกรัม

3. พื้นที่เพาะปลูก ปทุมธานี เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี เครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 7 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ กำลังขยายการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังจีน และเกาหลีใต้

การค้า-การส่งออกปี 2558

1. ใช้ในประเทศ 111,185 ตัน

2. ส่งออกกล้วยหอมสด 2,741 ตัน มูลค่า 82.17 ล้านบาท

3. ราคาส่งออก 29.98 บาทต่อกิโลกรัม

5.ประเทศที่ส่งออก ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมัน จีน เกาหลีใต้

6.คู่แข่งที่สำคัญ ฟิลิปปินส์ เอกวาดอร์

มาตรฐานการส่งออก : ความแก่ 70% เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร น้ำหนัก 110 กรัม ความยาวผล 15 เซนติเมตร รอยตำหนิไม่เกิน 2 เซนติเมตร

สหกรณ์ท่ายาง รายงานว่า กล้วยหอมทอง ส่งออกญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง และตลาดภายในประเทศ เช่น 7-11 โลตัส Big C Top กำลังการผลิต 1,200-1800 ตัน มีสมาชิก 2,500 ราย และส่งให้สหกรณ์ 400 ราย ผลิตได้เดือนละ 30 ตัน ปัจจุบันเดือนละ 15 ตัน ขายที่ราคา 18-20 บาทต่อกิโลกรัม สหกรณ์รับซื้อ 15-17 บาทต่อกิโลกรัม การปลูกใช้เวลา 9 เดือนจึงเริ่มผลิตลูก 1 ไร่ใช้ 400 ต้น ใน 1 เครือ 120-140 ลูก รายได้ 50,000 บาท ต้นทุน 20,000 บาท ฤดูปลูกหน้าฝน ปลูกฤดูหนาวไม่ดีได้ลูกเล็ก สุกง่าย ปล่อยหน่อไว้ขยาย 5-6 หน่อ ออกผลผลิตได้ดีช่วง กพ.-เมย. ให้น้ำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น :ลำต้นแท้เป็นหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง> 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา กาบด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู ใบเดี่ยว เป็นแบบขนาน ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว ใบอาจยาวได้ถึง 3 เมตร ดอกรวม เรียก “ปลี”  มีขนอ่อนปกคลุมที่ก้านช่อดอก (ก้านเครือ) ใบประดับรูปไข่ บนใบสีแดงอมม่วงมีไข ใต้ใบมีสีแดงซีด ผลเรียก “เครือ” มี 4 – 6 หวีต่อเครือ 12 – 16 ผลต่อหวี ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียวเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีขาวขุ่น  รสหวาน

สายพันธุ์ กล้วยหอมแบ่งเป็น 3 กลุ่มเล็ก คือ

1. กรอสมิเชล : หอมทอง ต้นไม่สูงมากเหมือนกล้วยหอมอื่นๆ ผลผลิต 4 – 6 หวีต่อเครือ เมื่อสุกผิวผลเป็นสีเหลืองทองปลายผลจุกเปลี่ยนทีหลังเนื้อสีส้มอ่อนๆ กลิ่นหอม รสหวาน กล้วยหอมทองไต้หวัน นำเข้าจากไต้หวัน เมื่อสุกผิวผลเป็นสีเหลืองส้ม เปลือกหนา เนื้อสีครีม-ส้มอ่อนๆ รสหวานน้อยกว่าหอมทอง

2. คาเวนดิช : หอมเขียวค่อม ไจแอ้นคาเวนดิช แกรนดเนน หอมเขียว จำนวนหวีต่อเครือ ผลต่อหวี มากกว่าหอมทอง ปลายผลทู่ไม่มีจุก เมื่อสุกผิวเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีขาว รสหวาน แต่เละเร็ว กลิ่นฉุน

3. กล้วยครั่ง : กล้วยนาก กล้วยกุ้ง

การขยายพันธุ์ : 1)หน่อใบแคบ สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25 – 35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ 2)ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือการผ่าหน่อ

การปลูก นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน ระยะปลูก: 2-2.5×2.5-3 เมตร 250-300 ต้นต่อไร่ เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม+ปุ๋ยร็อคฟอสเฟส 50 กิโลกรัม ผสมกับหน้าดินใส่ลงในหลุมให้สูง 2/3 หลุม วางหน่อ หรือต้นกล้วย ในหลุม ใช้มีดคมกรีดจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้งซ้ายและขวา ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 4 ครั้งๆ ละ 250 กรัม ดังนี้

ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 2-3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21

การตัดแต่งหน่อ:  หลังปลูก 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นรอบๆ โคน ตัดไปเรื่อย หลังปลูก 6 เดือน เลือกไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ ให้หน่อที่ 1 และที่ 2 มีอายุห่างกัน 4 เดือน เพื่อให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่อง

การตัดแต่งใบ: เลือกตัดใบแก่ ใบที่เป็นโรคหรือถูกทำลายออก ไม่ควรตัดจนเหลือใบ≤7-12 ใบ เพราะใบใช้ปรุงอาหารเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย ใบน้อยส่งผลให้ก้านเครือ

การตัดปลี: ตัดปลีทิ้งเมื่อเห็นหวีสุดท้าย  หากทิ้งไว้นาน ทำให้ผลของหวีอื่น ๆ  มีขนาดเล็กแกรน

การห่อเครือ: ผลกล้วยมีสีสวยสม่ำเสมอ ไม่มีแผลที่เกิดจากแมลงและโรคทำลาย การเสียดสีจากภายนอก เมื่อกล้วยสุกผลมีสีสวยน่าบริโภคกว่ากล้วยที่ไม่คลุมถุง วัสดุที่ใช้ : ถุงพลาสติก/โพลีเอททิลีน กระดาษ ถุงปุ๋ย นิยมห่อเครือหลังตัดปลี

การค้ำเครือ: ป้องกันลำต้นหักล้ม เครือกล้วยไข่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก

การจัดการศัตรูพืช

1.โรคใบจุดเฟโอเซปทอเรีย เริ่มแรกพบจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลดํา ขยายเป็นแผลรูปยาวรี เมื่อความชื้นเหมาะสมแผลตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ขอบแผลเป็นแถบสีน้ำตาลเข้ม และรอบแผลเป็นสีเหลือง การป้องกันกำจัด: ตัดแต่งใบกล้วย เพื่อลดความชื้นในกอกล้วยที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดหรือสะสมโรค ตรวจแปลงสม่ำเสมอ พบอาการของโรค ให้รีบตัดใบที่เป็นโรคออกเผาทําลายนอกแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืช เช่น คาร์เบนดาซิม 50% SC อัตรา 30 มม./น้ำ 20 ลิตร โพรคลอราซ 50% WP อัตรา30ก/น้ำ 20 ลิตร  ทีบูโคนาโซล 43% SC  อัตรา 30 มม./น้ำ 20 ลิตร  ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 30 มม./น้ำ 20 ลิตร  แมนโคเซบ80% WP อัตรา 30ก/น้ำ 20ลิตร    พ่นให้ทั่วต้นที่เป็นโรค

2. โรคใบจุดซิกาโตกา เริ่มแรกพบจุดขนาดเล็กสีเหลือง ขยายใหญ่เป็นขีดสีเหลืองยาวขนานไปตามเส้นใบ ขยายใหญ่ขึ้น กลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาลปนเทา แผลคล้ายรูปตามีวงสีเหลืองล้อมรอบ เมื่ออาการรุนแรงใบเหลืองขอบใบแห้งและฉีกขาด ทําให้การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ออกดอกและผลไม่ปกติ ผลไม่สมบูรณ์ มีขนาดเล็ก แก่ก่อนกําหนด การป้องกันกำจัด ตัดแต่งใบกล้วย เพื่อลดความชื้นในกอกล้วยที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดหรือสะสมโรค ตรวจแปลงสม่ำเสมอ พบอาการของโรค ให้รีบตัดใบที่เป็นโรคออกเผาทําลายนอกแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืช เช่น -คาร์เบนดาซิม 50% SC อัตรา 30 มม./น้ำ 20 ลิตร โพรคลอราซ 50% WP อัตรา30ก/น้ำ 20 ลิตร  ทีบูโคนาโซล 43% SC  อัตรา 30 มม./น้ำ 20 ลิตร  ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 30 มม./น้ำ 20 ลิตร  แมนโคเซบ80% WP อัตรา 30ก/น้ำ 20ลิตร
3. หนอนม้วนใบกล้วย หนอนวัยแรกกัดกินอยู่ใต้ใบ เริ่มจากขอบใบและขยายเป็นแถบกว้างเพื่อใช้ม้วนห่อตัว เมื่อหนอนโตขึ้นการม้วนใบมีลักษณะเป็นหลอดยาวและใหญ่ขึ้นตามตัว ระยะตัวหนอน 23-25 วัน เข้าดักแด้ภายในหลอด 10 วัน แล้วกลายเป็นผีเสื้อ ใบที่ทำลายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ การป้องกันกำจัด เก็บทําลายตัวหนอนที่พบตามใบกล้วย นำไปทำลายนอกแปลงปลูก
4. ด้วงงวงเจาะเหง้ากล้วย ตัวหนอนเจาะไชชอนอยู่ในเหง้ากล้วย ใต้ระดับดินโคนต้น ส่งผลให้ระบบส่งน้ำอาหารเลี้ยงลําต้นขาดตอน/ชะงัก หนอนเพียง 5 ตัวในเหง้า ทำให้กล้วยตายได้ หากติดไปกับหน่อปลูกใหม่ ทําให้หน่อใหม่ตาย การป้องกันกำจัด ป้องกันการเข้าวางไข่ของตัวเต็มวัย และกําจัดหนอน ตัวเต็มวัยที่หลบซ่อนโคนต้นกล้วยโดยราดโคนต้นกล้วยสูงจากพื้นดิน 30 ซม.และรอบโคนต้นรัศมี 30 ซม. ด้วยสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10มม./ น้ำ 20 ลิตร
5. ด้วงงวงเจาะต้นกล้วย ตัวเต็มวัยวางไข่บริเวณกาบส่วนของลําต้นที่เหนือพื้นดินจนถึงประมาณกลางต้น ตัวหนอนเจาะกัดกินจนถึงไส้กลางของต้น ต้นเป็นรูพรุนทั่วไป ทําให้ต้นกล้วยตาย หากเข้าทําลายในระยะใกล้ออกปลีจนถึงตกเครือ กล้วยหักพับกลางต้น ต้นเหี่ยวเฉายืนต้นตาย การป้องกันกำจัด ป้องกันการเข้าวางไข่ของตัวเต็มวัย และกําจัดหนอน ตัวเต็มวัยที่หลบซ่อนโคนต้นกล้วยโดยราดโคนต้นกล้วยสูงจากพื้นดิน 30 ซม.และรอบโคนต้นรัศมี 30 ซม. ด้วยสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10มม./ น้ำ 20 ลิตร
การเก็บเกี่ยว : ความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ขนาดผล เหลี่ยมกล้วย หรือนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลี ระยะเก็บเกี่ยวกล้วยขึ้นกับระยะเวลาในการขนส่ง กล้วยหอมเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90 วันหลังการตัดปลี นานกว่านี้  ผลกล้วยอาจแตก สุกคาต้น (กล้วยสุกลม) รสชาติไม่อร่อย สีของผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม หากขนส่งไปขายไกลๆ สามารถตัดกล้วยที่ความแก่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์
การคัดแยกผลผลิต ดูลักษณะ ขนาดผล การเรียงตัวของหวี และการเกิดโรค/แมลง การชำแหละหวีและเช็คสีเนื้อ ตัดหวีออกจากก้านเครือกล้วย  ใช้มีดปาดผลของกล้วยลูกใดลูกหนึ่งเพื่อดูสีเนื้อ เนื้อกล้วยที่สุกได้ประมาณ 75% จึงจะสามารถส่งออกได้ เนื้อกล้วยที่มีสีขาว หรือเหลืองเกินไปทำการคัดออก การตัดแต่งหวีกล้วย: สะดวกในการทำความสะอาด และสวยงาม การทำความสะอาด: ขจัดสิ่งสกปรกที่ติดมากับกล้วย

การวิเคราะห์ SWOT

1.จุดแข็ง (Strengths)

- รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

- สภาพภูมิประเทศเหมาะสมและสามารถขยายพื้นที่ปลูกได้เพิ่มขึ้น

2.จุดอ่อน (Weaknesses)

- ขั้วหลุดง่าย(กล้วยหอมทอง) เปลือกบาง อายุการเก็บรักษาสั้นไม่ทนทานการขนส่ง โดยเฉพาะตลาดไกลที่ใช้ระยะเวลาการขนส่งนานมีผลต่อคุณภาพ

- ผลผลิตต่ำเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตกล้วยส่งออกหลักอย่างฟิลิปปินส์

การผลิตส่วนใหญ่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย? มีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ดีพอและไม่เป็นระบบเหมือนประเทศผู้ผลิตหลัก

3.โอกาส (Opportunities)

- กล้วยไทยมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ตลาดมีความต้องการจึงควรมีการส่งเสริมการบริโภคและสร้าง band ของกล้วยไทย

4.อุปสรรค (Threats)

- ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรบางอย่างต้องนำเข้าไม่สามารถควบคุมราคาได้

ต้นทุนในการขนส่งสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตหลัก

กล้วยหอมคาเวนดิช TC7 กล้วยหอมวิลเลี่ยม 17-20 กิโลกรัม ผลผลิตมากกว่า 2-3 เท่า กล้วยหอมทอง กล้วยหอมไต้หวัน 10-15 กิโลกรัม

ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำกลัวยหอมทอง รุ่นแม่ Kc =1 รุ่นหน่อ Kc = 0.5

 

 

โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute

Tags: ,

Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news