สมอพิเภก
สมอพิเภก (Samo phipek)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan
ชื่ออื่น : สมอแหน (ภาคกลาง) แหน แหนต้น แหนขาว (ภาคเหนือ) ลัน (เชียงราย) ชิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สมอพิเภกเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 50 ม. เปลือกต้นสีเทาดำ ขรุขระ แตกเป็นร่องตามยาว มีพูพอนแคบๆ ที่โคนต้น
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบมน แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีขนอ่อน ก้านใบยาว 3-9 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเล็กสีนวล เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ข้างในมีขนนุ่มหนาแน่น มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ
ผล รูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ผิวมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม สีน้ำตาลอ่อน มีน้ำหนักผล 15 กรัม ความกว้างผล 3 เซนติเมตร ความยาวผล 3.30 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด ปักชำ การตอนกิ่ง
การออกดอก : ระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม การติดผลระหว่างเดือน กันยายน – พฤศจิกายน
นำมาเมล็ดมาเพาะในถุงเพาะชำ ย้ายกล้าเมื่ออายุ 6-7 เดือน ความสูงประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่ออายุ 14 เดือน ความสูงต้น 70 เซนติเมตร การแตกกิ่งที่ยอด 1-3 กิ่งต่อต้น อายุ 18 เดือน สูง 115 เซนติเมตร มีกิ่ง 8 กิ่งต่อต้น ออกดอก ติดผลเมื่ออายุ 2-3 ปี
สรรพคุณ
ใบ เป็นยาแก้บาดแผล
ดอก เป็นยาแก้โรคตา
เมล็ด เป็นยาแก้บิด
เปลือกต้น เป็นยาขับปัสสาวะ
แก่น ใช้แก้ริดสีดวงพลวก
ราก ใช้แก้โลหิตร้อน
ลูกอ่อน เป็นยาแก้ไข้เพื่อเสมหะ ไข้เจือลม ลมและเสมหะ
ลูกแก่ ใช้แก้เสมหะจุกคอ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา แก้ธาตุกำเริบ บำรุงธาตุ และแก้ไข้
Category: พืชสมุนไพร ย-ฮ