banner ad

ถั่วฝักยาว

| October 14, 2014

ถั่วฝักยาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna sinensis

ชื่ออื่นๆ -

ชื่อสามัญ Yard long beanชื่อวงศ์ Leguminosae-Papilionoidae

 

1.พันธุ์ :ถั่วฝักยาวที่นิยมปลูกแบ่งพันธุ์ได้ 2 ชนิด
1.1 ถั่วเนื้อ ลักษณะฝักจะใหญ่ อ้วน และสั้นกว่าถั่วกระดูก (ถั่วเม็ด,ถั่วสั้น) พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ ศรแดง (ลำน้ำชี, ลำน้ำโขง) ตราเครื่องบิน

1.2 ถั่วกระดูก ลักษณะฝักจะยาวมาก ประมาณ 70-100 เซนติเมตร ลักษณะจะฝักเล็ก ยาว มองเห็นข้อที่มีเม็ดได้ เช่นพันธุ์ ศรแดง (เบอร์ 4,5) ตราเครื่องบิน และลูกผสมของบริษัทอื่นๆ

2. การเตรียมดินลักษณะปลูกถั่วฝักยาวทั่วไปจะปลูกแบบร่องสวน แบบร่องผัก หรือแบบชักร่อง จะเริ่มด้วยการไถ และตากดินประมาณ 7-10 วัน ตีดิน (พรวนดิน) ชักร่อง ด้วยรถแทรคเตอร์ วัดระยะปลูก และตีหลุม โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก

3. วิธีการปลูกระยะปลูกประมาณ 75 x120-150 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการเก็บและการพ่นสารเคมี โดยหยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด เมื่อขึ้นมามีใบจริงแล้วถอนแยกเหลือหลุมละ 2 ต้น โดยก่อนหยอดเมล็ดคลุกด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันมด และแมลงในดิน

3.1 การปักค้าง ถั่วฝักยาวก็ปฏิบัติเหมือนค้างบวบ และหมั่นคอยจับยอดให้เลื้อยบนค้าง

4. การให้น้ำระยะก่อนงอกต้องให้น้ำอย่าได้ขาด และไม่แฉะหรือมีน้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้เมล็ดเน่า เมื่อขึ้นมาแล้วก็ให้น้ำอยู่เสมอ

5. การเก็บเกี่ยวถั่วพันธุ์หนักจะเริ่มเก็นฝักได้ เมื่อายุประมาณ 50-60 วัน และถ้าเป็นถั่วพันธุ์เบาจะเก็บได้เมื่ออายุ 50-55 วัน โดยเลือกเก็บเฉพาะระยะส่งตลาด คัดฝักสั้น ยา มัดด้วยยาง ชั่งกิโลใส่ถุง หรือมัดเป็นมัดๆ ละ 5 กก.

6. โรคถั่วฝักยาว จะพบโรคระบาดคือ โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง และโรคราสนิม ควรพ่นด้วย แมนโดเซป ไดเมทโทม็อบ หรือ โปรคลอราช

7. แมลงที่พบมากคือ เพลี้ยจั๊กจั่น หนอนกระทู้ฝัก หนอนเจาะฝัก ไรแดง ป้องกันด้วย อิมิดาโดลพริด เบต้าไซฟลูทริน และโอไมท์

 

By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Category: พืชผัก, พืชผัก ด-น

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news