banner ad

โรคใบหงิกเหลือง

| October 7, 2014

โรคใบหงิกเหลือง Yellow Leaf curl disease

เชื้อสาเหตุ ไวรัสใบหงิกเหลืองพริก (Papper yellow leaf curlo virus, PeYLCV) บางไอโซเลทเกิดจากไวรัสใบหงิกเหลืองมะเขือเทศ (Tomato yellow leaf curl virus, TYLCV)

ชีววิทยาของเชื้อ อนุภาคเป็นรูปทรงกลมหลายเหลี่ยม อยู่ติดกันเป็นคู่ ขนาดประมาณ 18*30 นาโนเมตร จัดอยู่ในสกุลบีโกโมไวรัส (ฺBegomovirus)

ลักษณะอาการ ใบพริกแสดงอาการด่างเหลือง เป็นขีดหรือหย่อมโปร่งแสงระหว่างเส้นใบ บางครั้งเส้นใบย่อยมีสีเหลืองและสานเป็นร่างแหบริเวณโคนใบ ใบโค้งงอ หงิกย่น บิดเบี้ยว ยอดเป็นกระจุก ต้นแคระแกร็น ผลด่างบิดเบี้ยวและมีขนาดเล็กผิดปกติ ถ้าเป็นพริกขาวแสดงอาการด่างเป็นสีขาวซีด

การแพร่ระบาด พบระบาดรุนแรงในฤดูแล้ง โดยมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci) เป็นพาหนะนำโรค พืชอาศัยที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ มะเขือเทศ กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบเขียว และวัชพืชหลายชนิด เช่น ไม้กวาด กะเม็ง ครอบจักรวาล หญ้ายาง กระทกรก ผักแครด พันงูเขียว มะเขือยักษ์ และสาบแร้งสาบกา โรคนี้ไม่ถ่ายทอดโดยวิธีกลและผ่านทางเมล็ด

การป้องกันกำจัด

1. พ่นสารกำจัดแมลงใต้ใบเมื่อพบแมลงหวี่ขาวระบาดมาก เช่น อิมิดาโคลพริด โดยพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

2. ขุดต้นพริกเป็นโรคและนำมาเผาทำลาย

3. กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย และเป็นแหล่งสะสมของไวรัส

4. ไม่ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อ

 

By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Category: ศัตรูพืช, โรคพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news