banner ad

โรคใบด่าง

| September 24, 2014

โรคใบด่าง mosaic disease

เชื้อสาเหตุ ไวรัสใบด่างแตง (Cucumber mosaic virus, CMV)

ชีววิทยาของเชื้อ อนุภาคทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นาโนเมตร จัดอยู่ในสกุลคิวคูโมไวรัส (Cucumovirus)

ลักษณะอาการ เริ่มแสดงอาการด่างแบบเขียวอ่อนสลับเขียวเข้มบนใบยอด ต่อมาใบบิดเบี้ยวและเรียวเล็กเป็นเส้นคล้ายเชือกผูกรองเท้า(shoe-string) เนื่องจากเนื้อใบไม่เจริญเติบโตขณะที่เส้นใบเจริญเป็นปกติ บางครั้งอาจเกิดจุดแผลตายเฉพาะแห่งสีน้ำตาลบนใบ ดอกร่วงได้ง่าย ผลมีขนาดเล็กลง อาจมีอาการด่างและผิวขรุขระ บิดเบี้ยว ถ้าเป็นโรครุนแรง ต้นเตี้ยแคระแกร็น

การแพร่ระบาด ไวรัสใบด่างแตงสามารถถ่ายทอดได้โดยวิธีกล มีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะนำโรค เช่น เพลี้ยอ่อนยาสูบ (Myzus persicae) เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii) มีพืชอาศัยกว้างมาก เช่น หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา ฟักทอง บวบหอม ฟักเขียว แตงโม แตงไทย และน้ำเต้า พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วพุ่ม และถั่วหรั่ง รวมทั้งพบในพริก ยาสูบ และมะเขือเทศ นอกจากนี้ยังถ่ายทอดผ่านทางเมล็ดได้ ทำให้โรคแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด

1. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก

2. อุปกรณ์การเกษตร เมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรค ควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่

3. กำจัดวัชพืชในแปลง และรอบแปลงปลูกสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัส และแมลงพาหะ

4. ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดเชื้อไวรัสโดยตรง

การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโดยกำจัดเพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว ซึ่งเป็นแมลงพาหะนำโรค ดังนี้

4.1 คลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้าด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 25% เอสที อัตรา 40 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม

4.2 พ่นสาร อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5%? เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

5. ไม่ปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อ ได้แก่ พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มะเขือยาว ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน ลำโพง และขี้กาขาว เป็นต้น ใกล้แปลงปลูกที่เป็นโรค

6. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ฤดูปลูกถัดไป

 

By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Category: ศัตรูพืช, โรคพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news