หนอนเจาะผลมะเขือ
หนอนเจาะผลมะเขือ ( egg-plant fruitborer)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucindes orbonalis Guenee
วงศ์ Pyralidae
อันดับ Lepidoptera
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
หนอนเจาะชนิดนี้ทำความเสียหายให้แกยอดมะเขือเป็นประจำในบริเวณพื้นที่ปลูกมะเขือทั่วๆไปในระยะต้นมะเขือกำลังเจริญเติบโต จะพบว่ายอดเหี่ยวเห็นชัดเวลาแดดจัด เพราะท่อน้ำท่ออาหารของพืชถูกทำลาย และเมื่อตรวจดูจะพบรูเจาะประมาณไม่เกิน 10 ซม. จากปลายยอด หนอนจะกัดกินภายใน การทำลายต่อยอดบางครั้งสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ผลเสียคือ ทำให้ยอดที่แข็งแรงถูกทำลาย ยอดใหม่ที่แตกมามีขนาดเล็กกว่า และผลระบาดรุนแรงอาจถูกทำลายถึง 50 เปอร์เซ็นต์
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
ผีเสื้อหนอนเจาะผลมะเขือขณะกางปีกกว้าง 1.5 -2 ซม. สีขาวมีแต้มสีน้ำตาลปนเทาที่ปีกคู่หน้าข้างละสองแห่ง ผีเสื้อหนอนเจาะยอดมักมีขนาดเล็กกว่าหนอนเจาะผล หนอนขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. หัวสีน้ำตาล ลำตัวใสสีเนื้อ
พืชอาหาร
พบในมะเขือชนิดต่างๆ ยกเว้น มะเขือเทศ และชอบทำลายมะเขือเปราะมากกว่ามะเขือยาว
ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติได้สำรวจพบแตนเบียนหนอนเจาะผลมะเขือเมื่อปี พ.ศ. 2537 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีแตนเบียน 2 ชนิด คือ Thratata sp. และ Eriborus sp.
การป้องกันกำจัด
- วิธีกล ก่อนปลูกพืชประมาณ 2 สัปดาห์ ควรทำการไถพรวน และตากดินเพื่อกำจัดดักแด้ของแมลงศัตรูที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก
- การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่นซีต้าไซเพอร์เมทริน (พิวเรีย 18 % อีซี) หรือคาร์โบซัลแฟน (ฟอสส์ 20 % อีซี) อัตรา 30 และ 50 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ
By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com
Category: ศัตรูพืช, แมลงศัตรูพืช