banner ad

หนอนกระทู้หอม

| September 17, 2014

หนอนกระทู้หอม (beet armyworm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exigua (Hbner)

วงศ์ Noctuidae

อันดับ Lepidoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนกระทู้หอมเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิดทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะตามแหล่งปลูกการค้า ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ปลูกผักอย่างมาก ทั้งนี้เกษตรกรไม่สามารถป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ได้ เนื่องจากหนอนสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงหลายชนิด และมีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนตัว การระบาดจะรุนแรงมากในช่วงฤดูร้อน โดยหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกัดกินใบบริเวณส่วนต่างๆ ของพืชเป็นกลุ่มและความเสียหายรุนแรงในระยะหนอนวัย 3 ซึ่งจะแยกย้ายกัดกินทุกส่วนของพืช หากปริมาณหนอนมากความเสียหายจะรุนแรง ผลผลิตจะเสียหายและคุณภาพไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ในตอนหัวค่ำ (ช่วงเวลา 18.00 20.00 น.) ใต้ใบพืชเป็นกลุ่มเล็กๆ มีจำนวนไข่ 20 80 ฟองขึ้นไป แต่โดยเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 20 กว่าฟอง กลุ่มไข่ปกคลุมด้วยขนสีขาว ระยะไข่ประมาณ
2 3 วัน หากอุณหภูมิความชื้นสูงไข่จะฟักตัวเร็วขึ้น ตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้มากกว่า 200 ฟอง ไข่เมื่อฟักเป็นหนอนระยะแรกจะอยู่รวมเป็นกลุ่ม แทะกินผิวใบด้านล่าง และจะอยู่รวมกันจนกระทั่งระยะหนอนวัย 3 เป็นระยะที่เริ่มมรการเปลี่ยนแปลงทางสีสันเช่น สีเขียวอ่อน เทา เทาปนดำ น้ำตาลอ่อน น้ำตาลดำ เป็นต้น หากสังเกตด้านข้างจมีแถบสีขาวข้างละแถบพาดยาวจากส่วนอกถึงปลายสุดของลำตัว หนอนวัย 3 เป็นระยะที่แยกกันอยู่เพาระตัวโตขึ้น ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 6 ระยะ ใช้เวลาตลอดการเจริญเติบโต 14 -17 วัน และหนอนระยะสุดท้ายมีขนาด 2.5 ซม. ก็จะเริ่มหาทางเข้าใต้ผิวดิน หรือบริเวณโคนต้นพืชเพื่อเข้าดักแด้ ๆมีสีน้ำตาลเข้มยาวประมาณ 1.5 ซม. ระยะดักแด้ 5-7 วัน ก็จะเป็นตัวเต็มวัย อาศัยอยู่ตามใต้ใบผัก ทั้งนี้ตัวเต็มวัยเป็นผี้เสื้อกลางคืนขนาดกลางสีน้ำตาลแก่ปนเทา กางปีกกว้าง 2. 2.5 ซม. ลักษณะเด่นคือ มีจุดสีน้ำตาลอ่อน 2 จุดตรงกลางปีกคู่หน้า ตัวเต็มวัยมีอายุเฉลี่ย 4- 10 วัน วงจรชีวิตหนอนกระทู้หอมเฉลี่ย 30-35 วัน หรือโดยเฉลี่ยมี 10-12 ชั่วอายุขัยต่อปี

พืชอาหาร

ผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำลายพืชผักชนิดอื่น ๆ ไม้ผล พืชไร่ และไม้ดอก ได้แก่ หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว พริก องุ่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง กุหลาบ ดาวเรืองและกล้วยไม้ เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ

แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทำลายหนอนกระทู้หอม ได้แก่ แมลงเบียน เช่น แตนเบียนหนอน Microplitis manila Ashmead แตนเบียนหนอนCharops sp. แตนเบียนหนอนTrathala sp. แตนเบียนหนอนChelonus sp. แตนเบียนหนอนApanteles sp. และแมลงวัน Peribaea orbata (Wiedemann) แมลงห้ำ เช่นมวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (Woff)

การป้องกันกำจัด

  1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพื่อฆ่าดักแด้หนอนกระทู้หอมที่อยู่ในดิน การทำลายซากพืชอาหาร เพื่อลดแหล่งอาหารในการขยาพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ช่วยลดการระบาดของหนอนกระทู้หอมในการปลูกผักครั้งต่อไป
  2. การใช้วิธีกล เช่น เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh ( 16 ช่องต่อตร.นี้ว ) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทู้หอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซ็นต์
  4. การใช้สารจุลินทรีย์ฆ่าแมลง (microbial insecticides ) ได้แก่

- การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai เช่น เซนทรี และ ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจี เป็นต้น Bacillus thuringiensis subsp.kurstaki เช่นเดิลฟิน และแบคโทสปิน เอ็ชพี เป็นต้น

- การใช้เชื้อไวรัส (นิวเคลียร์โพลีฮีโครชิสไวรัส) หนอนกระทู้หอม เช่น DOA BIO V1 (กรมวิชาการเกษตร) เป็นต้น

พืชหอมแดง หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง และกระเทียม หนอนกระทู้หอมจะเจาะเข้าไปอาศัยในใบหอมและกัดกินเนื้อเยื่อใบหอมทำให้ใบมีสีขาว และจะกัดกินไปถึงหัวหอมทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้
การป้องกันกำจัด
1. เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายเพื่อช่วยลดการระบาด
2.ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis (Bt) อัตรา 60 – 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (WDG, WG, WP) หรือ 60 – 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (SC)
3. ใช้นิวเคลียร์โพลีฮีโดรซีสไวรัส หรือ เอ็นพีวีหนอนกระทู้หอม อัตรา 20 – 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน เมื่อพบต้นที่มีรอยทำลายเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีพบการะบาดรุนแรง มีความเสียหายเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ควรพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ทุก 4 วัน
4. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SL อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบกลุ่มไข่เฉลี่ย 0.5 กลุ่มต่อ 1 ตารางเมตร โดยการสุ่มนับแบบทแยงมุม 25 จุดต่อไร่ พ่นจนกว่าการทำลายจะลดลงต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Category: ศัตรูพืช, แมลงศัตรูพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news