banner ad

มันเทศ

| August 27, 2014

 

มันเทศ (Ipomoea batatas L.)อยู่ในวงศ์ Convolvulus มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบอเมริกากลาง หัวมันเป็นส่วนของรากแขนงที่สะสมอาหารสีเนื้อของมันเทศ ได้แก่ ขาว (White), ครีม (Cream), ครีมเข้ม (Dark cream), เหลืองอ่อน (Pale yellow), เหลืองเข้ม (Dark yellow), ส้มอ่อน (Pale orange), ส้ม (Intermediate orange), ส้มเข้ม (Dark orange) และขาวปนม่วง

พันธ์ุมันเทศ

1. พันธุ์ สท. 03เป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ พจ.226-31(พันธุ์เนื้อสีเหลือง) กับพันธุ์ T101 (พันธุ์เนื้อสีส้ม)เจริญเติบโตเร็ว คลุมพื้นที่และวัชพืชได้ดีทนทานต่อด้วงมันเทศดีกว่าสายพันธุ์อื่นเนื้อสีเหลือง เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติดี ผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ปลูกยอมรับสูง มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ ผลผลิตเฉลี่ย3,880 กิโลกรัม/ไร่อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วันลักษณะสีเนื้อสีเหลืองลักษณะเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติดีเจริญเติบโตเร็ว คลุมพื้นที่และวัชพืชได้ดีทนทานต่อด้วงมันเทศดีกว่าสายพันธุ์อื่น

 

2. พันธุ์ สท. 18เป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ พจ. 189-257 (พันธุ์เนื้อสีม่วง) กับพันธุ์FM37-LINIDOK-3 (พันธุ์เนื้อสีเหลือง)เนื้อสีเหลือง เหนียวละเอียด รสหวาน รสชาติดีเข้ม เนื้อเหนียวละเอียด รสหวาน ผู้บริโภคนิยมสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ และยังมีโปรตีน น้ำตาล และเบต้าแคโรทีสูงกว่าพันธุ์อื่นๆผลผลิตเฉลี่ย 2,900 กิโลกรัม/ไร่อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วันลักษณะสีเนื้อสีเหลืองเข้ม ลักษณะเนื้อสัมผัสเหนียวละเอียด รสหวาน รสชาติดี ทนทานต่อด้วงมันเทศได้พอสมควร

 

การเตรียมพื้นที่ปลูกและการดูแลรักษา

ฤดูปลูกโดยทั่วไปนิยมปลูกช่วงปลายฝน (ตุลาคม มกราคม) และในฤดูฝน (มิถุนายน กันยายน)

การเตรียมพื้นที่การเตรียมแปลงควรไถดะ ตากดินไว้ 7 – 10 วัน แล้วจึงไถพรวน ยกร่องแปลงมันเทศเป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 45 60 ซม. แต่ละร่องห่างกัน 1 ม.

 

การเตรียมยอดพันธุ์ ตัดยอดพันธุ์ยาวประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร นำยอดพันธุ์มัดรวมกันและเก็บไว้ในที่ร่มเงาและรดน้ำให้ความชื้น 1 2 คืน จนมีรากงอกตามข้อ นำไปแช่ในสารเคมีคาร์โบซัลแฟนอัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ล. นาน 5 นาที

การปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะห่างระหว่างต้น 30 ซม. ระหว่างแถว 1 ม. โดยนำยอดพันธุ์ปลูกบนสันร่องให้ลึกลงไปในดิน 2 – 3 ข้อ โดยให้ส่วนยอดโผล่พ้นดิน

การให้น้ำ ให้ในระยะแรกปลูกใหม่ เพื่อให้มันเทศตั้งตัวและแตกยอดได้เร็ว ควรให้เดือนละ 2 – 3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน อุณหภูมิ และกระแสลม เมื่อมันเทศตั้งตัวและคลุมพื้นที่แล้วควรลดปริมาณการให้น้ำ ค่าการระเหยเฉลี่ย 4.9 มิลลิเมตร ค่า ET/E0 (KP) 0.96 น้ำใช้ของพืชต่อวัน 4.7 มม. น้ำที่ใช้ตลอดอายุพืช 447 มม. และใช้น้ำ 715 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ที่ความลึก 1.5 มม.

การใส่ปุ๋ย ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 80 – 100 กก. /ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยรองพื้นก่อนปลูกและหลังจากปลูก 45 วัน พร้อมกับการตลบเถามันเทศ

การกำจัดวัชพืช ควรมีการกำจัดวัชพืชเดือนละ 12 ครั้ง โดยการดาย หรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช การใช้สารเคมีควรใช้ชนิดคุมวัชพืช โดยพ่นคุมการงอกของวัชพืชหลังปลูกมันเทศ 1 วัน ช่วงเดือนที่ 2 – 4 มันเทศสามารถขึ้นคลุมวัชพืชได้โดยไม่ต้องกำจัดวัชพืช

การตลบเถามันเทศ หลังปลูกมันเทศ 2 เดือนเป็นต้นไป ควรมีการตลบเถาขึ้นหลังแปลง เพื่อป้องกันการงอกของรากใหม่ตามข้อของลำต้น

ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

1. ด้วงงวงมันเทศ(Sweet potato weevil) Cylas formicarius Fabricius (Colepotera :Curculionidae) พบทำลายทำลายส่วนหัว เถา และใบ ไข่ด้วงเจริญเป็นหนอนสีขาวเจาะเข้าไปในหัวและเถา กัดกินทำลายมันเทศทำให้มันเทศเสียคุณภาพเพราะมีกลิ่นเหม็นและมีรสขม การปัองกันกำจัดใช้สารfipronil อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร azinphos methyl อัตรา 60 มล./น้ำ 20ลิตร,carbosulfan อัตรา 100 มล./น้ำ 20 ลิตรพ่นสารป้องกันกำจัดด้วงงวงมันเทศทุก 10-15 วัน

2. หนอนชอนใบมันเทศ Bedella somnulentella หนอนผีเสื้อขนาดเล็ก วางไข่ในเนื้อเยื่อใบมันเทศ เมื่อฟักตัวเป็นหนอนจะชอนใชกินใต้ผิวใบ ทำให้ใบพรุนแห้ง การป้องกันกำจัด พ่นสารเคมีบูโพรเฟซิน 25% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์ 50% SP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

การทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดหนอนชอนใบมันเทศ วางแผนการทดลองแบบ  RCBD ค่า df ไม่น้อยกว่า 12 ปลูกมันเทศขนาดแปลงย่อยไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตร สุ่มตรวจนับจำนวนหนอนชอนใบมันเทศหลังย้ายกล้า 2 อาทิตย์ พบการระบาด ให้พ่นสารทุกๆ 7 วัน โดยใช้อัตราการพ่น 120 ลิตรต่อไร่ ตรวจนับหนอนชอนใบก่อนพ่นสาร 1 วัน และหลังพ่นสาร 3 5 7 วัน โดยสุ่มนับจาก 2 แถวกลาง แถวละ 5 ต้น ต้นละ 2 ใบ รวม 10 ต้นต่อแปลงย่อย และประเมินเปอร์เซนต์การทำลายของหนอนชอนใบมันเทศ 10 ต้นต่อแปลงย่อย จากคะแนนการทำลายบนใบ โดยให้คะแนนการทำลายดังนี้ คะแนน 0 เท่ากับพื้นที่ใบไม่ถูกทำลาย คะแนน 1 เท่ากับพื้นที่ใบถูกทำลายน้อยกว่า 5 เปอร์เซนต์ คะแนน 2 เท่ากับพื้นที่ใบไถูกทำลาย 6-25 เปอร์เซนต์ คะแนน 3 เท่ากับพื้นที่ใบถูกทำลาย 26-50 เปอร์เซนต์ คะแนน 4 เท่ากับพื้นที่ใบถูกทำลายมากกว่า 51 เปอร์เซนต์ขึ้นไป แล้วนำมาคำนวณเปอร์เซนต์การเข้าทำลายโดยใช้สูตร Townsendheuberger 1943 %  ความเสียหาย = (∑(n*v)/(i*n)*100  โดยค่า n= จำนวนใบในแต่ละระดับการทำลาย v= ระดับคะแนนของการทำลาย i= ระดับคะแนนของการทำลายสูงสุดที่ตั้งไว้ N= จำนวนใบทั้งหมดที่ทำการตรวจนับ นำมาวิเคราะห์สถิติ

2.โรคเน่าดำ(Black rot)เกิดจากเชื้อราDiplodia tubericola (E. and E.) Teubเข้าทำลายหัวมันเทศทางบาดแผลที่เกิดจากการถูกจอบ แมลง หรือหนูทำลาย แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีดำ ผิวของหัวจะนุ่มในระยะแรกต่อมาจะแห้ง แข็ง กระด้าง การป้องกันกำจัดโดย ระมัดระวังอย่าให้มันเทศมีบาดแผล เก็บรักษาหัวมันเทศในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

3.โรคใบจุด(Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อCercospora botataeZimm. เริ่มเริ่มแรกใบจะเป็นจุดแห้งสีน้ำตาล รูปร่างไม่แน่นอน ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ถ้าระบาดมากใบจะร่วงทำให้ผลผลิตลดลง การป้องกันกำจัดโดย ปลูกพืชหมุนเวียน ดูแลรักษาแปลงให้สะอาด หรือใช้สารเคมีกลุ่มแมนโคเซป พ่นเมื่อพบมันเทศแสดงอาการของโรค

4.หนู (Mouse) ทำลายมันเทศช่วงที่มันเทศเริ่มลงหัว โดยจะกัดกินทำลายให้มันเทศเป็นแผล ทำให้ผลผลิตเสียหาย การป้องกันกำจัดโดย วางกับดักหรือใช้ยาเบื่อหนู

การเก็บเกี่ยว

โดยปกติแล้วใช้เวลาประมาณ 110150 วันหลังปลูก หรือใช้วิธีสังเกตดูผิวดิน บริเวณโคนต้นดินแตกและมองเห็นหัวมัน หรือใช้วิธีทดลองขุด 2 3 ต้น ว่ามีหัวมากหรือน้อย หัวเล็กหรือใหญ่ มีแมลงทำลายเสียหายหรือไม่ หรือใช้มีดตัดบริเวณส่วนหัวดูยางที่ไหล หากมียางไหลน้อยและแห้งเร็ว แสดงว่าเริ่มขุดได้ ในการขุดอาจใช้เสียมขุด หรือใช้รถแทรกเตอร์ไถพลิกหัวขึ้นมา หลังจากขุดควรนำไปวางไว้ในที่มีร่มเงา ระบายอากาศได้ดี ไม่กองสุมกัน ทำการคัดแยกหัวเน่า หัวที่ถูกโรคและแมลงทำลายออกจากแปลงปลูก

By Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)

Category: พืชผัก, พืชผัก บ-ม

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news