สตรอเบอรี่
สตรอเบอรี่
สตรอเบอรี่ มีรสชาดหวาน เปรี๊ยว อุดมไปด้วยวิตามิน อะมิโนแอซิด และแร่ธาตุต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ มีสารแอนติ้ออกซิแดน์ เช่น ฟีโนลิก แอนโธไซยานิน มาลลิก เป็นที่ชื่นชอบอย่างแพร่หลายสำหรับผู้บริโภค และเด็กๆ สามารถนำผลสดไปบริโภค ทำเครื่องดื่ม แยม และมี food waste น้อยมาก ทั่วโลกมีพื้นที่ปลูก 2,477,506 ไร่ ประเทศที่มีพื้นที่ปลูกมากได้แก่จีน 785,000 ไร่ ผลผลิต 3.2 ล้านตัน โปแลนด์ 311,875 ไร่ รัสเซีย 194,375 ไร่ และสัดส่วนพื้นที่ปลูกเอเซีย 41% ยุโรป 42% แอฟริกา 4% อเมริกาใต้ 12% ผลผลิตอเมริกา 1.02 ล้านตัน แม็กซิโก 0.86 ล้านตัน
พันธุ์ของสตรอเบอร์รี่
พันธุ์เนียวโฮ (Nyoho: Fragaria x ananassa) ได้รับการรับรองในปี ค.ศ.1984 เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Kei 210 x Reiko และจัดว่าเป็นพันธุ์เบา ผลมีขนาดกลาง เนื้อแข็งปานกลาง มีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมมาก เหมาะแก่การบริโภคสด
พันธุ์ Rosa Linda เป็นสตรอเบอรี่จาก Florida Agricultural Experiment Station มีศักยภาพของการให้ผลผลิตที่เร็วในต้นฤดู ผลขนาดใหญ่ เนื้อผลสีแดงสด และมีรูปทรงของผลเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วไป
พันธุ์ Tochiotomeได้รับการรับรองในปี ค.ศ.1996 เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Kurume 49 x Tochinomine โดยTochigi Prefectural Agricultural Experiment Station ซึ่งมีคุณสมบัติที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง และรสชาติหวานกว่าพันธุ์ Nyoho
พันธุ์ Tochinomine ได้รับการรับรองในปี ค.ศ.1993 เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Kei 511 x Nyoho
พันธุ์ Oso Grande ได้รับการรับรองในปี ค.ศ.1987 เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศ U.S.A. California เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Parker x (Tioga x Pajaro)
พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 (Tioga) เป็นพันธุ์ค่อนข้างเบาที่ถูกผสมขึ้นที่สหรัฐอเมริกา และใช้เป็นพันธุ์การค้าระหว่างปี ค.ศ. 1964-1984 เป็นพันธุ์เหมาะสำหรับพื้นราบทั่วไปทางภาคเหนือ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง ผลขนาดปานกลางถึงใหญ่ มีจำนวนผลต่อช่อมาก ผลแข็ง ผลผลิตสูง สีแดง ค่อนข้างทนต่อสภาพอุณหภูมิสูง ทนทานต่อการขนส่ง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุด เหมาะแก่การแปรรูป
พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia) สามารถเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิต่ำ ให้ผลขนาดใหญ่ขนาดผลประมาณ 50 กรัม มีจำนวนผลต่อช่อน้อย ผลนิ่ม สีแดงสด กลิ่นหอม รสหวานทนทานต่อโรคใบจุดและสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ไม่ทนทานการขนส่ง
พันธุ์พระราชทาน 50 เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศญี่ปุ่นและประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1983 การเจริญเติบโตดี มีความแข้งแรง ใบมีลักษณะกลม ใหญ่ และสีเขียวเข้ม มีความต่อเนื่องของการออกดอกรุ่นต่อรุ่น เป็นพันธุ์เบาให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักผลเฉลี่ยประมาณ 11.5-13.0 กรัม ผลกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ ผลมีกลิ่นหอมมาก(เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) ใช้รับประทานสดหรือแปรรูป มีเนื้อค่อนข้างแข็ง รสชาติปานกลางเป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
พันธุ์พระราชทาน 60 หรือ รหัส 003-00 ได้ถูกคัดเลือกครั้งแรกใน ฤดูกาลผลิตปี พ.ศ. 2544/2545 ที่แปลงทดลองของสถานีวิจัยดอยปุย (พิกัดที่ตั้ง 18 48 39 N, 98 53 5 E สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ Rosa Linda และ Tochiotome ในปี พ.ศ. 2543 ตามโปรแกรมการผสมพันธุ์ของโครงการวิจัย การผสมพันธุ์และคัดเลือกสตรอเบอรี่ (รหัสโครงการที่ 3025 – 3038 ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2545 งบประมาณวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง) ปัจจุบันเป็นสายพันธุ์อันดับหนึ่งที่เกษตรกรในประเทศญี่ปุ่นนิยมปลูกกันเป็นการค้าสำหรับรับประทานผลสด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สตรอเบอรี่พันธุ์ พระราชทาน 60 ก็ได้ถูก ขยายต้นพันธุ์โดยวิธีผลิตต้นไหลแบบธรรมดาและการเพาะเลี้ยงต้นเนื้อเยื่อปลอดโรค เพื่อใช้ปลูกทดสอบในพื้นที่ระดับความสูงต่างๆกันตามศูนย์/สถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมทางด้านการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต คุณภาพของผลผลิตและรสชาติที่พึงพอใจด้วยการใช้วิธีสุ่มจากตัวแทนผู้บริโภค ความทนทานต่อศัตรูพืช รวมทั้งการผลิตไหลและต้นไหลสำหรับการขยายต้นพันธุ์ให้แก่เกษตรกรในช่วงเวลานับจากนี้ จัดเป็นสตรอเบอรีประเภทวันสั้น (Short day type) และต้องการความหนาวเย็นปานกลาง (ประมาณ 15 18 C) เป็นช่วงเวลา 30 – 40 วันสำหรับกระตุ้นให้เกิดการสร้างตาดอกของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอดของลำต้น ระยะเวลาจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเท่ากับ 60 70 วัน ผลผลิตต่อต้นสูงสุด 385 กรัม หรือประมาณ 2 – 3 ตันต่อไร่ (คำนวณจากการปลูก 10,000 ต้นต่อไร่) เนื้อผลมีค่าเฉลี่ยของปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Total soluble solid) เท่ากับ 10.7 Brix ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อื่นๆที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันของประเทศไทย (ยกเว้นพันธุ์พระราชทาน 72) และมีกลิ่นหอมชวนรับประทานคล้ายพันธุ์พระราชทาน 70 แต่เนื้อผลมีสีสรรสวยงามและความแน่นเนื้อมากกว่า การให้คะแนนของกรรมการทดสอบคุณภาพผลจากการทดลองชิม ปรากฏว่าได้คะแนนใกล้เคียงกันกับพันธุ์พระราชทาน 70 และ 72 แต่มากกว่าพันธุ์อื่นๆที่ใช้ทดสอบทั้งหมด 12 สายพันธุ์ การให้ไหลและต้นไหลอยู่ในระดับปานกลางเฉลี่ยราว 50 60 ต้นไหลต่อต้นแม่หนึ่งต้น นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถทนทานต่อโรคราแป้ง (Powdery Mildew) และรากเน่า (Root Rot) รวมทั้งพวกไรสองจุด (Two-spotted spider mite) หรือเพลี้ยอ่อน (Aphids) สามารถปลูกเป็นการค้าได้ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลเป็นต้นไป ขนาดผลที่ใหญ่ รสชาติหวาน เนื้อในผลสีแดงสด ผิวแดงจัดเป็นเงามัน รูปทรงกรวยคล้ายหัวใจ กลิ่นหอม และผลผลิตต่อต้นค่อนข้างสูงซึ่งโดยรวมแล้วมีคุณสมบัติที่ดีเหมาะแก่การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อการค้าประเภทรับประทานผลสดที่ยังมีความต้องการของตลาดอีกมากทั้งภายในและต่างประเทศ แต่ประการสำคัญที่สุดคือ สายพันธุ์นี้เป็นสตรอเบอรีลูกผสมสายพันธุ์แรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยทางกรมวิชาการเกษตรได้ออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 (ร.พ. 2) เลขที่ 276/2549 ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 ให้กับมูลนิธิโครงการหลวงด้วย ทางมูลนิธิโครงการหลวงโดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิฯได้ทรงประทานชื่อสตรอเบอรีสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า พระราชทาน 60 เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2549 นี้
พันธุ์พระราชทาน 70 (Toyonoka ) ได้รับการรับรองในปี ค.ศ.1983 เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศ ญี่ปุ่น เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Himiko x Harunoka เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก รับประทานผลสด รสชาติหวาน กลิ่นหอมเนื้อแข็ง ปานกลาง เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6 Brix
พันธุ์พระราชทาน 80 (ตรงกับปี พ.ศ. 2550 ที่พระบาทสมเดชพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา) เป็นพันธุ์รับประทานผลสด และเป็นพันธุ์ที่ต้องการอากาศหนาวเย็นมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ คือต้องปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16-20 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งสถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขางจะเป็นพื้นที่ปลูกได้ผลดี เพราะมีความสูงประมาณ 1,400 เมตร เพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอกอย่างต่อเนื่อง และให้ผลผลิตในปริมาณมากและยาวนานขึ้น และยังเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสและราแป้งได้ดี นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นกว่าพันธุ์อื่น ๆ ตรงที่ผลสุกมีกลิ่นหอมและมีรสชาติหวานกว่า เนื้อผลแน่น สีแดงสด รูปร่างของผลสวยงาม โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกรวยถึงทรงกลม ปลายแหลม ผิวไม่ขรุขระ ราก ลำต้นโตเร็วสมบูรณ์ ความสูงของทรงพุ่ม 20-30 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย 27เซนติเมตร
พันธุ์ Yale (Fragaria L.) เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ `Oso Grande` และ `Dorit พัฒนาโดย Eva Izsak, Shamai Izhar สถาบัน The Agricultural Research Organization, the Volcani Center, Bet Dagan สังกัด State Of Israel, Ministry Of Agriculture, Agricultural Research Organization ประเทศอิสราเอล จากนั้นคัดเลือกต้นและขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และทดสอบพันธุ์ที่ Bet Dagan ประเทศอิสราเอล มีการเจริญเติบโตดังนี้ เจริญเติบโตในเดือน ก.ย. และเริ่มสร้างดอกและติดผลในเดือน พ.ย. เดือน มี.ค. (Northern Hemisphere, latitude 30-33 degrees) โดยการปลูกภายใต้สภาพโรงเรือนพลาสติก polyethylene . จัดเป็นพวก Infra-Short-Day (I.S.D.) ที่มีการเกิดตาดอกภายใต้สภาพแสง 13-14 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ย 22 ซ. การเกิดดอกไม่ได้ขึ้นกับความหนาวเย็น แต่ขึ้นกับความยาววันสั้น (กลางคืนยาว) ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงและต้นฤดูหนาว พันธุ์นี้เป็น self-fertile ไม่ต้องอาศัยตัวช่วยผสมเกสร ลักษณะประจำพันธุ์ คือ ลักษณะลำต้น ได้แก่ สูง 17-21 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 31-35 ซม. ลำต้นกลม ทรงพุ่มแน่น แข็งแรง ลักษณะใบ ได้แก่ ยาว 21-24 ซม. กว้าง 16-19 ซม. ใบสีเขียวเบอร์ RHS ca. 147 AB ใบพองปานกลาง (Blistering Medium) ขอบใบเว้า มี > 3 ใบย่อย ลักษณะก้านใบ คือ ยาว 9-12 ซม. หนา 4-6 ม.ม. แข็งแรง มีสีเขียวเบอร์ RHS ca. 144 C ใบย่อย มีด้านความยาวใบต่อความกว้างใบมาก ใบย่อยยาว 7-8 ซม. ใบย่อยกว้าง 7-8 ซม. ดอกที่ 1 มีขนาด 25-28 ม.ม. ดอกที่ 2 มีขนาด 21-26 ม.ม. ดอกที่ 3 มีขนาด 20-26 ม.ม. กลีบดอกยาว 11-12 ม.ม. กลีบดอกกว้าง 10-13 ม.ม. ดอกมีกลิ่นหอม แต่ละต้นมี 13 ไหล หนา 3.5-4 ม.ม. มีสีม่วง ลักษณะช่อดอกยาว 10 ซม. หนา 3 ม.ม. มีสีเขียวอ่อนเบอร์ RHS ca. 144C ช่วงระยะเวลาออกดอกคือ ต้นเดือน ต.ค.-ต้นเดือน ธ.ค. มี 3-4 ดอกต่อช่อ มี 3-4 ผล/ช่อ ผลมีขนาดยาว 45-56 ม.ม. กว้าง 35-55 ม.ม. ทรงผลรูปกรวย น้ำหนัก 25-48 กรัม/ผล ผลมีสีแดง 45A เนื้อในผลมีสีส้ม แดง Flesh Orange red 43B ผลเริ่มสุกแก่ 1 เดือนหลังจากดอกบาน (อาทิตย์แรกของเดือน พ.ย. อาทิตย์แรกของเดือน ม.ค. และแก่ในปลายเดือน พ.ย. มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Total soluble solid) เท่ากับ 6.5-14.0 ปริมาณกรด 0.32. c มีกลิ่นหอมมาก (strong aroma) ประเทศไทยโดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำต้นกล้าจากประเทศอิสราเอล ภายใต้ชื่อ พันธุ์ 329 นำมาขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อเดือนเมษายน 2540 และเพิ่มปริมาณจนได้จำนวนต้องการจึงนำไปทำการผลิตไหลที่ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนดอยตุง และได้กระจายพันธุ์ไปสู่เกษตรกรในโครงการต่าง ๆ ลักษณะทรงต้นแข็งแรง ก้านใบยาว ใบหูมีเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่ ทรงกรวยและทรงกรวยปลายแหลม ผลมีผิวสีแดงเข้มมัน กลีบเลี้ยงลู่ปกคลุมผล เนื้อกรอบแน่นมีกลิ่นหอม ค่อนข้างหวาน เก็บผลผลิตง่าย เหมาะสำหรับบริโภคสด มีอายุการวางจำหน่ายประมาณ 6-7 วัน ทนต่อการขนส่งเนื่องจากผิวไม่เสียง่ายเมื่อถึงปลายทาง
เกาหลีใต้ 0.193 ล้านตันมีพื้นที่ปลูก 38,825 ไร่ ส่งออก 94.5% ไปฮ่องกง สิงค์โปร์ ไทย มาเลเซีย เวียตนาม และญี่ปุ่น ในปี 2001 ส่งออกไปถึง 1,400 เมตริกตัน และค่อยลดลงมาต่ำสุดปี 2019 และค่อยๆ เพิ่มขึ้น 300 ตัน (260-430W)สตรอเบอรี่เกาหลีมีสายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์แม-ฮยัง (Maehyang ) ผลเรียว ก้นแหลม เนื้อแข็ง สำหรับการส่งออก, พันธุ์ซอล-ฮยัง (Seolhyang ) สายพันธุ์หลัก ผลใหญ่กว่า เนื้อฉ่ำ ก้นป้าน, Keumsil ให้ผลผลิตสูง, Arihyang, Jukhyang, Whiteberry, Gosul, อาคิฮิเมะ, red pearl ผลผลิตจะออกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปถึงพฤษภาคม นอกฤดูจะช่วงสิงหาคม อุณหภูมิกลางวัน 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืน 10-15 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า -7 องศาเซลเซียสจะทำลายต้นสตรอเบอร์รี่ ต้นสตรอเบอร์รี่สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิ -2.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 6 เดือนได้ การกระตุ้นการพักตัวใช้ฮอร์โมน auxin gibberellin หรือใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 5-7 องศาเซลเซียส สำหรับในประเทศไทยไม่มีการพักตัว แส่งที่จำเป็นสำหรับการเจริญโต 1 KLux(4.3W) แสงจุดอิ่มตัว 30-50 KLux
การดูแลรักษา
สตรอเบอร์รี่อยู่ระยะพักฟื้นจากการเก็บผลผลิตและจะบำรุงต้นเพื่อผลิตไหลต้นสตรอเบอรี่ผ่านช่วงแล้งมา ต้นจะโทรม ให้ทำการแต่งใบแก่ และใบที่เป็นโรคออก อาการต้นสตรอเบอรี่จะโทรม ต้น-เหลือง ใบแก่จะมีมากควรใส่ปุ๋ย 25-7-7 อัตรา 2-4 กรัมต่อต้น ทุกๆ 7-10 วัน ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ 30-20-10 อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
การให้ปุ๋ย AB ระยะการเจริญทางลำต้นให้ค่า EC=0.4-0.6 dS/m ระยะแตกไหลให้ค่า EC=0.8-1.0 dS/m ระยะออกดอกให้ค่า EC=1.0-1.2 dS/m ระยะติดผลให้ค่า EC=1.2-1.5 dS/m
อุณหภูมิและการเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่
22-24 | องศาเซลเซียส | อุณหภูมิสูงสุดสําหรับการพัฒนาของดอก |
20 | องศาเซลเซียส | ช่วงแสง สารอาหาร มีผลต่อการพัฒนาตาดอก |
15 | องศาเซลเซียส | |
12 | องศาเซลเซียส | อุณหภูมิที่เหมาะสม |
10 | องศาเซลเซียส | ช่วงแสง สารอาหาร ไม่มีผลต่อการพัฒนาตาดอก |
2-3 | องศาเซลเซียส | อุณหภูมิที่ต่ำสุดสําหรับการพัฒนาตาดอก |
อุณหภูมิที่มีผลต่อการออกดอกสตรอเบอร์รี่ 15-17 C ช่วงวันสั้น 8-10 ชั่วโมงการได้รับแสง คือในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิต่ำ ช่วงแสงสั้น หรือปลายเดือนกันยายนจนถึงตุลาคม เนื้อเยื่อเจริญจะเปลี่ยนตาใบเป็นตาดอก โดยเริ่มพัฒนาเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 12 องศาเซลเซียส เมื่อช่วงแสงต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน จะกระตุ้นการพัฒนาตาดอก ช่วงแสงที่เหมาะสมคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่การเจริญของดอกและช่อดอกต้องการอุณหภูมิสูง และช่วงแสงยาว
ระยะก่อนสร้างตาดอก | ระยะสร้างตาดอก | ระยะพัฒนาตาดอก | ช่อดอกเจริญ |
อุณหภูมิต่ำ/ช่วงแสงสั้น | อุณหภูมิสูง/ช่วงแสงยาว |
เทคนิคการทำสตรอเบอร์รี่
การทำดอกรุ่นที่ 1
1.วันที่ 10-20 กันยายนเตรียมต้นให้สมบูรณ์ใช้เวลาประมาณ 30-35 วันเริ่มออกดอก
2.วันที่ 10-25 ตุลาคมระยะดอกบานใช้เวลาประมาณ 40-45 วันเร่ิ่มเก็บเกี่ยว
3.วันที่ 1-10 ธันวาคมระยะเก็บเกี่ยว และเก็บเกี่ยวหมด 10-25 มกราคม
การทำดอกรุ่นที่ 2
1.วันที่ 10 ตุลาคมเริ่มแทงช่อดอกใช้เวลาประมาณ 50-55 วันเริ่มออกดอก
2.วันที่ 1-10 ธันวาคมเริ่มดอกบานใช้เวลาประมาณ 45-50 วันเร่ิ่มเก็บเกี่ยว
3.วันที่ 20 มกราคมเริ่มเก็บเกี่ยว
แมลงไรศัตรูพืช
1. ไรสองจุด ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินเลี้ยงอยู่บริเวณใต้ใบสตรอเบอรี่ ทำให้ผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่มีลักษณะกร้าน ใต้ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ผิวใบด้านบนเหนือบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่จะเห็นเป็นจุดด่างขาวเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป เมื่อการทำลายรุนแรงขึ้น จุดด่างขาวเล็กๆ เหล่านี้จะค่อยๆ แผ่ติดต่อกันเป็นบริเวณกว้าง จนทำให้ทั่วทั้งใบ มีลักษณะเหลืองซีด ใบร่วง และอาจเป็นผลทำให้สตรอเบอรี่หยุดชะงักการเจริญเติบโต และผลผลิตลดลงได้ ไรที่ทำลายอยู่บริเวณใต้ใบนี้ เมื่อประชากรหนาแน่นมากจะสร้างใยสานโยงไปมาระหว่างใบและยอดของต้นพืชที่อาศัยอยู่ เพื่อรอจังหวะให้ลมพัดพาตัวไรที่เกาะอยู่ตามเส้นใย ลอยไปตกยังใบหรือยอดพืชต้นอื่นๆ ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ต่อไป
การป้องกันกำจัด
1.หมั่นทำความสะอาดแปลง อย่าให้มีวัฃพืชในแปลงปลูก และไม่ควรปลูกพืชผักแซมในแถวปลูกสตรอเบอรี่ เพราะพบว่า จะเป็นการเพิ่มพืชอาศัยให้ไรสองจุด
2. เมื่อสำรวจพบว่า เริ่มมีไรสองจุดทำลายใต้ใบสตรอเบอรี่ในระยะแรก (ประมาณ 1-2 ตัวต่อใบย่อย) ให้ปล่อยไรตัวห้ำ อัตราประมาณ 2-5 ตัวต่อต้น หรือประมาณ 5,300-13,300 ตัวต่อแปลง
สตรอเบอรี่พื้นที่ 1 งาน ควรปล่อยเป็นระยะๆ ห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่มีจำนวนไรสองจุดสูงเกินกว่าระดับเศรษฐกิจ (5-20 ตัวต่อใบย่อย)ให้ปล่อยไรตัวห้ำอย่างท่วมท้นในอัตราสูง ประมาณ 30-40 ตัวต่อต้น จำนวน 3-4 ครั้ง ไรตัวห้ำจะสามารถควบคุมการระบาดของไรสองจุดได้
3. กรณีพบการระบาดของไรสองจุดรุนแรงและไม่มีการเลี้ยงขยายไรตัวห้ำ สารเคมีที่แนะนำ ได้แก่ เฟนไพรอกซิเมต 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรพาร์ไกต์ 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ชนิดของโตีะที่วางสตรอเบอร์รี่ในโรงเรือน
โรงเรือนปลูกสตรอเบอร์รี่พันธุ์ญึ่ปุ่น ตั้งอยู่ถนนรามอินทรา ควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อม ผลผลิตออกได้ทั้งปี โรงเรือนขนาด 3 งาน ราคา 14 ล้านบาท ผลผลิตประมาณ 6.5 ตันต่อปี ปลูกจากต้นกล้าจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 3 เดือน คืนทุนได้ภายใน 3 ปี รสหวานอร่อย ข้อเด่นคือรับประทานสดใหม่จากฟาร์ม ไม่ต้องไปถึงญีุ่ปุ่น และถ้าเทียบกับที่นำเข้ามากว่าจะมาถึงผู้บริโภคก็เสียความอร่อยไปแล้ว ผลสตรอว์เบอร์รี่ที่ออกจากโรงเรือน Green house จะเรียกว่า Haru berry strawberry
|
|
การใช้สารกระตุ้นการเพิ่มผลิตภาพสตรอเบอร์รี่
การใช้ TiO2 50-150 มก. ฉีดพ่นช่วยเพิ่มคลอโรฟิลด์เอและบีที่ใบการสังเคราะห์แสง ลูกแข็งแรง สารประกอบฟิโนลิกลดลง
พันธุ์ไต้หวัน พันธุ์อียิปต์ผลผลิตเทียบเท่ากับพันธุ์พระราชทาน 80
สาร GA3 อัตรา 50 ppm เพิ่มปริมาณไหล เพิ่มขนาดใบ ต้น จำนวนไหล
วัสดุปลูก ดิน ทราย ปุ๋ยคอกอัตราส่วน 1:1:1 ให้การเจริญเติบโตดี
การใช้ผ้าคลุมแปลง bcr สูงกว่าการพลาสติกสะท้อนแสง เนื่องจากนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การใช้พลาสติกสะท้อนแสงให้ผลผลิตสูง
By Satja Prasongsap
Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ