banner ad

ทับทิม

| February 14, 2022 | 0 Comments

ทับทิม

ชื่ออื่นๆ : มะเก๊าะ พิลา พิลาขาว มะก่องแก้ว หมากจัง เซี๊ยลิ้ว

ชื่อวงศ์ : PUNICACEAE

ชื่อสามัญ : Pomegranate

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.

มอร่อย เปลือกผล แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย ราก แก้อาการท้องร่วง ใบ ล้างแผล ดอก แก้เลือดกำเดาแข็งตัว เมล็ด แก้โรคปวด จุกแน่น เปลือก/ลำต้น เป็นยาถ่ายพยาธิ

การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดเพาะ และตอนกิ่ง ที่นิยมกันคือการเพาะเมล็ด

การปลูกและการดูแล : การปลูก เตรียมดินโดยยกร่องสูง 50 ซม. ระหว่างร่องห่างกัน 1 เมตร บนคันดินที่ยกไว้ขุดหลุมเป็นแถวห่างกันหลุมละ 1 เมตร กว้างยาวลึกด้านละ 30 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกขลุกเคล้ากันรองก้นหลุม นำต้นกล้าลงปลูกหลุม 1 ต้น กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม

ศัตรูทับทิม

1.หนอนเจาะกิ่งทับทิม Zeuzera coffeae Nietner

ลักษณะอาการ หนอนกัดกินเนื้อไม้ภายในกิ่งเป็นเวลาหลายเดือน โพรงที่หนอนเจาะกินจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดของหนอน กิ่งที่ถูกหนอนเจาะจะหักได้ง่ายตรงบริเวณรอยควั่นของหนอน ซึ่งจะพบหนอนอาศัยอยู่ในส่วนของกิ่งที่แห้งเหนือรอยควั่นเสมอ

ตัวเต็มวัยผีเสื้อวางไข่บนกิ่งของพืชอาหาร เมื่อไข่ฟักเป็นหนอนจึงเริ่มเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในกิ่ง ถ้าต้นทับทิมอายุน้อยถูกหนอนเจาะกิ่งกัดกินในลำต้น ทำให้ยืนต้นแห้งตาย มีลำตัวสีแดงหัวสีดำและอกปล้องแรกมีแถบสีดำ ระยะหนอนที่กัดกินเนื้อไม้ค่อนข้างนานประมาณ 2 – 3 เดือน

 

การป้องกันกำจัด

ก. การเข้าทำลายของหนอนเจาะกิ่งพบตลอดปี และช่วงการออกเป็นตัวแก่มีช่วงกว้าง พบตั้งแต่ปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคม จนถึงเดือนมีนาคม การใช้สารเคมีจะได้ผลระยะที่ตัวเมียวางไข่ หรือระยะหนอนที่เริ่มฟักจากไข่ ให้ใช้สารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 1-2 มิลลิลิตรต่อรู ฉีดเข้าในรูแล้วอุดด้วยดินเหนียว

ข. การกำจัดกิ่งที่ถูกทำลาย โดยสังเกตอาการยอดเริ่มเหี่ยว จะพบหนอนหรือดักแด้อยู่ภายใน แต่ถ้าปล่อยให้กิ่งแห้งเป็นสีน้ำตาลแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นกิ่งที่ถูกทำลายจนกระทั่งหนอนเจริญเป็นผีเสื้อบินออกไปแล้ว

————————————-

2.หนอนผีเสื้อยักษ์ หนอนผีเสื้อยักษ์จะมีขนาดตัวใหญ่สีฟ้า จะเข้ากัดกินใบและยอดอ่อนทำให้ต้นกระท้อนชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ถ้ามีระบาดควรจับตัวหนอนมาทำลายและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เมทโธมีลประมาณ 1-2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน

————————————-

3.หนอนร่านกินใบ ตัวหนอนมีขนาดเล็กมีขนถ้าถูกผิวหนังจะรู้สึกแสบและคัน ตัวหนอนเข้ากัดกินใบเสียหาย ถ้ามีระบาดมากจะพบว่าตัวหนอนจะรวมกันเป็นกระจุกกัดกินใบแหว่งเป็นวง กำจัดโดยตัดใบที่มีตัวหนอนอยู่ด้วยไปทำลายทิ้ง และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพอร์เมททริน เมทโธมมีล ประมาณ 1-2 ครั้ง

———————————–
4.หนอนเจาะขั้วผล หนอนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรังที่ทำจากกลีบดอกกระท้อนแห้ง ๆ และเข้ากัดกินขั้วผลขณะที่ผลกระท้อนยังเล็กอยู่ ทำให้ผลแห้งและร่วงหล่น การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ โดยการตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง เมื่อเริ่มติดผลขนาดเล็ก ควรมีพ่นละอองน้ำล้างช่อดอกจะช่วยลดการทำลายลงได้ ถ้าระบาดมากควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น ฟิโปรนิล ประมาณ 3-4 ครั้ง ทุก 7-10 วัน

————————————
5.เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายกระท้อนตั้งแต่ระยะยอดอ่อน ระยะช่อดอกจนถึงติดผลขนาดเล็กทำให้ดอกแห้งร่วง ผลจะมีผิวลายและจะติดไปจนผลแก่ หากพบว่ามีเพลี้ยไฟระบาาด ควรรีบทำการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน ฟอร์มีทาเนท ในช่วงเริ่มออกช่อดอกและก่อนดอกบาน แต่งดการฉีดพ่นช่วงดอกบานหลังจาก ติดผลแล้วจึงฉีดพ่นใหม่ประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

————————————–

6.ไรแดงเทียม หรือไรแพสชั่นฟรุท ดูดกินน้ำเลี้ยงจนใบหงิกงอ เปลือกของผลทับทิมที่ถูกไรดูดกินน้ำเลี้ยง จะมีสีซีดเป็นน้ำตาลอ่อน การป้องกันกำจัด ใช้สารไพริดาเบน ๒๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อะมิทราซ ๒๐% อีซี อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นให้ทั่วบริเวณที่พบไร

—————————————

7.โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา เกิดแผลจุดสีน้ำตาลแดงขนาดเล็กๆ บนใบและมีสีเหลืองล้อมรอบ ต่อมาเมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้นเชื่อมต่อกันจะทำให้ใบบิดงอม้วนตัวและร่วงก่อนกำหนด

การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งกิ่งให้ต้นโปร่ง เก็บใบที่เป็นโรคไปเผาทำลาย และรักษาความสะอาดแปลงปลูกโดยกวาดใบที่ร่วงหล่น นำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
2. กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของโรค
3.เมื่อพบโรคระบาดมาก ควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไพราโคลสโตรบิน 25 % อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

—————————————–

การใช้ฮอร์โมน

1. การลดอาการสะท้านหนาวหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ สาร Jasmonic ความเข้มข้น 1 – 2 มิลลิโมล โดยจุ่มผลหลังการเก็บเกี่ยวในสารละลาย นาน 5 นาที และเก็บรักษาที่ 1.5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85

 

สรรพคุณ : ผล ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้สด รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมอร่อย

เปลือกผล แก้โรคบิดเรื้อรัง แก้ท้องเสีย

ราก แก้อาการท้องร่วง ฆ่าพยาธิตัวตืด

ใบ ล้างแผล แก้บิดมูกเลือด แก้อาเจียน รักษาโรคลักปิดลักเปิด

ดอก แก้เลือดกำเดาแข็งตัว ห้ามเลือด แก้บาดแผล

เมล็ด แก้โรคปวด, จุกแน่น เจริญอาหาร แก้ท้องเสีย

เปลือก / ลำต้น เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย สมานแผล ฝาดสมาน

บทสรุปผู้บริหาร

(จาก สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ์ และลาวัลณย์ จันทรอัมพร)

ทับทิมเป็นพืชที่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ในหลายเขตภูมิอากาศและดินหลายชนิด ชะงักการเจริญเติบโตเมื่ออุณหภูมิต่ำมาก (-11.1องศาเซลเซียส) อุณหภูมิสูงจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาของกลิ่นได้ดี พันธุ์ทับทิมในปัจจุบันมีความหลากหลายมาก มีความแตกต่างทั้งเรื่องสีเนื้อและคุณภาพ รวมถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น พันธุ์ Francis จากรัฐฟอริดา ผลขนาดใหญ่ รสชาติหวาน พันธุ์ Wonderful ผลขนาดใหญ่ ผลออกสีแดงม่วง เนื้อหุ้มเมล็ดหนาปานกลาง เหมาะสำหรับทำน้ำผลไม้มากกว่าทานผลสด

มีรายงานผลการวิจัยในโครงการไม้ผลต่างถิ่น (exotic fruits) ระหว่างพ.ศ. 2525-2528 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง ที่ดำเนินการรวบรวมพันธุ์ทับทิมได้ 28 พันธุ์ ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ปลูกรวบรวมไว้ในสถานีวิจัยของโครงการหลวง และประเมินคุณค่าการใช้ประโยชน์เพื่อนำมาใช้ในการวิจัยเพื่อการผลิตเป็นการค้าบนที่สูง สำหรับส่งเสริมเกษตรกรชาวไทยภูเขาได้จำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทับทิมทอง พันธุ์บ้านหลวง พันธุ์อติชัย พันธุ์วันเดอร์ฟูล พันธุ์โกเทฟ พันธุ์อิหร่าน พันธุ์ตุรกี และพันธุ์ชาร์มี (Punsri et al. 1984; Punsri et al. 1985) ต่อมา ได้มีการศึกษาวิจัยพัฒนาพันธุ์ทับทิมเพื่อการผลิตบริโภคผลสดและแปรรูป โดยการผสมพันธุ์ทับทิมของประเทศไทยกับทับทิมสายพันธุ์ต่างประเทศ และติดตามผลในระยะแรกเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า พันธุ์ UW (พันธุ์ยูท่าห์สวิท x พันธุ์ดอกขาว) ให้ผลผลิตได้เร็วและจำนวนผลมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ทั้งหมด มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 13.07 บริกซ์ และปริมาณกรด 0.19 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ พันธุ์ AT (นธุ์อติชัย x พันธุ์ทอง) การศึกษาคุณภาพของผลแล้วพบว่า พันธุ์ TA (พันธุ์ทอง x พันธุ์อติชัย) ให้ผลที่น้ำหนักผลมากที่สุด คือ 298 กรัม ให้น้ำหนักของเมล็ดที่ใช้บริโภคได้มากที่สุดด้วย มีเปลือกบาง และน้ำหนักเปลือกน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ขนาดเมล็ดใหญ่ แต่มีเมล็ดค่อนข้างแข็ง (สุรินทร์ และคณะ, 2544) ซึ่งยังไม่มีข้อมูลการนำไปปลูกในแหล่งเพาะปลูกใด

ทับทิมเป็นพืชที่ปรับตัวและเจริญเติบโตได้ในเขตแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง แต่ในการพัฒนาการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่ง ใบ และการออกดอกติดผล ต้องอาศัยน้ำตลอดเวลาอย่างน้อยตลอดช่วงฤดูแล้ง การขาดน้ำจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตสูงสุดและคุณภาพของผลผลิตทับทิม (Levin, 2006) รวมถึงปัญหาผลแตกก็เป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูก ซึ่งอาจมีปัญหาเนื่องมาจากความสม่ำเสมอของความชื้นในดิน พันธุ์ที่ปลูก หรือ การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารหลักสำหรับทับทิมที่สำคัญ คือ ไนโตรเจน และโพแทสเซียม ซึ่งมีการศึกษาการจัดการปุ๋ยในหลายประเทศที่เป็นผู้ผลิตทับทิมรายใหญ่ของโลก เช่น ประเทศอิสราเอล แนะนำปุ๋ยในรูป อัตรา 200 60 และ300 กิโลกรัม N P2O5 และ K2O ต่อเฮกตาร์ (Blumenfeld et al., 2000) ประเทศอินเดีย รัฐ Maharashtra ตั้งอยู่ด้านตะวันตกในภาคกลางของประเทศอินเดีย แนะนำให้จัดการธาตุอาหารตามอายุต้นแบ่งเป็น อายุ 2 ปี ให้ปุ๋ย 250 286 150 กรัมN P2O5 K2O/ต้น/ปี อายุ 3-5 ปี ให้ปุ๋ย 500 286 150 กรัม N P2O5 K2O/ต้น/ปี และ อายุตั้งแต่ 5 ปี ให้ปุ๋ย 625 1,250 300 กรัม N P2O5 K2O/ต้น/ปี ในระหว่างอายุต้น 3 ปีแรก แบ่งใส่ปุ๋ยสามครั้งต่อปี ในเดือน กรกฎาคม กันยายน และกุมภาพันธ์ (National horticulture board, ม.ป.ป.) ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐฟอริดา จัดการตามอายุต้นเช่นเดียวกัน แบ่งเป็น อายุ 1ปี ให้ปุ๋ย 19 กิโลกรัมNต่อเฮคตาร์ อายุ 2 ปี ให้ปุ๋ย 3.0.5 กิโลกรัมNต่อเฮคตาร์ อายุ 3 ปี ให้ปุ๋ย 50.5 กิโลกรัมNต่อเฮคตาร์ และ อายุตั้งแต่ 4 ปี ให้ปุ๋ย 114 กิโลกรัมNต่อเฮคตาร์ ในรูปของแอมโมเนียมไนเตรท โดยแบ่งใส่ครึ่งหนึ่งในช่วงปลายฤดูหนาว และส่วนที่เหลือใส่ฤดูใบไม้ผลิ จากรายงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การจัดการธาตุอาหารมีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และอายุของต้น และในบางประเทศ เช่น ประเทศสเปน มีการแนะนำให้ใส่ปุ๋ยทับทิมตามค่าวิเคราะห์ใบ (Glozer and Louise, 2008) ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธาตุอาหารพืชสำหรับทับทิมทั้งทางดินและทางใบ

ในต่างประเทศมีรายงานการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหลายชนิดตามส่วนต่างๆ ของทับทิม เช่น ผลพบหนอนเจาะสมอฝ้ายกัดกิน และเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณขั้วผล (Teggelli et al. 2002) บริเวณใบพบเพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาวดูดกินน้ำเลี้ยง (Blumenfeld et al. 2000, Arnal and Ramos 2000) พบด้วงและหนอนผีเสื้อเจาะทำลายต้นและกิ่งทับทิม (Juan et al., 2000) ในการป้องกันอาจใช้วิธีการห่อผล ซึ่งระยะเวลาในการห่อเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าห่อเมื่อผลเล็กจะทำให้ผลไม่โตเต็มที่เท่าที่ควร เนื่องจากต้องอาศัยแสงในการพัฒนาการของผล และก่อนเก็บเกี่ยวก็ต้องการแสงในการพัฒนาการของสีผล

——————————————————————————————————–

 

สัจจะ ประสงค์ทรัพย์

Satja Prasongsap

Professional Research Scientist

Tags: , , , , ,

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ด-น, พืชไม้ผล ด-น

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news