สับปะรด
สับปะรด
สถานการณ์การผลิต
ปี 2565 สับปะรดโรงงาน เนื้อที่เพาะปลูก 458,801 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 454,376 ไร่ ผลผลิตรวม 1.76 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3,865 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่รวมที่ขายผลสด เช่น นางแล ภูเก็ต ตราดสีทอง และสวี
ปี 2560 พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น เกษตรกรขายได้ราคาสูง ตั้งแต่ปี 2558-59 ราคาจะตกต่ำในปี 2560 เนื่่องจากมีการปลูกมาก ราคา 8-9 บาท (ธค. 59) หน้าโรงงาน ช่วงนี้ผลผลิตเข้าโรงงานวันละ 10,000 ตัน ซึ่งปกติจะมีผลผลิตมากช่วง พค.-มิย.
การผลิตสับปะรดไทยปี 2559
รายการ | พื้นที่เก็บเกี่ยว(ไร่) | ผลผลิต(ตัน) | ผลผลิตต่อไร่(กก.) |
ไทย | 464,975 | 1,794,216 | 3,859 |
——————————————————————————————————
พันธุ์สับปะรด ได้แก่ พันธุ์MD2 พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์นางแล พันธุ์ปัตตาเวีย พันธุ์เพชรบุรี 1 พันธุ์เพชรบุรี 2 พันธุ์ภูเก็ต พันธุ์ภูชวา/โซโก้เบอร์ 6 พันธุ์ภูแล พันธุ์ศรีราชา พันธุ์ห้วยมุ่น พันธุ์อินทรชิตขาว พันธุ์อินทรชิตแดง
เทคนิคการผลิตสับปะรด
1.การเตรียมแปลงและเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ธาตุอาหารกรณีแปลงเก่าสับต้นแปลงเก่าทิ้งไว้ 15 วันแล้วเผาหรือทิ้งไว้ให้ย่อยสลาย(กรณีไม่เป็นโรคเหี่ยว) ไถดินลึก 20-40 ซม. และไถอย่างน้อย 2 ครั้ง และในสภาพพื้นที่ราบ ควรยกร่องเพื่อให้ระบายน้ำได้ดีและป้องกันน้ำขัง และทำการตากดิน ตากดินไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดเชื้อโรค/และศัตรูต่างๆที่อยู่ในดิน กำจัดวัชพืช หลังเตรียมดินพ่นสารกำจัดวัชพืชโดยใช้ไกลโฟเสท 48% SL อัตรา 500-600 มล./ไร่
2.เตรียมหน่อพันธุ์ โดยเลือกหน่อพันธุ์จากแปลงที่ไม่มีการระบาดของโรคเหี่ยว คัดขนาดหน่อพันธุ์ โดยคัด 3ขนาด คือขนาดใหญ่(700-900 ก.)ขนาดกลาง(500-700ก.) ขนาดเล็ก(300-500 ก.)
3.การปลูก ปลูกหน่อขนาดเดียวกันในแปลงเดียวกันโดยปลูก 8,000-10,000 ต้น/ไร่ 8,000 ต้น/ไร่ ใช้ระยะปลูก(ต้นxแถวxระหว่างแถว) 30x50x100 ซม. 10,000 ต้น/ไร่ ใช้ระยะปลูก25x45x100 ซม.
- กรณีพื้นที่ปลูกพบโรคเหี่ยวหรือพบเพลี้ยแป้ง ชุบหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสาร thimathoxam 25%WG หรือ imidacloprid 70% WG หรือ dinotefuran 10%WP ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตรา 4,4 หรือ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- กรณีที่ปลูกในช่วงที่มีความชื้นสูงควรป้องกันและลดอัตราการสูญเสียที่เกิดจากโรคเน่าต่างๆ สารเคมีที่ใช้เช่น ฟอสเอสธิล อลูมินั่ม อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือเมตาแลกซิล อัตรา 20-40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
4. การจัดการดิน-ปุ๋ย
4.1. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ในกรณีที่อินทรียวัตถุในดินต่ำกว่า 1% ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกปริมาณ 1 ตัน ผสมหินฟอสเฟต 50-100 กก./ไร่ โดยโรยเป็นแถวหลังไถแปรตามแนวร่องปลูกสับปะรดเพื่อกระตุ้นการออกราก
4.2. การใส่ปุ๋ยเคมี ตามหลักการควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืช
4.3. การใส่ปุ๋ยทางกาบใบแนะนำให้ใส่ปุ๋ยที่มีอัตรา N:P2O5:K2O เช่น 12-6-15 อัตรา 40 กรัม/ต้น แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง ครั้งแรกหลังปลูก 1-3 เดือน และครั้งต่อไปห่างกัน 2-3 เดือน
4.4. การใส่ปุ๋ยทางใบ เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอแนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตร 23-0-25 (ยูเรียผสมโพแทสเซียมซัลเฟต 1:1) ผสมน้ำความเข้มข้น 5% ต้นละ 75 มล./ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง โดยวิธีตักหยอดหรือพ่นในระยะก่อนบังคับดอก 5 วัน และหลังบังคับดอก 20 วัน
การใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ระยะเตรียมต้นสำหรับการบังคับดอก ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ได้แก่ ปุ๋ยสังกะสีซัลเฟต 0.5 กิโลกรัม เหล็กซัลเฟต 3 กิโลกรัม แมกนีเซียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม และบอแร็กซ์0.1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่น ในพื้นที่ 1 ไร่ หลังปลูกสับปะรด 1-3 เดือน โดยฉีดพ่นปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง
2. ระยะต้นโตก่อนบังคับการออกดอก 1 เดือน ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยปุ๋ยเกรด 23-0-25 หรือปุ๋ยยูเรียผสม กับปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต สัดส่วน 1:1 เพื่อให้ต้นสับปะรดมีความสมบูรณ์เต็มที่ และใบจะมีสีเขียวเข้มมาก
3. ก่อนบังคับออกดอก 5 วัน ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยปุ๋ยเกรด 23-0-25 หรือปุ๋ยยูเรียผสมกับ ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต สัดส่วน 1:1 เพื่อช่วยในการสร้างจำนวนผลให้มากขึ้น
4. หลังการบังคับออกดอก 20 วัน ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยปุ๋ยเกรด 23-0-25 หรือปุ๋ยยูเรียผสมกับ ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต สัดส่วน 1:1 เพื่อช่วยในการเสริมสร้างผล (ตา) ที่อยู่ส่วนปลายของผลรวม ซึ่งโดยปกติ แล้วที่ปลายผลรวมตาของสับปะรด จะมีขนาดเล็กกว่าผลที่อยู่ล่างลงมา ไม่ควรพ่นช้ากว่า 30 วัน หลังบังคับ ออกดอก เพราะปุ๋ยจะไปมีผลกับการสร้างจุก และหน่อใหม่เป็นส่วนใหญ่
5. การให้น้ำ กรณีปลูกในช่วงแล้งและมีแหล่งน้ำ ควรมีการให้น้ำบ้างเดือนละครั้งเพื่อให้สับปะรดตั้งตัวได้เร็ว โดยให้น้ำอัตรา 2,000-3,000 ลิตร/ไร่ สับปะรดปากใบจะเปิดกลางคืน เมื่อปากใบเปิด การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดขึ้นโดยการรวมตัวของคาร์บอนไดออกไซด์เข้ากับสารอินทรีย์หลากหลายชนิดซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลไปเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นกรดหลายตัวด้วยกัน สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกเก็บไว้ในแวคิวโอล (vacuole) เมื่อปากใบปิดในตอนกลางวัน ปฏิกิริยาใช้แสงจะเกิดขึ้นเพื่อสร้าง ATP และ NADPH สำหรับป้อนเข้าสู่วัฏจักรเคลวิน ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกปล่อยออกมาจากโมเลกุลสารอินทรีย์ที่พืชสร้างเอาไว้ในเวลากลางคืน ทำให้วัฏจักรเคลวินสามารถทำงานได้ เป็นพืชกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเมแทบอลิซึมของกรดอินทรีย์ในพืชครัสซูเลเชียน (crassulacean acid metabolism) เรียกย่อๆ ว่า CAM
ปริมาณการใช้น้ำของสับปะรดcrop evapotranspiration ; ET crop คือ ET = Kc * ETo
ค่า ETO เพชรบุรีเฉลี่ย 3.81 mm/day
ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ Kc ของสับปะรด ระยะเริ่มต้น 180 วันเท่ากับ 0.5 ระยะกึ่งกลาง 600 วันเท่ากับ 0.5 ระยะช่วงให้ผลผลิต 10 วันเท่ากับ 0.3
ตัวอย่างการให้น้ำ เริ่มปลูก กพ ให้น้ำ 3 ครั้งต่อวัน เวลา 19.00, 21.00, 23.00 น. อัตราการจ่ายน้ำ 300 ลิตรต่อนาที เช่น กพ ค่า Eto 4.23 มิลลิเมตรต่อวัน ค่า Kc 0.5 เท่ากับค่า Et 2.12 มิลลิเมตรต่อวัน การให้น้ำ 3.38 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อวัน
6. การบังคับดอก บังคับดอกเมื่อต้นสับปะรดมีน้ำหนัก 2-2.5 กิโลกรัม โดยใช้เอทธีฟอน (39.5%) จำนวน 8 มล.ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย 300 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร แล้วหยอดยอดหรือพ่นลงยอดสับปะรดต้นละ 60 -75 มล. ทำ 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน หรือหยอดถ่านแก๊ส (แคลเซียมคาร์ไบด์) ประมาณ 1 กรัมต่อต้น จำนวน 2 ครั้ง ในกรณีที่ผลเติบโตในช่วงแล้ง แดดจัด ต้องมีการคลุมผลเพื่อป้องกันความเสียหายจากแดดเผา ส่วนในสับปะรดบริโภคสดพันธุ์นางแลเกษตรกรนิยมหักจุกออกหลังดอกสุดท้ายบานและรวบใบสับปะรดขึ้นมาหุ้มผล
7. การจัดการโรค-แมลง สับปะรดเป็นพืชที่มีปัญหาโรค-แมลง ไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามควรมีการตรวจสอบแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งหลังปลูกให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเฉพาะจุดที่พบเพลี้ยแป้งและรัศมีโดยรอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง สารเคมีที่ใช้เช่น ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10 % SL อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูเรน 10% WPอัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซททามิพริด 20 % SP อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และควรมีการใช้เหยื่อพิษกำจัดมด โดยหว่านสาร ไฮดราเมทิลโนน 0.73 % GR อัตรา 275 กรัม/ไร่ 2 ครั้ง โดยหว่านพร้อมปลูกและหลังปลูก 6 เดือน
การจัดการวัชพืช พ่นยากำจัดวัชพืชก่อนปลูกสับปะรด 2 สัปดาห์ ได้แก่ hexazinone 90-180 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่ หรือ hexazinone/diuron 450-600 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่ การพ่นคลุมดินหลังปลูกพืช และก่อนวัชพืชงอก ได้แก่ atrazine 300-500 diuron 360-720 pendimethalin 200-3000 ametryn 360-720 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่
8. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
8.1. อายุเก็บเกี่ยว สับปะรดส่งโรงงานเก็บเกี่ยวเมื่อผลสับปะรดมีความแก่ (สุก) ตามมาตรฐานความสุกไม่น้อยกว่า 25 % แต่ไม่เกิน 70 %(ขนาดเบอร์ 1- 4) หรือนับอายุหลังการบังคับดอก 150-160 วัน ไม่มีจุกและก้าน ส่วนสับปะรดบริโภคสดที่จำหน่ายในประเทศเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีความสุกอย่างน้อย – ของผล
8.2. การคัดแยก ควรมีการคัดแยกผลที่ไม่ได้คุณภาพออกเช่น ผลแกน ผลที่แดดเผาเสียหาย ผลที่ถูกศัตรูพืชทำลาย
3. การขนส่ง จัดเรียงผลสับปะรดโดยเอาด้านจุกลง ป้องกันการชอกช้ำ และใช้พาหนะ ขนส่งที่สะอาดและเหมาะสมกับปริมาณผลผลิตที่จะขนส่งไปโรงงานแปรรูป
———————————————
การใช้ฮอร์โมน
1. การชักนำให้เกิดรากของหน่อใหม่จากต้นตัดชำ สาร NAA ความเข้มข้น 50 มก./ล โดยนำหน่อใหม่ที่ได้จากการตัดชำลำต้นแม่จุ่มในสารละลายแล้วนำไปชำในวัสดุเพาะชำ
2. การบังคับให้ออกดอกพร้อมกัน สารอีทีฟอนเพื่อการออกดอกสับปะรด ให้ใช้อัตรา 100-200 ppm. ( Ethephon 48% อัตรา 6 มิลลิลิตร./ น้ำ 20 ลิตร) โดยใช้ร่วมกับปุ่ยยูเรียอัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทำการหยอดที่ยอดสับปะรดต้นละ 60 มิลลิลิตร ที่อายุ 11 เดือนหลังปลูก หรือน้ำหนักต้นสด 2.5 กิโลกรัม และหยอดครั้งที่ 2 หลังยอดครั้งแรก 7 วัน จะทำให้สับปะรดออกดอกพร้อมกัน
3. การกระตุ้นการเกิดหน่อ สาร Chlorflurenol ความเข้มข้น 750 – 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร พ่นบนต้นสับปะรด พร้อมกับการใช้สารเร่งดอกหรือหลังการใช้สารเร่งดอกไม่เกิน 7 วัน และพ่นครั้งที่ 2 หลัง 10-12 วัน
————————————————————————————————–
โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com
Category: VDO, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ