banner ad

การนําเข้าเชื้อเห็ดกระดุมจากสหรัฐอเมริกา

| March 3, 2014

ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนําเข้าจุลินทรีย์ทางการเกษตรชนิดเชื้อเห็ดกระดุมจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๖

กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของจุลินทรีย์ทางการเกษตรชนิดเชื้อเห็ดกระดุมนําเข้าเพื่อการค้าจากสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติ บางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรโดยคําแนะนําของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนําเข้าจุลินทรีย์ทางการเกษตรชนิดเชื้อเห็ดกระดุมจากสหรัฐอเมริกา ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนําเข้าจุลินทรีย์ทางการเกษตรชนิดเชื้อเห็ดกระดุมจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ชนิดจุลินทรีย์ทางการเกษตร เชื้อเห็ดกระดุม (button mushroom, Agaricus bisporus) ตามประกาศนี้ ได้แก่
๓.๑ เชื้อเห็ดกระดุมบริสุทธิ์ (pure culture)
๓.๒ เชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยาย (grain spawn)
ข้อ ๔ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๔.๑ ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร
๔.๒ สหรัฐอเมริกา คือ United States Department of Agriculture, Animaland Plant Health Inspection Service ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า USDA – APHIS
ข้อ ๕ การขออนุญาตนําเข้า ต้องมีใบอนุญาตนําเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร
ข้อ ๖ วิธีการขนส่งต้องส่งจุลินทรีย์ทางการเกษตรมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาไปยังเมืองท่าปลายทางในราชอาณาจักรไทย ในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้ําหรือทางอากาศ
ข้อ ๗ ข้อกําหนดสําหรับการนําเข้า
๗.๑ เชื้อเห็ดกระดุมบริสุทธิ์

๗.๑.๑ เชื้อเห็ดกระดุมต้องบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์และปลอดจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย
๗.๑.๒ ต้องเพาะเลี้ยงเส้นใยเชื้อเห็ดกระดุมบริสุทธิ์บนอาหารวุ้นที่บรรจุอยู่ในภาชนะสําหรับเลี้ยงเชื้อจุลินทรยี์ที่เหมาะสม
๗.๒ เชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยาย
๗.๒.๑ เชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยายต้องบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์และปลอดจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย
๗.๒.๒ ต้องเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยายบนเมล็ดธัญพืช
๗.๒.๓ เมล็ดธัญพืชต้องผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ําร้อนที่อุณหภูมิ ๑๒๑ องศาเซลเซียส (๒๔๙.๘๐ องศาฟาเรนไฮต์) ที่ความดัน ๑๕ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลานาน ๓๐ นาที หรือมากกว่า ก่อนนําไปใช้ในการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดกระดุม
ข้อ ๘ ข้อกําหนดสําหรับบรรจุภัณฑ์และฉลาก
๘.๑ เชื้อเห็ดกระดุมบริสุทธิ์
๘.๑.๑ ต้องบรรจุเชื้อเห็ดกระดุมบริสุทธิ์ตามข้อ ๗.๑.๒ ในบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตและออกแบบเฉพาะสําหรับการขนส่งเชื้อจุลินทรีย์ บรรจุภัณฑ์ต้องมีความแข็งแรง และคงทนต่อแรงกระแทก มีฝาปิดสนิทมั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันการเล็ดลอดของเชื้อจุลินทรีย์ออกสู่สภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่ง
๘.๒ เชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยาย
๘.๒.๑ ต้องบรรจุเชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยายในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่และสะอาด
๘.๒.๒ ต้องบรรจุเชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยายในบรรจุภัณฑ์ซึ่งปิดสนิทเมื่อบรรจุเชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยายแล้ว โดยต้องไม่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น
๘.๒.๓ ต้องระบุชื่อและที่อยู่ผู้ผลิต ชื่อวิทยาศาสตร์ สายพันธุ์ และ วัน เดือน ปี ที่ผลิต ลงบนบรรจุภัณฑ์
ข้อ ๙ การรับรองสุขอนามัยพืช
๙.๑ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย USDA – APHIS กํากับมาด้วย โดยต้นฉบับใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งที่สงไปย ่ ังราชอาณาจักรไทย

๙.๒ ต้องระบุชื่อสามัญ และชื่อวิทยาศาสตร์ ได้แก่ Agaricus bisporus ลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช
๙.๓ สําหรับการนําเข้าเชื้อเห็ดกระดุมสําหรับเพาะหรือขยาย

๙.๓.๑ ต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้ The culture was grown on a substrate that has been steam sterilized at a pressure of 1 bar gauge pressure (15 psi) to achieve a minimum substrate temperature of 121 degree Celsius (249.80 degree Fahrenheit) for 30 minutes and has not been subsequently contaminated
๙.๓.๒ ต้องระบุหมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สําหรับการขนส่งทางน้ํา) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช
ข้อ ๑๐ การตรวจนําเข้า
๑๐.๑ เมื่อจุลินทรีย์ทางการเกษตรถูกขนส่งมาถึงด่านนําเข้าในราชอาณาจักรไทยการตรวจนําเข้าจุลินทรีย์ทางการเกษตรจะดําเนินการหลังจากได้ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดที่แนบมาพร้อมกับสินค้า
๑๐.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างจุลินทรีย์ทางการเกษตรและตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่าปลอดจากจุลินทรีย์ชนิดอื่น และต้องกักจุลินทรีย์ทางการเกษตรไว้จนกว่า จะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ
๑๐.๓ ในกรณีที่การนําเข้าไม่เป็นไปตามข้อกําหนด ต้องดําเนินการตามมาตรการ ดังต่อไปนี้
๑๐.๓.๑ กรณีที่บรรจุภัณฑ์เกิดความเสียหาย พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึด และทําลายของเฉพาะส่วนที่บรรจุภัณฑ์เสียหาย
๑๐.๓.๒ กรณีที่มีการตรวจพบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งกลับหรือทําลายของที่นําเข้าทั้งหมด
๑๐.๓.๓ กรณีที่มีการตรวจพบจุลินทรีย์ทางการเกษตรที่นําเข้าไม่ตรงกับชนิดท่ไดี ้รับอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึดและทําลายของที่นําเข้าทั้งหมด ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับหรือทําลายให้ผู้นําเข้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

Category: ข่าว, เห็ด

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news