banner ad

ฝรั่ง

| February 10, 2014
ชื่อต้น : ฝรั่ง
ชื่อสามัญ : guava

พื้นที่ปลูกฝรั่ง 40,407 ไร่ เป็นพื้นที่ให้ผลผลิต 36,589 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 90.6 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด ผลผลิตรวม 99,575 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,721 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าผลผลิตตามราคาที่เกษตรกรขายได้ 1,100 ล้านบาท แหล่งปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลาง 34,207 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 84.7 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ แหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญได้แก่ จังหวัดนครปฐม 15,920 ไร่, ราชบุรี 7,592, สมุทรสาคร 6,496 ไร่, ตาก 1,434 ไร่ และปทุมธานี 1,054 ไร่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มสูง 3-10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาใกล้โคนต้น มีการแตกหน่อจากรากบริเวณใกล้กับลำ ต้นประธาน ลำต้น ผิวเปลือกเรียบและแกะออกเป็นแผ่นบางๆ ได้กิ่งอ่อนมีปีกเล็กๆ ทำ ให้รูปหน้าตัดของกิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่กิ่งแก่ไม่มีปีก กิ่งอ่อนสีเขียวปนเหลืองหรือแดงเข้ม มีขนปกคลุมหนาแน่น ขนสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลคลํ้า กิ่งแก่สีนํ้าตาลปนแดง ไม่มีขนปกคลุม แต่มีเซลล์คอร์คกระจายอยู่ทั่วไป ใบ เรียงแบบตรงข้ามและเกิดใบเป็น 2 แนว หรือแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก (decussate) ก้านใบยาว 3-10 มิลลิเมตร ด้านบนมีร่องลึก แผ่นใบรูปรีถึงรูปรีค่อนข้างยาว ปลายใบและฐานใบมน ขอบใบเรียบและมีขอบโปร่งใส แผ่นใบยาว 5-15 เซนติเมตร กว้าง 3-7 เซนติเมตร ดอก เกิดที่ตาข้างมักไม่เกิดที่ตายอด ดอกเดี่ยว หรือช่อดอกที่มีจำนวนดอก 2-3 ดอกต่อช่อ ก้านดอกสีเขียวปนเหลือง มีขนอ่อนอยู่หนาแน่น มีใบประดับที่มีขนอ่อนปกคลุม กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ สีเขียวปนเหลือง วงกลีบเลี้ยงไม่หลุดร่วงจนผลแก่ก็ยังคงติดอยู่ กลีบดอก 4-5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับ เกสรตัวผู้มีจำนวนมากมาย และแทรก อยู่รอบๆ จานวงกลมสีขาว อับเรณูสีเหลืองอ่อน และแตกตามยาว เกสรตัวเมียประกอบด้วยรังไข่ ใต้วงกลีบ รังไข่มี 4-5 ช่องเชื่อมติดกัน ก้านเกสรตัวเมียยาวเรียว สีเขียวปนเหลือง ไม่มีขน ยอดเกสรตัวเมียเป็นตุ่มเล็กๆ ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปกลม รูปไข่ หรือรูปผลสาลี่ ยาว 5-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร ผิวเรียบ สีเขียวอ่อนหรือเหลืองเข้ม เนื้อสีขาว เหลือง ชมพู หรือแดง เนื้อฉํ่านํ้า ความหนาขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ กลิ่นหอมรุนแรง รสหวาน เนื้อมักปรากฏเซลล์หิน เมล็ด จำนวนมากมาย สีเหลืองอ่อนหรือนํ้าตาลปนเหลือง ยาว 0.3-0.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-0.3 เซนติเมตร รูปไต เปลือกแข็งมาก คัพภะโค้ง

พันธุ์

1. พันธุ์ขี้นก

2. พันธุ์ภูทอง

3. พันธุ์กลมสาลี่

4. พันธุ์จีน

5. พันธุ์ทูลเกล้า

6. พันธุ์บางกอกเแอปเปิ้ล

7. พันธุ์แป้นสีทอง ได้มาจากการคัดเลือกพันธุ์ที่เพาะเมล็ดมาจากพันธุ์กลมสาลี่ ผลมีขนาดใหญ่ ขั้วใหญ่ และหัวบุ๋มมากกว่าพันธุ์กลมสาลี่ ผิวขรุขระกว่าพันธุ์กลมสาลี่ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองอมเขียว สีครีมถึงเหลืองอ่อน เมื่อผลฝรั่งอายุมากขึ้นผลจะเปลี่ยนรูปร่างจากกลมเป็นกลมแป้น และมีครีบขึ้นคล้ายฟักทอง เนื้อผลหนา เนื้อละเอียด ค่อนข้างกรอบ รสชาดดี น้ำหนักผลประมาณ 1 กิโลกรัมต่อผล ความสูงผลประมาณ 9 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร ผลโตเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร และเมล็ดน้อยจนแทบไม่มี บางผลไม่มีเมล็ดเลย คล้ายพันธุ์’บางกอกแอปเปิล’ ลักษณะทรงต้นเป็นพุ่มเตี้ย (ต้นไม่สูงเหมือนพันธุ์กลมสาลี่) กิ่งค่อนข้างทอด (เวลาปลูกจึงต้องเอาไม้ค้ำกิ่งไว้) ใบมีสีเขียวเข้ม การเรียงตัวของใบเป็นแบบก้างปลา ใบเรียวยาวใหญ่ ผลดก ดั้งน้ันควรปลิดผลอ่อนทิ้ง ให้เหลือเพียงกิ่งละ 1 ผล ติดผลตลอดปี ให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 8-9 เดือน

8. พันธุ์หวานพิรุณ เป็นลูกผสมเปิด (open-pollination) ของพันธุ์ แป้นยักษ์สีทอง โดยฝรั่งพันธุ์นี้มีผลมีขนาดใหญ่ ประมาณ 400-800 กรัม ทรงผลกลม ไม่มีจุก ผิวสีเขียวสดใส ขรุขระเล็กน้อย เนื้อสีขาวใสสม่ำเสมอ ไส้ผลสีขาว เนื้อแน่น กรอบและละเอียด ความแน่นเนื้อ 10-20 นิวตัน รสหวาน ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ 8-10Brix ปริมาณกรด 0.26-0.45% ปริมาณสารต้านอนุมูลเสรีชนิดวิตามินซีและสารประกอบฟีโนลิคค่อนข้างสูง ประมาณ 90-130 และ 140-160 มก. ต่อเนื้อ 100 ก. ตามลำดับ

9. พันธุ์กิมจู

——————————————————————————————————

วิธีการปลูก : ขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งตอน การปลูกเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ระยะปลูก 2.5×2.5 หรือ 4×4 เมตร

 

การดูแลรักษา : ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 10-0 กิโลกรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 2ครั้ง ช่วงหลังการเก็บเกี่ยว ส่วนปุ๋ยเคมีควรใส่สูตร 15-15-15 หรือ 15-5-20 อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง

—————————————————————————————————–

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ :

1. โรครากปม รากถูกไส้เดือนฝอยเข้าทำลาย ทำให้ระบบรากเป็นปุ่มปม การแตกใบอ่อนชะงัก ต้นล้มง่าย ป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดินก่อนปลูก โดยใช้สารคาร์โบฟูแรนก้นหลุม โรคแอนแทรคโนส เกิดจุดแผลที่ผล อาการเน่าสีน้ำตาลคล้ำ ป้องกันโดยตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องถึง และพ่นสารเคมี เช่น สารคาร์เบนดาซิม
2. เพลี้ยแป้ง ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ ขั้วผล และก้นผล ป้องกัน กำจัดโดยพ่นสารเคมีคาร์บาริล และใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกโคนป้องกันมดที่เป็นพาหะ
3. เพลี้ยหอย จะเข้าทำลายใบและกิ่งป้องกันกำจัดโดยตัดใบและกิ่งทำลาย
4. หนอนเจาะกิ่ง หนอนมักเจาะกินตามกิ่งอ่อน หรือกิ่งขนาดเล็ก ทำให้กิ่งและต้นแห้ง ป้องกันกำจัดโดยตัดกิ่งทำลายและเผาไฟ ใช้สารคลอร์ไพรีฟอสฉีดเข้ารูและอุดรู
5. หนอนแดงเจาะกินผลและขับถ่ายมูลเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ทำให้ผลเน่า ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารไดฟลูเบนซูรอน ช่วงเริ่มแทงดอก ดอกตูม และหลังติดผล 2-3 ครั้งจนห่อผล
6. เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ช่อดอกและผลอ่อนป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี เช่น สารอิมิดาโคลพริด
7. แมลงวันผลไม้ ป้องกันกำจัดโดยเก็บผลที่ถูกทำลายกำจัดและห่อผล

———————————————————————————————————

การใช้ฮอร์โมน

1. การเพิ่มการติดผลและขนาดผล ใช้สารจิบเบอเรลลิน (Gibberellins : GA3) ฝรั่งพันธุ์บางกอกแอปเปิ้ล(เพิ่มขนาดผล) ความเข้มข้น 100 มก./ล. ฝรั่งพันธุ์กลมสาลี่ ความเข้มข้น 200 มก./ล. พ่นหลังดอกบาน 5 วัน

—————————————————————————————————————

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ : ฝรั่งมีวิตามินซีสูง โดยเฉพาะเมื่อสุกจะมีวิตามินซีสูงเป็นพิเศษ สูงกว่าส้มถึง 3 เท่า รับประทานฝรั่งวันละ 1 ผล ให้ปริมาณวิตามินซีเพียงพอต่อคามต้องการของร่างกายในแต่ละวัน สามารถช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ชะลอการลุกลามของมะเร็ง ช่วยสร้างและบำรุงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ทำให้แผลหายเร็ว ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวและสร้างภูมิคุ้มกัน

 

GAP ฝรั่ง

 

By Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)

Category: GAP, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล บ-ม

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news