ตะคร้ำ
ตะคร้ำ
ชื่ออื่นๆ : กะตีบ แขกเต้า ค้ำ หวีด อ้อยน้ำ ปีซะออง
ชื่อวงศ์ : BURAERACEAE
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garuga pinnata Roxb.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านรอบๆเรือนยอดของต้น และตามกิ่งอ่อนมีขนปกคลุม มีเปลือกสีเทาใบรอบแบบขนนกสีเขียว หนึ่งก้านใบย่อยมี 9-10 คู่ ใบมนรีปลายแหลมและมีติ่งตรงปลายก้านจะมีเพียงใบเดียว เมื่ออ่อนมีขนปกคลุม โตเต็มที่ขนหลุดร่วงไป ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอดของต้น ดอกรูประฆังปลายดอกแยก 5 กลีบมีขนสีครีม สีเหลืองหรือสีชมพู ผลกลมเนื้อนุ่มมีเมล็ดสีเขียวอมเหลือง แก่จัดเป็นสีดำ
การนำไปใช้ประโยชน์ : ชาวเขาเผ่าอีก้อใช้เปลือกต้นตำพอกหรืต้มน้ำอาบแก้อักเสบ บวมติดเชื้อแผลเป็นหนอง ฝี หรือตุ่ม ต้มน้ำกินแก้ท้องร่วง ทาห้ามเลือดแช่น้ำล้างแผลเรื้อรัง ตำรายาไทยใช้น้ำคันใบผสมน้ำผึ้ง แก้หืด ต้นสดคั้นน้ำหยอดตา แก้ตามัว เนื่องจากเยื่อตาอักเสบ ผล บำรุงธาตุ สารสกัดเปลือกต้นมีฤทธิ์ทำให้เลือดแข็งตัวเร็วและกล้ามเนื้อเรียบเกร็งในหลอดทดลอง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การปลูกและการดูแล : ตะคร้ำเป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร การปลูกนิยมนำต้นใหญ่จากการขุดมาจากป่าโดยการตุ้มดิน ตัดแต่งกิ่ง นำมาเลี้ยงไว้จนแตกกิ่ง ก้าน ผสมปุ๋ยคอก หรือขุยมะพร้าวกับดินที่ขุดขึ้นมาให้เข้ากัน นำต้นตะคร้ำที่เลี้ยงไว้ลงปลูกกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ไม้ปักค้ำยันทั้งสี่ทิศกันลมโยก
สรรพคุณ : ใบ นำเอาใบสด มาคั้นเอาน้ำแล้วนำไปผสมกับน้ำผึ้ง เพื่อใช้เป็นยารักษาโรคหืด
ผล ทานเป็นยาบำรุงธาตุ หรือบำรุงกระเพาะอาหาร
เปลือก นำมาบีบเพื่อเอาน้ำ ซึ่งใช้เป็นยาแก้โรคท้องร่วงหรือทานแก้บิดก็ได้ หรืออาจนำมาแช่น้ำเป็นยาล้างแผลเรื้อรังได้ดีมาก ถ้าใช้ทาภายนอกจะเป็นยาห้ามเลือด
ต้น นำต้นสดๆ มาคั้นเอาน้ำ แล้วใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ด-น