banner ad

เงาะ

| February 10, 2014
ชื่อต้น : เงาะ
ชื่อสามัญ : rambutan

สถานการณ์การผลิต พื้นที่เพาะปลูก จันทบุรี ระยอง ชุมพร นราธิวาส

ปี 2565 พื้นที่ปลูกให้ผลผลิต 207,134 ไร่  ผลผลิต 280,420 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,355  กิโลกรัม
ปี 2563 พื้นที่ปลูก 230,775 ไร่ เนื่อที่ให้ผลผลิต 211,377 ไร่ ผลผลิต 270,053 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,278  กิโลกรัม
ปี 2562 พื้นที่ปลูก 232,511 ไร่ เนื่อที่ให้ผลผลิต 213,609 ไร่ ผลผลิต 279,980 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,311  กิโลกรัม
ปี 2559 เนื่อที่ให้ผลผลิต 270,966 ไร่ ผลผลิต 215,598 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 796 กิโลกรัม

วิธีการปลูก : เงาะนิยมขยายพันธุ์โดยการติดตา การปลูกเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ระยะปลูกที่เหมาสมสมคือ 8×8 หรือ 8×10 เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปีหลังปลูก

การดูแลรักษา : หลังการปลูกใหม่ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นควรใส่ปุ๋ยทางเคมีสูตร 15-15-15 ,16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) หว่านให้ทั่วทรงพุ่ม หรือ 20-20-20 พ่นทางใบ จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน และให้ปุ๋ยทางดินสูตร 13-13-21 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) หว่านให้ทั่วทรงพุ่ม หลังติดผล 3-4 สัปดาห์

การเตรียมต้นก่อนการออกดอก เมื่อต้นเงาะมีใบแก่สมบูรณ์ทั้งต้น

1. การจัดการน้ำ/งดการให้น้ำเพื่อกระตุ้นการออกดอก

- ต้นที่พร้อมกับการออกดอก ใบแก่ที่ปลายจะตั้งชันและแสดงอาการห่อตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน สีตายอดเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดำเป็นสีน้ำตาลทอง

- ต้นที่ยังไม่พร้อมกับการออกดอก ตายอดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเขียวหรือสีเขียวน้ำตาล เมื่อได้รับน้ำมากเกินไปหรือมีฝนตกส่งผลให้เงาะแตกใบอ่อน

2. มีฝนตกระหว่างการงดน้ำ ต้นเงาะที่ยังไม่พร้อมออกดอกหากได้รับน้ำมากเกินไปหรือมีฝนตกระหว่างการกระทบแล้งต้องหยุดการให้น้ำและปล่อยให้ต้นเงาะกระทบแล้งอีกครั้งหรือพ่นปลิดใบอ่อนด้วยกำมะถันผง 80-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นสารเอทธีฟอน 100-200 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

1. โรคราสีชมพู พบเส้นใยสีขาวแกมชมพูปกคลุมผิวกิ่ง การป้องกันกำจัด ถ้าพบกิ่งเป็นโรคเล็กน้อยให้ตัดเผาทำลาย ถ้าระบาดรุนแรงพ่นด้วยสารเคมี เช่น สารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ ให้ทั่วต้น โดยเฉพาะบริเวณกิ่งในทรงพุ่ม

2. โรคราแป้ง powdery mildew จากเชื้อ oidium sp. พบผงสีขาวคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บนหน้าใบและหลังใบอ่อนและช่อดอกกับผลอ่อน ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยกำมะถันผงละลายน้ำ หรือใช้สารเคมีเช่น สารคาร์เบนดาซิม หรือใช้ flutriafol 12.5 % W/V SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ค่า PHI 7 วัน ใช้เฮกซะโคนาโซล hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ค่า PHI 7 วัน

3. โรคช่อดอกแห้ง พบช่อดอกในระยะก่อนดอกบานแห้งดำ มีราสีเทาขึ้นปกคลุม ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยสารเคมี เช่น สารไอโพรไดโอน

—————————————————————————————————–

แมลงศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

1. หนอนคืบ ทำลายในระยะใบอ่อนถึงใบเพสลาด ป้องกันกำจัดโดยจับตัวหนอนทำลาย ถ้าระบาดรุนแรงพ่นด้วยสารคาร์บาริล แมลงค่อมทอง กัดกินใบระยะใบอ่อนถึงใบเพสลาด ป้องกันกำจัดโดยใช้ผ้าพลาสติกปูรองใต้ต้นแล้วเขย่าต้นให้แมลงตัวเต็มวัยหล่น แล้วเก็บไปทำลายหรือพ่นด้วยสารเคมี เช่น สารคาร์บาริล

2. เพลี้ยไฟ พบเพลี้ยไฟเข้าทำลายในระยะดอกและผลอ่อน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกทำให้ดอกแห้งและร่วง ส่วนผลอ่อนขนจะเป็นรอยตกสะเก็ดแห้งสีน้ำตาล ปลายขนม้วนหงิกงอและแห้ง ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี เช่นสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน

3. เพลี้ยแป้ง สำรวจพบช่อผลถูกทำลายเกิน 10 % ของช่อที่สำรวจ ป้องกันกำจัดโดยถ้าพบอยู่เป็นกลุ่มตามส่วนต่างๆ ของต้น ควรตัดทิ้งและเผาทำลาย ถ้าพบระบาดมากให้พ่นด้วยสารคลอร์ไพริฟอส ควรหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

——————————————————————————————————

การใช้ฮอร์โมน

1. การเปลี่ยนเพศดอกให้เป็นเพศผู้ สาร NAA ความเข้มข้น 80 – 160 มก./ล. พ่นเป็นจุดให้ถูกเฉพาะช่อดอกบางช่อ เมื่อดอกบาน 5 – 10% จำนวน 10 จุด กระจายทั่วทรงพุ่ม

ดัชนีการเก็บเกี่ยว

อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของเงาะดูได้จากสีผิวของผล สำหรับเงาะพันธุ์โรงเรียนซึ่งเป็นพันธุ์หลักทางการค้าจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อสีผิว เปลี่ยนเป็นสีส้มแดง หรือพันธุ์สีชมพูควรเก็บเกี่ยวเมื่อสีของผลเปลี่ยนเป็นสีชมพู เรื่อๆทั้งผล ที่สำคัญคือ ไม่ควรเก็บเกี่ยวผลเงาะช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้เงาะ สูญเสียน้ำและเหี่ยวเร็ว

การเก็บรักษาที่อุณหภูมิน้อยกว่า 10 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 14 วัน การเก็บรักษานานขึ้นผลเงาะจะเกิดอาการสะท้านหนาว ผิวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในอาการ รุนแรงผิวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นผิด ปกติและเน่าเสีย ที่อุณหภูมิ 10-13 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 14-16 วัน เงาะที่ฉายรังสีแกมมาประมาณ 300 เกรย์ จะเก็บได้ 9 วัน ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3-7 วัน ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 %

การเ็ก็บรักษาเงาะในสภาพควบคุมหรือดัดแปลงบรรยากาศสามารถยืดอายุการเก็บรักษาเงาะ ได้ เช่น เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส ในสภาพที่มีก๊าซออกซิเจนความ เข้มข้น 3-5% และคาร์บอนไดออกไซด์ความเข้มข้น 7-12% จะช่วยรักษาคุณภาพ เงาะได้นาน 28 วัน การบรรจุในถุงโลวเดนซิตี้โพลีเอทธิลีน (low density polyethylene) ที่มีค่าอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน 10,000-12,000 มิลลิลิตร/ ตารางเมตร/วัน อัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ 30,000-36,000 มิลลิลิตร/ตารางเมตร/วัน และอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ 5.74 มิลลิลิตร/ตาราง เมตร/วัน และถุงลิเนียร์โลวเดนซิตี้โพลีเอทธิลีน (linear low density polyethylene) ช่วยชะลอการเกิดสีน้ำตาลของเงาะและรักษาคุณภาพเงาะได้นาน 14-18 วัน

——————————————————————————————————

คุณค่าอาหารและสรรพคุ: เงาะมีวิตามินซีสูงถึง 47 มิลลิกรัมตอน้ำหนัก 100 กรัม และมีสารอาหารอื่นๆ อีกมากเช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เป็นต้น เงาะจัดเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน จึงช่วยแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรงได้ดี เปลือกเงาะนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้อักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก มีวิตามินซีช่วยป้องกันไข้หวัด และโรคเลือดออกตามไรฟัน

 

GAP ?เงาะ

 

Category: GAP, VDO, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news