ทุเรียน
ชื่อสามัญ : durian
ปี 2563 พื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เ489นื่อที่ให้ผลผลิต 797,553 ไร่ ผลผลิต 1,115,999 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,399 กิโลกรัม ปลูกทั้งหมด 1,069,668 ไร่ ปี 2559 เนื่อที่ให้ผลผลิต 578,861 ไร่ ผลผลิต 523,103 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 904 กิโลกรัม ปี 2560 ผลผลิต 680,000 ตัน ปี 2562 ทุเรียนที่จะมีศักยภาพได้แก่ พวงมณีเม็ดลีบ มูซานคิง หมอนทอง ชะนี เนื่อที่ให้ผลผลิต 729,466 ไร่ ผลผลิต 1,024,794 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,405 กิโลกรัม
การดูแลรักษา: หลังปลูกใหม่ควรให้น้ำสม่ำเสมอ ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ต้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 หว่านรอบทรงพุ่ม อัตรา 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม หน่วยเป็นกิโลกรัม ช่วงก่อนออกดอกถึงเก็บเกี่ยว ถ้าตาดอกระยะไข่ปลา พ่นด้วยปุ๋ยโพแทสเซียมในเตรท 13-0-46 อัตรา 100-200 กรัม ร่วมกับสารสกัดจากสาหร่ายทะเล อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทั่วทรงพุ่ม ช่วงผสมเกสรพ่นด้วยปุ๋ยทางใบที่ธาตุแคลเซียมและโบรอนจำนวน 1 ครั้ง ที่ดอกและใบให้ทั่วพอเปียก ช่วงพัฒนาการของผลเมื่อผลอายุ 5-7 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมี เช่น สูตร 8-24-24 (กิโลกรัมต่อต้น) อัตรา 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม เมื่อผลอายุ 10 -11 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 , 0-0-60 (1-2 กิโลกรัมต่อต้น) หว่านให้ทั่วรอบทรงพุ่ม
การใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ระยะเตรียมต้นเพื่อการออกดอก : ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 หรือ 20-20-20 ที่มีธาตุ อาหารรองและจุลธาตุอัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นในช่วงใบเพสลาด 1-2 ครั้ง
2.ระยะการชักนำให้ต้นออกดอก : เพื่อเสริมพัฒนาการของตาดอกบริเวณท้องกิ่ง ในกรณีที่พบว่าทุเรียน ออกดอกน้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนกิ่งที่ออกดอกได้ทั้งหมด และความหนาแน่นของดอกน้อยกว่า 3 ช่อดอกต่อความยาวกิ่ง 1 เมตร ให้ฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 100-200 กรัม ร่วมกับสาร สกัดจากสาหร่ายทะเล อัตรา 60 มิลลิลิตร ผสมในน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วพอเปียกทั้งภายนอกและภายในทรงพุ่ม
3.ระยะส่งเสริมการติดผล : ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเมื่อดอกทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ 1 ครั้ง ด้วยปุ๋ยที่มี ธาตุแคลเซียมและโบรอน ฉีดพ่นที่ดอกและใบให้ทั่ว
การให้น้ำ
1) ระยะเตรียมการหลังการเก็บเกี่ยว ควรให้น้ำ 150 ลิตรต่อต้นต่อวัน
2) ระยะสร้างใบชุดที่ 1 2 และ 3 ในระยะแตกใบอ่อนถึงระยะใบเพสลาด ควรให้น้ำ 150 ลิตรต่อต้น ต่อวัน
3) ระยะชักนำการออกดอก งดการให้น้ำ 10-14 วัน เมื่อสังเกตว่าทุเรียนได้รับสภาวะเครียด ควรให้ น้ำ 300-400 ลิตรต่อต้นต่อวัน แล้วงดน้ำต่อ 4-5 วัน เพื่อสังเกตการออกดอกใต้ท้องกิ่งว่ามีการติดตาดอก หรือไม่ หากมีการแตกตาดอก ควรให้น้ำครั้งละน้อย ๆ แต่ให้อย่างสม่ำเสมอ
4) ระยะออกดอก ได้แก่ ระยะหลังเปิดตาดอกควรให้น้ำ 100 ลิตรต่อต้นต่อวัน ระยะดอกตูมควรให้ 150 ลิตรต่อต้นต่อวัน และระยะก่อนดอกบานควรให้น้ำ 100 ลิตรต่อต้นต่อวัน
5) ระยะ 10 วันหลังดอกบาน ระยะนี้ทุเรียนจะเริ่มเข้าสู่ระยะการติดผล ต้องการน้ำ 100 ลิตรต่อต้น ต่อวัน
6) ระยะ 4-5 สัปดาห์หลังดอกบาน ต้องการน้ำ 200 ลิตรต่อต้นต่อวัน
7) ระยะ 5-8 สัปดาห์หลังดอกบาน ต้องการน้ำ 250 ลิตรต่อต้นต่อวัน
8) ระยะ 8-10 สัปดาห์หลังดอกบาน ต้องการน้ำ 300 ลิตรต่อต้นต่อวัน
9) ระยะ 10-12 สัปดาห์หลังดอกบาน ต้องการน้ำ 150 ลิตรต่อต้นต่อวัน
การใช้สารแพคโคบิวทราซอล จะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอเรลลินไม่ให้เกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นจาก kaurene ไปเป็นกรด kaurenoic ไปชะลอการเจริญเติบโตของลำต้น สารนี้เคลื่อนย้ายผ่านท่อลำเลียงน้ำ ไม่ผ่านทางท่ออาหาร การใช้สารแพคโคบิวทราซอล 15%SC อัตรา 1,000-1,200 ppm. (อัตรา 130-160 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) พ่นไปที่ยอดในระยะใบเพสลาด ซึ่งต้องไม่มีฝนหรือแห้งแล้ง 7-10 วัน หลังพ่นสาร 30-45 วัน กระตุ้นเปิดตาดอกด้วยการพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท 2.5% อัตรา 2.5-3.0 กก/น้ำ 200 ลิตร และสารไทโอยูเรียอัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนการพ่นสารแพคโคบิวทราซอลต้องเตรียมต้นทุเรียนสะสมอาหารให้ใบอ่อนแตก 2 ชุดสม่ำเสมอ โดยการใสุ่๋ยคอก 3-5 กก. และปุ๋ย 25-7-7 หรือ 16-16-16 อัตรา 250 กรัมต่อเส้นผ่านศูนย์กลาทรงพุ่ม 1 เมตร หลังจากใส่ 10 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น และพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท 2.5% อัตรา 2.5-3.0 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ตามด้วยพ่นสารแมกนีเซียมให้ทั่วทรงพุ่มจะเพิ่มความเขียวให้กับใบทุเรียน
อาการที่ราก อาการเริ่มจากใบที่ปลายกิ่ง จะมีสีซีด ไม่เป็นมันเงาเหี่ยวลู่ลง อาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง เมื่อขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาลและหลุดล่อนง่าย เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้นทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย
อาการที่กิ่งและที่ลำต้นหรือโคนต้น เริ่มแรกทุเรียนจะแสดงอาการใบเหลืองเป็นบางกิ่ง และจะสังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกได้ชัดเจน ในช่วงที่สภาพอากาศแห้ง เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบน้ำจะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย
อาการที่ใบ ใบช้ำดำตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบมากช่วงฝนตกรุนแรงต่อเนื่องหลายวัน
อาการที่ผล มักพบกับผลใกล้แก่ในช่วงฝนตกชุกหรือช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง เริ่มแรกจะเกิดจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำบนปลายหนามหรือซอกหนาม จุดแผลจะขยายใหญ่ลุกลามมากขึ้นตามการสุกของผล พบอาการโรคได้ทั้งผลที่ยังอยู่บนต้นและผลหลังการเก็บเกี่ยว
1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง และเมื่อมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก
2. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โคนต้นโปร่ง การถ่ายเทอากาศดี แสงแดดส่องถึง ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น
3. ต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตายควรขุดออก แล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก ตากดินไว้ระยะหนึ่ง แล้วจึงปลูกทดแทน
4. ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม
5. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
6. เมื่อเริ่มพบต้นที่ใบมีสีซีด ไม่เป็นมันเงาหรือใบเหลือง หลุดร่วง ใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40%
เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าลำต้น ราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
7. เมื่อเริ่มพบอาการโรคบนกิ่งหรือที่โคนต้น ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก ทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรทุก 7 วันจนกว่าแผลจะแห้ง หรือ ใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค อัตรา 2๐ มิลลิลิตรต่อต้น
1. กำจัดวัชพืชในแปลง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี เป็นการลดความชื้นสะสม
2. หมั่นตรวจแปลงปลูกเมื่อพบเริ่มมีอาการของโรค ตัดใบ หรือส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลาย หรือ ฝังดินนอกแปลง พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ (copper oxychloride) 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร
3. ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ดูแลการตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสม ไม่ให้ต้นมีทรงพุ่มแน่นทึบ เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดด และอากาศถ่ายเทได้ดี เป็นการลดความชื้น ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค
4. หลังจากตัดแต่งกิ่งในช่วงหลังการเก็บผลผลิตแล้ว พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ (copper oxychloride) 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วต้นทำให้ใบซีดเหลือง และร่วงในที่สุด อาการที่กิ่ง จะมีลักษณะคล้ายขนนกกำมะหยี่สีแดงหรือสีน้ำตาลแดงขึ้นเป็นหย่อมๆ จะเข้าทำลายกิ่งเล็กและเจริญปกคลุมผิวกิ่ง ต่อมากิ่งจะแตกและพบสาหร่ายเจริญแน่นหนาที่ผิวเนื้อเยื่อกิ่งที่แตก
- ห่อผลทุเรียนโดยการใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะบริเวณก้นถุงให้สามารถระบายน้ำได้
– การห่อผลระยะยาวเป็นการห่อผลอย่างเดียวตั้งแต่ผลอายุ 1 เดือนครึ่งจนถึงเก็บเกี่ยว
– การห่อผลร่วมกับการพ่นสารฆ่าแมลงจะพ่นสารฆ่าแมลงตั้งแต่ผลอายุ 1 เดือนครึ่ง ถึง 2 เดือนครึ่ง หลังจากนั้นจึงห่อผลจนถึงเก็บเกี่ยว
11. เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Amrasca durianae) ป้องกันกำจัดโดยสารฟลอนิคามิด (flonicamid) 50% WG 5 กรัม /น้ำ 20 ลิตร สารบูโพรเฟซิน (buprofezin) 25% WP 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สารไพมีโทรซีน (pymetrozine) 50% WG 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สารโคลไทอะนิดิน (clothianidin) 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สารไทอะมีทอกแซม /แลมบ์ดา–ไซฮาโลทริน (thiamethoxam/(lambda-cyhalothrin) 14.1/10.6% ZC 10 มล./น้ำ 20 ลิตร
12. หนอนเจาะผล(Conogethes punctiferalis) แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (lambdacyhalothrin) 2.5% EC 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ในแหล่งที่มีการระบาด พ่นหลังจากทุเรียนติดผลแล้ว 1 เดือน พ่น 3-4 ครั้ง ทุก 20 วัน บริเวณที่ผลติดกันหนอนชอบทำลายควรตัดแต่งให้เหลือผลเดียว แต่ถ้าไม่มีการตัดแต่ง ควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
13.ไรแดงแอฟริกัน Eutetranychus africanus Tucker ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณหน้าใบ พบระบาดทำความเสียหายแก่ทุเรียน โดยเฉพาะเมื่อสภาพอากาศแห้งแล้ง และลมแรง ที่หน้าใบจะเห็นคราบของไรคล้ายผงหรือฝุ่นละอองสีขาวเกาะอยู่ สีของใบจะซีดไม่เขียวเป็นมันเหมือนใบปกติ ถ้าการทำลายเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้ทุเรียนใบร่วง การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และมีผลกระทบต่อการติดดอก และผลของทุเรียนได้ ประชากรไรมักหนาแน่นมากบริเวณทรงพุ่มด้านนอกที่ถูกแสงแดด ส่วนยอดหรือด้านบนของทรงพุ่ม การแพร่ระบาดในสวนพบว่าจะระบาดรุนแรงเป็นหย่อมๆ ทางด้านเหนือลม ด้านขอบรอบแปลง และด้านที่ติดถนน
2. เมื่อพบการระบาดให้ใช้สารฆ่าไรพ่น สารฆ่าไรที่ใช้ได้ผลในการป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกัน ได้แก่ สารโพรพาร์ไกต์ ๓๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สารไซอีโนไพราเฟน (cyenopyrafen)อัตรา 4 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สารเฮกซีไทอะซอกซ์ (hexythiazox) 1.8% EC 40 มล./น้ำ 20 ลิตร
การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา
ทุเรียนโดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวได้ภายหลังจากผลมีอายุ 3-5 เดือนภายหลังดอกบานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ พันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ปานกลาง และยาว ผลจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 95-105 วัน 105-120 วัน และ 120-150 วัน หลังดอกบานตามลำดับ ดัชนีการเก็บเกี่ยวของแต่ละพันธุ์นับจากวันดอกบานเต็มที่ถึงเก็บเกี่ยวในทุเรียนพันธุ์การค้าบางพันธุ์เป็นดังนี้
พันธุ์ อายุเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน (วัน)
กระดุมทอง 90-100
ชะนี 100-110
หมอนทอง 120-135
ก้านยาว 120-135
กบ 120-135
อีหนัก 140-150
ผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว สามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้นาน 2-9 วัน และที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้นาน 5-12 วัน ถ้าเก็บรักษาผลทุเรียนที่อุณหภูมิ 13-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90 เปอร์เซ็นต์ จะเก็บรักษาผลทุเรียนได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ที่ 10 องศาเซลเซียสเก็บได้ 12 วัน ที่ 2-5 องศาเซลเซียสเก็บได้ 9 วัน ทั้งนี้แล้วแต่ความแก่ ผลทุเรียนดิบจะแสดงอาการสะท้านหนาว (chilling injury) ถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส โดยผิวผลจะเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลบริเวณร่องหนาม และแผ่ขยาย จนทั่วผลเนื้อไม่สุกและมีอาการยุบตัวของเนื้อ
ผลทุเรียนภายหลังแกะแล้วควรเก็บรักษาในที่อุณหภูมิต่ำ เช่น ในตู้เย็นเนื่องจากเนื้อทุเรียนมีกลิ่นค่อนข้างแรง อาจรบกวนผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นของทุเรียน เนื้อทุเรียนอาจสามารถเก็บอยู่ได้นาน 3 สัปดาห์ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เนื้อทุเรียนสามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือนที่อุณหภูมิ -24 องศาเซลเซียสโดยวิธีแช่แข็งอย่างรวดเร็ว (quick freezing) โดยที่รสชาติไม่เปลี่ยน ด้วยสภาพบรรยากาศที่ระดับ O2 5-10 เปอร์เซ็นต์ และหรือร่วมกับ CO2 สูงไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้การใช้วิธีควบคุมบรรยากาศดัดแปลง (Modified atmosphere) ด้วยการเคลือบผิวมีผลทำให้สามารถลดการแตกของผล โดยที่เนื้อแน่นกว่าแต่นุ่มและกลิ่นน้อยลงมาก
การลดผลแตกทุเรียนด้วยสารอะวิไกลซีนไฮโดรคลอไรด์ (aviglycine hydrochloride 15%W/V SP) ใช้อัตรา 13.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ชุบผลร่วมกับป้ายอีทีฟอนที่ขั้วผล และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ช่วยลดผลแตกได้ 14 วัน เพื่อการส่งออก
การเคลือบผิวของทุเรียนสดด้วยขี้ผึ้งในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส หรือ 18 องศาเซลเซียส จะช่วยลดการระเหยของน้ำได้ น้ำหนักที่สูญเสียไปขึ้นกับชนิดขี้ผึ้ง และความเข้มข้นที่ใช้การเคลือบผิวด้วยขี้ผึ้งจะสกัดกั้น การเคลื่อนที่ของแก๊สที่ผ่านเข้าออกทางเปลือก ทำให้ CO2 ภายในผลสูง O2 ต่ำ และ C2H4 ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่ไม่ได้เคลือบขี้ผึ้ง อัตราการหายใจและการหมุนเวียนของ C2H4 ลดลงในผลที่เคลือบขี้ผึ้ง นอกจากนี้ยังทำให้กลิ่นกำมะถัน (sulphurous) ของทุเรียนสุกลดลงด้วย ซึ่งในบางกรณีการสุกของทุเรียนถูกยับยั้งบางส่วนหรือทั้งหมด ดังนั้น ขี้ผึ้ง FMC SF 7055 จึงถูกนำมาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนแก๊สและลดอัตราการสุกของทุเรียน
การบ่มทุเรียนให้สุก ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตอีทีฟอน 52% SL อัตรา 390,000 ppm. หรืออัตรา 750 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร ป้ายขั้ว 2 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง ทำให้ทุเรียนสุกภายใน 3 วัน
การทดลองสารเร่งการสุกแก่ทุเรียน จะต้องคัดผลทุเรียนที่มีอายุ 110-120 วันหลังดอกบาน มีน้ำหนักแห้ง 32% ขึ้นไป ทำการป้ายสารที่ขั้ว 2 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง แล้วนำไปเก็บที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 4 วัน นำออกมาไว้ที่อุณหภูมิห้อง บันทึกการสูญเสียน้ำหนักผล ก่อนและหลังการใช้สาร บันทึกการสุกแก่ ได้แก่
1.การเคาะฟังเสียง ระดับ 1 เสียงแน่นทึบมาก ระดับ 2 เสียงโปร่งเล็กน้อย ระดับ 3 เสียงโปร่งปานกลาง ระดับ 4 เสียงโปร่งมาก
2.การดูรอยแยกของปลิง ระดับ 1 ไม่พบรอยแตก ระดับ 2 รอยแยกเล็กน้อย ระดับ 3 รอยแยกรอบปลิง ระดับ 4 ปลิงหลุด
3.สีเปลือก โดยใช้เครื่องวัดสี หาค่า L a b
4.การดมกลิ่น ระดับ 1 ไม่มีกลิ่น ระดับ 2 กลิ่นอ่อน ระดับ 3 กลิ่นปานกลาง ระดับ 4 กลิ่นแรง
5.ลักษณะเนื้อทุเรียน ระดับ 0 เนื้อแข็ง ระดับ 1 เนื้อนิ่มบางส่วน ระดับ 2 เนื้อทุเรียนเริ่มนิ่มทุกพู ระดับ 3 เนื้อนิ่มทุเรียนนิ่มากทุกพู ระดับ 4 เนื้อเละ
6.ความแน่นเนื้อ
7.การสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ TSS
8.การชิม Hedonic scale
9.การแตกของผลที่ 0 1 2 4 6 วัน
10.อัตราการหายใจ และการผลิตก๊าซเอทิลีน
11.อาการผิดปกติของพืช
การแปรรูปทุเรียนแช่แข็ง
1. ระบบแช่แข็งแอร์บลาสต์ (air blast) หรือห้องเย็นใช้ลมเย็นอุณหภูมิต่ำ -35 ถึง -40 องศาเซลเซียส ผลทุเรียนเวลา 10-12 ชั่วโมง เนื้อทุเรียน 4-6 ชั่วโมง หากเลือกความสุกแก่ทุเรียน หรือเวลาการแช่ไม่เหมาะสม น้ำในเนื้อทุเรียนจะค่อยๆ แข็งตัวเป็นผลึกรูปเข็มแทงเซลล์จนทะลุ เมื่อละลายเนื้อทุเรียนจะเละมีน้ำไหลออกจากเนื้อทุเรียน
2.ระบบแช่แข็ง IQF : Individual Quick Freeze ใช้ไนโตรเจนเหลวพ่นใส่ทุเรียน ตัวไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิติดลบ -196 องศาเซลเซียส น้ำในเนื้อและผลทุเรียนจึงแข็งตัวทันทีไม่ทันสร้างผลึกเข็ม เซลล์จึงยังคงรูปไม่ถูกทิ่มแทง เมื่อละลายเนื้อทุเรียนยังคงสภาพ เนื้อจึงไม่เละ มีคุณภาพดีกว่าระบบแอร์บลาสต์ การแช่แข็งทุเรียนกิโลกรัมละ 4 บาท สูงกว่าแอร์บลาสต์
อาหารและสรรพคุณ : ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีรสหวานมันให้พลังงานมาก ใน 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 144 กิโลแคลอรี มีแป้งและน้ำตาลราว 30 กรัม โปรตีน 25 กรัม มีสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เป็นต้น ในเนื้อทุเรียนมีสารกำมะถันมากไม่ควรดื่มสุราเมื่อรับประทานทุเรียนเพราะจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ คนโบราณบอกว่าทุเรียนเป็นผลไม้มีฤทธิ์ร้อน หลังรับประทานควรรับประทานมังคุดที่เป็นผลไม้มีฤทธิ์เย็นตาม เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายสมดุล
การตรวจสอบทุเรียนอ่อน
ช่วงระยะปลายเดือนมีนาคมนี้ จะเริ่มมีผลผลิตทุเรียนออกจำหน่ายตามท้องตลาดบ้างแล้ว แต่ผลผลิตในช่วงนี้มีปริมาณที่น้อยจึงทำให้มีราคาแพง การสังเกตลักษณะของผลทุเรียนแก่สังเกตได้จากลักษณะภายนอกและภายใน ดังนี้
1. ลักษณะภายนอก
1.1 ก้านผล ก้านผลแข็ง สีเข้ม เมื่อสัมผัสจะรู้สึกสากมือ บริเวณปากปลิงบวมโตเห็นรอยต่อชัดเจน เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียนจะรู้สึกว่าก้านผลแข็งและมีสปริงมากขึ้น
1.2 หนาม ปลายหนามแห้ง สีน้ำตาลเข้ม เปราะ และหักง่าย หนามกางออก ร่องหนามห่าง เมื่อบีบหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ามีสปริง
1.3 รอยแยกระหว่างพู ผลทุเรียนที่แก่จัดจะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้ชัดเจน ยกเว้นพันธุ์ก้านยาว
2. ลักษณะภายในของผลทุเรียนแก่แต่ละพันธุ์ที่สังเกตและตรวจสอบได้มีรายละเอียดในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ลักษณะภายในขั้นต่ำของผลทุเรียนแก่แต่ละพันธุ์
พันธุ์ | ลักษณะภายในผลดิบ |
ความแก่ (ร้อยละ) |
น้ำหนักแห้งเนื้อ 1/ (ร้อยละ) |
จำนวนวันสุก (หลังเก็บเกี่ยว)ในอุณหภูมิห้อง |
หมอนทอง |
เนื้อสีขาวปนเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเล็กน้อย มันน้อยและไม่มีน้ำในเนื้อ รสหวานน้อยถึงปานกลาง กรอบเล็กน้อย เมล็ดสีครีมปนน้ำตาล |
75 |
33 1 |
6-9 |
ชะนี |
เนื้อสีเหลือง กลิ่นหอมเล็กน้อย มันเล็กน้อย รสหวานน้อยถึงหวานปานกลาง เมล็ดสีน้ำตาลปนครีม |
75 |
31 1 |
4-5 |
กระดุมทอง |
เนื้อเหลือง กลิ่นหอมเล็กน้อย มันปานกลาง รสหวานปานกลาง เมล็ดสีน้ำตาล |
75 |
28 1 |
4-5 |
1/วิธีตรวจสอบน้ำหนักแห้งเนื้อของทุเรียน
ผ่าผลทุเรียนตามขวางบริเวณส่วนกลางผลแล้วตัดเนื้อตามขวางพูจากทุกพูให้มีความหนาชิ้นละ 2.5 ซม และนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กหนา 1 มิลลิเมตร เคล้ารวมกันและสุ่มมาจำนวน 10 กรัมมาอบด้วยตู้อบไมโครเวฟ ความร้อนระดับต่ำ (Low) นาน 10 นาที แล้วนำมาชั่งหาน้ำหนักแห้งที่ได้ แล้วอบซ้ำจนน้ำหนักแห้งที่ชั่งได้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แล้วนำน้ำหนักแห้งที่ได้มาคำนวณ ด้วยสูตร
ร้อยละของน้ำหนักแห้งเนื้อ = น้ำหนักแห้ง (กรัม) x100น้ำหนักเนื้อก่อนอบ (กรัม)
เทียบค่าร้อยละน้ำหนักแห้งเนื้อคำนวณได้กับเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
- พันธุ์หมอนทอง
ร้อยละน้ำหนักแห้ง มากกว่าหรือเท่ากับ 32 ระดับความแก่ ผ่าน สามารถส่งออกได้ - พันธุ์ชะนี
ร้อยละของน้ำหนักแห้ง มากกว่าหรือเท่ากับ 30 ระดับความแก่ ผ่าน สมารถส่งออกได้ - พันธุ์กระดุมทอง
ร้อยละของน้ำหนักแห้ง มากกว่าหรือเท่ากับ 27 ระดับความแก่ ผ่าน สมารถส่งออกได้
GAP ทุเรียน | ||||
ต้นทาง
1. บุคคลากร
-เกษตรกร ความต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การทำตลาดออนไลน์ การเป็นผู้ประกอบการ เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การผสมปุ๋ยใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต การรวมกลุ่มเพื่อเชื่อมโยงการผลิตและการตลาด เทคโนโลยียืดอายุการเก็บเกี่ยว แหล่งทุน ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน งานวิจัย การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ แก้กฎหมายผังเมืองให้สามารถสร้างโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ได้ มีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด การจำหน่ายผลผลิต
-บุคลากรภาครัฐ ความต้องการพัฒนาความรู้ BCG Model ความรู้ เทคนิคในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ ทุนวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับการพัฒนาการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการผลิต การตรวจวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตและตรวจคุณภาพผลผลิต งบประมาณ การบูรณาการกับหน่วยงานอื่น เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฎิบัติงาน การบูรณาการองค์ความรู้จากทุกภาคส่วน สู่การนำไปใช้จริงในระดับเกษตรกร บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2.การผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
-ความต้องการได้รับการส่งเสริม/สนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน/ สถาบันการศึกษา ในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัจจัยการผลิตและบริการทางการเกษตร พันธุ์พืชที่มีคุณภาพ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ การผลิตตามมาตรฐาน
-เทคโนโลยีการผลิตพืชปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี ใช้สารชีวภัณฑ์และศัตรูธรรมชาติ
-การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกต้อง ถูกระยะเวลา เพื่อลดการตกค้างสารพิษในดินและสิ่งแวดล้อม
-มีระบบการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ในแปลง เช่นการทำปุ๋ยหมัก
-ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ลดรายจ่าย ลดต้นทุนการผลิต
-วิธีการกำจัดขยะหรือของเสียในแปลง
-นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์
3.การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่ม
-ปัจจุบันมีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าดังกล่าวอย่างไร แปรรูปขั้นต้น ทุเรียนทอด ทุเรียนกวน ทุเรียนเชื่อม ไอศกรีม ทุเรียนเบอเกอรี่/แคร็กเกอร์ทุเรียน การแปรรูปขั้นกลาง แกะเนื้อแช่แข็ง ฟรีซดราย แป้งทำอาหาร แป้งทำขนมจากทุเรียน
-ส่งเสริมกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ยกระดับมาตรฐานการผลิต
-มีการนำผลพลอยได้และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากสินค้าดังกล่าวมาสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ นำไปทำอาหารสัตว์ ก๊าซชีวภาพ
-นำเปลือกผลไม้มาแปรรูปเป็นภาชนะบรรจุอาหารที่ย่อยสลายได้
-นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานสะออาด เช่น ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน
-ความต้องการได้รับการส่งเสริม/สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน/สถาบันการศึกษา เทคโนโลยีแบบไหน องค์ความรู้ด้านใด อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
-ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรที่สามารถนำงานวิจัยภาครัฐไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งด้านองค์ความรู้และงบประมาณ
-สนับสนุนการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต
ช่องทางการจำหน่าย
-ตลาด การจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ตลาดค้าส่ง ส่งล้งเพื่อจำหน่ายต่างประเทศ, ค้าปลีก สู่ผู้บริโภคโดยตรง, ร้านค้าออนไลน์ จำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ และไปรษณีย์ไทย, งานแสดงสินค้า ห้างสรรพสินค้า ภาครัฐช่วยสนับสนุนในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สินค้า ภาครัฐเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแปลงใหญ่
-อุตสาหกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม (แปรรูปขั้นสูง เชิงพาณิชย์) การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษต อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมพลังงานและเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมรีไซเคิล อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ปัจจุบันนำเปลือกทุเรียนมาทำเป็นเครื่องสำอางค์ สารเพิ่มความหนืด (เพกติน) และอาหารได้แก่ น้ำนมทุเรียน เบเกอรี่ไส้ทุเรียน ที่มีการพัฒนาเชื่อมโยงเกษตรกร ผู้ประกอบการ และตลาดเข้าด้วยกันจนสามารถจำหน่ายเป็นสินค้าในตลาด และบางผลิตภัณฑ์กำลังพัฒนารูปแบบ รูปลักษณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดในยุควิถีใหม่ ความต้องการได้รับการส่งเสริม/สนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา การรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และต้องการเชื่อมโยงหลายหน่วยงานเพื่อให้เกิดการพึ่งพาเชิงบูรณาการ ได้แก่ สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างศักยภาพให้กลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่
Category: GAP, VDO, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ด-น