มะพร้าว
มะพร้าว
มะพร้าว เป็นพืชในตระกูลปาล์ม แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ ดังนี้ 1. มะพร้าวอุตสาหกรรม (มะพร้าวแกง หรือ พันธุ์ที่ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลแก่) 2. มะพร้าวเพื่อบริโภคผลสด (มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน) และ 3. มะพร้าวผลิตน้ำตาล
ด้านการผลิต
ปี 2565 มีพื้นที่ให้ผลผลิตรวมประมาณ 837,189 ไร่ 692 ล้านผล อัตราการให้ 827 ผลต่อไร่ มีการปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่างเปล่า
ปี 2563 มีพื้นที่ปลูกรวมประมาณ 1,103,025 ไร่ จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 247,628 ราย ผลผลิตรวมประมาณ 1,050,200 ตัน โดยพื้นที่ปลูกมะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมหลัก 629,528 ไร่ ของอยู่ในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และปัตตานี ตามลำดับ และพื้นที่ปลูกหลักของมะพร้าวผลอ่อน ได้แก่ จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร สงขลา สมุทรสงคราม และนครปฐม ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลผลิตมะพร้าวในประเทศยังไม่เพียงพอต่อการแปรรูปและยังมีการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2562
ปี 2565 มะพร้าวมีแหล่งผลิต GAP พืชที่ได้รับการรับรองทั้งหมด 287,053 แปลง 224,490 ราย 1,837,162.25 ไร่ โดย
1.มะพร้าวแกง/กะทิ จำนวน 2,181 แปลง จำนวนราย 2,096 ราย พื้นที่ 19,101.53 ไร่
2.มะพร้าวอ่อน (น้ าหวาน) จำนวน 49 แปลง จำนวนราย 48 ราย พื้นที่ 252.21 ไร่
3.มะพร้าวอ่อน (น้ าหอม) จำนวน 835 แปลง จำนวนราย 752 ราย พื้นที่ 14,207.54 ไร่
การรับรอง GAP Monkey Free Plus เกษตรกรดังกล่าวเป็น 2 กลุ่ม
1 เกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP พืชอาหารอยู่แล้ว กรมวิชาการเกษตรจะท าการเข้าไปตรวจติดตาม Surveillance ด้วยการตรวจรายการ Monkey Free Plus เพื่อให้การรับรองแปลง GAP โดยปราศจากการใช้แรงงานลิง
2 เกษตรกรรายใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการรับรอง GAP เป็นหน้าที่ของสมาคมฯ/เอกชน/ผู้ประกอบการ ที่จะต้อง อบรมให้ความรู้เกษตรกรในกลุ่มของตนเองให้มีความรู้ด้านมาตรฐาน GAP พืชอาหารและ Monkey Free Plus เพื่อ เตรียมความพร้อมของเกษตรกร เมื่อเกษตรกรมีความพร้อมที่จะรับการตรวจฯ ให้ส่งใบสมัครให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการ เกษตรในพื้นที่ เพื่อเข้าตรวจให้การรับรอง
นำเข้ามะพร้าวผลแก่ 170,619.81 ตัน มูลค่า 1.4 ล้านบาท การส่งออกผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ กะทิสำเร็จรูป และมะพร้าวอ่อน โดยในปี 2562 มีการส่งออกผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูป ปี 2562 ส่งออกได้ 263,121 ตัน (12,766 ล้านบาท) ส่วนมะพร้าวอ่อน ส่งออกได้ 71,483 ตัน (1,760ล้านบาท) ทั้งนี้ยังไม่รวมการส่งออกผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวอ่อน เช่น น้ำมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีข้อมูลว่ามีการนำเข้าน้ำมะพร้าวจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น จากปี 2558 สหรัฐนำเข้าเพียง 10.2 ตัน และเพิ่มประมาณ 10 เท่า (111 ตัน) ในปี 2562
สถานการณ์โลกปี 2557 มีการผลิตมะพร้าวทั่วโลก 60,809,810 ตัน ประเทศที่ผลิตมากที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย มีพื้นที่ปลูก 3,025,000 เฮกตาร์ ผลผลิต 18,300,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 30.09 ของทั้งหมด รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ อินเดีย และบราซิล ซึ่งมีผลผลิต 14,696,298 11,078,873 และ 2,919,110 ตัน ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้ 1,000,320 ตัน มีพื้นที่ปลูก 207,126 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 1.64 ของผลผลิตทั้งโลก
ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในปี 2562 มีการส่งออกผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูปมากที่สุด โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 12,766 ล้านบาท (ตารางที่ 1) ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และ เยอรมนี ผลิตภัณฑ์มะพร้าวอื่น ๆ ที่มีมูลค่าการส่งออกรองลงมา ได้แก เนื้อมะพร้าวแห้ง และ ถ่านกัมมันต์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,874, และ 665 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนมะพร้าวอ่อน มูลค่าการส่งออกมากถึง 1,760 ล้านบาท
สถานการณ์ในประเทศ ปี 2554 – 2559 พื้นที่ให้ผลผลิตมะพร้าวอยู่ระหว่าง1,178,412 – 1,349,959 ไร่ผลผลิตอยู่ระหว่าง 744,756 – 1,056,658 ตันในปี 2559 พื้นที่ให้ผลผลิตรวมทั้งประเทศ1,178,412 ไร่ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 744,756 ตันเมื่อเทียบกับปี2558พื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ12.52 และผลผลิตลดลงร้อยละ 1.13 จังหวัดที่ปลูกมาก ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และปัตตานี รวมกันประมาณ 76% ของพื้นที่ปลูกมะพร้าวรวมทั้งประเทศไทย
การผลิตมะพร้าวแกง เนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผลผลิตลดลงและบางส่วนไม่ได้คุณภาพรวมไปถึงการระบาดของแมลงศัตรูที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นหนอนหัวดำและแมลงดำหนามมะพร้าวส่งผลให้ผลิตลดลงแต่ปี 2561 ผลผลิตมะพร้าวมีประมาณ 856,920 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีจำนวน 761,914 ตัน เนื่องจากแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญ คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของศัตรูพืชแมลงดำหนามและหนอนหัวดำ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้เกษตรกรใช้ศัตรูธรรมชาติตัวเบียนบราคอนในพื้นที่ระบาด ขณะที่เขตภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ (มากกว่าปีละ 2,000 มม.) ผลผลิตมะพร้าวจึงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผลผลิตต่อไร่ ปี 2561 อยู่ที่ 1,131 กิโลกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่ให้ผลผลิต 1,007 กิโลกรัมต่อไร่
การผลิตมะพร้าวน้ำหอม พื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม อยู่ในจังหวัด ราชบุรี เป็นหลัก แต่ด้วยมะพร้าวน้ำหอม เป็นไม้ผลที่ไม่ต้องดูแล ใช้สารเคมีในการผลิตน้อยกว่าพืชผักและไม้ผลเศรษฐกิจอื่น ประกอบกับตลาดยังมีความต้องการ ทำให้เกษตรกรนิยมปลูกมากขึ้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังภาคอีสานและภาคใต้ อย่างน้อยมีผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มขึ้น 20,000 ต้น/ปี ผลผลิตมะพร้าวอ่อนในรอบปี มักจะขาดแคลนในช่วง เม.ย.– ก.ค. ของทุกปี เนื่องจากผสมไม่ติดดอกตัวเมียร่วงในช่วง 6 เดือนก่อนหน้านั้น ต.ค./พ.ย.-ม.ค./ก.พ. ประมาณ 5 จั่นที่ผลผลิตไม่ติดหรือติดน้อยมาก/ไม่พัฒนาไปเป็นผล ทำให้ราคามะพร้าวอ่อนในช่วงนั้นสูงกว่าปกติ ปัญหาที่พบคือ ไร ทำลายผิวมะพร้าว และ ด้วงแรดระบาด ผู้ประกอบการและเกษตรกรยังไม่สามารถกำจัดหมดไป อีกทั้งผลร่วง และ ผลแตก ยังเป็นปัญหา ทำให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอตลอดปี และหากขาดน้ำยังทำให้เกิดผลลีบผลทุยอีกด้วย ต้นทุนการผลิตมะพร้าวน้ำหอม 42,626 บาทต่อไร่ ผลผลิต 3,331 กิโลกรัมต่อปี ผลตอบแทน 128,797 บาทต่อไร่ต่อปี
ชื่ออื่นๆ : มะป้าว คอส่า โพล คุง พร้าว ย่อ หมากอุ๋น หมากอูน
ชื่อวงศ์ : PALMAE
ชื่อสามัญ : Coconut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifere Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น ลำต้นกลมยาวมักจะตั้งตรงมีรอยเป็นปล้องถี่ๆ ตลอดต้น ใบประกอบ ใบย่อยเรียวยาว ดอกเล็กๆสีขาวนวล ออกเป็นช่อ เรียกว่าชันมะพร้าว ผลกลมโตมีเปลือกเป็นเส้นใยหนา เมล็ดกลมมีเปลือกแข็ง เรียบกว่า กะลา เนื้อในขาวเป็นมัน ผลออกเป็นพวง เรียกว่าทะลาย มีหลายพันธุ์ เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะมะพร้าวไฟ มะพร้าวนาฬิเก
พันธุ์มะพร้าวกรมวิชาการเกษตร
1. มะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1 เกิดจากแม่พันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง*เวสท์อัฟริกันต้นสูง ผสมกับพ่อไทยต้นสูง ดำเนินการปี 2519-2531 ได้เมื่อปี พ.ศ. 2532 และทดสอบสายพันธุ์ปี 2533 และได้เป็นพันธุ์รับรอง ปี 2562 ให้ผผลิตเฉลี่ย 102 ผตต่อต้นต่อปี ผลน้ำหนักเฉลี่ยว 1.8 กิโลกรัม ให้เนื่อ 337 กรัมต่อผล
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะผล (หน่อ) มะพร้าวที่ใช้สำหรับเพาะต้นกล้า การปาดเปลือกใกล้หัวจุกขนาดเท่าฝ่ามือ จะช่วยให้ต้นกล้างอกได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
การเพาะกล้ามะพร้าวให้เตรียมวัสดุปลูกโดยใช้ทรายหยาบ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 ผสมปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท 5 กรัม/กิโลกรัม จะใช้ระยะเวลาในการเพาะชำ 210-300 วัน แล้วจึงย้ายลงแปลงปลูก
มาตรฐานต้นพันธุ์มะพร้าว
1.เป็นหน่อพันธุ์ที่ได้จากแปลงผลิตพันธุ์ดี ตรงตามพันธุ์ และมีการจัดการแปลงตามมาตรฐาน GAP
2.เป็นหน่อพันธุ์ที่ได้จากการเพาะผลพันธุ์ ดังนี้
- ผลพันธุ์ไทย มีขนาดเส้นรอบวงของผลพันธุ์ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
- ผลพันธุ์ลูกผสม มีขนาดเส้นรอบวงของผลพันธุ์ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร
เป็นหน่อพันธุ์ที่เพาะจากการปาดหัวผลพันธุ์เท่านั้น
3.อายุของหน่อพันธุ์ มีอายุ 4-8 เดือน หรือมีใบ 5-8 ใบ มีจำนวนใบจริงไม่ต่ำกว่า 4 ใบ
4.ความสูงของหน่อพันธุ์ มีความสูงไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร
5.หน่อพันธุ์มีลักษณะอวบ โคนต้นมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ใบกว้างสีเขียวเข้ม
6.หน่อพันธุ์มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ปรากฏอาการของการขาดธาตุอาหารหรือการทำลายของโรคและแมลง ที่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต
7.ต้องมีป้ายตามมาตรฐานที่กำหนดติดกับหน่อพันธุ์และสามารถตรวจสอบได้
การปลูกและการดูแล : การเตรียมหลุมปลูก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยคอก ใช้ระยะปลูก 6×6 เมตร หรือ 8×8 เมตรขนาดของหลุมที่จะปลูกขึ้นอยู่กับลักษณะความสมบูรณ์ของดินและความลึกของระดับน้ำใต้ดิน โดยทั่วไปถ้าดินแข็งหรือดินเหนียวจัดควรขุดหลุมให้โตขึ้น ดินค่อนค้างร่วนแนะนำให้ขุดขนาด 1x1x1 เมตร กว้างxยาวxลึก ประมาณ 30-50 ซม. การขุดหลุมควรทำในช่วงฤดูแล้งหรือขุดไว้ล่วงหน้า 1-2 เดือน ก่อนปลูกเพื่อตากดิน โดยขุดแยกดินบนดินล่างไว้คนละด้านของหลุม หลังจากขุดหลุมแล้วให้ตากดินไว้สัก 7 วัน ในที่ซึ่งมีปลวกชุกชุม ถ้าสามารถหาเศษไม้ ใบไม้ มาใส่ก้นหลุมแล้วจุดไฟเผาก็จะช่วยป้องกันปลวกได้ หรืออาจจะใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมแทนก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยเก็บความชื้นไว้ได้นานขึ้นแล้วจึงเอาดินบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม และใช้ดินล่างผสมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมต่อหลุมใส่ลงให้เต็มทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก ฤดูปลูกที่เหมาะสมสำหรับปลูกมะพร้าว คือต้นฤดูฝนหลังจากที่ฝนตกหนักๆแล้วประมาณ 2 ครั้ง เพื่อให้มะพร้าวมีเวลาที่จะงอกงามสามารถหยั่งรากได้เร็วและลึก ถ้าปลูกปลายฤดูฝนจะกระทบกระเทือนต่อหน่อมะพร้าวเพราะขาดน้ำทำให้ชะงักการเจริญเติบโตหรือเหี่ยวเฉาตายได้ ในการเตรียมหน่อปลูกหน่อมะพร้าวที่ขุดออกมาจากแปลงชำควรจะปลูกให้หมดในวันนั้น แต่ถ้าจำเป็นต้องขุดหน่อพันธุ์ไว้ก็ไม่ควรเกิน 10 วันก่อนปลูก
การดูแล การให้น้ำ หลังจากปลูกมะพร้าวถ้าฝนไม่ตกต้องให้น้ำทันทีในช่วง 2-3 ปีแรกนี้การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมาก ต้องหมั่นให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อให้มะพร้าวเจริญเติบโตหยั่งรากได้ลึกและตั้งตัวได้เร็วโดยเฉพาะในฤดูแล้งควรรดน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง สำหรับมะพร้าวที่ปลูกแบบยกร่องก็ให้ปล่อยน้ำเข้าท้องร่วง เมื่อมะพร้าวตั้งตัวได้ดีและมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี
การใส่ปุ๋ย มะพร้าวมีความต้องการธาตุอาหารที่สำคัญในการสร้างดอกออกผลและการเจริญทางลำต้นทั้ง 3 ชนิดคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียม เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ นอกจากนั้นยังต้องการธาตุอาหารอื่นๆอีก เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม โดยธาตุอาหารแต่ละชนิดมะพร้าวจะต้องการในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน การใส่ปุ๋ยจึงต้องให้ได้ตามสัดส่วนที่ต้องการหากขาดหรือได้รับธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากหรือน้อยเกินไปก็จะทำให้มะพร้าวเจริญเติบโตและให้ผลไม่เต็มที่ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้นในระยะที่ยังไม่ออกจั่น เมื่อให้ผลเพิ่มเป็น 20-30 กิโลกรัมต่อต้น และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตราต่อต้น เท่ากับ 1 กิโลกรัมของอายุปีต้นมะพร้าวแบ่งใส่ 2 ครั้ง
การใส่เกลือแกง ใส่ตามอายุมะพร้าว ในอัตราต่างๆ กัน โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี คือต้นฤดูฝน และก่อนสิ้นฤดูฝน เกลือแกง (NaCl) คุณสมบัติของเกลือแกงต่อมะพร้าว มีราคาถูกเมื่อเทียบกับปุ๋ยมะพร้าวชนิดอื่นๆ สะดวกในการนำไปใช้ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านการเจริญเติบโต เพิ่มความหนาของเนื้อมะพร้าว และเพิ่มน้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง เพิ่มจำนวนผลต่อต้น ทำให้มะพร้าวทนทานต่อความแห้งแล้งและต้านทานต่อโรคและแมลง ลดการเข้าทำลายของโรคใบจุดในแปลงเพาะชำ
1. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด
2.. การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เฉพาะเจาะจงกับแมลงดำหนาม เช่น แตนเบียนอะซีโคเดส ฮิสไพนารัม (Asecodes hispinarum) มาเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณ และปล่อยทำลายหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว
3. การใช้สารเคมี
3.1 กรณีมะพร้าวสูงกว่า 12 เมตร ให้ฉีดสารเข้าต้น ด้วยสารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น โดยห้ามใช้กับมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิ
-หากพบการระบาดรุนแรง แนะนำวิธีการพ่นสารทางใบด้วยสาร ฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide) 20% WG อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร, คลอแรนทรานิลิโพล (chlorantraniliprole) 5.17% SC และ สปินโนแซด (spinosad) 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้าเป็นสวนมะพร้าวที่มีการปล่อยแตนเบียนควรมีการพ่นสารก่อนที่จะมีการปล่อยแตนเบียน
-ปล่อยแตนเบียนหนอนหัวดำ มะพร้าวโกนิโอซัส นีแฟนติดีส (Coniozus nephantidis)
-หมั่นดูแล ทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าว โคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรู ให้ใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัด
-เผาซากหรือตอมะพร้าวที่ตัดโค่นแล้ว
เนื่องจากด้วงแรดมักวางไข่ที่กองปุ๋ย กองมูลสัตว์ หรือกองซากพืช จึงควรหมั่นพลิกกลับกอง หรือเกลี่ยกองให้กระจายออกโดยไม่ให้สูงเกิน 15 เซนติเมตร
-ใช้เชื้อราเขียว (Metarrhizium anisopliae) ใส่ตามกองขยะหรือต้นมะพร้าวผุเพื่อล่อให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่เมื่อฟักเป็นหนอนเชื้อราเขียวจะทำลายหนอนของด้วงแรดเป็นการตัดวงจรชีวิต
5.3 ด้วงงวงมะพร้าว จะพบรอยแผลที่ด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงเจาะเข้ามาวางไข่ ทำให้เกิดยอดเน่า มะพร้าวตายได้ อาการที่แสดงว่ามะพร้าวถูกทำลายด้วยด้วงงวงคือ ยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลือง โคนใบที่ติดลำต้นหักพับ การป้องกันกำจัดดังนี้
- หมั่นดูแลทำความสะอาดแปลงมะพร้าวสังเกตรอยแผลที่ด้วงแรดเจาะ เมื่อพบรอยแผล รอยเจาะ และยยอดอ่อนที่ยังไม่เหี่ยว ให้ใช้เหล็กยาวปลายเป็นตะขอเกี่ยวเอาตัวหนอนมาทำลาย และทารอยแผลด้วยสารทาร์ (น้ำมันเครื่อง 1 ลิตร ผสมผงกำมะถัน 100 กรัม) เพื่อป้องกันการเข้าทำลายซ้ำ และใช้สารทาร์ ทาบริเวณรอยแผลที่เกดจากการตัดใบ รอยแตกที่โคนลำต้น หรือรอยตัดจั่นมะพร้าวเพื่อทำน้ำตาล เพื่อป้องกันการวางไข่
-ถ้าพบด้วงงวงเข้าทำลายระยะแรก สามารถป้องกันกำจัดได้ แต่ถ้าไม่ดูแลความเสียหายจะมีมากขึ้น อาจเกิดการระบาดจนมะพร้าวตายทั้งสวนได้เนื่องจากหนอนด้วงงวงจำนวนมากเข้ากัดทำลายบริเวณยอดจนหมด
- ถ้ามีต้นมะพร้าวตายในแปลงปลูกหรือมีเศษซากของต้นมะพร้าวให้เอาออกจากแปลงไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการระบาด
5.4 ไรสี่ขามะพร้าว อาศัยอยู่ใต้กลีบเลี้ยงของผลมะพร้าว ลักษณะคล้ายหนอนสีขาวใส เริ่มเข้าทำลายมะพร้าวตั้งแต่ผลมีขนาดเล็ก 3-25 ซม. แผลเป็นร่องลึกา แตกเป็นริ้วเหมือนลายไม้สีน้ำตาล ปลายแผลแหลม ทำให้ผลมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต หลุดร่วง
วงจรชีวิต ระยะไข่ -ไข่ไรสี่ขามะพร้าว รูปร่างเป็นทรงกลมขนาดเล็ก สีขาวใส มีอายุประมาณ 3 วัน
ตัวอ่อนวัยที่ 1 -รูปร่างคล้ายหนอนขนาดเล็ก ตัวสีขาวใส มีอายุประมาณ 2 วัน
ตัวอ่อนวัยที่ 2 -มีขนาดใหญ่ขึ้น จะลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย มีอายุประมาณ 2 วัน
ตัวเต็มวัย -มีลำตัวคล้ายหนอน ความยาวประมาณ 200-250 ไมครอน กว้างประมาณ 35-50 ไมครอน มีขา 2 คู่ อยู่ส่วนหน้าของลำตัว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเป็นศัตรูพืช เพศเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 30-50 ฟอง จากระยะไข่-ตัวเต็มวัย ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-8 วัน
การป้องกันกำจัดพ่นสารฆ่าไรในช่วงระยะมะพร้าวติดจั่นจนถึงระยะผลขนาดเล็กห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ ได้แก่โพรพาร์ไกต์ 30% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อะมิทราซ 20% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร กำมะถันผง 80% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (สารกลุ่ม UN) ไพริดาเบน 20% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคศัตรูมะพร้าว
1. โรคผลร่วง ลักษณะบริเวณขั้วผลเกิดแผลสีน้ำตาลแห้งและเมื่อลุกลามไปบนผลทำให้ผลเน่าและร่วงหล่น ในผลอ่อนที่ยังไม่มีการสร้างเนื้อมะพร้าว เชื้อจะเข้าทำลายเปลือกและกะลาอ่อน เมื่อความชื้นสูงมักจะพบเส้นใยสีขาวฟูที่แผลบนเปลือกผล ในผลที่มีกะลาแข็งแล้วเชื้อราจะเข้าทางตาของผลทำให้เนื้อมะพร้าวเกิดอาการเน่า
1. ถ้าสภาพอากาศชื้น มีฝนตกติดต่อกัน ควรหมั่นตรวจผลมะพร้าว โดยเฉพาะทะลายที่มีผลดก เมื่อพบโรคให้ตัดทิ้งนำไปเผาทำลายทันที
2. ตัดแต่งคอมะพร้าวให้สะอาด โล่ง โปร่ง ให้แสงแดดผ่านเข้าถึง
3. เก็บผลมะพร้าวที่ร่วงออกจากแปลงไปเผาทำลาย
4. ถ้าพบอาการของโรคบนผลที่ยังไม่ร่วง ให้ตัดออกจากต้น รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่พบโรค เช่น ใบ ก้านใบออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกแล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 8๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 8๐-1๐๐ กรัมต่อน้ำ 2๐ ลิตรหรือ เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 5๐-6๐ กรัมต่อน้ำ 2๐ ลิตร
5. ถ้าอาการรุนแรง ควรตัดทำลายต้นที่เป็นโรคออกไปจากแปลงปลูก
อาการผิดปกติเกิดจากสรีระวิทยา
1. เอือนกิน เกิดกับผลมะพร้าว ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ลักษณะของผลภายนอกปกติ แต่เนื้อมะพร้าวจะมีลักษณะฟ่ามหนาประมาณ 2 เซนติเมตร ยุบง่าย เนื้อมะพร้าวหนาไม่เท่ากัน บางแห่งไม่มีเนื้อมีแต่กะลา ผิวของเนื้อขรุขระ สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากสภาพอากาศไม่เหมาะสมในขณะที่มะพร้าวเริ่มสร้างเนื้อ เช่น กระทบแล้ง เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนจึงไม่มีวิธีการที่จะป้องกันกำจัด
2. ผลลีบ เกิดจากการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม มักเริ่มเกิดในฤดุแล้ง ส่งผลให้การพัฒนาการสร้างน้ำ เนื้อ และกะลาไม่สมบูรณ์จึงเกิดอาการผลลีบ และมีความผิดปกติ ดังนั้นควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อให้มะพร้าวสามารถดูดธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรรพคุณ
เปลือกต้น ใช้เปลือกต้นที่สด นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้าแปรงสีฟัน แก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด
เปลือกผล ใช้เปลือกผลแก่ที่แห้งแล้ว นำมาเป็นยาแก้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ และใช้ในการห้ามเลือดแก้ปวดเลือดกำเดาไหล
เนื้อมะพร้าว ใช้เนื้อมะพร้าวสด หรือแห้ง นำมาขูดให้เป็นฝอยใส่น้ำ แล้วเคี่ยวเอาน้ำมัน ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลังขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ
น้ำมะพร้าว ใช้น้ำมะพร้าวสดประมาณ 1-2 ลูก กินเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิต และบวมน้ำ ปัจจุบันในทางการแพทย์ยอมรับว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์และมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถใช้แทนน้ำเกลือและรักษาอาการอ่อนเพลียได้ดี ลดความร้อน ดับกระหาย เพราะในน้ำมะพร้าวมีโปรตีน น้ำตาล แคลเซียม โซเดียม และโดยเฉพาะโพแทสเซียม น้ำมะพร้าวมี juvenile hormone ช่วยปรับสภาพและลดอายุของเซลล์ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตให้ดูอ่อนเยาว์ขึ้น
น้ำมัน น้ำมันที่ได้จากเนื้อ หรือจากกะลาใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง หรือใช้ทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังต่างๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก และใช้ทาผิวหนังที่แตกเป็นขูย นอกจากนี้ยังใช้เป็นน้ำมันทาผมได้อีกด้วย
กะลา ใช้กะลามะพร้าวแห้ง นำมาเผาให้เป็นถ่านดำแล้วนำมาบดให้เป็นผงละเอียด ผสมน้ำกินวันละ 3-4 ครั้งๆ ละ 0.5-1 ช้อนชา กินเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดกระดูกและเอ็น
ดอก ใช้ดอกสดอ่อน นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บปาก เจ็บคอ แก้ท้องเสีย
ราก ใช้รากสด นำมาต้มกินเป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรือเอาน้ำอมหรือบ้วน แก้เจ็บคอ
————————————————————————————————————————————————-
การส่งออกมะพร้าว ปี 2554 – 2559 ปริมาณการส่งออกอยู่ระหว่าง 31,667 – 95,788 ตัน มูลค่าอยู่ระหว่าง 521 – 2,472 ล้านบาท ในปี 2559มีปริมาณการส่งออก95,788 ตันมูลค่าการส่งออก 2,472 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.30 และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.59 คู่ค้าที่สำคัญ:สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง คู่แข่งที่สำคัญ :ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม
การค้ากับประเทศอาเซียนมีการส่งออกไปยังมาเลเซีย ปริมาณ 6,130,700 กิโลกรัม มูลค่า 21,054,408 บาท อินโดนีเซีย ปริมาณ 544,530 กิโลกรัม มูลค่า 8,453,428 บาท เวียดนาม ปริมาณ 49,022 กิโลกรัม มูลค่า 521,041 บาทสิงคโปร์ ปริมาณ 4,844 กิโลกรัม มูลค่า 482,568 บาท และบรูไน ปริมาณ 231 กิโลกรัม มูลค่า 10,502 บาท
GAP มะพร้าว | ||||
การทำน้ำมันมะพร้าวแบบต่างๆ ของศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร
วิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าวได้มีการค้นคิดวิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าว มาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อมาจึงพัฒนาวิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าว ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถทำได้ในระดับอุตสาหกรรม วิธีสกัดน้ำมันมะพร้าว แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ 1.การสกัดน้ำมันมะพร้าวผ่านการคั้นกะทิ 2.การสกัดน้ำมันมะพร้าวไม่ผ่านการคั้นกะทิ1.การสกัดน้ำมันมะพร้าวผ่านการคั้นกะทิวิธีนี้เป็นวิธีดั่งเดิมที่ชนชาติต่างๆ นิยมปฎิบัติเพราะง่าย สะดวก และไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนอะไร น้ำมันที่ได้ก็มีคุณภาพดี เพราะไม่ต้องผ่านอุณหภูมิสูงและสารเคมีใดๆ แต่สามารถปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยวิทยาการสมัยใหม่ได้การสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยผ่านการคั้นกะทิ ทำได้โดยการนำเนื้อมะพร้าวขูดที่ทำขึ้นไม่เกิน 24 ชั่วโมงมาเติมน้ำ แล้วบีบน้ำกะทิออกมาโดยใช้มือหรือเครื่องบีบ การขูดมะพร้าวต้องทำทันทีที่ผ่าผลมะพร้าว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกินไป เพราะจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และกายภาพอีกทั้งยังมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้น้ำกะทิที่ได้มีคุณภาพต่ำ การสกัดวิธีนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการสกัดแบบเปียก (Wet Process) โดยมีขั้นตอนคือ1.1 การคั้นกะทิ (Coconut Milk Pressing )โดยผ่ามะพร้าวห้าวแล้วใช้เครื่องขูด ซึ่งอาจเป็นกระต่ายขูดมะพร้าว (ภาคใต้เรียกว่า เหล็กขูด ) ในปัจจุบันใช้เครื่องขูด จากนั้นนำมะพร้าวขูดมาคั้นกะทิ โดยผสมน้ำแล้วบีบด้วยมือ ตอนแรกเติมน้ำแต่เพียงเล็กน้อย จะได้หัวกะทิสำหรับปรุงอาหารประเภทที่ต้องใช้หัวกะทิ ต่อจากนั้นก็เติมน้ำ แล้วคั้นต่อไป ตอนสุดท้ายจะได้หางกะทิ ส่วนกากที่เหลือ ซึ่งยังมีคุณค่าทางอาหารเพราะยังมีโปรตีนอยู่สูง สามารถนำไปทำอาหารได้ เช่นอาหารว่างวิธีการแยกน้ำมันออกจากน้ำกะทิ ( Oil Separation from Coconut Milk) น้ำกะทิที่คั้นได้ทั้งหัวกะทิและหางกะทิ ประกอบไปด้วยน้ำมันมะพร้าวและน้ำรวมตัวกัน ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้ดังต่อไปนี้1.2 การหมัก (Fermentation Method )เป็นวิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าวแบบพื้นบ้าน ทำได้โดยการนำน้ำกะทิใส่ภาชนะ หมักทิ้งไว้ 24-36 ชั่งโมง น้ำกับน้ำมันจะแยกตัวออกจากกัน โดยน้ำมันซึ่งเบากว่าน้ำจะลอยอยู่ชั้นบน สามารถดูดหรือเทออกไปอุ่นให้ร้อน โดยใช้ความร้อนไม่มาก เพื่อให้น้ำหรือความชื้นที่ยังหลงเหลืออยู่ระเหยออกให้หมด แล้วนำไปกรอง จะได้น้ำมันมะพร้าวพรหทจรรย์ (Virgin Coconut Oil) ซึ่งเป็นน้ำมันที่สกัดออกจากพืชโดยไม่ใช้ความร้อนที่สูง และไม่ผ่านขบวนการทางเคมี ยังมีกลิ่นและรสของพืชนั้นๆ อยู่ มีสีใสดังน้ำและสามารถใช้บริโภคได้ทันทีที่สกัดได้ ผลผลิตที่ได้ประมาณ 20 %1.3 การเคี่ยว ( Boiling)แบ่งออกได้ 2 วิธี คือ
- 1. วิธีแบบฉบับ (Kitchen Method) การเคี่ยวกะทิเพื่อให้ได้น้ำมันมะพร้าวเป็นภูมิปัญญา
ชาวบ้าน ดังเช่นในเทศกาลงานเดือนสิบของคนภาคใต้ในหลายจังหวัดต้องมีการทำขนมและอาหารคาว ที่ต้องใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ ชาวบ้านจึงเก็บมะพร้าวห้าวเอามากะเทาะเปลือก แล้วผ่าออกเป็นสองซีก ขูดเนื้อมะพร้าวด้วยกระต่ายขูดมะพร้าว จากนั้นคั้นกะทิแล้วจึงเคี่ยวกะทิ โดยใช้กะลาและกาบมะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง เคี่ยวไปจนกะทิแตกมัน (ซึ่งเป็นการทำลายโปรตีนที่หุ้มอนุภาคน้ำมัน ทำให้น้ำมันแยกตัวออกจากกะทิ ) น้ำซึ่งปนอยู่กับน้ำกะทิตั้งแต่ต้น จะแยกตัวออกเช่นกัน จึงต้องคอยคนจนน้ำที่แยกตัวออกมา ให้ระเหยไปหมดเหลือแต่น้ำมันมะพร้าว แล้วกรองทำความสะอาด
- 2. วิธีปรับปรุง (Modified Kitchen Method) นำกะทิไปตั้งทิ้งไว้นาน 3 ชั่งโมง เพื่อให้
แยกน้ำกับน้ำมันมะพร้าวแยกชั้น นำชั้นบนซึ่งเป็นหัวกะทิไปตุ๋น จนกระทุ่งน้ำมันแยกออกมาจากกะทิในชั่งโมงแรก ใช้อุณหภูมิ 90 0C หลังจากนั้น ใหลดลงเหลือ 80 0C จนกระทั่งโปรตีนเริ่มจับตัวเป็นก้อน เมื่อน้ำมันเริ่มแยกตัวออกจากโปรตีน ให้ลดอุณหภูมิลงเหลือ 60 0C แยกน้ำมันจากกากออกโดยเทลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปตุ๋นเพื่อแยกน้ำออกให้หมด แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อแยกสิ่งเจือปนเล็กๆ ออก
1.4.การใช้แรงเหวี่ยง (Centrifugation Method ) ทำได้โดยการนำกะทิมาเข้าเครื่องเหวี่ยง เพื่อให้สารที่มีความถ่วงจำเพาะต่างกันแยกชั้นกัน น้ำมันซึ่งเบาที่สุด จะอยู่ส่วนบน ส่วนน้ำและของแข็งที่ปนมาจะอยู่ส่วนล่าง จากนั้น ก็แยกน้ำมันออกจากส่วนที่เหลือไดโดยการเทออก วิธีนี้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพสูงกว่าวิธีเคี่ยว เพราะไม่มีการใช้ความร้อนในขั้นตอนการผลิต แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้อุปกรณ์-เครื่องมือที่มีราคาแพง อีกทั้งยังศูญเสียกลิ่นของมะพร้าวไปบ้าง ตแต่น้ำมันที่ได้ยังจัดเป็นน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ เพราะไม่ผ่านขนวบการทางเคมีและความร้อนสูง
1.5. การแช่เย็น น้ำมันมะพร้าวมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 270C ดังนั้น น้ำมันมะพร้าวจะเริ่มแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 270C แต่น้ำมีจุดจุดแข็งตัวอยู่ที่ 00C ดังนั้นช่วงอุณหภูมิระหว่าง 0- 270C จึงเป็นช่วงที่น้ำยังเป็นของเหลว ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวเป็นของแข็ง โดยใช้หลักการอันนี้ เราสามารถแยกน้ำออกจากน้ำมันมะพร้าวได้ง่ายๆ โดยการเทน้ำออกจากส่วนผสม
1.6.การกลั่น (Distillation) นำกะทิเข้าในหม้อกลั่นแล้วให้ความร้อน ซึ่งอุณหภูมิไม่สูงนัก เพียงแต่ทำให้กะทิซึ่งเป็นของเหลวระเหยกลายเป็นไอ แล้วผ่านไอที่ได้ ไปยังเครื่องควบแน่น (condenser) ให้ไอกลายเป็นหยดน้ำตกลงในที่รองรับ เนื่องจากกะทิเบากว่าน้ำ จึงลอยอยู่ข้างบน และสามารถแยกไปใช้ได้ วิธีนี้เป็นวิธีแยกโมเลกุลของโปรตีน ซึ่งทหหน้าที่เป็น emulsifier ที่ทำให้น้ำมันมะพร้าว คงรูปเป็นสารแขวนลอยของกะทิ
1.7. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ การหมัก (Fermentation Method ) โดยใช้เอ็นไซม์เป็นกรรมวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพที่จุลินทรีย์ในธรรมชาติ สร้างเอ็นไซม์ เพื่อเปลี่ยนสภาพของสสาร ในปัจจุบันมีความเจริญทางเทคโนลีชีวภาพมากมาย ที่สามารถนำมาใช้ในการแยกน้ำมันมะพร้าวออกจากกะทิ เช่น การคัดเลือกจุลินทรีย์ในกลุ่ม Lactobacillus เพื่อให้สร้างเอ็นไซม์ หรอการใช้เอ็นไซม์ในกลุ่ม เซลลูเลส (cellulose) หรืออะไมเลส (amylase) โดยตรง เพื่อใช้ในการหมัก โดยไม่ต้องใช้จุลินทรีย์แต่อย่างใด
โดยปกติน้ำกับน้ำมันมะพร้าวจะรวมอยู่ด้วยกันในรูปอิมัลชัน (emulsion) หรือสารแขวนลอย เพราะมีสารลดแรงตึงผิว (surfactant) เป็นตัวเชื่อม สารนี้จะถูกทำลายโดยเอ็นไซม์ (enzyme) ทั้งที่ผลิตโดยจุลินทรีย์(ทั้งในธรรมชาติหรือที่เติมเข้าไป) หรือโดยการเติมเอ็นไซม์ที่เตรียมไว้ ทำให้น้ำแยกตัวออกจากน้ำมัน วิธีการนี้ช่วยให้ได้น้ำมันในปริมาณที่สูงกว่าการหมักปกติ
2.การสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยไม่ผ่านการคั้นกะทิ วิธีการนี้เป็นวิธีการสมัยใหม่ ที่ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์พิเศษ สามารถสกัดน้ำมันมะพร้าวได้คราวละมากๆ เหมาะสำหรับนำไปใช้ในโรงงานอุสาหกรรม ซึ่งทำได้โดย
2.1 การสกัดแห้ง (Dry Process) หรือวิธีบีบเย็น (Cold Press) โดยการนำเนื้อมะพร้าวสดไปย่อยให้เป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้แห้งโดยการใช้ความร้อนไม่มาก แล้วบีบเอาน้ำมันออกด้วยเครื่องบีบอัดแบบสกรู หรือแบบไฮดรอลิก น้ำมันที่ได้จะมีสีใสเหมือนน้ำ มีกลิ่นและรสของมะพร้าวและใช้บริโภคได้ทันที่ โดยไม่ต้องผ่านขบวนการทางเคมี จึงอยู่ในประเภทน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ได้ โดยเฉพาะเมื่อรักษามาตรฐานให้มีความชื้นไม่เกิน 0.1 % ซึ่งจะทำให้น้ำมันไม่เหม็นหืน
2.2 การบีบร้อน (Screw Press) การบีบร้อนวิธีนี้สามารถนำไปใช้ในการผลิตแบบอุสาหกรรมได้ เพราะใช้เนื้อมะพร้าวแห้ง (copra) ซึ่งสามารถผลิตและเก็บไว้ใช้เป็นเวลานานได้ การสกัดน้ำมัน ทำได้โดยย่อยเนื้อมะพร้าวแห้งให้เป็นชิ้นเล็กๆ ผ่านเข้าไปยังเครื่องบีบแบบเกลียวอัก (Screw Press) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงประมาณ 220 300 0C จากนั้น จึงนำน้ำมันที่ได้ไปผ่านขบวนการทำให้บริสุทธิ์ (Refining) กำจัดสี
( Bleaching) และฟอกกลิ่น (Deodorization) การผ่านความร้อนสูงและขบวนการทางเคมี ตลอดจนการปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ของมะพร้าวแห้งก่อนการสกัด ทำให้น้ำมันมะพร้าวที่ได้มีสีเหลือง และองค์ประกอบทางเคมีเปลี่ยนไป โดยเฉพาะวิตามินเอ จะสลายตัว จึงทำให้คุณค่าของน้ำมันมะพร้าวลดลง น้ำมันที่ได้เรียกว่าน้ำมันมะพร้าวผ่านขบวนการหรือน้ำมันมะพร้าว RBD
2.3 โดยใช้ตัวทำละลาย (Solvent Extraction ) วิธีนี้นิยมนำมาใช้กับกากที่ผ่านโดยวิธีบีบร้อน โดยนำกากมาแช่ในตัวทำละลาย เช่น เบนซีน ปิโตรเลียมอีเอร์หรือเฮกเซน จากนั้นก็กลั่นแยกน้ำมันออก น้ำมันมะพร้าวที่ได้จะมีสีเหลืองและองค์ประกอบคล้ายคลึงกับที่ได้จากการบีบร้อน น้ำมันที่ได้เรียกว่าน้ำมันมะพร้าวผ่านขบวนการหรือน้ำมันมะพร้าว RBD คือ ทำให้เป็นกลาง(refined – R ) ฟอกสี (bleached – B) กำจัดกลิ่น (deodorized – D)
แผนยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรม (Roadmap) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คาดการณ์แนวโน้มความต้องการใช้มะพร้าว 5 ปี ข้างหน้า (ปี 2560-2564) คือ ใช้สำหรับการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.65 ต่อปี หรือประมาณ 0.93 ล้านตัน ในปี 2564 และความต้องการส่งออกกะทิสำเร็จรูปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ส่วนการนำเข้าน้ำมันมะพร้าว และกะทิสำเร็จรูปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.66 ต่อปี จากแผนยุทธศาสตร์มะพร้าวเพิ่มอุตสาหกรรม มีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกที่มีศักยภาพและทดแทนสวนเก่า โดยทั่วไปจากสภาพสวน ร้อยละ 60 ของพื้นที่ 696,000 ไร่ ต้นมะพร้าวมีอายุมาก 40 ปีขึ้นไป ขาดการจัดการและการดูแลอย่างเหมาะสม ซึ่งต้องผลิตผลพันธุ์ในการเพาะจำนวน 31.64 ล้านผล คิดเป็นต้นกล้าประมาณ 17.40 ล้านต้น ซึ่งมะพร้าวสามารถทำรายได้สู่เกษตรกรได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 25,500 บาท/ไร่/ปี (85 ผล/ต้น/ปี)
และยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรม พ.ศ. 2561-2579 ได้กำหนดการพัฒนามะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ เพื่อรักษาระดับผลผลิตต่อไร่ไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านตัน คือ 1. พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตมะพร้าวเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม 2. พัฒนาประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว โดยศัตรูมะพร้าวต้องถูกกำจัดจนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ 3. พัฒนาการแปรรูปและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มะพร้าว 4. พัฒนาการตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุสาหกรรมมะพร้าวทำให้ราคามะพร้าวมีเสถียรภาพ
เนื่องจากการปลูกใหม่หรือปลูกทดแทน ต้องใช้พันธุ์ดี ดังนั้น กรมฯ จึงได้ส่งเสริมการสร้างแปลงแม่พันธุ์และการผลิตพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันปี 2563 มีผู้สั่งจองต้นกล้ามะพร้าวทั้งหมด 1,276,311 ต้น คาดว่าอีก 20 ปี (ค.ศ.2026) ผลผลิตมะพร้าวจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศและแปรรูปส่งออก ในส่วนของการผลิตมะพร้าวอ่อน ได้มีการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวและตรวจสอบรับรองตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากตลาดมีความต้องการมะพร้าวอินทรีย์ หรือน้ำมะพร้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่ผลิตยังมีไม่มากพอ
นวัตกรรมมะพร้าว
1 เทคโนโลยีสำหรับมะพร้าวอ่อน ปัจจุบันมีเทคโนโลยี ในด้านกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าการแปรรูปและยกระดับมาตรฐานสินค้า เช่น เครื่องปอกมะพร้าว เพื่อช่วยลดต้นทุนการจ้างแรงงานไร้ทักษะ มีการพัฒนากรรมวิธีป้องกันการเกิดผิวสีน้ำตาลและลดการใช้สารฟอกขาว ฟิล์มห่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา (shelf life) ในสินค้ามะพร้าวควั่น การใช้เครื่องอัดแรงดันฆ่าเชื้อโดยไม่ใช้ความร้อน (High Pressure Processing: HPP) เพื่อให้ได้รสชาติใกล้เคียงกับน้ำมะพร้าวตัดสดจากต้น นวัตกรรมการสร้างแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการแปรรูปมะพร้าวอ่อนตกเกรด เช่น การนำไปผลิตพุดดิ้งมะพร้าวน้ำหอม ไอศกรีมมะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น ในด้านการรับรอง GAP นั้นมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสินค้ามะพร้าวที่ส่งออกไปยังประเทศจีนต้องผ่านการรับรอง GAP ส่วนมะพร้าวแก่ที่ส่งโรงงานแปรรูปกะทินั้น ก็ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับและ GAP เช่นกัน นับตั้งแต่ได้รับผลกระทบจาก PETA ซึ่งจะไม่รับซื้อผลิตภัณฑ์กะทิที่มาจากแปลงมะพร้าวที่ใช้ลิงเก็บ
2 เทคโนโลยีสำหรับมะพร้าวแก่ ได้แก่ การผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ปีนมะพร้าว ในด้านการกำจัดแมลงศัตรูพืช มีเทคโนโลยีการผลิตชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงดำหนามและหนอนหัวดำ การพัฒนาการผลิตเชื้อราเมตาไรเซียมสำหรับกำจัดด้วงแรดเป็นแบบอัดเม็ด และ การปรับปรุงดินสวนมะพร้าวน้ำหอม โดยใช้ปุ๋ยหมักเติมอากาศ และแหนแดง มีการให้น้ำมะพร้าวน้ำหอมเพื่อให้มีผลผลิตอย่างต่อเนื่องทั้งปี
จุดแข็ง (S: Strength)
- ประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน เหมาะสมต่อการ เพาะปลูกผลไม้ ทําให้ผลไม้มีรสชาติดี น้ํามะพร้าวที่ได้ มีคุณภาพดแีละมีกลิ่นหอมเป็นที่ต้องการของตลาด
- ต้นทุนในการส่งออกสามารถแข่งขัน และได้รับสิทธิ์การ ยกเว้นภาษี (GSP)
- ผู้ผลิตไทยมีความชํานาญในการผลิตและแปรรูปเพื่อ การส่งออก
โอกาส (O: Opportunity)
-สหรัฐฯไมส่ามารถผลิตน้ํามะพร้าวเองจําเป็นต้อง พี่งพาการนําเข้าน้ํามะพร้าวจากต่างประเทศทั้งหมด
- ผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ มีกําลงั ซื้อสูง และนยิ มบริโภค น้ํามะพร้าวเพื่อสุขภาพ
- ปัจจุบัน สหรัฐฯ นําเข้าน้ํามะพร้าวจากไทยเป็น อันดับต้นๆ และสินค้าน้ํามะพร้าวไทยเข้าถึงตลาดทุก ระดับของสหรัฐฯ ทั้งตลาดในระดับบนและตลาดใน ระดับล่าง
- ได้รับสิทธิ์การยกเว้นภาษี (GSP) ทําให้มีข้อได้เปรียบ ด้านภาษีการนําเข้า
จุดอ่อน (W: Weakness)
- ปริมาณและคุณภาพในแต่ละปีไม่แน่นอน ขณะที่ ต้นมะพร้าวของไทยมีอายุค่อนข้างมาก ทําให้ได้ผลผลิต ต่อพื้นที่ไม่สูง
- ข้อกําจัดด้านเทคโนลียีของไทยในการแปรรูป
อุปสรรค (T: Threat)
- ตลาดมีการแข่งขันสูงเนื่องจากสหรัฐฯ นําเข้า น้ํามะพร้าวจากทั่วโลก
- การระบาดของโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส COVID-19
- การบริโภคน้ํามะพร้าวยังจํากัดอยู่ในกลุ่มผู้รักสุขภาพ
ปัญหาของการปลูกมะพร้าว ได้แก่
1) นโยบายเปิดเสรีทางการค้า ส่งผลให้มีการนำเข้าให้มะพร้าวผลราคาถูก มาทดแทนมะพร้าวผลภายในประเทศ เกษตรกรได้รับผลกระทบ ราคาขายหน้าสวนน้อยกว่าที่ต้องการ
2) สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผลผลิตลดลงและบางส่วนไม่ได้คุณภาพรวมไปถึงการระบาดของแมลงศัตรูที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นหนอนหัวดำและแมลงดำหนามมะพร้าว และด้วงแรด ส่งผลให้ผลิตลดลง
3) ผลผลิตมะพร้าวอ่อนในรอบปี มักจะขาดแคลนในช่วง เม.ย.– ก.ค. ของทุกปี เนื่องจากผสมไม่ติดดอกตัวเมียร่วงในช่วง 6 เดือนก่อนหน้านั้น ต.ค./พ.ย.-ม.ค./ก.พ. ประมาณ 5 จั่นที่ผลผลิตไม่ติดหรือติดน้อยมาก/ไม่พัฒนาไปเป็นผล
4) ในการผลิตมะพร้าวผลอ่อน ปัญหาที่พบคือ ไร ทำลายผิวมะพร้าว และ ด้วงแรดระบาด ผู้ประกอบการและเกษตรกรยังไม่สามารถกำจัดหมดไป อีกทั้งผลร่วง และ ผลแตกยังเป็นปัญหาทำให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอตลอดปี และหากขาดน้ำยังทำให้เกิดผลลีบผลทุยอีกด้วย
ผลกระทบที่ตามมาคือ ขาดความสมดุลในห่วงโซ่อุปทาน และความเหลื่อมล้ำ ผลผลิตไม่เพียงพอ ต้องนำเข้า ธุรกิจมะพร้าวขาดความยั่งยืน และอาจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด ในตลาดโลก
มุมมอง คาดว่าพื้นที่ปลูกประชากรมะพร้าวรุ่นใหม่จะเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ทั้งนี้เกษตรกรเริ่มกรปลูกทดแทนบางส่วนบ้างแล้ว จะส่งผลให้มีพื้นที่ปลูกทรงตัวที่ 1.16 ล้านไร่ อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาที่เกษตรกรได้รับจะอยู่ในเกณฑ์สูงทำให้มีการดูแลรักษาตันมะพร้าว ประกอบกับภาครัฐมีแผนงานการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการฟื้นฟูและปรับปรุงบำรุงดิน จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.17 หรือผลผลิตต่อไร่ ในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม 1.160 ล้านตัน แนวโน้มความต้องการใช้ การบริโภคในประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.65 ต่อปี หรือประมาณ 0.93 ล้านตัน ใน 2564 และความต้องการส่งออกกะทิสำเร็จรูปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ส่วนการนำเข้าน้ำมันมะพร้าวและกะทิสำเร็จรูปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.66 ต่อปี สำหรับมะพร้าวอ่อน คาดว่าจะมีการแปรรูปครบวงจร (Zero waste) และ มีผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นทุกปีเพราะผู้ประกอบการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแนวโน้มการส่งออกจะเพิ่มขึ้นอีก
มะพร้าวน้ำหอม
1.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม เช่น การใช้โดรนพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว การกำจัดศัตรูมะพร้าวโดยวิธี ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ ส่งเสริมการผลิตการเกษตรแบบกลุ่มผลิต การเกษตรแบบแปลงใหญ่ ส่งเสริมการผลิตมะพร้าวน้ำหอมให้ได้มาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ GMP HACCP ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักปรับปรุงดินใช้ภายในแปลงมะพร้าวน้ำหอม
2.การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มะพร้าวอบกรอบ น้ำมะพร้าวน้ำหอมบรรจุขวดพร้อมดื่ม วุ้นมะพร้าวน้ำหอม พุดดิ้งมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวถอดเสื้อ หรือมะพร้าวไร้กะลา มะพร้าวเผา ขนมบ้าบิ่นมะพร้าว ขนมไทย มะพร้าวแก้ว ไอศกรีมมะพร้าว เบเกอรี่ การนำวัสดุเหลือใช้ นำใบมะพร้าวทำตะกร้าสำหรับใส่ขนม ใบมะพร้าวแห้งมาทำไม้กวาดทางมะพร้าว ใบมะพร้าวทำเป็นวัสดุปูพื้นสำหรับหมูหลุม ทำปุ๋ยจากเปลือกมะพร้าว
3.การตลาด
-ร้านค้าออนไลน์
-ตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตร เช่น ต่ลาดศรีเมือง ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดที่สนับสนุนโดยรัฐ เช่น ตลาดเกษตรกร ตลาดวิถีธรรมชาติ ตลาดปันสุข ตลาดพอเพียง ร้านค้าในโรงพยาบาล
-ส่งสินค้าสู่ Modern trade
-ตลาดต่างประเทศ เช่น จีน สิงค์โปร สหรัฐอเมริกา
-ส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศน์ แหล่งการศึกษาเรียนรู้ด้านมะพร้าวน้ำหอม ตลาดออนไลน์มะพร้าวน้ำหอม จัดมหกรรมมะพร้าว
Category: VDO, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล บ-ม