ขนุน
ขนุน
ชื่ออื่นๆ : ซีคึย ปะหน่อย ล้าง ปอหล่อปิค หมักหมี้ มะหนุน ชะพู ขะเนอ เนน นะยวย ซะ
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่อสามัญ : Jack Fruit Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มียางขาวทั้งต้น ใบมันและหนาเหมือนแผ่นหนัง ใบรู ปลียาวออกสลับกัน ปลายใบแหลมและสั้น ช่อดอกตัวผู้และตัวเมียแยกกัน แต่อยู่ต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบหรือปลายกิ่งเป็นแท่งยาว มีกาบหุ้มช่อดอกอยู่ 2 กลีบ(ช่อดอกตัวผู้) ผลใหญ่มีหลายขนาด เป็นผลรวม รอบผลมีหนามสั้นๆ เรือหุ้มเมล็ดมีสีเหลืองเวลาสุกมีกลิ่นหอม มีหลายพันธุ์ ปลูกกันทั่วไป
สถานการณ์
ปี 2563 มีพื้นที่ปลูกขนุนทั่วประเทศจำนวน 55,942 ไร่ เนื้อที่ให้ผลผลิตจำนวน 38,026 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยวผลผลิต จำนวน 15,659 ไร่ แยกเป็นผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ 33,703,406 กิโลกรัม คิดเป็นผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่ให้ผลผลิต 2,152 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเท่ากับ 11.61 บาท/กิโลกรัม จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกขนุนมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 17,268 ไร่ จังหวัดระยอง 10,417 ไร่ จังหวัดชลบุรี 9,427 ไร่ จังหวัดเพชรบุรี 3,802 ไร่ และจังหวัดจันทบุรี 2,618 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 77.82 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกขนุนสด จำนวน 49,006 ตัน คิดเป็นมูลค่า 629 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 45,319 ตัน มูลค่า 566 ล้านบาท ถือเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม เมียนมา และ.ลาว
พันธุ์ขนุน
3. พันธุ์จำปากรอบ มีผลดกปานกลาง จัดเป็นขนุนพันธุ์เบา ทรงผลไม่สวย ผลไม่กลม ผิวขรุขระ ผลมีขนาดปานกลาง ผลสั้น น้ำหนักผลเฉลี่ยราว 12-25 กิโลกรัม เนื้อยวงไม่หนา แต่ก็ไม่บาง เนื้อยวงเมื่อผลอ่อนมีสีขาว แต่พอผลแก่ยวงจะเป็นสีจำปา เนื้อแข็งกรอบ เนื้อไม่เละแม้สุกจัด สามารถเก็บรักษาได้นานกว่าพันธุ์อื่น เนื้อมีรสกล่อมกล่อมอมเปรี้ยวเล็กน้อย รสหวานปานกลาง ยวงเหมาะแก่การแกะเนื้อขายหรือแช่แข็ง
4. พันธุ์ทองประเสริฐ เป็นขนุนพันธุ์เบา สามารถให้ผลผลิตได้เมื่อปลูกแล้ว 2 ปี และสามารถให้ผลผลิตทะวายได้ด้วย เริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนมิถุนายน เริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ผลทรงกลม น้ำหนักเฉลี่ย 10-15 กิโลกรัมต่อผล ผิวสวย เนื้อยวงมีสีเหลืองทอง เนื้อหนา รสชาติหวานกรอบอร่อย มีเนื้อ 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล
5. พันธุ์ไพศาลทักษิณ เป็นพันธุ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีต้นพันธุ์เดิมอยู่ที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ลักษณะเด่นของพันธุ์ไพศาลทักษิณคือ มีลักษณะการติดผลเป็นกลุ่มหรือติดเป็นพวง ลูกขนาดกลางไม่ใหญ่มากนักน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม/ผล หนามเล็ก เปลือกบาง เนื้อสีเหลือง หวานจัด ไส้เล็ก ซังน้อยซ้อนห่าง เมล็ดมีขนาดเล็ก
6. พันธุ์ตาบ๊วย ลำต้นขนาดใหญ่ พุ่มเตี้ย ใบค่อนข้างกลมหนาเป็นมัน ผลคล้ายไหกระเทียมดอง ติดผลดก ให้ผลผลผลิต 20-80 ผล/ต้น/ปี ผิวผลไม่มีแป้ว หนามค่อนข้างใหญ่ เนื้อสีเหลือง ยวงแห้งกรอบ เมล็ดเล็ก ทนต่อสภาพดินกรดได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ
การขยายพันธุ์ : เมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ต่อกิ่ง ขนุนนิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งจะให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปี แต่ถ้าเพาะจากเมล็ดจะให้ผลช้าประมาณ 5-6 ปี
การปลูก : ขนุนชอบดินร่วน ระบายน้ำดี อินทรียวัตถุ ชอบแสงแดดจัดไม่ทนน้ำท่วมขังนาน เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกในที่ดอนใช้ระยะปลูก 8×8 หรือ 10×10 เมตร ปลูกในที่ลุ่มที่ต้องยกร่อง และปลูกในระยะที่แคบ 6×6 หรือ 5×5 เมตร
การใส่ปุ๋ยในระยะต้นยังไม่ให้ผลผลิต จะเน้นที่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี 15-15-15 หรือ 16-16-16 หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากไปทำให้เฝือใบและออกดอกช้า ปริมาณปุ๋ยที่ใส่แต่ละครั้งมักจะให้เอาอายุต้นหารด้วย 2 เช่น อายุต้น 2 ปีให้ใส่ครั้งละ 1 กิโลกรัม/ต้น และเมื่อให้ผลผลิตแล้วควรใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ 12-24-12ใส่ก่อนการออกดอก 40-60 วัน และช่วงหลังเกี่ยวเกี่ยวผลผลิตควรใส่ปุ๋ยคอกทุกปี
การดูแลรักษา เมื่อติดผลมากควรปลิดผลอ่อนทิ้งบ้าง เพราะจะทำให้ผลเล็กและมีเนื้อน้อย ขนุนพันธุ์ไพศาลทักษิณ จะตัดแต่งผลอ่อนหลังจากติดผล 1-2 เดือน เพื่อใช้ผลอ่อนนำมารับประทานเป็นผักได้ ตัดแต่งผลตามอายุต้น เช่น อายุ 3-5 ปี ไว้ผลประมาณ 5 ผล/ต้น อายุ 5-10 ปีไว้ผล 20 ผล/ต้น อายุ 10-15 ปี ไว้ผล 30 ผล/ต้น และอายุ 15-20 ปีไว้ผล 35 ผล/ต้น ผลที่ไว้บนต้นควรให้อยู่กระจายทั่วต้น หลังติดผล 40-50 วัน ห่อผลด้วยถุงปูนหรือถุงปุ๋ย โดยเปิดท้ายถุงไว้ระบายอากาศ และเปลี่ยนวัสดุห่ออีกครั้ง เมื่ออายุ 3 เดือน เพราะขนุนจะขยายขนาดอย่างรวดเร็ว
การควบคุมการออกดอกและการติดผล ขนุนไม่มีปัญหาเรื่องการออกดอก โดยจะออกดอกปีละประมาณ 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือน ธันวาคม – มกราคม และครั้งที่ 2 ในเดือน เมษายน – พฤษภาคม แต่บางพันธุ์และบางต้นก็สามารถทยอยออกดอกได้ตลอดปี เรียกว่าเป็นขนุนทะวาย การผสมเกสรของขนุนต้องการแมลงช่วย ถ้าดอกได้รับการผสมเกสรไม่พอจะทำให้รูปทรงผลจะเสียหรือบิดเบี้ยวได้ การบานของดอกตัวผู้หรือที่เรียกว่า ส่า จะบานก่อนดอกตัวเมียประมาณ 2-3 วัน แล้วดอกตัวเมียจึงจะบาน
โรคทึ่สำคัญ
1. โรคยางไหล กิ่งและลำต้นเป็นแผลยางไหล ทำให้กิ่งแห้งและต้นตายในที่สุด เป็นโรคที่มีการระบาดรุนแรงและทำความเสียหายให้กับขนุนแถบ จังหวัดระยอง จันทบุรี ยังไม่มีวิธีการแก้ไข ควรหลีกเลี่ยงการปลูกขนุนในแหล่งที่ระบาด และใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรค
2. โรคกิ่งแห้ง กิ่งอ่อนเกิดจุดสีน้ำตาลดำ ขยายเป็นแผลใหญ่ลามไปทั่วกิ่งจนแห้ง ป้องกันกำจัดโดยหมั่นตัดแต่งกิ่งที่แห้งตายทิ้งและเผาทำลาย แล้วทารอยตัดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม
3. โรคขั้วผลเน่า เกิดอาการเน่าเป็นสีดำ ดอกและผลอ่อนจะร่วง ป้องกันกำจัดโดยตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง
4. โรคจุดสนิม อาการที่ผลเป็นจุดสีสนิมเล็กๆ จุดสีน้ำตาลไหม้ของเนื้อยวงและส่วนซังด้วย บางครั้งเกิดเพียงเล็กน้อย แต่ก็พบมีอาการที่รุนแรงในบางครั้งที่พบปริมาณของจุดนี้กระจายค่อนข้างมาก ขนุนเป็นดอกรวมประกอบกันเป็นช่อ เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่พืชทางปลายเกสรตัวเมียแล้วเจริญลงไปในรังไข่ คือยวงขนุน ทำให้เกิดโรคที่ยวงทำให้เจริญไม่สมบูรณ์เป็นจุดสนิม เป้นเชื้อแบคทีเรียไปอาศัยอยู่ แต่ไม่ทำให้ผลเน่า จึงเห็นเป็นจุดเล็กๆ สภาพอากาศที่เหมาะคือร้อนสลับกับมีฝนตกหนัก ดอกขนุนเริ่มบาน อากาศร้อนอบอ้าวทำให้ปลายเกสรเหี่ยวเชื้อแบคทีเรียเข้าทางปลายเกสรลงไป การป้องกันให้ใช้สารคอบเปอร์ซัลเฟตพ่นช่วงระยะติดดอก มักจะพบในขนุนพันธุ์ทองประเสริฐเนื่องจากมีการปลูกเป็นการค้า
แมลงศัตรูที่สำคัญ
1. หนอนเจาะลำต้นและกิ่ง ผีเสื้อกลางคืนวางไข่บนเปลือกของลำต้นและกิ่ง เมื่อฟักเป็นตัวก็เจาะเข้าทำลาย เกิดอาการแห้ง ป้องกันกำจัดโดยตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง ถ้าพบหนอนให้พ่นด้วยสารเคมี เช่น สารไซเพอร์เมทริน
2. เพลี้ยแป้ง Exallomochlus hispidus(Morrison) เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงที่กิ่ง ใบ และผล ขับถ่ายมูลหวานออกมาเปรอะเปื้อนและราดำเข้าทำลายซ้ำ เพลี้ยแป้งเคลื่อนย้ายจากพื้นดินขึ้นบนต้น โดยมีมดเป็นพาหะพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้นช่วยทำให้การระบาดของเพลี้ยแป้งรุนแรงขึ้น
การป้องกันกำจัด : กำจัดมด โดยพ่นสารคาร์บาริล 80 % ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องใช้แล้วผูกรอบต้น ใช้สารฆ่าแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือไทอะมีโทแซม 25% ดับบลิวพี อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% ดับบลิวพี อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% ดับบลิวจี อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
3. เพลี้ยหอย ดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบหงิก บิดเบี้ยว ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมีคาร์บาริลในช่วงตัวอ่อนและกำจัดมดตัวการเคลื่อนย้ายเพลี้ยแป้งด้วย
การเก็บเกี่ยว
สรรพคุณ
- เมล็ด ให้ใช้รับประทาน 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมช่วยบำรุงร่างกาย
- เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สด ผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลัง หรือจะกินเป็นขนมก็ได้
- ใบ ใช้สด นำมาตำให้ละเอียด อุ่นแล้วพอกแผล ใบแห้งให้บดเป็นผงโรย หรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผล ใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง
- ยาง จะมีรสจืด ฝาดเล็กน้อย ให้ใช้ยางสด ทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง
- แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน จะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด
เป้าหมาย ได้ขนุนพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพทางการค้า ปริมาณผลผลิต คุณภาพดี
การปรับปรุงพันธุ์ รวบรวม คัดเลือกสายต้น เปรียบเทียบพันธุ์ จีนนิยมทานขนุน
การใช้ประโยชน์ ทำโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ ไส้กรอก ทำพลาสติกชีวภาพ
โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ก-ณ