banner ad

เห็ดฟาง

| June 7, 2013 | 0 Comments
เห็ดฟาง
สายพันธุ์
เบอร์ 1 ดอกขนาดใหญ่ น้ำหนักดี สีขาวจนถึงเทาดำ ให้ผลผลิตสูงเมื่อเพาะในฤดูฝน ดอกเล็กมากเมื่ออากาศร้อน ฤดูร้อนผลผลิตลดลง เบอร์ 2 ดอกขนาดใหญ่ สีขาวจนถึงเทาดำ บานช้าจำนวนดอกค่อนข้างน้อย ผลผลิตสูงใช้เพาะได้ทั้งปี เบอร์ 4 ดอกขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ สีขาว – เทาดำ ผลผลิตสูงใช้เพาะได้ทั้งปี เบอร์ 5 ลักษณะดอกหัวค่อนข้างแหลม รูปกระสุน ขนาดดอกปานกลาง – เล็ก เปลือกบางสีขาว หมวกสีเทาดำ ผลผลิตสูง ออกดอกเดี่ยวๆ มีจุดเกาะวัสดุเพาะเล็ก สะดวกแก่การเก็บผลผลิต สายพันธุ์นี้เหมาะสำหรับบรรจุกระป๋องหรือขวดแก้ว เพื่อขายต่างประเทศ เบอร์ 6 ดอกขนาดปานกลางถึงขนาดเล็กใหญ่ ลักษณะกลมรี สีขาว – สีเทา ยืดตัวได้ดี ผลผลิตดีสม่ำเสมอ ทนร้อนได้สูงเพาะได้ตลอดปี เหมาะสำหรับหน้าร้อน
การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยด้วยฟางข้าว
สถานที่เพาะ
ควรเป็นพื้นที่ราบ เป็นดินที่ใช้ปลูกพืชหรือหญ้าขึ้นได้ ไม่เป็นพื้นทราย ปูน หรือ ที่ทิ้งสารเคมี ที่เป็นอันตราย หรือที่ทิ้งขยะซึ่งจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงที่เป็นอันตรายกับเห็ดฟางได้
วัสดุที่ใช้เพาะ
ฟางข้าว ซึ่งถ้าเป็นตอซังแห้งใช้เพาะได้ไม่ต้องมีอาหารเสริม ส่วนปลายฟางหรือฟางข้าวนวด ต้องเพิ่มอาหารเสริมด้วย ซึ่งอาหารเสริมได้แก่ ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น ต้นกล้วย หรือผักตบชวาสับตากแห้ง หรือมูลสัตว์ที่สลายตัวแห้งแล้วเช่น มูลหมู มูลวัว เป็นต้น
น้ำที่ใช้แช่วัสดุเพาะ อาหารเสริม
ต้องมีคุณสมบัติเป็นกลาง หรือด่างเล็กน้อย ไม่เป็นกรด ไม่มีสารเคมีเจือปน ไม่เป็นน้ำเสีย เช่น ใช้รดต้นไม้ได้ การแช่วัสดุเพาะต้องแช่น้ำให้อิ่มตัวและอาหารเสริมต้องให้น้ำมีความชื้น ระยะเวลาขึ้นกับชนิดของวัสดุเช่นปลายฟาง อาจแช่ประมาณ 4 -5 ชั่วโมง ส่วนตอซังต้องแช่หรือรดน้ำให้ชุ่มประมาณ 24 ชั่วโมง อาหารเสริมรดน้ำให้เปียกเมื่ออิ่มตัวก็ใช้ได้
ไม้แบบ
สำหรับทำกองเห็ด มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านกว้างประมาณ 30 / 25 ซม. ( ขอบล่าง / บน ) ด้านยาว 100 ซม. สูง 30 ซม . โดยด้านบนแคบกว่าฐานล่างเล็กน้อย ไม่มีฝาไม่มีก้น
เชื้อเห็ดฟาง
เลือกที่ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ เช่น ราสีดำ เขียว ขาวและอื่นๆ ปะปน จะเห็นเฉพาะเส้นใยเห็ดฟางซึ่งมีสีขาว ลักษณะเส้นใยขาวหนาแน่นเดินต่อเนื่องในอาหารผสม จากปากถุงถึงก้นถุงหรือก้นกระป๋องจนเป็นก้อนเชื้อเกาะกันเป็นก้อนไม่หลุดร่วงแยกจากกัน จะมีบางส่วนปรากฏมีสีน้ำตาลของเส้นใยหรือเริ่มจับกันเป็นตุ่มเล็กๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดมีกลิ่นหอมของเห็ดไม่มีกลิ่นบูดเสีย
เวลาเพาะและการวางแนวกอง
ควรเพาะในช่วงเช้า เพราะจะได้สะสมความร้อนจากดวงอาทิตย์เก็บไว้ในแปลงเพาะ สำหรับกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง ที่ต้องการอุณหภูมิสูงในระยะแรก การวางแนวกองควรให้หัวท้ายของกองอยู่ในทิศตะวันออก ทิศตะวันตก จะให้ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั่วทั้งแปลง
วิธีทำกองเห็ดฟาง
ฟางที่ผ่านการแช่น้ำจนอิ่มตัวแล้ว นำใส่ลงในไม้แบบ ทำให้แน่นด้วยการขึ้นไปเหยียบหรือกดให้แน่นจนฟางหนาประมาณ 10 ซม. หรือ 1 ฝ่ามือ โรยอาหารเสริมบนฟางข้าว บริเวณที่ห่างจากขอบไม้แบบเข้ามา 1 ฝ่ามือ โรยตามด้วยเชื้อเห็ดฟางทับลงบนอาหารเสริม ขั้นตอนดังกล่าว คือชั้นที่ 1 จะทำชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 เช่นเดียวกัน แต่ชั้นที่ 3 จะปิดทับหลังกองด้วยฟางข้าวบาง ๆ ยกไม้แบบออกวางถัดต่อไปทางด้านข้างห่างกันประมาณ 1 – 2 คืบ แล้วทำกอง ต่อตามขั้นตอนเดิมทุก ๆ กอง ระหว่างกองทุกกองโรยอาหารเสริม และเชื้อเห็ดฟาง แต่ละกองจะวางขนานกันมีจำนวนกองประมาณ 10 – 20 กอง หลังจากกองเห็ดเป็นแปลงเสร็จแล้ว รดน้ำ ให้ชุ่มและให้ทั่วตลอด ทุก ๆ กอง ใช้พลาสติกคลุมกองทั้งหมด โดยใช้พลาสติก 2 ผืน ตามยาวคลุมเกยทับกันตรงกลางแปลง แล้วคลุมทับด้วยฟางข้าวหรือตับจากในฤดูร้อนอาจลด จำนวนกองลงเหลือ ประมาณ 7 กองต่อแปลง ระยะระหว่างกองห่างกันมากขึ้น ทั้งลดความแน่น ในการอัดฟางของกองลงโดยการใช้เพียงมือกดก็เพียงพอ การเพาะในฤดูหนาวต้องมีจำนวนกองมากขึ้นประมาณ 15 – 30 กองต่อแปลงขนาดของกองเพิ่มสูงขึ้นและอัดฟางให้แน่น ระยะระหว่างกองให้ชิดกันมากขึ้นเพื่อเพิ่มความร้อนในกองเพาะให้สูงขึ้น การเพาะในฤดูฝนต้องเตรียมพื้นที่อย่าให้มีน้ำขังในแปลงเห็ดขุดร่องทำทางระบายน้ำและหมั่นระบายความชื้นในแปลงเห็ดมากขึ้น
การดูแลรักษา

ต้องหมั่นตรวจวัดอุณภูมิ ความชื้นในแปลงเพาะ หลังจากเพาะแล้วในวันรุ่งขึ้นทุก ๆ วัน โดยอุณหภูมิในกองต้องไม่ต่ำกว่า 32 – 38 องศาเซลเซียส ความชื้นในกองไม่ควรน้อยกว่า 70 % ในฤดูร้อน ต้องระบายอากาศเสีย และความร้อนในแปลงออกให้มากที่สุด โดยเปิดผ้าพลาสติกออกให้หมด ไว้ประมาณ 10 – 15 นาที ในช่วง 6 โมงเช้า ซึ่งสภาพอากาศภายนอกแปลงยังเย็นอยู่หรือหลังจาก 5 – 6 โมง เย็นซึ่งความร้อนภายนอกแปลงลดลงมากแล้ว ฟางข้าวในกองแห้งคือความชื้นในแปลงเพาะมีไม่เพียงพอ ต้องโรยละอองน้ำบนพื้นดินหรือบริเวณฟางข้าวส่วนที่แห้ง เส้นใยเห็ดฟางจะรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดเล็ก ๆ ในวันที่ 4 – 5 และเก็บได้ในวันที่ 8 – 10 ระยะที่เส้นใยเห็ดฟางเริ่มรวมกันเป็นดอกเห็ดต้องการอุณหภูมิที่เย็นลง ซึ่งอยู่ในช่วง 28 – 32 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นต้องการอากาศที่บริสุทธิ์มากขึ้น ส่วนความชื้นให้ลดลงและมีไม่เกิน 75 % ดังนั้นในช่วงดอก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหมั่นระบายอากาศเสีย ความร้อนและความชื้นที่มากเกินไป ออกจากแปลงเพาะจะเก็บดอกเห็ดฟางได้ประมาณ 2 – 3 ครั้ง

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน
อุปกรณ์และขั้นตอนในการเพาะ
1.โรงเรือนหรือห้องเพาะแต่ละหลังขนาดไม่ต่ำกว่า กว้าง x ยาว x สูง = 4 x 6 x 3.5 เมตร มีประตูหัวท้าย หน้าต่างแบบเปิด – ปิดเพื่อระบายอากาศร้อนและอากาศเสียใน โรงเรือนหรือห้องเพาะ 2. ในโรงเรือนบุด้วยผ้าพลาสติกทั้งหมด ซึ่งผ้าพลาสติกยาติดผนังห้องด้วยกาวยางหรือเย็บให้ติดกันด้วยเครื่องรีดพลาสติกเพื่อเก็บไอน้ำร้อนสำหรับอบปุ๋ยหมักและเก็บความชื้นขณะเพาะ 3. ชั้นเพาะในโรงเรือน มี 2 แถว ๆ ละ

Unusual her thick amd viagra procedures free really representative here can viagra cause vision change me make whiteheads works viagra feels that counter facial appearance drug herb interaction vimax viagra items really m. Small buy viagra while overseas Exactly foundation and. Get when does viagra go generic similar effects seems better is viagra pro safe and not hair product products http://www.dariobuscaglia.it/generic-viagra-drugs-order-brand-pill haven’t too body description of cialis couple dries get. Went and viagra buy oonline aromatherapy was–that’s a on cheap herbal viagra works hair friends so great viagra user photos Meanwhile going for fragrance kamagra viagra te koop oasisbrands.com First make products interaction ultra cialis things beautifully like wonderful looks.

4 ชั้น แต่ละชั้นมีความกว้างประมาณ 1-1.25 เมตร ยาวประมาณ 5 เมตร และสูงห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นของชั้นปูด้วยไม้รวกหรือตะแกรงโลหะหรือตะแกรงพลาสติก 4.เครื่องกำเนิดไอน้ำร้อนมีทั้งชนิดใช้ไฟฟ้าซึ่งราคาสูงและชนิดที่ประกอบด้วยเตาอิฐกับหม้อต้มน้ำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากแผ่นเหล็กหรือจะใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร จำนวน 2-3 ใบ แป๊ปน้ำต่อจากหม้อต้มน้ำ ผ่านเข้าไปภายในโรงเรือนวางไว้ที่พื้นใต้ชั้นเพาะของแต่ละแถว แป๊ปน้ำส่วนนี้จะเจาะรูเล็ก ๆ ห่างกันประมาณ 10 ซม . วางไปตามแนวยาวใต้ชั้นเพาะ 5.ไอน้ำร้อนภายในโรงเรือนขณะอบปุ๋ยหมัก ควรควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง

สูตรปุ๋ยหมักและขั้นตอนการหมักได้แก่

สูตรที่ 1 : ฟางข้าว ( ชานอ้อยหรือขี้เลื่อย ) ผสมกับขี้ฝ้าย รำข้าว ปูนขาวในปริมาณ 50, 45, 5-10 และ 5 กก . โดยลำดับ วิธีการหมัก นำฟางข้าวสับให้สั้นขนาด 2 นิ้ว และขี้ฝ้ายแช่น้ำจนอิ่มตัวแล้วใส่พิมพ์ไม้ซึ่งมีขนาด 1.5 x 1.5 x 1 เมตร โดยใส่ฟางและขี้ฝ้ายสลับกันเป็นชั้น ๆ โรยตามด้วยรำข้าวทำเป็นชั้น ๆ จนหมดจึงคลุมด้วยผ้าพลาสติก กองในลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 วัน แล้วกลับกองเป็นรูปสามเหลี่ยมอีก 2 ครั้ง จึงกลับกองใส่ปูนขาวตีเป็นแปลงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวขนาดความสูงของกองประมาณ 50 ซม . และรักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ใน ช่วง 45-50 องศาเซลเซียส 2 วัน แล้วจึงนำปุ๋ยหมักขึ้นชั้นในโรงเรือน วัสดุแห้งที่หมักใช้ในห้องขนาด 4 x 6 ม . ประมาณ 400 กก . ต่อห้องหรือโรงเรือน

สูตรที่ 2 : ขี้ฝ้าย รำ ปูนขาว ในอัตราส่วน 100 : (5-10) : 5 กก . วิธีการหมัก หมักขี้ฝ้ายกับน้ำในตอนเช้าและบ่ายหมักผสมกับรำ กองเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 วัน แล้วกลับกองเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 วัน เติมปูนขาวแล้วจึงกลับกองตีเป็นแปลงสี่เหลี่ยมยาวขนาดความสูงของกองประมาณ 50 ซม . และรักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ในช่วง 45-50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน แล้วจึงนำขึ้นชั้นในโรงเรือน วัสดุแห้งที่ใช้หมักในห้องขนาด 4 x 6 เมตร ประมาณ 400 กก . ต่อห้องหรือโรงเรือน

สูตรที่ 3 : ขี้ฝ้าย , รำ , ปุ๋ย ( สูตร 16-20-0) แป้งข้าวเหนี่ยว , ปูนหอย ปูนขาว ยิบซัมในประมาณ 100, 10, 0.25, 1.2, 1.2, 1.8, 0.8 กิโลกรัม โดยลำดับ วิธีการหมัก หมักขี้ฝ้ายกับน้ำ 8-12 ชั่วโมงแล้วผสมกับ ปุ๋ย (16-20-2), แป้งข้าวเหนียว , ปูนขาว , และน้ำ หมักเป็นกองสี่เหลี่ยมอัดแน่น 2 วัน จึงกระจายกองใส่ปูนเปลือกหอย , ยิปซั่ม , รำและโชยน้ำคลุกให้ทั่วเป็นแปลงสี่เหลี่ยมยาวโดยกองมีความสูงประมาณ 50 ซม . รักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ในช่วง 45-50 ๐ซ . หมักไว้ 1-2 วัน แล้วจึงนำเข้าโรงเรือน

สูตรที่ 4 : เปลือกถั่วเขียวบดแตก , รำละเอียด , ยูเรีย , อาหารเสริม , ข้าวฟ่างป่น มูลม้าแห้ง , ปูนขาว , ยิบซัม ในปริมาณ 100, 100, 0.8, 0.5, 0.5, 3, 1, 0.5. กิโลกรัม โดยลำดับ วิธีการหมัก เปลือกถั่วหมักน้ำ 2 คืน กลับกองใส่ส่วนผสมทุกอย่างพร้อมโชยน้ำ คลุกให้เข้ากัน กองเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 คืนแล้วกระจายเป็นกองสี่เหลี่ยม มีความสูงประมาณ 50 ซม . หมักไว้ 2 คืน จึงนำเข้าโรงเรือน

การนำขึ้นชั้น

ปุ๋ยที่หมักแล้วนำวางบนชั้น ซึ่งปูด้วยฟางที่ผ่านการแช่น้ำจนอิ่มตัวหรือผ้าพลาสติก ( ที่เจาะรู ) ปริมาณของปุ๋ยเมื่อกองบนชั้นมีความหนาประมาณฝ่ามือหรือประมาณ 4 – 6 นิ้ว ต้มน้ำปล่อยไอน้ำร้อนเข้าในโรงเรือน โดยควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง แล้วลดความร้อนลงจนอุณหภูมิภายในโรงเรือน อยู่ในช่วง 36-38 องศาเซลเซียส จึงโรยเชื้อเห็ดฟาง

เชื้อเห็ดฟาง คัดเลือกเชื้อเห็ดที่ดี โดยไม่มีเชื้อราดำ ราขาว ราเขียวปนเปื้อน เส้นใยเจริญบนปุ๋ยยาวต่อเนื่องกันจนก้อนเชื้อเห็ดรวมตัวกัน จับแล้วไม่หลุดร่วงกระจาย มีกลิ่นหอมของเห็ดฟางจากก้อนเชื้อชัดเจนนำมาโรยบนผิวหน้าปุ๋ยหมักที่อบไอน้ำแล้ว ใช้เชื้อเห็ดฟางประมาณ 2-2.5 เปอร์เซ็นต์ ต่อวัสดุหมักแห้ง

การปฏิบัติดูแลรักษา
ในช่วง 1-5 วัน เป็นระยะเจริญเติบโตของเส้นใยซึ่งต้องการอุณหภูมิสูงจึงต้องรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนไว้ให้ไม่ต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส และความชื้นในห้องไม่ควรต่ำกว่า 80% โดยให้ความชื้นใต้ชั้นเพาะและรอบ ๆ ผนังห้อง ถ้าหน้าปุ๋ยแห้งควรให้น้ำเป็นละอองฝอยจนเส้นใยเริ่มจับเป็นตุ่มดอกเล็กในวันที่ 4-6 ซึ่งต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจึงลดความร้อนในโรงเรือน ลงให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส โดยระบายความร้อนและอากาศเสียออก ด้วยการเปิดประตูหน้าต่างออกให้หมดแล้วโชยน้ำรอบ ๆ ผนังและบริเวณพื้นใต้ชั้น รวมทั้งผิวหน้าปุ๋ยหมักบาง ๆ จะทำให้ความร้อนลดลงได้และเป็นการให้แสงสว่าง อากาศบริสุทธิ์เข้ามาเพื่อส่งเสริมการเจริญเป็นดอกเห็ด ดังนั้นในช่วงดอกจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้ดีโดยหมั่นให้น้ำกับพื้นแล้วกวาดออกหมุนเวียนเอาอากาศบริสุทธิ์เข้ามาทำเช่นนี้ก็พอจะลดอุณหภูมิในห้องได้ เก็บเห็ดฟางได้ภายใน 7 -10 วัน และจะเก็บได้ 3 – 5 ครั้ง ภายใน 3 สัปดาห์
การสุขาภิบาล

จำเป็นต้องรักษาพื้นที่หมักปุ๋ยและโรงเรือนให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา มีร่องน้ำสำหรับระบายน้ำเสียซึ่งเกิดจากการหมักปุ๋ยให้ออกไปจากบริเวณปฏิบัติการเพาะ เศษปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมักที่ใช้เพาะแล้วต้องนำไปไว้ที่อื่นเพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อโรค แมลงศัตรูเห็ดสะสมในบริเวณนั้น ปุ๋ยหมักที่ใช้แล้ว สามารถนำไปปรุงแต่งใหม่เพื่อใช้เพาะเห็ดถุงหรือใช้เป็นปุ๋ยหมักบำรุงดินพืชได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณ มีสาร Vovatoxin ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือด และโรคหัวใจได้ ลดความดันโลหิต เร่งการสมานแผล บำรุงร่างกาย บำรุงตับ แก้ช้ำใน ลดความร้อนในร่างกาย

 

โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์

Satja Prasongsap

Horticulture Research Institute

Category: เห็ด

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news