กระจับ
กระจับ
ชื่ออื่นๆ : กระจับ มะแง่ง
ชื่อวงศ์ : TRAPACEAE
ชื่อสามัญ : Horn nut, Water caltrops
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trapa bicornut Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้น้ำ ลักษณะคล้ายผักตบใบกลม ริมใบเป็นจักๆ คล้ายกับมีครึ่งใบ ใบหนา แข็ง ก้านใบแผ่ออกเป็นรัศมีวงกลม มีผลออกจากกระจกต้น คล้ายเขาควาย ผลอ่อนมีสีม่วงแดง เมื่อแก่จัดจะมีสีดำ เนื้อใบผลมีรสหวานมัน ใช้รับประทานเป็นอาหาร
การนำไปใช้ประโยชน์ : เนื้อในของฝักใช้รับประทานได้ แต่ต้องต้มให้สุก เพราะอาจมีพยาธิใบไม้
ทางอาหาร เนื้อผลแก่ ต้มสุกเป็นอาหาร ใช้ผัดแทนแห้ว ทำน้ำกระจับ
ทางยา ใบกัด เสมหะแก้ไอ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่คูกทวาร เนื้อในฝักชูกำลัง บำรุงทารกในครรภ์ แก้อ่อนเพลีย บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์ และบำรุงกำลังคนไข้ หัวเป็นยาบำรุงกำลังและบำรุงครรภ์ กินกระจับสด ๆ จะเป็นยาดับร้อน ดับกระหาย ถ้ากินผลต้มสุกแล้วจะเป็นยาช่วยย่อย นอกจากนี้ผลกระจับยังมีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว แก้พิษจากการดื่มสุรา เปลือกหุ้มกระจับ แก้ท้องร่วง ดาก หลุด (หนังทวารหนักยื่นย้อย) ริดสีดวงทวาร ฝีหนอง อาการดอกหลุดเอาน้ำมันงาชโลมให้ทั่วจึงล้างด้วยน้ำต้มเปลือกหุ้มผลให้สะอาด ก้านขั้วผลกระจับ รักษาหูด ก้านต้นกระจับแก้โรคกระเพรา ใบกระจับเป็นยาช่วยเสริมสมรรถภาพตาของเด็ก
การขยายพันธุ์ : ผล ไหล
การปลูกและการดูแล : การปลูก ตามคูคลองหนองบึงทั่วไปที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ใช้เวลา 5-6 เดือน จะสามารถเก็บผลผลิตได้ ปลูกประดับในสวนน้ำได้ดี
สรรพคุณ : หัว เป็นยาบำรุง บำรุงครรภ์
ใบ
เนื้อในฝัก เป็นยาชูกำลัง บำรุงทารกในครรภ์ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลังคนไข้
โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com
Category: พืชผัก, พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ