banner ad

โปรโตซัว

| August 7, 2024

โปรโตซัว Sarcocystis singaporensis เป็นสารชีวินทรีย์ กลไกการออกฤิทธิ์ หลังหนูได้รับเชื้อโปรโตซัวระยะสปอร์โรซีสต์แล้ว 10 15 วัน จึงแสดงอาการป่วยและตายในที่สุด ด้วยสาเหตุจากอาการน้ำท่วมปอด ซึ่งทำให้ระบบการหายใจล้มเหลว หรืออาจทำให้ไตวายได้ ในสภาพโรงเรือน ใช้ภาชนะสำหรับใส่เหยื่อ 1 อันต่อพื้นที่ 25- 27 ตารางเมตร แล้วใส่เหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูป 2 – 3 ก้อนต่อภาชนะ เป็นเหยื่อแป้งนุ่ม ขนาดก้อนละ 1 กรัม ข้อควรระวังไม่ให้โดนน้ำและแสงแดด โดยเหยื่อโปรโตซัวที่วางในสภาพธรรมชาติ ควรถูกหนูกินภายใน 1 สัปดาห์

ถั่วเขียว : อัตรา 20 – 25 ก้อน/ไร่ วางเหยื่อโปรโตซัว จุดละ 1-3 ก้อน บริเวณรอยทางวิ่งหนูหรือรอยทำลายให้ทั่วแปลง ตั้งแต่ถั่วเขียวเริ่มติดฝักอ่อน ระยะก่อนเก็บเกี่ยวถ้าพบร่องรอยหนูในแปลงอีกให้วางเหยื่อพิษอีกครั้งหนึ่ง

ถั่วเหลือง : อัตรา 20 – 25 ก้อน/ไร่ วางเหยื่อโปรโตซัว จุดละ 1-3 ก้อน บริเวณรอยทางวิ่งหนูหรือรอยทำลายให้ทั่วแปลง ตั้งแต่ถั่วเหลืองออกดอก และเริ่มมีฝักอ่อนจนระยะก่อนเก็บเกี่ยว โดยแต่ละครั้งวางเหยื่อพิษห่างกัน 15-20 วัน จำนวนครั้งในการวางขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรหนูขณะนั้น

ข้าวโพด : อัตรา 20 – 25 ก้อน/ไร่ วางเหยื่อโปรโตซัว จุดละ 1-3 ก้อน บริเวณรอยทางวิ่งหนูหรือรอยทำลายให้ทั่วแปลง ตั้งแต่หยอดเมล็ดจนระยะก่อนเก็บเกี่ยว โดยแต่ละครั้งวางเหยื่อพิษห่างกัน 15 -20 วัน จำนวน ครั้งขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรหนูขณะนั้น

ข้าว : อัตรา 20 – 25 ก้อน/ไร่ วางเหยื่อพิษบนทางเดินของหนูตามคันนา หรือใส่ลงในรูหนู โดยตรงหรือวางตามแหล่งที่มีหนูระบาด ควรใช้เหยื่อพิษกำจัด หนู 2-3 ครั้ง ครั้งแรก ใช้เมื่อข้าวหรือธัญพืชเมืองหนาวเริ่มปลูก ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ใช้หลังวางเหยื่อพิษ ครั้งแรกไปแล้ว 30 และ 60 วัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามควรวางเหยื่อพิษในแนวป้องกันรอบ ๆ แปลงเพื่อป้องกันหนู เคลื่อนย้ายมาในแปลงข้าว

Category: ชีวภัณฑ์และสารสกัด, สารป้องกันกำจัดสัตว์

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news