banner ad

หอมหัวใหญ่

| May 31, 2024

หอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่
ชื่อสามัญ : Onion
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium cepa L.
วงศ์ Amaryllidaceous

หอมหัวใหญ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว กลุ่มพืชล้มลุกและเป็นพืชหัว (bulb) จัดเป็นพืชสองฤดู แต่มักปลูกเป็นพืชฤดูเดียว ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว และมีพันธุ์ที่ตอบสนองต่อช่วงแสง ตั้งแต่เป็นพืชวันสั้น ไม่ตอบสนองช่วงแสง และเป็นพืชวันยาว เป็นพืชผสมข้ามมีโครโมโซม 2n = 16

สถานการณ์

ประเทศไทยปี 2566 มีเนื้อที่ปลูก 9,509 ไร่ ผลผลิต 36,479 ตัน ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดมากช่วงเดือน ม.ค.- เม.ย. พื้นที่ปลูกได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ กาญจนบุรี ราคาหอมหัวใหญ่เบอร์ 1 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.02 บาท ด้านการนำเข้าส่งออก ประเทศไทยมีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ปี 2565 มีการนำเข้าหอมหัวใหญ่เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ 45.69 ตัน มูลค่า 572 ล้านบาท ปี 2566 มีการนำเข้าหอมหัวใหญ่เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ 86.79 ตัน มูลค่า 698 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.65 เปอร์เซนต์ ผู้ผลิตหอมหัวใหญ่รายใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย สหรัฐ อเมริกา และตุรกี การบริโภคหัวหอมใหญ่ของโลกพบว่านิยมรับประทานหอมหัวใหญ่เฉลี่ยประมาณ 6.20 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ประเทศลิเบียมีการบริโภคหอมหัวใหญ่มากที่สุดในโลก คือ ประมาณ 30 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

พันธุ์หอมหัวใหญ่

(1) พันธุ์เบา จะลงหัวเมื่อได้รับแสงวันละ ประมาณ 12-16 ชั่วโมง เป็นพันธุ์เบาอายุสั้น คือตั้งแต่เพาะเมล็ดถึงเก็บหัวมีอายุ ประมาณ 85-125 วัน และจะเก็บหัวได้ในช่วงฤดูแล้ง หัวหอมที่ใกล้ แก่เต็มที่เมื่อถูกฝนมักจะเน่า อายุเก็บรักษาได้ไม่นาน การเพาะปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูหนาวคือ พฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี เพราะว่ายังมีน้้าใช้ในการเพาะปลูก

(2) พันธุ์หนัก เหมาะส้าหรับการปลูกในประเทศไทย ต้องการแสงสว่างวันละ 9-10 ชั่วโมง ก็ลงหัวได้เป็นพันธุ์หนักมีอายุ 165-180 วัน พันธุ์กราเน็กซ์ มีทั้งพันธุ์ เยลโลกราเน็กซ์ มีทั้งหัวกลมและหัวแบนเป็นหัวเร็วและแก่สม่้าเสมอ กันหัวใหญ่แต่คอเล็กสามารถเก็บไว้ได้นาน

พันธุ์ Superexมีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น

พืชวันสั้น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นำเข้าจากประเทศเนเธอแลนด์

1.late shortday ได้แก่ พันธุ์ Buccaneer F1, Colossus F1 และ Fernanda F1

2.early shortday ได้แก่ Cavalier F1,  Minerva และ Annika

3. Mid short day ได้แก่ Lucinda  F1, Sweet Uno  F1, Sirius  F1

หอมหัวใหญ่ (F1) ที่ 11 พันธุ์ ได้แก่ Cavalier, Sirius, Minerva, Buccaneer, Colossus, Annika, Sweet Uno, Lucinda, Fernanda, BO-14 และ BO-15

การเตรียมพื้นที่  ไถพลิกดินตากแดด 7-10 วัน – รองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 2-3 ตัน ต่อไร่ และใส่ ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีฟอสเฟตสูง หรือ 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

- แช่เมล็ดพันธุ์ในน้้าอุ่น 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 คืน ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่

- คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันก้าจัดโรค

- หว่านเมล็ดในแปลงเพาะเมล็ด ระยะห่างระหว่างแถว 10 เซนติเมตร ร่องที่ท้าไว้ให้เมล็ดในแต่ละแถวห่างกันประมาณ 1-2 เซนติเมตร ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลง รดน้้าพอชุ่ม แต่อย่าให้ แฉะ เมล็ดจะงอกภายใน 4-5 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 2-3 วัน ให้ดึงเศษ ฟางหรือหญ้าแห้งที่คลุมออกให้เหลือบางๆ

การย้ายกล้าปลูกในขณะที่แดดยังอ่อนอยู่หรือในช่วงเวลา ประมาณ 16.00-18.00 น. และต้นกล้าควรมีอายุประมาณ 45 วัน หลังจากเพาะกล้า เพราะถ้ากล้าอายุเกิน 45 วันไปแล้วจะเริ่มลงหัว การขุดต้นกล้าต้องระมัดระวังอย่าให้รากขาดเพราะจะท้าให้ หอมหัวใหญ่ชะงักการเจริญเติบโต ระยะปลูก ระหว่างต้น 10-15 เซนติเมตร ระหว่างแถว 15-20 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น หอมหัวใหญ่สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดีที่ค่าความเป็นกรด-เบสช่วง 6.0–6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15-24 องศาเซลเซียส และมีความเค็มของดินปานกลาง

การให้น้ำ ระยะแรกให้น้้าวันเว้นวัน และหลังจากตั้งตัวได้แล้วให้น้้า 3- 5 วันต่อครั้ง

การปลูก

การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จ้านวน 3 ครั้ง และเสริมด้วยยูเรีย ครั้งที่ 1 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุ 20-25 วัน หลังย้ายปลูก ครั้งที่ 2 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุ 40-45 วัน ครั้งที่ 3 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุ 50-60 วัน

ศัตรูพืช

โรคพืช

1. โรคแอนแทรคโนสหรือโรคหอมเลื้อย สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) Sacc. ลักษณะอาการ เชื้อราจะสามารถเข้าท้าลายได้ทุกส่วนของพืช เช่น ที่ ใบ คอ หรือส่วนหัว ท้าให้เกิดเป็นแผล ซึ่งเนื้อแผลเป็นแอ่งต่้ากว่าระดับผิวปกติเล็กน้อย บนแผลมีสปอร์ของเชื้อราเป็นหยดของเหลวสี ส้มอมชมพู ซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะเป็นตุ่มสีด้าเล็กๆ เรียงเป็นวงรีซ้อนกัน หลายชั้น โรคนี้ท้าให้ใบเน่าเสียหาย ต้มหอมแคระแกรน ใบบิดโค้งงอ หัวลีบยาว เลื้อย ไม่ลงหัว ระบบรากสั้น ท้าให้ต้นหอมเน่าเสียหายใน แปลงปลูก มักจะพบระบาดรุนแรงในฤดูฝน หรือภายหลังฝนตกในฤดู หนาว

การป้องกันก้าจัด ก่อนปลูกหอมหัวใหญ่ทุกครั้งควรปรับปรุงดินด้วยการใส่ปูนขาวและ ปุ๋ยคอก เพื่อฟื้นฟูสภาพของดินให้ดีขึ้น – ควรเก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาท้าลายทุกครั้ง เพื่อลดแหล่ง แพร่กระจายของโรค พ่นด้วยสารป้องกันก้าจัดโรคพืชจ้าพวกคาร์เบนดาซิม หรือแมนโค เซ็บประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง ถ้าระบาดรุนแรงพ่นด้วยสารโปรคลอราส แมงกานีส 3-5 วัน/ครั้ง 2-3 ครั้ง จนโรคเบาบางลง แล้วพ่นสลับ ด้วยคาร์เบนดาซิมหรือแมนโคเซบ เพราะถ้าพ่นด้วยโปรคลอราส แมงกานีสอย่างเดียวเป็นเวลานาน จะท้าให้เกิดการดื้อยาได้

2. โรคใบไหม้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Stemphylium vesicarium ลักษณะอาการ ใบหอมจะเป็นแผลฉ่้าน้้า ซึ่งในตอนเช้าตรู่จะพบหยด น้้าเล็กๆ เกาะอยู่บนแผล แผลนี้จะแห้งเมื่อถูกแสดงแดดตอนสาย แผลบนใบเป็นรูปรี หัวท้ายแหลม เนื้อเยื่อตรงกลางโปร่งใส มีขอบ แผลฉ่้าน้้า ถ้าเป็นมากแผลจะมีขนาดใหญ่ ท้าให้ใบหักพับลง แล้วใบ หอมทั้งใบจะเหี่ยวมีสีเขียวอมเทาเหมือนถูกน้้าร้อนลวก ต่อมา เปลี่ยนเป็นสีน้้าตาลแห้งตายในที่สุด

การป้องกันก้าจัด  พ่นป้องกันด้วยสารพวกคาโนรอน อัตราตามฉลากทุก 7-10 วัน ถ้า ระบาดมากให้พ่นทุก 3-5 วัน รดแปลงกล้าด้วยน้้าปูนใสจะช่วยให้ กล้าแข็งแรงทนทานต่อโรค

3. โรคใบจุดสีม่วง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Alternaria porri ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกใบหอมจะเป็นจุดขาวเล็กๆ ต่อมา กลายเป็นแผลใหญ่รูปไข่ สีน้้าตาลปนม่วง ซึ่งมีสปอร์สีด้าเป็นผง ละเอียดอยู่บนแผล ขอบแผลมีสีเหลืองขนาดของแผลไม่แน่นอน ใบที่ เป็นแผลจะมีปลายใบแห้ง ระบาดมากในฤดูหนาว

การป้องกันก้าจัดโดยการปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ พ่นยาป้องกันก้าจัดพวกเดอโรซาน บาวีสติน แมนเซทดี อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าการระบาดรุนแรงควรใช้รอฟรัลฉีดพ่นโดยใช้อัตราตามฉลากไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ควรใช้สลับกับพวกเดอโรซาน บาวีสติน จะได้ผลดี

4. โรครากเน่าโคนเน่า สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ลักษณะอาการ อาการใบเหลือง เหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโต ต่อมาใบแห้งจากปลายใบ แล้วลามแห้งหมดทั้งต้น กาบใบและรากเน่า เมื่อถอนต้นจะหลุดจากดินได้ง่าย บริเวณโคนต้นพบเส้นใยหยาบสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรค และเม็ดสีขาวหรือสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ คล้ายเมล็ดผักกาดปนอยู่กับเส้นใย จึงมักเรียกว่า ราเม็ดผักกาด

การป้องกันก้าจัด  คลุกเมล็ดหอมก่อนปลูกด้วยยาคลุกเมล็ด เช่น เอพรอน 35 หรือได เทน เอ็ม 45 (ชนิดสีแดง)  หว่านเมล็ดให้บางๆ และไม่ควรรดน้้าแฉะเกินไป  สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คาร์บอกซิน 75% WP อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลโคลฟอส-เมทิล 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีไตรไดอะโซล 24% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยรดสารทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง

5. โรคราด้า สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Aspergillus niger ลักษณะอาการ จะพบโรคนี้ในโรงเก็บเพราะหอมที่เก็บเกี่ยวเมื่อเก็บ ไว้ในที่ๆ อากาศชื้นมักจะมีราสีด้าเป็นก้อนใหญ่ ขึ้นระหว่างกาบหัว หรือระหว่างกลีบของหัวหอมเส้นใยรามีหัวสีด้า ซึ่งจะฟุ้งกระจายได้ ง่าย เมื่อมีการกระทบกระเทือนเนื้อเยื่อที่ขึ้นราจะเน่าเปื่อยกินลึกเข้า ไปทีละน้อย และขยายวงกว้างออกไปไม่มีขอบเขตจ้ากัด ส่วนมากเชื้อ ราจะเจริญเข้าไปทางแผลที่เกิดจากการตัดใบ ซึ่งยังไม่แห้งสนิท (เพราะเก็บก่อนแก่จัด) เป็นช่องทางให้โรคเข้าท้าลายได้ง่าย หอมหัวใหญ่ที่เป็นโรคจะเน่าเสียหาย และระบาดลุกลามในระหว่าง การเก็บรักษาและจ้าหน่าย

แมลงศัตรูหอมหัวใหญ่

1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงศัตรูหอมที่มีขนาดเล็ก ล้าตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร สีน้้าตาลอ่อนถึงเข้ม ตัวแก่มีปีก แผลที่เกิดจากการท้าลาย ของเพลี้ยไฟมักจะเป็นช่องทางให้เกิดโรคราสีม่วงเข้าท้าลายได้พลี้ยไฟมักจะระบาดช่วงท้ายของการปลูกประมาณเดือนกุมภาพันธ์- เมษายน การป้องกันก้าจัด ควรตรวจแปลงบ่อย ๆ ถ้าพบเพลี้ยไฟมากให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD  อัตรา 40 มล./ น้ำ 20 ลิตร คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% EC อัตรา 40 มล./ น้ำ 20 ลิตร สไปโรมีซเิฟน 24% SC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร

2. หนอนกระทู้หอม มีลักษณะล้าตัวอ้วน หนัง ล้าตัวเรียบตามปกติแล้วมีหลายสี ตั้งแต่เขียวอ่อน เทา หรือน้้าตาล สังเกตดูด้านข้างจะมีแถบสีขาวข้างละแถบ พาดตามยาวของล้าตัว หนอนกระทู้หอมจะเข้าท้าลายโดยกัดกินใบยอด กาบใบ

การป้องกันก้าจัด

หนอนมักจะออกมากัดกินใบหอมในเวลากลางคืนจนถึงเช้า ส่วนตอนกลางวันหนอนจะหลบแดดอยู่ใต้วัสดุคลุมดิน ใช้สารฆ่าแมลงที่ได้ผลจะพ่นในช่วงเวลาเย็นหรืออุณหภูมิสูงไม่เกิน 28-30 องศาเซลเซียส  เมื่อพบกลุ่มไข่เฉลี่ย 0.5 กลุ่ม/1 ตรม. โดยการสุ่มนับ แบบทแยงมุม 25 จุด/ไร่ พ่นจนกว่าการทำลายจะลด ต่ำลงกว่า 10% ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชซ้้าและพืชอาหารที่หนอนชอบ จะป้องกัน การระบาดได้ดี  การใช้เชื้อจุลินทรีย์ เอ็น พี วี (NPV) ของหนอนกระทู้หอมหรือ Bt. สารฆ๋าแมลงได้แก่ โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มล./ น้ำ 20 ลิตร ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 6 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร

การเก็บเกี่ยว

ประเทศไทยมีการปลูกหอมหัวใหญ่และให้ผลผลิตได้เพียง 1 ครั้ง ในรอบปี โดยจะเริ่มปลูกช่วงเดือน ปลายตุลาคม- ต้นพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวผลผลิต ตั้งแต่ธันวาคม-เมษายน หลังจากนั้นจะเก็บรักษาผลผลิตตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมไว้ใช้บริโภคจนถึงฤดูปลูกใหม่ สังเกตว่าเมื่อหอมหัวใหญ่เริ่มแก่ซึ่ง ใบจะเริ่มถ่างออกทั้งสองด้าน ใบหอมหัวใหญ่เปลี่ยนเป็นสีเขียวปนเทา และเริ่มมีสีเหลือง สีของเปลือกหุ้มหัวเป็นสีน้้าตาล แสดงว่าหอมหัวใหญ่ เริ่มแก่จัดสามารถท้าการเก็บเกี่ยวได้ เหตุที่ต้องเก็บหอมหัวใหญ่มีอายุแก่ จัดนั้นเพราะจะท้าให้สามารถเก็บรักษาได้นาน รากจะไม่งอก และมีการ แทงยอดขึ้นมาเร็วกว่าปกติ

เมื่อถอนขึ้นมาแล้ว ควรน้ามามัดจุกไว้ ผึ่งในที่ร่มให้แห้ง สนิทไม่ควรตัดต้นหอมหัวใหญ่ขณะที่ต้นและใบยังสดอยู่เด็ดขาด เพราะจะท้าให้เชื้อโรคเข้าทางแผลได้ ควรตัดต้นหอมเมื่อใบและต้น หอมหัวใหญ่แห้งดีแล้ว โดยตัดตรงคอหอมให้สูงจากหัวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนการตัดรากนั้นควรตัดให้ชิดกับหัวเมื่อรากแห้งแล้ว ส้าหรับหอมหัวใหญ่ที่จะต้องแขวนเก็บไว้นั้น ควรเก็บไว้ในชายคาบ้าน หรือโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีหลังการเก็บเกี่ยว หอมหัวใหญ่จะ ถูกบรรจุใส่ภาชนะ แล้วล้าเลียงไปยังแหล่งคัดบรรจุ การเก็บเกี่ยวและ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวทุกขั้นตอน ต้องกระท้าด้วยความ ระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล หรือกระทบกระแทกชอกช้้า เก็บ รักษาในห้องเย็น (cold storage) อุณหภูมิที่ใช้ในการแช่เย็น หอมหัวใหญ่ควรควบคุมให้อยู่ระหว่าง 0 to 2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% การเก็บหอมหัวใหญ่ที่ความชื้นสัมพัทธ์ สูงจะท้าให้หอมหัวใหญ่เสื่อมเสียได้ง่าย ราขึ้น และงอกอย่างรวดเร็ว

ประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้  ผลผลิต/ไร่ 4,282 กิโลกรัม มีต้นทุนการผลิต 6,440 บาท/ตัน ราคาที่เกษตรกรขายได้เท่ากับ 9,780 บาท/ตัน  ผลตอบแทนสุทธิ 3,340 บาท/ตัน

การปรับปรุงพันธุ์หอมหัวใหญ่

1. ลักษณะที่สำคัญของหอมใหญ่ ได้แก่ สีสัน รูปทรง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ รสชาติและความฉุน ระยะการเก็บรักษา และคุณค่าทางโภชนาการ

2. คุณลักษณะของพืชทั่วไป คือ ความทนทานต่อการเกิดโรค แมลงศัตรูพืช และส่วนของก้านดอก

3.การผลิตเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่มีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การออกดอกสม่ำเสมอ มีก้านดอกแข็งแรง มีเกสรเพศผู้เป็นหมันคงที่ และปริมาณของเมล็ดพันธุ์

ด้านนโยบาย

1.มีคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน เลขานุการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และผู้ช่วยเลขานุการกรมวิชาการเกษตร

2.การเปิดตลาดสินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ตามข้อผูกพันองค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2567-2569 ปริมาณในโควต้า 3.15 ตัน อัตราภาษีในโควต้าร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควต้าร้อยละ 218 และชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้าในโควต้าแต่เพียงผู้เดียวด้านงานวิจัย

การบริหารจัดการ

1. กำหนดให้หอมหัวใหญ่เป็นสินค้าควบคุม โดยคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ได้ออกประกาศควบคุมการขนย้ายหอมหัวใหญ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศตั้งแต่ 400 กิโลกรัมขึ้นไป โดยทางบกหรือทางทะเล เข้าหรือออกจากจังหวัดที่กำหนด 52 จังหวัด ต้องขนอนุญาตขนย้าย

2. เข้มงวดตรวจสอบการลักลอบการนำเข้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด

3.กรมศุลกากรติดตาม ตรวจสอบ และเข้มงวดการลักลอบนำเข้า การประเมินราคา และการตรวจปล่อยสินค้า

4.กรมส่งเสริมสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ช่วยระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต

5.กระทรวงพาณิชย์สุ่มตรวจสอบสต๊อกสินค้าของผู้นำเข้า และป้องปรามการกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไร

6. เชื่อมโยงการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการ ผู้รวบรวมส่งห้างค้าปลีก-ค้าส่งกับกลุ่มเกษตรกรโดยใช้สัญญาข้อตกลงมาตรฐานของกรมการค้าภายใน

7.การปรับปรุงพันธุ์หอมหัวใหญ่ให้ได้มาตรฐาน

Category: พืชผัก ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news