สารบราสสิโนไลด์
สารบราสสิโนไลด์ brassinolide
บราสสิโนสเตรียรอยด์ที่สกัดจากเรณุข้าวโพดสามารถกระตุ้นการยืดยาวของปล้องถั่วแขก สารสกัดจากเรณูพืชมากกว่า 60 ชนิดมีสารสกัดมากกว่า 30 ชนิดกระตุ้นการเจริญเติบโตต้นกล้าถั่วปล้องที่ 2 ได้รวดเร็วโดยเฉพาะจากเรพซีด ได้สกัดสาร brassin ในรูปผลึก และตั้งชื่อว่า บราสสิโนไลด์ ช่วยในการแบ่งเซลและการยืดยาวของเซล การเติบโตของราก การเปลี่ยนสภาพไซเล็ม พัฒนาการด้านการสืบพันธุ์ การสุกของผลไม้ การต้านทานสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การต้านทานต่อโรคพืช และมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนออกซิน จิบเบอเรลลิน เอทิลีน ABA สารกลุ่มบราสสิโนสเตรียรอยด์ ได้แก่
- biobras-6 (2α,3α-dihydroxy-6-ketone)
- BL (brassinolide)
- DHECD (7,8-dihydro-8α-20-hydroxyecdysone)
- αDHECD (7,8-dihydro-5α,8α-20-hydroxyecdysone)
- EBL (24-epibrassinolide)
- HBL (28-hornobrassinolide)
1. การเพิ่มขนาดและน้ำหนักผล : ลําไย วิธีการใช้ : พ่นทั่วต้นเมื่อผลอายุ 100 วันหลังติดผลและพ่นครั้ง 2 หลังพ่น ครั้งแรก 7-10 วัน, มะม่วง (โชคอนันต์ และน้ำดอกไม้เบอร์ 4) วิธีการใช้ : พ่นทั่วต้นเมื่อผลอายุ 30 วันหลังติดผลและพ่นและพ่นซ้ำทุก 30 วัน, องุ่นใช้ BL อัตรา 200 ng/5 μL พ่นสารในระยะติดผล แตงกวาใช้ EBL อัตรา 0.2 μM พ่นสารในระยะดอกบาน
2.การเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ : ถั่วเหลืองใช้ EBL อัตรา 10-9 M พ่นสารหลังปลูก 5 วัน โดยพ่นวันเว้นวันเป็นเวลา 12 วัน ผักกาดหอมใช้ DHECD อัตรา 10-7 M พ่นสารหลังปลูd 30 วัน
3. การช่วยเพิ่มความงอกของละออกเกสร : มะม่วง วิธีการใช้: ใช้ความเข้มข้น 0.05 มก/ล (พันธุ์น้ำดอกไม้และโชคอนันต์) และ 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร (พันธุ์มันเดือนเก้า) ข้าวใช้ EBL อัตรา 10-7 M พ่นที่ช่อดอก ในระยะออกรวง 50% และได้รับความร้อน 7 วัน เพิ่มการงอกของละอองเรณูภายใต้ภาวะเครียดจากความร้อน
4. การเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง : แตงกวาใช้ EBL อัตรา 10-7 M พ่นสารจากระยะใบเลี้ยง จนถึงระยะใบที่ 4 โดยพ่นทุก ๆ 5 วัน มัสตาร์ดใช้ EBL อัตรา 0.1 μM พ่นสารหลังปลูก 30 วัน, ถั่วเขียว ใช้ EBL อัตรา 10-8 M แช่เมล็ด 8 ชั่วโมงในสารละลายและพ่นสารหลังปลูก 15 วัน
5. การเพิ่มความทนทานต่อความร้อน : ข้าวใช้ EBL อัตรา 10-9 M พ่นสารหลังปลูก 30 และ 78 วัน และได้รับความร้อน 7 วัน, มะเขือเทศใช้ EBL อัตรา 1μM พ่นสารหลังปลูก 4 สัปดาห์ และได้รับความร้อน 24 ชั่วโมง, เมล่อนใช้ EBL อัตรา 0.5-1.5 mg/mL พ่นสารหลังปลูก 3 สัปดาห์ และได้รับความร้อน 2 วัน, มะเขือใช้ EBL อัตรา 0.05- 0.2 μM พ่นสารหลังปลูก 6 สัปดาห์ และได้รับความร้อน 8 วัน
6. การเพิ่มความทนทานต่อสภาพความเค็ม : ข้าวใช้ EBL อัตรา 3 μM แช่เมล็ด 24 ชั่วโมง แล้วนำไปปลูกในสภาพความเค็ม 20 วัน ข้าวสาลีใช้ EBL พ่นอัตรา 0.025 ppm หลังปลูก 14 วัน ได้รับสภาพความเค็ม 2 วัน ข้าวโพดใช้ EBL อัตรา 10-11 M แช่เมล็ดในสารละลาย และได้รับสภาพความเค็ม 7 วัน ข้าวบาร์เลย์ใช้ EBL อัตรา 3 μM แช่เมล็ดในสารละลาย 24 ชั่วโมง และได้รับสภาพความเค็ม 24 ชั่วโมง
7. การเพิ่มความทนทานต่อความแล้ง : ถั่วเหลืองใช้ BL อัตรา 0.1 ppm พ่นสารก่อนดอกบาน และได้รับการขาดน้ำ 7 วัน, ข้าวฟ่างใช้ BL อัตรา 2 μM และ 3 μM เพาะเมล็ดบนกระดาษที่วางบนสารละลาย ก่อนการขาดน้ำ 6 วัน, ถั่วแขกใช้ BL อัตรา 1 μM และ 5 μM พ่นสารในระยะออกดอก ก่อนการขาดน้ำ 8 วัน, มะเขือเทศ ใช้ DHECD อัตรา 1 μM พ่นสารหลังปลูก 65 วัน ก่อนการขาดน้ำ 18 วัน
8. การเพิ่มความต้านทานจากการเข้าทำลายของโรคพืช เช่น งานวิจัยในข้าว ใช้ BL อัตรา 20 μg/กอ ให้สารทางดินในระยะใบที่ 3 แล้วปลูกเชื้อโรคพืช M. grisea, X. oryzae pv oryzae, งานวิจัยในยาสูบ ใช้ BL อัตรา 20 μM พ่นสารหลังปลูก 5 สัปดาห์ แล้วปลูกเชื้อโรคพืช tobacco masaic virus
Category: สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช, สารเคมี