บุก
บุกไข่ หรือบุกเนื้อทราย
ชื่อท้องถิ่น: บุก บุกที่มีไข่ (ตาก) บุกด่าง บุกลาย/เหนือ บุกรอ บุกคนโท/ใต้ (ระนอง) เคอมิตี้/กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน พะดุ/กะเหรี่ยงกาญจนบุรี เบอก/มอญ วาอุ/พม่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallu soncophyllus Prain ex Hook. f. = A. muelleri Blume. = A. burmanicus Hook. f.
วงศ์บอน Araceae
สกุล Amorphophallus
บุกเป็นพืชล้มลุก บุกส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นเพียงอย่างเดียวนาน 4-6 ปี จึงเข้าสู่ช่วงของการออกดอกบุกบางชนิดมีดอกเดียวแต่หลายชนิดสามารถมีดอกติดต่อกันได้หลายปี บุก เมื่อมีดอกและพัฒนาเป็นผลหรือไม่ติดผลก็ตาม จะมีต้นใหม่งอกจากหัวเดิม หรือจากหน่อเล็กๆ ที่อยู่รอบหัวเดิม ลำต้นเป็นแบบหัวใต้ดิน มีรูปร่างลักษณะต่างๆ กัน คือ หัวกลม ค่อนข้างกลม กลมแป้น รูปร่างกลมค่อนข้างแบน มีเหง้า และไม่มีเหง้า หรือมีหน่ออยู่รอบหัว และหัวยาว ใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึกเป็นแฉก แต่ละแฉกแยกเป็น 3-4 แฉก ดอกช่อ ก้านดอกยาว มีใบประดับใหญ่สีเขียว ดอกย่อยอัดกันแน่น ในประเทศไทยมี 46 ชนิด บุกไข่ลักษณะของไข่เกิดอยู่บนใบ ใช้ส่วนนี้ขยายพันธุ์ เนื้อของหัวมีหลายสี เช่น สีเหลือง ขาวอมเหลือง ชมพู ขาวอมชมพูขึ้นได้ดีในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 ถึง 800 เมตรพบอยู่ในเขตป่าธรรมชาติ ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ระนอง จนถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งปลูกเป็นการค้า อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด อ.อุ้มผาง จ.ตาก
เจริญได้ดีในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี ความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมคือ 5 – 5.6 ต้องมีร่มเงา มีการบังแสงสูงสุดไม่เกิน 70% มีฝนตกประมาณ 1,200 – 2,200 มิลลิเมตรต่อปี ไม่มี ฝนทิ้งช่วง หรือมีระยะสั้น ๆ มีแสงแดดประมาณ 5 – 6 ชั่วโมงต่อวัน ฤดูปลูกที่เหมาะสมคือ ต้นเดือน พฤษภาคม แต่ไม่ควรเกิน กลางเดือนมิถุนายน นอกจากน้ีไม่ควรเป็นท่ีลมพัดแรงเพราะต้นหักล้มได้ง่าย
พันธุ์บุกที่ใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อผลิตผงวุ้น ท่ีมีสารกลูโคแมนแนนในหัวบุกมีปริมาณสูง ได้แก่ บุกไข่หรือบุกเนื้อทราย บุกสดเพื่อทำอาหารแป้งได้แก่ บุกโคราช บุกด่าง บุกใช้ต้นอ่อนเป็นอาหารได้แก่ บุกอยุธยา บุกคางคกเขียว คางคกขาว บุกที่ใช้ต้นอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารได้แก่ บุกเตียง บุกลอกกา บุกสายน้ำผึ้ง
1. บุกสำหรับส่งโรงงานมีอยู่ 6 ชนิดแต่ที่นิยมปลูกแล้วโรงงานรับซื้อในปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือบุกไข่ โดยใช้ระยะเวลาปลูก 3 ปี
-ปลูกด้วยหัวพันธุ์ขนาด 100 ถึง 400 กรัมจะให้ผลผลิตหัวใต้ดิน 3000 – 6000 กิโลกรัมต่อไร่และหัวบนใบ 100 – 360 กิโลกรัมต่อไร่
-ปลูกด้วยหัวบนใบขนาด 2.5 – 20 กรัมจะให้ผลผลิตหัวใต้ดิน 1000- 3500 กิโลกรัมต่อไร่ และหัวบนใบ 80 – 200 กิโลกรัมต่อไร่
2. บุกสำหรับบริโภคสดเป็นพันธุ์ ที่ค่อนข้างทนทานต่อโรคหัวเน่าและทนแสงแดดได้ดีกว่าบุกไข่ มีลำต้นและหัวใต้ดินขนาดใหญ่เป็นพืชที่ปลูกกันมานานใช้หัวสดไปเป็นอาหารแป้งคล้ายเผือก มัน ใช้แกงหรือทำขนมหวาน ปัจจุบันมีการนำไปทำข้าวเกรียบ ข้าวหลาม ขนมหม้อแกง แต่ปริมาณความต้องการยังจำกัด และมีอยู่เพียง 2 ชนิดคือ บุกด่าง ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเนื้อหัวสีเหลืองอมชมพู เมื่อถูกผิวหนังแล้วจะคัน และบุกโคราช ที่มีเนื้อหัวสีเหลืองหรือเหลืองอ่อน มีความคันเล็กน้อยเมื่อต้มสุก เนื้อจะหนืดกว่าบุกด่าง
การขยายพันธ์ุ
ขยายโดยไม่ใช้เพศ ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ของบุกเนื้อทรายมี 2 ส่วน คือ
- ส่วนหัวใต้ดิน ใช้หัวขนาด 125 กรัมหรือใหญ่กว่า หากหัวที่ขนาดใหญ่มากอาจผ่าออกเป็นส่วนๆ ให้มีปริมาณมากข้ึนโดยให้มีขนาด 125 กรัม จุ่มในสารฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย ผึ่งให้แห้งแล้วเตรียมเป็น พันธุ์ปลูกในแปลงผลิต
- ส่วนหัวบนใบ หรือที่เรียกว่าไข่บุก ใช้ขนาดที่มีนา้ํ หนัก 2.5 – 20 กรัม สามารถใช้เป็นพันธุ์ปลูก
ในแปลงหัวพันธุ์
การเตรียมแปลงปลูก
ทำการไถดะ ไถพรวน แล้วยกร่องกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 50 เซนติเมตร
การปลูก
การปลูกด้วยหัวใต้ดิน
- หัวพันธุ์ ขนาดกลางขนาด 200-400 กรัม/หัว และชิ้นพันธุ์น้ำ หนัก 200-250 กรัม/ชิ้น โดยใช้ ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร
- ฝังดินหัวพันธุ์ ฝังโดยหันหน่อกลางขึ้นด้านบน ส่วนชิ้นพันธุ์ฝังโดยหันด้านที่ผ่าลงก้นหลุม ให้ส่วน หัวอยู่ลึกจากผิวดิน 5 เซนติเมตร โดยหน่อจะฝังดินหรือโผล่ขึ้นมาก็ได้
- ให้น้ำหลังปลูกครั้งแรกให้ชุมแต่ไม่ขังแฉะต้องระวังหัวเน่า -ช่วงฝนทิ้งช่วงให้น้ำ 7วัน/ครั้ง
การปลูกด้วยหัวบนใบ
- ใช้ระยะปลูก 30 x 20 เซนติเมตร
- หัวที่มีขนาดเล็ก 2.5 กรัม ต้องทาํ แปลงหว่านให้งอกเสียก่อนจึงนำ ไปปลูกในแปลงพันธุ์ต่อไป - หัวบนใบที่มีขนาด 2.5-20 กรัมปลูกลงแปลงหัวพันธุ์ได้โดยขุดหลุมให้ลึกจากผิวดิน 3
เซนติเมตร วางให้ส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งขึ้นแล้วกลบดิน - คลุมร่องด้วยฟางเพื่อรักษาความชุ่มชื้น
- ให้น้ำหลังปลูกทุก 3-5 วัน ในช่วงแล้ง
การดูแลรักษา
- การพรางแสง ตั้งโครงตาข่ายสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2 เมตร แล้วกางตาข่ายพรางแสง คลุมทั่วแปลง โดยใช้ตาข่ายพรางแสง 50 % หรือเลือกใช้ไม้ยืนต้นพรางแสง ควรใช้ไม้ที่มีใบเล็ก ผลัดใบใน ฤดูแล้งและมีใบโปร่งในฤดูฝน มีอายุใบ 4-5 เดือน
- การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โดยใส่แบบหว่านบนร่อง 2 ครั้ง ๆ ละ 30 กิโลกรัมต่อไร่ หลัง ปลูกประมาณ 1 เดือนคร่ึง และ 3 เดือน หรือในครั้งที่ 2 อาจใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตราเท่ากันจะให้ ผลดีขึ้นถ้าดินอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำให้ใส่ปุ๋ยคอก 1.5–3 ตันต่อไร่ก่อนปลูก
- การกำจัดวัชพืช แปลงหัวพันธุ์ควรทำการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง แปลงผลิตควรทำการ
กาํ จัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ช่วงเวลาท่ีเหมาะสมคือ ก่อนการใส่ปุ๋ยแต่ละคร้ัง โดยใช้มือถอนบนร่องและใช้ จอบดายหญ้าระหว่างร่อง ส่วนการกลบโคนต้นจะทำเพียงครั้งเดียว ช่วงก่อนการใส่ปุ๋ยครั้งแรกเท่านั้น
- การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคเน่า ที่เกิดจากเชื้อ Erwinia carotovora จะเข้าทำลายต้นบุกทางหัวใต้ดินและเส้นใบที่หักหรือเป็นแผล ทำให้หัวเน่าและมีกลิ่นเหม็น แล้วลุกลามไปยังส่วนของต้นทำให้ต้นหักพับลงมา ป้องกันและกำจัดโดยใช้หัว พันธุ์ท่ีไม่เป็นโรคมาปลูกหมั่นตรวจสอบแปลงปลูก ถ้าพบโรคให้ขุดต้นและดินรอบ ๆ ต้นรัศมี 10 นิ้ว ไปทิ้ง หรือฝังทำลาย แล้วโรยปูนขาวบริเวณที่ขุดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
หนอนแก้ว (Theretra sp.) ทำลายต้นบุกโดยกัดกินใบ กำจัดโดยจับไปทำลาย
การเก็บเกี่ยว
- การเก็บเกี่ยวหัวบนใบ เริ่มเก็บได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน โดยเก็บหัวที่ร่วงหล่นจากต้น ที่แห้งหมดสภาพแล้วเท่านั้น ต้นที่ใบยังสดจะยังไม่เก็บ นำหัวบนใบที่ได้ไปผึ่งแดด 1-2 วัน ใส่ถุงตาข่าย แขวนไว้ หรือใส่ตะแกรงวางเป็นชั้น ๆ ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
- การเก็บเกี่ยวหัวใต้ดินที่มีอายุ 2-3 ปี เก็บเกี่ยวเมื่อต้นบุกตายไปแล้วมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ควรขุดด้วยความระมัดระวัง และขุดทุกระยะของหลุมปลูกเพราะมีหัว ขนาดแตกต่างกัน ถ้าดินแห้งได้เลย แต้ถ้าดินเปียกควรทิ้งไว้ในแปลงให้ดินแห้งร่วงหลุดจากหัว
ผลผลิต หัวสด 4 – 6 ตันต่อไร่
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
นำหัวบุกที่ขุดได้เก็บในโรงเรือน และห้ามล้างน้ำ ก่อนเก็บเพราะหัวบุกเน่าเสียได้ง่าย
* ช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด : หัวบนใบ สค. – พย. (ใช้ทำพันธุ์) * หัวใต้ใบ ตค. – พย. (นำไปแปรรูป)
ส่วนทีใช้ประโยชน์ : หัวสด
สรรพคุณ : ลดน้ำตาลในเลือด ลดน้ำหนัก
ราคารับชื้อ ปี 2557 กิโลกรัมละ 8-9 บาท ปี 2560 กิโลกรัมละ 25-26 บาท ปี 2560-62 กิโลกรัมละ 25-26 บาท ราคาสูงสุดกิโลกรัมละ 30 บาท
บริษัทที่รับซื้อ
1. บริษัท สยามชัย จำกัด จ.ตาก
2. บริษัท 99ไทยคอนจัค จำกัด จ.ตาก
3. บริษัท เอเชีย เคขีเอ็ม จำกัด จ.ตาก
4. บริษัท ยูเนี่ยนไทย คอนยัค จำกัด จ.ตาก
5. บริษัท เจ เอฟ เอช คอนจัค จำกัด จ.ลำพูน
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร บ-ม