หว้า
หว้า
ชื่ออื่นๆ : ห้าขี้แพะ ห้า มะห้า หว้าขี้แพะ
ชื่อวงศ์ : MRYTACEAE
ชื่อสามัญ : Black Plum, Jambolan Plum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (L.) Skeels Druce
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว รูปไข่ปลายแหลมค่อยข้างหนา ผิวมัน สีเขียวเข้ม ดอกเล็กเป็นช่อ ผลรูปไข่เป็นพวง แก่สีม่วงดำ ขนาดโตเท่านิ้วก้อย เกิดตามป่า โปร่ง ไร่นา
การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด ทางยา ใบแก้บิดมูกเลือด ต้มชะล้างบาดแผล ตำทาแก้โรคผิวหนัง เมล็ดต้มหรือบดรับประทาน แก้โรคเบาหวาน แก้บิดท้องร่วง เปลือกต้นแก้ท้องร่วง แก้น้ำลายเหนียว ต้มชะล้างบาดแผล
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
การปลูกและการดูแล : ขุดดินให้มีความกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50x50x50 ซม. ระยะปลูกประมาณ 10×10 เมตร นำดินที่ขุดขึ้นมาผสมกับปุ๋ยคอกคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำดินที่ได้ลงหลุม นำต้นกล้าที่เพาะไว้ลงปลูก กลบดิน คลุมฟาง รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ทำไม้ปักมัดต้นกล้ากันล้ม
สรรพคุณ
ผล หมักทำไวน์
เปลือก ทำยาดม แก้ปากเปื่อย
เปลือกราก แก้ท้องเสีย แก้บิด
ใบ แก้ปากเปื่อย แก้บิด มูกเลือด ท้องเสีย แก้โรคผิวหนัง
เมล็ด แก้เบาหวาน แก้บิด แก้ท้องเสีย ถอนพิษ แก้ปัสสาวะมาก บำรุงข้อ
หว้าขาว มีชื่อเรียกในอินโดนีเซียแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น เรียกได้หลายชื่อ เช่น ชวาพลัม(Java plum), แจมโบลัน พลัม (Jambolan plum), แจมบลัง (Jamblang), ดูเวต (Duwet), ซีดดูเวต (Seed Juwet), จัมบุล (Jumbul), จามัน พลัม (Jamun plum), แจมบูล่า (Jambula) ที่ชวาเรียก จูเวต (Juwet), Duwet, ดูเวตแมนติ้ง (Duwet manting) ที่กาโย เรียก แคชชู คลิง (Cashew kling), ที่อาเจาะห์เรียกแจมเบเคลง (Jambe kleng) ที่บาหลีเรียกจูเวต (Juwet) ฯลฯ ในมาเลเซีย เรียก แจมบูลาน่า (Jambulana) ที่ฟิลิปปินส์ เรียก ดูหัต (Duhat) โดยนำไปจากมาเลเซีย ในอินเดีย เรียกว่า รามจามัน (Ram Jamun) หรืออินเดียน แบล๊คเชอรี่ (Indian black cherry) ชาวอินโดนีเซียเรียกหว้าขาวว่า“แจมบลัง ปูติห์” (Jamblang Putih) คำว่า Putih : หมายถึง สีขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันกับหว้าดำทั่วไปว่า Syzygium cumini หว้าขาว มีรสชาติหวาน เนื้อฉ่ำน้ำหวานกว่าหว้าดำ ไม่รกฝาดลิ้น ในอินโดนีเซีย เรียกว่า หว้าขาวแต่ในประเทศไทยได้เรียกเป็น หว้าชมพู และ หว้าเชอรี่
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ, พืชไม้ผล