banner ad

เทคนิคการปลูกพืช plant factory

| March 19, 2019

การปลูกพืชใน plant factory ต้องมีเทคนิคอะไรบ้าง

Concept : การปลูกพืชใน plant factory มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ Hard wear + Soft wear + Human wear ในส่วนของ Hard wear ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอ
และสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรลืมว่าการตอบสนองของพืชต่อสภาพแวดล้อมในสภาพที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืชแล้ว ยังขึ้นกับชนิดพันธุ์ และระยะการเจริญเติบโตของพืชด้วย

ก. โครงสร้าง

1.ห้องที่ใช้ปลูกต้องเป็นระบบบปิดไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศ ความร้อนภายนอกได้ ผนังต้องกันความร้อน และผนัง พื้นสามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคได้ ผนังนิยมใช้ไอโซวอล์ จะสร้างเป็นห้อง หรือใช้ตู้คอนเทรนเนอร์ ขนาดตามความเหมาะสม บางที่สร้างเป็นห้องกระจกโดยเฉพาะที่มีอากาศหนาว เพราะต้องการความร้อนมาช่วยในการสร้างอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ค่าฝุ่นละอองในห้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล หน่วยเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร เช่น ระดับห้องไอซียู

-ผนังนิยมใช้แผ่น isowall หรือ Sandwich Panel คือแผ่นฉนวนสำเร็จรูป มีคุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิ นิยมนำมาใช้เป็นงานผนังห้องเย็น ห้องคลีนรูม เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษมีน้ำหนักเบา สะดวกในการขนย้าย ง่ายต่อการติดตั้ง สามารถตัดตามแบบต่างๆ ตามที่ต้องการได้ ประหยัดพลังงาน ป้องกันความชื้นจากพื้นผิวดิน อายุการใช้งานยาวนานและที่สำคัญไม่ลามไฟ เนื่องจากโฟมที่ใช้เป็น Polystyrene F-Grade Foam ไม่ลามไฟ สามารถกันความร้อนและเก็บความเย็น

-พื้นพียู (พื้น pu) กับพื้นอีพ็อกซี่ และควรเป็นสีขาวหรือสีเทา

A.พื้นพียู(พื้น PU : Polyurethane Floor System) คือ เป็นวัสดุเคลือบพื้นทีออกแบบมาสําหรับปกปองผิวคอนกรีตจากการทําลายของนํ้ำ ความชืน กรดด่างและสารเคมี มี 3 ประเภทตามความหนาความหนาของฟิลม์สีคือ

1. พื้นพียูแบบบาง PU-LF มีความหนา 1.5-2 มิลลิเมตร ใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา ห้อง Clean Room และห้องทดลอง มี คุณสมบัติทางเคมี เช่น ทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมีตัวทําละลายทินเนอร์และความชืนได้ดี ราคาถูกที่สุด

2. พื้นพียูแบบปานกลาง PU-MF มีความหนา 3-4 มิลลิเมตร ใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เครื่องดื่ม พื้นพียูชนิดนี้เหมาะกับ การใช้งานที่หนักได้ทนต่อการขีดข่วนและการกระแทกได้ดี มีคุณสมบัติทางเคมีเช่น ความทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมีและความชื้นได้ดี

3. พื้นพียูแบบหนามาก มีความหนา 5-10 มิลลิเมตร ใช้งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเคมีอาหาร เครืองดื่ม ยา เครืองสําอาง ลานโหลด สินค้า แท่นวางเครืองจักร ทนทนต่อการขีดข่วนและการกระแทกได้มากขึ้น มีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี

B. พื้นอีพ็อกซี (พืน EPOXY) คือ พื้นปูนซีเมนต์ที่ทาทับด้วย EPOXY โดยปกติจะเห็นเป็นสีแดง สีฟ้า สีเหลือง และสีเขียว มักพบตามห้างสรรพสินค้าโดย เฉพาะช่องจอดรถพิเศษ พื้นโรงพยาบาลกันซึม พื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นห้องเย็น โรงอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม

พื้นอีพ็อกซี่(พืน EPOXY) มี 3 ประเภท

1. Water Base หรือ Epoxy Coating (ผสมน้ำ) จะมีลักษณะฟิลม์สีบางเป็นผิวเปลือกส้ม ไม่มีกลิ่นฉุน ป้องกันการเกิดฝุนในชั้นคอนกรีต พื้นอีพ็อกซี่ชนิดนี จะไม่ทนต่อรอยขีดข่วน

2. Solvent Base หรือ Epoxy Coating (ผสมทินเนอร)์ จะมีลักษณะฟิลม์สีบางเป็นผิวเปลือกส้ม มีกลิ่นฉุน ทนรอยขูดขีดได้ในระดับหนึ่ง ไม่สามารถ รองรับน้ำหนักได้พื้นชนิดนี้เหมาะกับพื้นที่ใช้งานไม่หนักมาก

3. Solvent Free หรือ Epoxy Self – Leveling ฟิลม์สีจะหนา ลักษณะเป็นฟิลม์ผิวเรียบ สามารถรองรับนําหนักได้ดีป้องกันความเสียหายของคอนกรีตที่เกิดจากการซึมของน้ำ น้ำมัน เหมาะกับบริเวณพื้นที่ใช้งานหนัก

ทําไมพื้นอีพ็อกซีี่(พืน EPOXY) ถึงพองตัว เนื่องจาก พื้น EPOXY เป็นพื้นทีมีลักษณะฟิลม์ปด 100% เมือมีน้ำ น้ำมัน หรือของเหลวหกลงบนพื้นผิวด้านบน จะไม่ซึมเข้าสู่พืนคอนกรีตด้านล่าง แต่หากพื้นมีความชื้นจากพื้นผิวคอนกรีต ความชื้นนั้น จะไม่สามารถระเหยออกมาได้จึงทําให้เกิดการสะสมและดันพื้น EPOXY ทําให้เกิดการบวมพอง และเกิดการหลุดร่อนในที่สุด

2.ประตูเป็นระบบ 2 ชั้น ชั้นแรกจะเป็นห้องสำหรับทำความสะอาดผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน โดยใช้ลมเป่าเพื่อเอาฝุ่นละอองและเชื้อโรค พื้นจะต้องมีอ่างใส่น้ำแช่เท้าเพื่อฆ่าเชื้อโรค

 

3.หลอดไฟควรเป็นหลอด LED สำหรับการปลูกพืช การดูค่าหลอดไฟให้พิจารณาจำนวนวัตต์ ค่าความยาวของแสงว่ามีสีอะไรบ้างที่มีอยู่ในหลอด เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สำหรับค่าพลังงานขึ้นอยู่กับการติดตั้งว่าระยะห่างจากต้นพืชถึงหลอดไฟมีค่าเท่าใด โดยใช้เครื่องวัดควอนตั้ม และต้องระวังเรื่องของความร้อนที่จะออกมาจากหลอดไฟทำให้ต้นพืชได้รับความเสียหาย เกิดอาการใบแห้ง หงิก และตายในที่สุด และส่งผลจากการใช้หลอดไฟทำให้ความร้อนภายในห้องเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว ต้องใช้แอร์ที่มีค่า BTU สูงๆ โดยความร้อนมาจากหลอดไฟ รางหลอดไฟ ที่ปล่อยความร้อนสะสมออกมา ต้องมีการออกแบบที่เหมาะสมในการระบายความร้อน เพราะจะส่งผลถึงค่าไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายเพิ่ม บางที่มีการส่งท่อระบายความร้อนจากรางไฟยิงตรงไปสู่ภายนอกห้องไม่ให้มีการสะสมภายในห้อง การกระจายของแสงต้องวัดค่าพลังที่ระดับผิวใบพืชกระจายให้ทั่วพื้นที่ หากไม่สม่ำเสมอจะทำให้ต้นพืชมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน เช่น ตรงกลางได้รับแสงมากเจริญเติบโตดี ตรงขอบกะบะได้รับแสงน้อยเจริญเติบโตช้า ระยะเวลาการให้แสงก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับการปลูกพืช โดยทั่วไปไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมง สำหรับพืชผักทั่วไปต้องการค่าพลังงานแสงไม่ต่ำกว่า 100 µmol m-2 s-1

-แสงสีแดง ความยาวคลื่น 648-760 นาโนเมตร ช่วยสังเคราะห์แสง เป็นสีที่พืชดูดซับมากที่สุด ส่งเสริมการงอกของเมล็ดพืช หรือ ยับยั้งการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด และยังส่งผลต่อการออกดอกของพืช

-แสงสีน้ำเงิน 426-492 นาโนเมตร ช่วยสังเคราะห์แสง  ช่วยการตอบสนองของพืชต่อแสงในเรื่องการเบนหรือโค้งงอเข้าหาแสงของพืช

-แสงสีเขียว 493-535 นาโนเมตร ระงับการเจริญเติบโตของพืช

-แสงสีแดงไกล (Far Red) 761-810 นาโนเมตร มีผลในการยับยั้งการงอกของเมล็ด

 

2.อุณหภูมิและความชื้นขึ้นกับชนิดของพืช บางชนิดต้องการอุณหภูมิต่ำเพื่อใช้ในการออกดอก เช่น strawberry

3.ค่าความเป็นกรด-ด่าง เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดควรเป็นกรดอ่อนๆ
4.ค่า EC ของปุ๋ยมีความสำคัญระยะกล้าค่า EC ต่ำ และค่อยเพิ่มไปจนเก็บเกี่ยว แบ่งได้เป็นระยะกล้า ระยะพัฒนาการเจริญเติบโต ระยะดอก ระยะผล จนถึงเก็บเกี่ยว
5.ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงพืชนำไปปรุงอาหาร ภายใต้การปลูกทั่วไปในห้องจะมีคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 400-600 ppm การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใส่ต้นพืชเพื่อให้มีปริมาณ 1,000 ppm ถังคาร์บอนจะมีขนาด 6 คิว 40 ลิตร ราคาถังเปล่า 6,400 บาท ราคาแก๊ส 480 บาท ก๊าซที่ใช้เป็นเกรดอุตสาหกรรม 99.5 เปอร์เซนต์ ต้องมีวาวล์ปล่อยแก๊ส regulator ราคาประมาณ 900-1,000 บาท สายแล้วแต่ระยะราคาเมตรละ 60 บาท เหมาะสำหรับปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ มีเซนเซอร์วัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และมีสัญญาณเตือนเมื่อเกินระดังที่ไม่ปลอดภัย ไม่ควรเกิน 1,500 ppm
6.การหมุนเวียนของอากาศภายในโรงเรือน ช่วยทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตดี

7. ปุ๋ยที่ให้จะเป็นปุ๋ย AB ต้องมีรางได้หลายแบบ เป็นกะบะ หรือเป็นท่อ สายที่ให้ปุ๋ยในระบบใช้สายลม PU (สายลมพียูหรือสายลมโพลียูรีเทน ทนต่อแรงดันสูง มีความยืดหยุ่นและทนต่อแรงดึงสูง แรงต้านในการไหลต่ำเนื่องจากด้านในมีผนังเรียบ ทนไฟปลอดสารพิษทนการกระแทกทนทานต่อการเสียดสี ท่อลมพียูสามารถบิดงอได้โดยที่ไม่เกิดความเสียหายและง่ายต่อการติดตั้ง ทำงานได้ตลอดอายุภายใต้ความดันคงที ทนความร้อน -25 ถึง +80 C แรงดันทะลุ 30 Bar Or 450 Psi ) หรือสายน้ำมัน และใช้ข้อต่อ PU ขนาดที่ใช้ เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 10 mm เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 6.5 mm ปั๊มน้ำใช้ขนาดแรงดันสูง 3 เมตร 40 วัตต์

8. ไฟฟ้าต้องใช้ไฟ 3 เฟส

 

case 1. พืชผักในโรงเรือนระบบไฮโดรโปนิกส์ มูลค่าโรงเรือนไม่รวมที่ดินสูงถึง 50 ล้านบาท โดยใชัระบบโรงเรือนอัตโนมัติจากเนเธอแลนด์ ใช้ระบบการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ แบบ DFT (Deep Flow Technique) สารละลายสูงประมาณ 30 ซ.ม.มีระบบควบคุมการให้ปุ๋ยแบบอัตโนมัติตลอด 24 ช.ม.บริเวณ ระบบออกแบบให้รางปลูกพืชลอยไปบนสารละลายสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของรางปลูกไปยังจุดเก็บเกี่ยว 1 แห่งภายในโรงเรือน กระบะปลูกจะมีเซ็นเซอร์ ตรวจวัดค่า pH EC และ อุณหภูมิของน้ำ ส่งข้อมูลให้ระบบจัดการสภาพสารละลายให้เหมาะสมกับการปลูกพืช หลุมปลูก 60,000 ต้น ผลิตผักคะน้าเพื่อส่งเข้าโรงงานผลิตอาหาร ระดับน้ำลึก 1 ฟุต ค่า Ec 2.2 ค่าแสง 600 ไมโครโมล ความเร็วลม 1 เมตรต่อวินาที ได้มีการทดลองกับพืชไม่น้อยกว่า 40 เช่น ไอซ์แพลนท์ ผักสลัด คะน้าใบหยิก บัวบก

ธาตุอาหารที่ขาด
อาการ 
ไนโตรเจน ใบเหลืองจากปลายใบ หากขั้นรุนแรงใบจะแห้งตาย
 ฟอสฟอรัส ใบล่างและลำต้นมีสีแดงอมม่วง
 แคลเซียม ใบอ่อนบิดม้วน ยอดหงิก ใบคลี่ได้ ไม่เต็มที่
 แมกนีเซียม เส้นใบมีสีเขียว แต่เนื้อเยื่อจากเส้นใบไปถึงขอบจะเหลือง
กำมะถัน  ใบอ่อนหรือใบบนเหลืองทั้งใบ
สังกะสี  ขอบเส้นกลางใบของใบอ่อนจะเหลือง ใบเล็กผิดปกติ
ทองแดง  ปลายใบอ่อนซีดหรือสีขาว
แมงกานิส  มีจุดสีน้ำตาลบนใบ มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ
 เหล็ก ใบอ่อนมีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ
โบรอน  ใบย่น หนาผิดปกติ ม้วน ขาดง่าย 
 โมลิบดีนัม มีจุดสีน้ำตาลไม้บนใบ หรือ ใบเหลือง 
คลอรีน  ใบเหลือง ปลายใบแห้ง 
 นิเกิล พืชให้ผลผลิตไม่เต็มที่ 
 โพเเทสเซียม ใบเหลืองจากขอบใบเริ่มจากใบล่าง และเปลื่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้าสู่กลางใบ

 

1.การปลูกแบบ Hydroponic System หลัก ๆที่ใช้กันอยู่ ได้แก่…
1.1) NFT (Nutrient Film Technique)
1.2) DRFT (Dynamic Root Floating Technique)
ควรเลือกใช้ระบบไหนดี ที่จะให้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งที่วังรีใช้ระบบ NFT ที่ CM Plant Factory ใช้ระบบ DRFT
***แต่ที่ผมทดลองเลือกใช้ NFT ซึ่งลองทำชั้นปลูกไปแล้ว 3 ชุด

2.ชนิดของพืชที่เลือกปลูก…ผมโฟกัสไปที่ผักกินใบ ซึ่งเป็นที่นิยมทานกัน ได้แก่ -เรดโอ๊ด(Red Oak Lettuce)-กรีนโอ๊ด(Green Oak Lettuce)-กรีนคอส(Cos Lettuce)-บัตเตอร์เฮด(Butterhead Lettuce)-ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก(Frillice Ice Berg Lettuce)-ผักกาดแก้ว(Crisphead Lettuce)
-ผักกาดหอม(Green Coral Lettuce)-ผักกาดหอมแดง(Red Coral Lettuce)-ผักร็อคเก็ต(Rocket Arugula Lettuce)-ผักคะน้าใบหยัก(Kale)
-สวิสชาร์ด(Swiss Chard)***โดยชั้นปลูกที่เราทดลองทำไว้เพื่อรองรับผักกินใบดังกล่าว แต่ผมก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับแหล่งเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่มีอัตราการงอกสูง ๆ พอมีแหล่งไหมครับ…***ระยะห่างของแต่ละชั้นห่างกัน 50 ซ.ม.(ระยะเคลียร์ใน) เผื่อหลอดไฟและรางปลูก เพื่อให้ระยะของ
แสงได้ความเข้มที่เหมาะสม ระยะนี้ใช้ได้หรือไม่ครับ!!!

3.ชั้นปลูกเราได้ทดลองทำขึ้นมา 3 ชุด-ยาว 6.00 เมตร(ใช้ความยาวของรางปลูก)-กว้าง 1.20 เมตร(ใช้ความยาวของหลอดไฟ)-สูง 5.70 เมตรมีชั้นปลูกพืชอนุบาลในตัวหนึ่งชั้น และชั้นปลูกพืชโตหกชั้น ระยะห่างระหว่างชั้น50 ซ.ม.***โครงสร้างของชั้นปลูกใช้เหล็กของบริษัทเราเอง
นำมาพับขึ้นรูป ซึ่งเป็นเหล็กเคลือบคุณภาพสูงสามารถทนกรด และความชื้นได้ดีไม่เป็นสนิม***ไม่ทราบว่ามีคำแนะนำเกี่ยวกับชั้นปลูกนี้หรือไม่
ซึ่งชั้นปลูกที่เหลือ…ยังสามารถปรับเปลี่ยนไปตามชนิดของพืชและระบบของการปลูกได้…มีคำแนะนำไหมครับ!!!***ผมคิดว่าการออกแบบ
ชั้นปลูกมันขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ ชนิดของพืชและจำนวนผลผลิตที่ตัองการ…………………………………………

4.ตัวโรงเรือนตัวโรงเรือนที่ทำไว้ ใช้วัสดุของทางบริษัทเกือบทั้งหมดแต่ปัญหาตอนนี้อยู่ที่ Lay-outและความสูง….แต่ในเบื้องต้นก็ได้กำหนด
Lay-out ไว้ตามแบบที่ให้อาจารย์ไป ไม่ทราบว่าอาจารย์มีคำแนะนำในส่วนนี้หรือไม่ (เบื้องต้นผมใช้ Layout ของ วังรี เป็นแนวทาง)

5.หลอดไฟปลูกพืชราคา,ค่า PPFD ฯลฯ………………………………………
6.ระบบป้อนน้ำปุ๋ย………………………………………
7.ระบบควบคุม PH และEC ของน้ำปุ๋ย………………………………………
8.ระบบ LED Power supply………………………………………
9.พัดลมให้ลมกับต้นพืช………………………………………
10.ระบบควบคุมการป้อนคาร์บอนไดออกไซด์………………………………………
11.เครื่องปรับอุณหภูมิและความชื้น………………………………………
12. Air Shower………………………………………
13.ไฟฟ้าที่จะป้อนให้กับตัว Plant………………………………………
14.พนักงานที่ปฎิบัติงานในPlant (ต้องฝึกอบรม?)………………………………………
ข้อ 5 ถึงข้อ 14 นี้รอดำเนินการต่อครับ อาจารย์มีข้อแนะนำไหมครับ)…!!!

11. เรื่องการตลาดข้อนี้คงต้องวางแผนกันต่อไป…อาจารย์มีคำแนะนำ ด้วยก็ดีครับ.

1.ถ้าพืชได้แสงจากหลอดไฟ 24 ชม โดยไม่ปิดเลยจะเกิดอะไรขึ้นครับ

-การทดลองปลูกผักกาดหอมบัทเธอร์ เฮด ตั้งแต่ 12 ไล่ไปจนถึง 24 ชม. พบว่านน.สดก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับครับ แต่พบอาการผิดปกติมากขึ้นตามไปด้วยครับ คืออาการปลายยอดไหม้ ปลายใบชยายออกไม่ได้ ทำให้กลางใบย่นเป็นคลื่นเลยครับ  ซึ่งผักชนิดนี้เป็นกลุ่มผักกาดหอม(คอส บัทเธอร์ เฮด และไอซ์ เบอร์ก) ที่เรามักพบอาการนี้ได้เนืองๆ  ผมคิดว่าในกรณีนี้ น่าจะเกิดจากผักถูกเร่งการเจริญเติบโต แบ่งและขยายเซลล์มากขึ้นเมื่อได้แสงมากขึ้น แต่มีเคลื่อนย้ายแคลเซียมมา สร้างมิดเดิ้ลลาเมลล่า ที่มีหน้าที่เชื่อมเซลล์ใหม่กับเก่าที่ไม่สมดุลกัน เซลล์ใหม่ที่ปลายใบเลยตายลงครับ ผมทดลองกับผักกาดหอมที่เป็นโรคปลายยอดไหม้ง่ายด้วย เลยเจอปัญหานี้ ถ้าเป็นชนิดอื่นๆ อาจจะไม่เป็นแบบนี้ก็เป็นได้

-ผมใช้เทคนิคให้แสง 24 ชม. . ร่วมกับการลดค่า EC ก่อนเก็บเกี่ยว 24-48 ชม. เพื่อลดธาตุไนโตรเจนในเนื้อเยื่อผัก

-ปลูกกัญชงและเด็กเค้าตั้งเวลาTimer แต่ไม่ปรับเป็น Auto ไฟเลยเปิด 24ชม ไม่ได้สังเกต จนใบเริ่มเป็นสีเหลืองใบเล็กกระด้าง ต้นไม่ยืด เลยไปดูที่ไฟสรุปคือให้ 24 ชม มา20วันครับ เลยสงสัยว่าให้ไฟ24ชม ทำไมใบพืชจึงเหลืองครับ เดี๋ยววันจันทร์จะไปปรับไฟเป็น 18/6ครับ ไม่รู้จะกลับมาได้หรือเปล่า แต่ที่แปลงปลูก4ต้นเหลือง3ต้น อีกต้นยังเขียว แต่ต้นเตี้ยครับ

2.ถ้าเราใส่เเคลเซี่ยมในสารละลายเพิ่ม จะช่วยทำให้เซลล์ใหม่ที่ปลายใบรอดได้ไหม

-ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชในสารละลายแปรผันตรงกับอัตราการการเคลื่อนที่เข้าสู่รากพืชของธาตุนั้นครับ แต่เข้ามาแล้วจะไปตรงส่วนที่เราต้องการให้ไปนั้น ก็ขึ้นกับชนิดธาตุ  กรณีของแคลเซียมซึ่งต้องอาศัยน้ำพาไปยังส่วนต่างๆของพืช ผ่านทางท่อลำเลียงน้ำ (xylem) เท่านั้น ไม่เคลื่อนย้ายในท่อลำเลียงอาหาร (pholem) ถ้าส่วนใดของพืชมีน้ำไปมาก ส่วนนั้นก็จะได้รับแคลเซียมมากตามไปด้วย มักได้แก่บริเวณที่มีการคายน้ำมาก เช่น ใบที่โตเต็มที่แล้ว  แต่ใบอ่อน และผลอ่อน ไม่ค่อยคายน้ำ จึงมีโอกาสได้รับแคลเซียมน้อยกว่าใบแก่  ถ้าเราใส่แคลเซียมในสารละลายเพิ่ม ก็เป็นโอกาสให้ความเข้มข้นแคลเซียมที่ไปกับน้ำไปหาส่วนต่างๆของพืชรวมทั้งที่ใบอ่อนมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นด้วยครับ  แต่จะพอกับความต้องการใช้ในการแบ่งเซลล์หรือไม่ก็ยังขึ้นกับอัตราการแบ่งเซลล์ ถ้าเกิดขึ้นมากไป ก็อาจไม่พอ และเกิดอาการปลายยอดไหม้ได้ แต่ก็จะเกิดน้อยลงกว่าที่เราไม่เพิ่มแคลเซียม ดังนั้นต้องใช้หลายวิธีร่วมด้วย คือ ใส่แคลเซียมมากขึ้น ควบคุมให้พืชคายน้ำที่ใบแก่ไม่มากไปจะได้เหลือน้ำไปใบอ่อนมากขึ้น และควบคุมปัจจัยแวดล้อมอื่นๆไม่ให้พืขเติบโตเร็วเกินไปด้วยครับ…แต่ก็อย่าลืมว่าชนิดของพืช/พันธุ์ก็มีผล บางพืข/พันธุ์อ่อนแอต่อการเกิดอาการมากกว่าบางพืช/พันธุ์  เพราะฉะนั้น วิธีการที่เราทำข้างบนก็จะได้ผลดีกับพืชต่างชนิดไม่เหมือนกันด้วย ต้องปรับวิธีการเป็นของแต่ละชนิดพืช/พันธุ์ไปด้วย

3.ภายในพืชเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ ทำไมพืชใบเหลือง

-ผมเดาว่าคลอโรฟิลล์ถูกทำลาย ใบจึงเหลือง ถ้าใบมีอาการหนาขึ้นเมื่อได้แสงมากหรือนาน ก็น่าจะสนันสนุนว่าแสงที่มากไปทำร้ายใบ ใบจึงปกป้องตัวเองด้วยการสร้างชั้นเซลล์ palisade ให้มากขึ้น เพื่อพลางแสงให้ใบ  อ.อิท เจออาการใบหนาขึ้นด้วยใช่ไหมครับ

-พืชที่มีการสังเคราะห์แสงมากๆ หรือสังเคราะห์แสงต่อเนื่องนั้นจะมี การสะสมแป้งที่ใบจำนวนมาก ทำให้สัตราส่วนคลอโรฟิลล์ต่อน้ำหนักหรือต่อพื้นที่ใบลดลง ทำให้เราเห็นว่าใบมีสีจางลง   และโดยปกติพืชจะทำการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลและเคลื่อนย้ายได้ดีในเวลากลางคืน เนื่องจากพืชได้รับแสงตลอดเวลาพืชก็ทำการสังเคราะห์แสงตลอดเวลา ทำให้การเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลทำได้น้อยครับ  แต่ผมไม่แน่ใจว่าการสังเคราะห์แสงตลอดเวลานี้จะมีผลต่อกลไกอื่นๆ หรือไม่ เช่น การสร้างคลอโรฟิลล์  (ผมแก้ด้วยการเพิ่ม Mg2+)  การคายน้ำ (และส่งผลต่อการขาดธาตุอาหารเช่น แคลเซียม) ตลอดจนกลไกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาชีวิตของพืชครับ ด้วยความเคารพ

4.หลอดไฟ Uv ฆ่าเชื้อในห้อง ติดตั้งตามชั้น หรือเพดานดีครับ

-ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ออกคำเตือนแล้วนะครับ ถึงคนที่ซื้อโคมไฟหลอด UV กะจะเอามาใช้ฆ่าเชื้อในห้องทำงานหรือที่บ้าน แล้วเปิดขณะที่มีคนอยู่ด้วย ส่งผลให้เกิดอาการกระจกตาถลอก เยื่อบุตาอักเสบ ผิวหนังไหม้

-ไม่ต้องติดตั้ง แต่หาทางป้องกันการปนเปื้อนในห้องจากฝุ่นและเชื้อโรค ดีกว่าครับ ต้องพิจารณาดูว่าความเสี่ยงในการปนเปื้อนของเรามาจากจุดไหนบ้าง แล้วจัดการลดความเสี่ยงเสียครับ การใช้แสงยูวีกับสารละลาย ยังทำให้เหล็กคีเลทสลายตัวด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้กับสารละลาย ต้องเติมเหล็กเพิ่มหลังผ่านหลอดยูวี

5.ถ้าผมอยากตรวจเรื่องไนเตรต และคุณค่าทางอาหารในผักเอง แบบไม่ต้องส่ง lab ตรวจ ไม่ทราบพอจะแนะนำเครื่องมือรุ่นไหนยี่ห้อไหนดีบ้างครับ?

-เครื่องมือวัดไนเตรทในผักแบบรวดเร็วครับที่ผมเคยใช้มี 2 ตัวตัวแรก คือ RQ-flextomer ของ บ.MERK นอกจากวัดไนเตรมแล้วยังวัดสารอื่นๆ เช่น วิตามิน ซี ได้ด้วย โดยการซื้อแผ่น stripของสารนั้นมาใช้งาน แล้วเปลี่ยน Code การวัดตามแผ่นstrip ราคาเครื่อง หลายหมื่น และราคา strip ก็แพง 40-50 บาทต่อแผ่น ความน่าเชื่อถือปานกลางเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานในห้องแลป แบบที่สอง เรียกว่า ปากกา  HORIBA ใช้งานไม่ยุ่งยาก แค่บีบน้ำคั้นลงมาที่ปลายปากกา ก็อ่านค่าได้แล้ว ราคาก็ถูกกว่า ไม่มีเสียค่าแผ่นวัดอะไรเพิ่ม แต่วัดได้สารชนิดเดียว เพราะเซนเซอร์ออกแบบมาเป็นของแต่ละสาร  ตอนนี้เลิกใช้แล้ว เพราะอ่านค่าไม่แน่นอน โดยเฉพาะกับตัวอย่างพืช ที่สกัดน้ำมามีสีเขียวคลอโรฟิลล์ติดมาด้วย รบกวนการอ่านค่า แต่ถ้าเป็นสารเคมีใสๆ อ่านได้ดีครับ ตอนนี้เลยไม่ใช้แล้ว เพราะทำกับตัวอย่างพืช

6. ผักคอสปลูกใน hydroponic เกิดอาการ Tip burn จะดูอย่างไรว่าเกิดจากความร้อน หรือปุ๋ยสารละลาย หรือความชื้นแรงดันผิวใบ หรือขาดแคลเซียม หรือว่าดูที่อายุพืชที่การเจริญเติบโตแตกต่างกัน

อาการปลายยอดไหม้ (Tip burn) ในผักกาดหอมคอส เกิดจากการที่ปลายของใบอ่อนที่กำลังมีกิจกรรมแบ่งและสร้างเซลล์ใหม่ ได้รับธาตุแคลเซียมที่จำเป็นในการสร้างรอยต่อ (middle lamella) ในผนังเซลล์ใหม่ต่อกับเซลล์เก่าไม่เพียงพอ ทำให้ผนังแยกออกจากกัน เซลล์ใหม่เลยตายกลายเป็นสีน้ำตาล ส่วนสาเหตุที่แคลเซียมเคลื่อนย้ายไปที่ปลายใบที่กำลังแบ่งเซลล์ไม่พอนั้น เกิดจากมีน้ำเคลื่อนย้ายไปที่บริเวณนั้นน้อยเกินไป ซึ่งมาจากหลายมูลเหตุ อย่างที่ถามมา ได้แก่
1. อาการร้อนจัด.และหรือแสงแดดแรงไป จนผักต้องคายน้ำมากกว่าปกติ โดยใบโตเต็มที่แล้วจะคายน้ำได้ดีกว่าใบอ่อน จึงดึงน้ำไปหมด
2. สภาพอากาศปิด ชื้นจัด พืชไม่คายน้ำเลย น้ำจึงไม่เคลื่อนที่จากรากขึ้นไปตามส่วนต่างๆของพืชรวมถึงใบอ่อน
3. สารละลายเค็มเกินไป มีศักย์ของน้ำน้อยไป น้ำจึงเคลื่อนที่เข้าสู่รากได้น้อยลง ทุกส่วนรวมถึงใบอ่อนได้น้ำน้อยลง
4. เกิดเหตุทั้ง 1 และ 3 หรือ 2 และ 3 พร้อมกัน

ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด อาการที่เกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนกัน จึงดูจากอาการแล้วบอกสาเหตุที่มาไม่ได้ ผู้ปลูกจึงต้องวิเคราะห์เองว่าสภาพแวดล้อมในขณะนั้นที่ชักนำให้เกิดอาการนั้นที่ฟาร์มตัวเองเกิดจากสาเหตุใด  ดูสภาพแวดล้อมของสัปดาห์ท้ายๆ ของการปลูก ซึ่งเป็นช่วงที่ผักกำลังมีการขยายขนาดใบ เติบโตอย่างรวดเร็วมาก

แปลงปลูก Tipburn จะพบมากใน Cos และ Red corel แต่จะพบใน Cos มากกว่า จะเกิดเมื่อ อากาศปิดนาน มีฝนความชื้นสัมพัทธ์สูงอาจจะต่อเนื่อง 4-7 วัน พืชคายน้ำไม่ได้ สังเกตที่ยอดอ่อนปลายใบจะบางเซลเต่งมาก หลังจากนั้นท้องฟ้าเปิดทันทีมีแสงแดดพืชคายน้ำอย่างรวดเร็ว เซลจะเสียหายเกิด tip burn

ปัจจัย ที่สำคัญที่สุดคือสายพันธุ์โดยเฉพาะ Cos บางพันธ์เกิดง่ายมาก 50-70% บางสายพันธุ์ไม่เกิดเลย

เนื่องจากเป็นโรงเรือน evap เจอหลายสภาพ 1 ความชื้นสูงตอนกลางคืน และตอนสภาพอากาศปิด 2.อาการร้อนในเวลากลางวัน 3.สารละลายไม่มีการเปลี่ยนถ่ายเป็นระบบหมุนเวียน
ได้วางแผนการแก้ 1.ฉีดแคลเซียม โบรอนเสริม 2 ปรับสูตรปุ๋ย 3 ถ่ายน้ำออก 10% 4. เปลี่ยนสายพันธุ์ 5.เปลี่ยนพืชปลูก

ปลูกในโรงเรือน  Evap ก็จะได้เปรียบที่อากาศจะไม่ร้อนจัดที่จะกระตุ้นให้พืขคายน้ำมากไป และอาจจะน้อยเกินไปด้วย จึงต้องบริหารความชื้นในโรงเรือนให้เหมาะสม ใช้หลักการ VPD ประมาณ 1  KPa  โดยการใช้แรงลมดูดอากาศจากโรงเรือนที่เหมาะสม และปิด-เปิดน้ำที่ใช้ชโลมรังผึ้ง ซึ่งถ้ามีเซ็นเซอร์วัดความชื้นสัมพัทธ์ต่อกับระบบควบคุมปั๊มน้ำในถังที่ดูดน้ำมาชโลมรังผึ้งด้วยก็จะให้ความสะดวกและง่ายในการควบตุมความชื้นในโรงเรือนในเวลากลางวัน ส่วนการควบคุมความชื้นในเวลากลางคืนที่มักจะสูงเกินไป ต้องใช้พัดลมดูดอากาศครับ (ปั๊มน้ำมักปิดตอนกลางคืน) ปกติพัดลมจะคุมด้วยเซนเซอร์อุณหภูมิ พอตกกลางคืน อุณหภูมิลดลง พัดลมจะหยุดทำงาน ซึ่งจะสร้างปัญหาความชื้นสะสมสูงไปในโรงเรือน โดยเฉพาะในปลายฝนต้นหนาว แก้ปัญหสาปัญหานี้ โดยกลางคืนต้องเปิดพัดลมดูดลมออก อย่างน้อย 1 ตัว โดยปลดการควบคุมจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เพื่อให้ระบายอากาศชื้นในโรงเรือนออกมา ให้อากาศที่แห้งกว่าด้านนอกเข้าไปแทนที่ ยกเว้นวันที่มีฝนตกตอนกลางคืน

7. อัตราการไหลของธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับการปลูกคือเท่าไหร่ ขึ้นกับอะไรบ้าง ?

อัตราการไหลธาตุอาหารที่่เหมาะสม คืออัตราการไหลที่สามารถพาธาตุอาหารพืขและออกซิเจนในสารละลายไปให้ต้นพืชในรางปลูกทุกต้นอย่างเพียงพอ เรื่องอัตราการไหลที่เหมาะสมของน้ำลึกและน้ำบาง คงตอบเป็นตัวเลขตรงๆไม่ได้ เพราะขึ้นกับสภาพอากาศที่ทำการปลูกพืช ความยาวรางปลูก และความลึกของน้ำที่ใช้ (กรณีใช้น้ำลึก) ระบบน้ำบางได้เปรียบเรื่องออกซิเจนที่รากส่วนที่ไม่ได้จมอยูใต้น้ำ สามารถได้ออกซิเจนจากอากาศเหนือผิวน้ำด้วย จึงสามารถใช้อัตราการไหลตต่ำกว่าของน้ำลึกได้ ในความยาวรางที่เท่ากับ และสภาพอากาศเดียวกัน  คำแนะนำอัตราการไหลในระบบ NFT ที่ 2 L/m ใช้ได้ดีกับสภาพอากาศเย็น (รวมถึงการปลูกใน PFAL ที่มีการควบคุมอุณหภูมิอากาศได้)  แต่พบว่าในสภาพอากาศร้อน จะไม่พอ เพราะอุณหภูมิน้ำบางในรางร้อนเร็ว จนทำให้ออกซิเจนลดลง ราง 6 ม. อาจไม่มีผลเสียมาก แต่ถ้า ราง 12 ม. ขึ้นไป ต้องเพิ่มอัตราการไหลให้มากขึ้น เช่น 3-4 L/m (ต้องใช้ปั๊มน้ำขนาดใหญ่และไฟฟ้ามากขึ้น) ส่วนระบบน้ำลึก ออกซิเจนในน้ำจะมีอยู่น้อยกว่าน้ำบาง จึงต้องใช้อัตราการไหลมากกว่าอยู่แล้ว ยิ่งรางปลูกยาวเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องใช้อัตราการไหลมากขึ้น ผมมีประสบการณ์พบฟาร์มระบบน้ำลึก ใช้อัตราการไหล ถึง 8  L/m กับรางยาว 12 ม สามารถปลูกผักทุกฤดูกาล  ส่วนใน PFAL ที่มีอากาศเย็น คงไม่จำเป็นอัตราการไหลไม่ถึงขนาดนั้น ประมาณ 3-4 L/m ก็น่าจะพอสำหรับรางปลูกยาว 12 ม. ถ้ารางยาวกว่านี้ ก็ควรเพิ่มอัตราการไหลขึ้นอีก ยังมีปัจจัยชนิดพืชอีกด้วย ผักกาดหอม ปวยเหล็ง ตั้งโอ ที่ต้องการอากาศเย็น ก็ต้องการออกซิเจนในรางมากกว่าผักไทยที่ทนอากาศร้อนได้บ้าง    ทั้งหมดนี้เป็นแค่ข้อมูลตัวอย่างของอัตราการไหลให้ไปพิจารณานะครับ ไม่ใช้คำแนะนำเป๊ะเลย มีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างที่กล่าวข้างต้น รวมถึงค่าไฟฟ้าด้วยครับ ที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน เพราะในการปลูกพืชเป็นการค้า ผลผลิตสูงสุด ไม่จำเป็นต้องได้กำไรสูงสุดเสมอไป ถ้าการทำให้ผลผลิตสูงสุด ใช้ต้นทุนมากไป ในการผลิตพืช ต้นทุนการผลิตเพิ่มเป็นเส้นตรงเมื่อการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่่มขึ้น แต่ผลผลิตไม่ใช่่ครับ ยิ่งใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น อัตราการเพิ่มผลผลิตจะเริ่่มลดลง

A.อาการใบพืชผิดปกติอาจเกิดจาก

- เรื่องการรมโอโซนซึ่งเป็นตัวชักนำให้เกิด Oxidative Stress อยู่แล้ว ประกอบกับอาการมีความคล้ายคลึงกับพืชที่ได้รับผลกระทบจาก Ozone Toxicity ในฐานข้อมูล โดยใบมักจะซีดหรือเหลือง เริ่มจากขอบใบด้านนอกไล่เข้าสู่ด้านใน

- pH ต่ำไป มีความเป็นกรดสูง มันจะดูดธาตุบางตัวไม่ได้

-ได้ธาตุอาหารไม่เท่ากัน อาจจะเป็นธาตุอาหารรอง ถ้าใช้ระบบ auto ต้องไปดูถังเก็บ nutrient ว่าจ่ายออกไปแล้วถังลดลงเท่าๆกันมั้ย และถ้าใช้ dosing pump อาจเป็นไปได้ว่าสายจ่ายธาตุอาหารมีการอุดตัน ทำให้การจ่ายออกไปน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจากถังใดถังหนึ่ง ถึงแม้ ec อาจจะได้ปกติ

- EC อาจจะได้ปกติ เพราะปั้มมันไปดันธาตุอาหารจากถังใดถังหนึ่งจนได้ถึงค่า EC ที่ตั้งไว้ แต่จริงๆอีกถังอาจจะดูดไปน้อยกว่าปกติครับ ในขณะที่อีกถังดูดไปเกินกว่าที่ต้องการมากครับ ส่วนใหญ่เป็นฝั่ง B ครับที่มักจะอุดตัน

-เช็คปริมาณคลอรีน คลอรีนจะเปลี่ยนเป็นคลอรามีน ค่อย ๆ ทำลายราก ทำให้รากดูอาหารได้น้อยลง

-เช็คค่าความเค็มน้ำ น้ำอาจ PH สูงและเค็มไป(หลังผ่านROแล้ว) กรณีที่ปลูกใกล้ทะเล หรือบริเวณแหล่งทำเกลือ เช่นสมุทรสาคร

การเกิดตไคร่ในระบบ วิธีการป้องกันหลุมปลูกจะต้องไม่ว่างให้แสงส่องไปถึงน้ำ หากเกิดแล้วใช้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 50% แช่น้ำล้างระบบ

สถานการณ์

-PFAL ในจีน บ. foxconn ทำธุรกิจ Multination electronics contract manufacture เมือง Shenzhen ขนาด 10,000 ตร.ม. ผลิตผักได้ 2.5 ตันต่อวัน  JD.com ทำธุรกิจ e-commerce เมืองปักกิ่ง ขนาด 6,000 ตร.ม. ผลิตผักได้ 300 ตันต่อปี Sanan ทำธุรกิจ LED manufacturing enterprise เมือง Fujian ขนาด 20,000 ตร.ม. ผลิตได้ 5 ตันต่อวัน BOE ทำธุรกิจ Chinese electronic components producer เมือง Beijing ขนาด 5,000 ตร.ม.

-ต้นทุนการผลิตโรงเรือนค่าก่อสร้าง อุปกรณ์ต่างๆ ตกแต่ง น้อยกว่า 1,000 ตร.ม. 75,000-100,000 บาทต่อตร.ม. ขนาด 5,000-10,000 ตร.ม. 40,000-50,000 บาทต่อตร.ม. ขนาดมากกว่า 10,000 ตร.ม. น้อยกว่า 40,000 บาทต่อตร.ม. ค่าก่อสร้างกินส่วนแบ่ง 40.5% ค่าอุปกรณ์ 59.5% (ปี 2019)

-รายงาน อ.โคไซ ปี 2015 ค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าไฟฟ้า 28% ค่าแรงงาน 26%  ค่าเสื่อมราคา 23% ค่าแพ็คและขนส่ง 12%  ค่าวัสดุสิ้นเปลือง 3% ค่าเมล็ดพันธุ์ 2% ค่าซ้อมแซม 2% ค่าวัตถุดิบ 1% ค่าน้ำ 1% ค่าเช่าที่ดิน 1% ค่าอี่นๆ 1%

-รายงาน Yang 2019 ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่อง ค่าไฟฟ้า LED 22% ค่าแอร์ 26% ค่าวัตถุดิบการผลิต 10% ค่าแรงงาน 11% ค่าซ่อมแซมดูแลรักษา 1% ค่าเข่าที่ดิน 9% ค่าเสื่อมราคา 21%

- การปลูกพืชใน PFAL เกาหลีใต้แบ่งเป็น 3 ยุค  gen1 ปลูกผักกินใบ การเพาะต้นกล้า การทำพันธุ์ปลอดศัตรูพืช เช่นไวรัส และต้านทานต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่เลวร้าย ปลูกในตู้คอนเทรนเนอร์เพื่อรองรับการผลิตผักในอวกาศ ในพื้นที่หนาวเย็น เช่น แอนตั๊กติก้า เกาหลีได้ไปทดลอง 20-30 ตู้ โดย Sejong station ได้แก่ผักกินใบ สลัด แตงกวา มะเชือเทศ gen 2 ผลิตพืชเพื่อใช้ในเครื่องสำอางค์ พืชแก้ปัญหาโรคไต ผักลดโปแตสเซียม  gen 3 ใช้ผลิตพืชตัดต่อพันธุกรรม GM และ gene editing technology เพื่อการผลิตวัคซีน เช่นผลิตวัคซีนในหมู

Category: plant factory, เทคโนโลยีสมัยใหม่

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news