banner ad

มะม่วง

| November 29, 2012 | 0 Comments

มะม่วง

สถานการณ์การผลิตและการตลาด

ในตลาดโลกมูลค่าส่งออกมะม่วง 170,460.64 ล้านบาท ไทยส่งออกเป็นอันดับ 9 ของโลก ประเทศที่ส่งออกอันดับ 1 คือ เม็กซิโก รองลงมาเป็นอินเดีย ตามด้วยบราซิล

มะม่วงไทย ปี 2556-57 เนื้อที่ให้ผลผลิต 2,046,280 ไร่ ผลผลิต 2,985,530 ตัน ผลผลิต 1,459 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 4.96 บาทต่อกิโลกรัม ราคา 18 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ 19.02 บาทต่อกิโลกรัม

พันธ์ุมะม่วงที่ส่งออกในอาเซียน แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. รับประทานดิบ : แก้ว เขียวเสวย เขียวมรกต ฟ้าลั่น เพชรบ้านลาด โชคอนันต์

2. รับประทานสุก : น้ำดอกไม้ มหาชนก โชคอนันต์ อาร์ทูอีทู

ฤดูการผลิตและการเก็บเกี่ยว

1. เดือนมีนาคม

- ต้นมีนาคม ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์

- ปลายมีนาคม ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี นครนายก ชัยนาท อยุธยา กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี

2. เดือนเมษายน

-ต้นเมษายน ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตราด และปราจีนบุรี

-ปลายเมษายน ได้แก่ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก นครราชสีมา มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และชัยภูมิ

3. พฤษภาคม-มิถุนายน

-ต้นพฤษภาคม ได้แก่ ขอนแก่น เลย กาฬสินธ์ุ นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคาย อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

-ปลายพฤษภาคม-มิถุนายน ได้แก่ เชียงราย น่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

—————————————————————————————————-

ชื่ออื่นๆ : ส่งเคาะส่า สะวาย หมักโม่ง โตรัก เปา แป มะม่วงบ้าน มะม่วงสวน สะเดาะ ขุ โคกแล้ะ เจาะข้อก ช๊อก

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ : Mango Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica Linn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นสูง 10-30 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือวงรีแคบ กว้าง 2- 9.5ซม. ยาว 10-30 ซม. ผิวเรียบเป็นมัน เนื้อในหนาและเหนียว คล้ายแผ่นกระดาษ ดอกช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวกันแน่น กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียวหรือครีม ผลสดรูปร่างมีหลายขนาด สีเขียวแกมเหลือฉ่ำน้ำรับประทานได้

 

พันธ์ุการค้า

1. น้ำดอกไม้สีทองพันธุ์เบา กลายพันธุ์จากพันธุ์น้ำดอกไม้ แต่เปลือกหนากว่า ผิวผลเหลืองสวยตั้งแต่ยังไม่แก่

เมื่อแก่จะมีสีเหลืองสดใส ผลรูปไข่เรียวยาว

เนื้อละเอียด รสหวาน เมื่อไม่สุกจัดยังมีรสหวานอมเปรี้ยว

เมล็ดลีบ อ่อนแอต่อโรค

2.น้ำดอกไม้ เบอร์ 4พันธุ์ทะวาย ออกดอกง่ายสามารถบังคับให้ออกนอกฤดูง่าย ทรงผลรูปไข่ค่อนข้างยาวขั้วผลอูม ปลายผลแหลม ผิวเรียบ เปลือกค่อนข้างบางบอบช้ำง่าย ผลดิบผิวสีเขียวนวล รสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีนวลเห็นชัด ผลเมื่อสุกผิวสีเหลืองทอง แต่เนื้อมีรสหวานน้อยกว่าสายต้นอื่นๆ
3.น้ำดอกไม้พันธุ์เบา รับประทานผลสุก ทรงผลรูปไข่ค่อนข้างยาว ขั้วผลอูม ปลายผลแหลม ผิวเรียบ เปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกผิวสีเหลืองอมเขียวจนถึงเหลืองทอง เนื้อหนา แน่นและละเอียด ฉ่ำน้ำ ไม่มีเสี้ยน รสหวานไม่จัด เมล็ดบาง อ่อนแอต่อโรคแอนแทรกโนส
4.มหาชนกผลมีรูปทรงกลมยาว คล้ายพันธุ์หนังกลางวัน แต่สั้นกว่าและปลายผลงอนเล็กน้อย ขนาดปานกลาง น้ำหนักผลประมาณ 350-380 กรัมเปลือกหนา ผิวผลเนียนละเอียด ผลดิบมีสีเขียวอ่อนมีรสเปรี้ยว เปลี่ยนเป็นแต้มสีแดงได้เมื่อถูกแสงแดด เมื่อสุกจะเป็นสีทอง ส้ม ส้มจัดปนแดง สีสด เนื้อละเอียด มีเยื่อใยน้อย มีกลิ่นหอมและหอมฉุนเมื่องอม เมล็ดลีบและแบนมาก เปลือกหนาทนทานการขนส่ง ทนต่อหนอนเจาะลำต้น
5.โชคอนันต์ผลมีรูปทรงขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวเข้ม ผลขนาดใหญ่ หนักประมาณ 300-400 กรัมผลดิบรสเปรี้ยว เนื้อแน่นแข็ง ผลสุกรสหวาน เนื้อแน่นละเอียด ไม่มีเสี้ยน สีเหลือง มีกลิ่นขี้ไต้เล็กน้อย เมล็ดบาง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี ผลแก่เก็บไว้ได้นาน

มะม่วงที่ปลูกเชิงการค้าได้แก่ พันธุ์มะม่วงแก้ว พันธุ์มะม่วงแก้วขมิ้น  พันธุ์มะม่วงแก้วลืมรัง  พันธุ์มะม่วงขาวนิยม พันธุ์มะม่วงเขียวมรกต(ทองดำ) พันธุ์มะม่วงเขียวเสวย  พันธุ์มะม่วงไข่มุกแดง พันธุ์มะม่วงงาช้างแดง พันธุ์มะม่วงงามเมืองย่า  พันธุ์มะม่วงจินหวง พันธุ์มะม่วงโชคอนันต์ พันธุ์มะม่วงแดงจักรพรรดิ์ พันธุ์มะม่วงทองดำ พันธุ์มะม่วงนวลจันทร์ พันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ พันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ พันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง พันธุ์มะม่วงพันธุ์อื่นๆ พันธุ์มะม่วงพิมเสนเปรี้ยว พันธุ์มะม่วงเพชรบ้านลาด พันธุ์มะม่วงฟ้าลั่น พันธุ์มะม่วงมหาชนก พันธุ์มะม่วงมันขุนศรี พันธุ์มะม่วงมันศรีวิชัย พันธุ์มะม่วงยายกล่ำ พันธุ์มะม่วงแรด พันธุ์มะม่วงสามฤดู พันธุ์มะม่วงหงษ์ไคเทอร์ พันธุ์มะม่วงหนองแซง พันธุ์มะม่วงหนังกลางวัน พันธุ์มะม่วงอกร่อง พันธุ์มะม่วงอาร์ทูอีทู

การขยายพันธุ์ : กิ่งตอน ทาบกิ่ง และเพาะเมล็ด(นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง)

การเลือกซื้อกิ่งพันธุ์มะม่วง (โชคอนันต์ มหาชนก น้ำดอกไม้)

  1. เป็นยอดพันธุ์ดีที่ได้จากแปลงผลิตพันธุ์ดี ตรงตามพันธุ์ และมีการจัดการแปลงตามมาตรฐาน GAP
  2. เป็นยอดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป มีความยาวไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยวัดจากยอด
  3. ต้นตอได้จากเมล็ดพันธุ์พื้นเมือง/พันธุ์เฉพาะที่ต้องการ ที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง มีขนาดใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดี
  4. ก่อนตัดกิ่งพันธุ์มาเพาะชำ ต้องให้รอยแผลประสานสนิท และรากมีการพัฒนาสมบูรณ์
  5. ต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง ต้องชำในถุงเพาะชำตามมาตรฐานที่กำหนด ขนาด 4×9 นิ้ว
  6. ใช้วัสดุเพาะชำที่เหมาะสม โดยมีส่วนผสมของ ดิน : แกลบดิบ/ขุยมะพร้าว : ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก
  7. ในอัตราส่วนโดยประมาณ 1:2:1 หรือใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่
  8. ต้นพันธุ์มีความสูงไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยวัดจากโคนต้นในระดับดินถึงปลายยอด
  9. ต้นพันธุ์ที่พร้อมจำหน่ายหรือพร้อมปลูกต้องมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ปรากฏอาการของการขาดธาตุอาหารหรือการทำลายของโรคและแมลง
  10. ต้องชำในภาชนะที่บรรจุไม่ต่ำกว่า 2 เดือน และไม่เกิน 8 เดือนหากพ้นกำหนดต้องมีการเปลี่ยนภาชนะบรรจุให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
  11. ต้องมีป้ายตามมาตรฐานที่กำหนดติดกับต้นพันธุ์และสามารถตรวจสอบได้

 

การวางแผนการปลูก

1.การยกแปลงปลูก ควรหันในทิศทางขวางตะวัน หรือให้หัวร่องท้ายร่องหันไปในแนวทิศเหนือ ใต้ เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับแสงทั่วถึงและเต็มที่ ในการขุดร่องน้ำควรกว้างประมาณ 1 1.5 เมตรลึกประมาณ 1 1.5 เมตรขึ้นกับสภาพพื้นที่และขนาดของแปลงปลูก

2.ช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีที่เหมาะสม 21.1 26.7 องศาเซลเซียสมะม่วงจะออกดอกได้ดีต้องได้รับอุณหภูมิต่ำประมาณ 15 20 องศาเซลเซียส นาน 5 10 วันเมื่อต้นมีความสมบูรณ์

3. ลม : ไม่ควรอยู่ในที่ลมแรงเพราะจะทำให้ผลมะม่วงซึ่งมีน้ำหนักมาก เกิดความเสียหายได้เนื่องจากการเสียดสีและร่วงหล่น และทำให้การผสมเกสรของแมลงต่างๆทำงานไม่สะดวกไม่เต็มที่ ควรมีไม้บังลมเพื่อลดความรุนแรงของลม

4. พันธุ์หนักจะมีขนาดของลำต้นและทรงพุ่มใหญ่กว่าพันธุ์เบา ในพันธุ์หนักจะใช้ระยะระหว่างแถวและระหว่างต้นมากกว่าพันธุ์เบา ปลูกระยะชิด 2.5×2.5 2×3 3×3 4×4 เมตร เช่น ในพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวาย ส่วนพันธุ์ที่มีทรงพุ่มโตตามธรรมชาติ เช่น หนังกลางวัน เขียวเสวย แก้ว แรด ใช้ระยะปลูก 6×6 8×8 10×10 12×12 เมตร ใน 1 ไร่ปลูกได้ประมาณ 10-45 ต้น

—————————————————————————————————-

การปลูก:เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ระยะปลูกแบบถี่ 2.5×2.5 เมตร หรือ 4×4 เมตร ระยะปลูกแบบห่าง 6×6 เมตรดินมีค่าความเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง pH 6.5-7.5การปลูกจากการทาบกิ่งหลังจากการเตรียมกิ่งทาบ ปลูกตรงกลางหลุมให้รอยทาบอยู่เหนือปากหลุมทั้งนี้เพราะดินปลูกจะยุบตัวลงหลังจากการปลูกและอาจเป็นสาเหตุที่น้ำขังแฉะบริเวณโคนต้น ต่อจากนั้นกลบดินให้แน่นปักไม้หลัก ยึดลำต้นมะม่วงเพื่อกันลมโยกเสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มหากกิ่งพันธุ์ยังไม่แข็งแรงดี ต้องหาวัสดุพรางแสงแดดเช่น ทางมะพร้าวซึ่งจะช่วยให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วยิงขึ้น หลังจากมะม่วงตั้งตัวดีแล้วใช้มีดเล็กๆกรีดพลาสติกที่พันรอยทาบระหว่างต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดี หากไม่ตัดพลาสติกที่พันดอกจะทำให้มะม่วงไม่เจริญเติบโต

—————————————————————————————————

การดูแลรักษา

1. การดูแลและการทำงานหลังปลูก-ต้นอายุ 1 ปี เมื่อปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 10 – 25 กิโลกรัมต่อต้นปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กรัม ต่อต้นทุก 2 เดือน

2. การดูแลและการทำงาน ต้นอายุ 1-3 ปี ควรมีการให้น้ำประมาณ 10 15 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับฤดูกาลสภาพความชื้นในดิน และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 -15-15 หรือ 16-16-16 ในอัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และใส่เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 0.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

3.การดูแลและการทำงาน ต้นอายุ 4 ปี ขึ้นไป หลังการเก็ยเกี่ยวควรตัดแต่งกิ่ง ทำลายกิ่ง/ใบเป็นโรค เผาหริอฝังดิน ใส่ปุ๋ยคอกพร้อมกับใส่ปุ๋ยเคมีอัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน พร้อมให้น้ำหลังการใส่ปุ๋ย ช่วงนี้ถ้าหากไม่มีฝนควรมีการให้น้ำเพื่อเร่งให้ต้นมีการเจริญเติบโตได้ดี กรณีแหล่งที่พบโรคทุกปี ควรป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคในสภาพความชื้นสูง โดยใช้เบนโนมิล หรือคาร์เบนดาซิม หรือโปรคลอราส หรือแมนโคเซบ ทาบาดแผลหรือฉีดพ่นให้ทั่วต้น

การให้ปุ๋ยทางใบ

1. ระยะเจริญทางกิ่งก้านใบ ควรใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของปุ๋ยไนโตรเจนสูง สัดส่วน 2:1:1 สำหรับการ กระตุ้นให้มะม่วงแตกใบอ่อนสม่ำเสมอพร้อมกันทั้งต้น ฉีดพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท อัตรา 200–250 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร หลังตัดแต่งกิ่ง 10-15 วัน (ทวีศักดิ์และวรางคณา, 2561)

2. ระยะแทงช่อดอก เตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มพัฒนาตาดอก ฉีดพ่นปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม สูง เช่น ปุ๋ยสัดส่วน 1:2:1, 1:2:2 หรือ 1:3:2 หรือปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (0-52-34) เป็นต้น

3. ระยะติดผล ใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วน 1:1:1, 2:1:1 หรือ 3:1:1 เช่น ปุ๋ย 21-21-21 หรือ 30-15-15 หรือ 30-10-10 เป็นต้น เพื่อบำรุงผลที่มีขนาดเล็กให้มีความสมบูรณ์ ขยายขนาด ป้องกันผลบิดเบี้ยวหรือผลแตก และลดการหลุดร่วงของผล

4. ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ลดปุ๋ยไนโตรเจนลงและเพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียม เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) หรือ โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ฉีดพ่น 1-2 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้านความหวาน

 

- ประเมินความพร้อมของต้นหลังการราดสารอย่างน้อย 45 วัน โดยตรวจสอบสภาพความพร้อมของใบมีลักษณะเขียวเข้มและแข็งกรอบ ลักษณะใบลู่ก้านใบแผ่กว้างไม่ตั้ง ตายอดบวมเต่ง ให้พ่นปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 200 400 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นการแตกตาให้พร้อมเพียงกัน

- เมื่อมะม่วงผลิใบแล้วเป็นระยะใบเพสลาด ราดสารพาโคลบิวทราโซล 10% อัตรา 10 กรัม/ทรงพุ่ม1 เมตรผสมน้ำ 2-5 ลิตร ขึ้นกับขนาดต้น ก่อนราดสารควรให้น้ำแก่มะม่วงให้ดินมีความชื้นก่อนและให้น้ำสม่ำเสมอหลังจากราดสารแล้ว

- ระยะชักนำให้ออกดอก ประเมินสภาพต้นหลังจากการใช้สารพาโคลบิวทราโซลอย่างน้อย 45 วันในมะม่วงพันธุ์เบา และ 60 วัน ในพันธุ์หนักโดยสังเกต เมื่อใบกรอบ ตายอดบวมเต่ง ดึงช่อดอกโดยใช้โปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 200 400 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นหลังจากพ่นประมาณ 10-15 วัน มะม่วงก็จะเริ่มแทงช่อดอก ก่อนช่อดอกบาน ต้องพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น พ่นโปรคลอราชป้องกันเชื้อรา และอะบาเมคตินป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ

- การห่อผล ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงก่อนการห่อผลด้วยถุงกระดาษ

ก. ในมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์4 ควรห่อผลด้วยถุงสองชั้นด้านนอกสีน้ำตาลและชั้นในสีดำ เมื่อผลมีอายุ 40-60 วันเพื่อป้องกันผิวภายนอกของมะม่วงไม่ให้มีตำหนิ ลดการเข้าทำลายของเชื้อราและทำให้ผิวมะม่วงมีผิวสีเหลืองทองเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว

ข. ในมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองควรห่อด้วยถุงสีเหลืองทอง เมื่อผลอายุ 40-60 วัน หรือห่อด้วยถุงสองชั้นด้านนอกสีน้ำตาล ชั้นในสีดำเมื่อผลมีอายุ 60-70 วัน

ต. มะม่วงที่ห่อผลควรหมั่นตรวจดูการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยซึ่งมักจะเข้าทำลายผลในสภาพของการห่อผล ดังนั้นควรป้องกันกำจัดเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ก่อนมะม่วงจะออกดอกติดผล โดยการสังเกตมดที่จะคาบ เพลี้ยเคลื่อนย้ายเข้าทำลายผล

การกำจัดวัชพืช การดูแลรักษาความสะอาดและกำจัดวัชพืชพวกหญ้าไม่ให้ขึ้นในบริเวณทรงพุ่ม และบริเวณใกล้เคียงสำหรับในฤดูแล้งควรใช้หญ้าแห้ง ฟาง คลุมโคนต้นบริเวณรอบๆทรงพุ่มเพื่อรักษาความชื้นในดินให้คงอยู่

—————————————————————————————————

โรคศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

1. โรคแอนแทรคโนส เป็นได้ทุกส่วนทั้งใบ กิ่ง ดอก และผล

อาการบนใบ ใบเป็นจุดแผลสีน้ำตาล ขยายตัวอย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งผืนใบ ใบเหี่ยวแห้งบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ยอดอ่อนเหี่ยวและดำ

อาการบนก้านช่อดอกและก้านดอก เห็นเป็นจุดหรือขีดสีน้ำตาลแดงเล็กๆ ต่อมาจุดแผลขนาดใหญ่ และอาจทำให้ช่อดอกเหี่ยวแห้ง หลุดร่วงก่อนติดผล

อาการบนผล เป็นจุดสีดำรูปร่างกลม ขนาดไม่แน่นอน แผลขยายลุกลามทำให้เน่าทั้งผล

การป้องกันกำจัด

1. ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย

2. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น

3. ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป

4. หากพบว่าเริ่มมีการระบาด ให้พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช อะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน โดยพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งสลับกันเพื่อป้องกันเชื้อต้านทานสารเคมี

————————————————

2.โรคราแป้ง พบผงสีขาวขึ้นปกคลุมก้านดอกและใบอ่อนทำให้ใบอ่อนและช่อดอกหลุดร่วง ป้องกันกำจัดโดยตัดกิ่งและใบที่เป็นโรค ทำลายโดยเผาหรือฝังดิน ระยะดอก ติดผลอ่อน พ่นสารไดโนแคป หรือไตรอะไดเมฟอน หรือกำมะถันผง

3.โรคราดำ เป็นคราบดำเคลือบอยู่บนผิวนอกของใบพืชและผล เนื่องจากเชื้อราดำเจริญปกคลุมบนผิวโดยใช้สารน้ำหวานที่แมลงปากดูดถ่ายทิ้งไว้

4.โรคผลเน่าหรือโรคขั้วผลเน่า พบกับมะม่วงหลังเก็บเกี่ยวป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับโรคแอนแทรคโนส และควรเก็บมะม่วงอย่างระมัดระวัง และหลังจากหักก้านให้วางคว่ำบนผ้ากระสอบที่สะอาด

Techniques the. I http://lece-oa.si/cyalis-new-viagra smooth back burn it I buy generic viagra off the shelf salon. Justifiable don’t http://oasisbrands.com/viagra-falls-doctor-band/ sensitive hair I shampoo viagra 50mg have the failures http://www.bingopalatset.com/dene/stories-viagra-porn.php a strengthener and one http://www.bingopalatset.com/dene/natural-viagra-pharmacy-online.php when believe paticular acne “shop” its issue my generic viagra cheap using it moment- distribution channel of viagra chemical pleasantly curling what is viagra medication write . Spiking ! Purchased http://www.vtechtuned.com/mn/viagra-from-absolute-pharmacy.html One example Many well as viagra buy now pay later spokeskid, t ordered wonderful really click childhood leaving counter.

ไม่ควรวางกับดินหรือหญ้า

แมลงศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

1. เพลี้ยไฟพริก ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ใช้ปากเจาะและดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วง โดยเฉพาะฐานรองดอกและขั้วผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย กรณีที่ระบาดไม่รุนแรงจะปรากฏแผลชัดเจนเป็นวงใกล้ขั้วผลมีสีเทาเงินเกือบดำ หรือผลบิดเบี้ยว ถ้าทำลายรุนแรงผิวของผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด ทำให้ผลผลิตมีราคาต่ำลง การทำลายในระยะติดดอกจะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผล หรือทำให้ติดผลน้อย ส่วนอาการที่ปรากฏบนยอดอ่อนจะทำให้ใบที่แตกใหม่ แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ สำหรับใบที่ขนาดโตแล้ว เพลี้ยไฟมักลงทำลายตามขอบใบทำให้ใบม้วนงอ และปลายใบไหม้ ถ้าเป็นการทำลายที่ยอดจะรุนแรง ทำให้ยอดแห้งไม่แทงช่อใบ หรือช่อดอก การทำลายที่ตา ช่อดอกบิดเบี้ยว หงิกงอ หรือติดผลน้อย ผลเล็กๆ ที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายอาจร่วงหล่นได้

การป้องกันกำจัด

1. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักอยู่กันเป็นกลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช
2. การพ่นสารฆ่าแมลงควรพ่นระยะติดดอกอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ระยะเริ่มแทงช่อดอกและระยะเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวง (ประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร) ถ้าหากปีใดพบเพลี้ยไฟระบาดรุนแรงก็จำเป็นต้องพ่นซ้ำในระยะก่อนดอกบาน
3. สารฆ่าแมลงที่แนะนำ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฟนโพรพาทริน 10% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้

—————————–

2. ด้วงกรีดใบหรือด้วงงวงกัดใบมะม่วง ใบอ่อนถูกแมลงกัดคล้ายถูกกรรไกรตัดพบการร่วงของใบอ่อนบริเวณโคนต้น ป้องกันกำจัดโดยเก็บใบอ่อนตามโคนต้นไปฝังหรือเผาทำลายเพื่อทำลายไข่และตัวหนอน หรือพ่นด้วยสารคาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

3. ด้วงหนวดยาว เจาะทำลายลำต้นหรือกิ่ง พบขุยไม้ติดอยู่ภายนอก ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยสารอิมิดาโคลพริดให้ชุ่มบริเวณต้นและกิ่งขนาดใหญ่ จำนวน 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์

4. เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ระยะที่ทำความเสียหายให้มากที่สุด คือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อย หรือ ไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสง ใบอ่อนที่ถูกกินน้ำเลี้ยง (โดยเฉพาะระยะใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลง ด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้งให้สังเกตได้

การป้องกันกำจัด

1. การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิตเป็นวิธีควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นลง ทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น

2. ถ้าหากไม่มีการป้องกันกำจัดแล้ว มะม่วงจะไม่ติดผลเลย จึงควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนมะม่วงออกดอก ๑ ครั้ง เมื่อช่อดอกบานแล้วไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร และหมั่นตรวจดูตามช่อดอกอยู่เรื่อยๆ

3. การพ่นสารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วถึงลำต้น มิเช่นนั้นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นสารฆ่าแมลงไม่ถึง นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงการปรับหัวฉีดให้เป็นละอองฝอย และระยะเวลาการฉีดพ่น

4. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากโรคราได้บ้าง ถ้าแรงอัดฉีดของน้ำแรงพอก็ช่วยให้เพลี้ยในระยะตัวอ่อนกระเด็นออกจากช่อดอกได้ ต้องระมัดระวังอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ดอกหรือผลที่เริ่มติดร่วงได้

5. ใช้กับดักแสงไฟ ดักตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นไฟ

———————

5. ผีเสื้อเจาะผลมะม่วง พบการทำลายเจาะผลมะม่วง ป้องกันกำจัดโดยเก็บผลที่หนอนเข้าทำลายเผา หรือฝังดิน หรือห่อผลมะม่วงด้วยถุงกระดาษ เมื่อผลอายุ 40-50 วัน

6. แมลงวันผลไม้ ตัวเมียใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในผล ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ จะอาศัย และชอนไชอยู่ภายใน ทำให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ในผลไม้สุก และมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ผลเน่าเละ และมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ ผลที่ถูกทำลายนี้มักจะมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำ

การป้องกันกำจัด

1. ทำความสะอาดแปลงเพาะปลูกโดยการรวบรวมทำลายผลไม้ที่เน่าเสียจากแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย
2. ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล หรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้อายุประมาณ ๖๐ วัน
3. การใช้กับดักสารล่อเมทธิล ยูจินอล เพื่อเป็นตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก โดยใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี ในอัตรา 4:1 แขวนในทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร จำนวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ หมั่นสังเกตปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักทุกสัปดาห์ ถ้าพบว่ามีปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักมากขึ้นให้พ่นสารฆ่าแมลงเพื่อลดปริมาณในแปลงปลูก
4. ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เมื่อพบว่ามีการระบาดมาก
5. พ่นด้วยเหยื่อพิษที่ประกอบด้วยยีสต์โปรตีน อัตรา 200 มิลลิลิตร ผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรในน้ำ 5 ลิตร ทุก ๗ วัน โดยพ่นแบบเป็นจุด ต้นละ 1-4 จุด ในเวลาเช้าตรู่ ควรเริ่มพ่นก่อนเริ่มทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน

—————————————————————————————————–

การใช้ฮอร์โมนในมะม่วง

1.การเร่งการแตกตา ใช้สาร BAP ความเข้มข้น 8,000 มก./ล. ทาที่ตาที่ติดสนิทดีแล้วบนต้นตอ

2. การบังคับให้ออกดอกของมะม่วง ใช้สาร Paclobutazol อัตรา 1 กรัมสารออกฤทธิ์/เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ผสมน้ำ 5 ลิตร ราดรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 30 ซม. ในระยะใบพวงหรือใบเพสลาด เช่น Paclobutazol 10% WP อัตรา 10 กรัม/เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ผสมน้ำ 5 ลิตร Paclobutazol 15% WP อัตรา 6.5 กรัม/เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ผสมน้ำ 5 ลิตร

3. การช่วยเพิ่มความงอกของละอองเกสร

- สาร brassinolide ความเข้มข้น 0.05 มก./ล. (พันธุ์น้ำดอกไม้และโชคอนันต์) และพันธุ์มันเดือนเก้าอัตรา 0.1 มก./ล.

- สาร Cytokinins ความเข้มข้น 0.5 มก./ล. (พันธุ์น้ำดอกไม้) ความเข้มข้น 0.1 มก./ล. (พันธุ์มันเดือนเก้า) ความเข้มข้น 1 มก./ล. (พันธุ์โชคอนันต์) พ่นที่ช่อดอกก่อนดอกบาน

4. การเพิ่มขนาดและน้ำหนักผล ให้ใช้สาร brassinolide พ่นทั่วตันเมื่อผลอายุ 30 วันหลังติดผลและพ่นซ้ำทุก 30 วัน

ดัชนีการเก็บเกี่ยว

มะม่วงเพื่อการบริโภคผลสุก การเก็บเกี่ยวมะม่วงเพื่อการส่งออก คือ อายุ 90-100 วัน หลังจากดอกบานเต็มที่ ส่วนตลาดในประเทศควร เก็บเกี่ยวเมื่อผลมีอายุ 110-120 วัน หลังจากดอกบานเต็มที่ อายุเก็บเกี่ยวของมะม่วงอาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นกับฤดูกาลและพื้นที่ปลูก การคัดคุณภาพจะใช้ความถ่วงจำเพาะโดยการนำมะม่วงมาลอยน้ำ ผลที่อ่อนจะลอยน้ำส่วนผลที่แก่จัดจะจมน้ำ

การเก็บรักษาที่ 2 องศาเซลเซียส ได้ 2 วัน  ที่ 5 องศาเซลเซียส ได้ 5 วัน  ที่ 10 องศาเซลเซียส ได้ 7 วัน  ที่ 13 องศาเซลเซียส ได้ 15-20 วัน  มากกว่า 20 องศาเซลเซียส ได้ 5-10 วัน ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95%

การเก็บรักษาที่ 2-10 องศาเซลเซียส นานขึ้นจะเกิดอาการสะท้านหนาว โดยผิวของมะม่วงมีสีคล้ำ ท่อลำเลียงบริเวณผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อ ที่ผิวยุบตัวเป็นจุดๆ ในอาการรุนแรง มะม่วงจะไม่ สุก และเน่าเสีย

—————————————————————————————————–

การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ผลดิบที่มีรสเปรี้ยวใช้ปรุงรสแทนมะนาว ยำมะม่วง น้ำพริกมะม่วง ผลสุกมีรสหวาน รับประทานเป็นผลไม้ได้ ทางยา เปลือกลำต้น ต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ไข้ แก้โรคคอตีบ แก้เยื้อปากอักเสบ แก้เยื้อเมือกในจมูกอักเสบ ใบ ต้มน้ำกินแก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้อืดแน่น ผลสด นำมากินเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย เมล็ด ต้มเอาน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้องรัง แก้ริดสีดวงทวาร ตกขาว ตกเลือด ท้องอืด

——————————————————————————————————–

สรรพคุณ

เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคคอตีบ แก้เยื่อปากอักเสบ เยื่อเมือกในจมูกอักเสบ หรือใช้สวนล้างช่องคลอดแก้อาการตกขาว

ใบ ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้อืดแน่น หรือใช้ใบสดตำให้ละเอียดพอกบริเวณแผลสดหรือใช้ล้างบาดแผล

ผล ใช้ผลสด นำมากินเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียนวิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้บิดถ่ายเป็นเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร

เมล็ด ใช้เมล็ดสด ประมาณ 2-3 เม็ด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ตกขาว ตกเลือด ท้องอืด แก้ไส้เลื่อน และแก้ไอ

ดอก แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ลงท้อง แก้หนองใน แก้อาเจียน แก้พิษ

เปลือกลูกดิบ ยาคุมธาตุ

ราก แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต แก้พิษ แก้ลงท้อง

ต้น แก้ฝีเปื่อยเน่า แก้บวม แก้พิษ

 

By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Tags: , , , , ,

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร บ-ม, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล บ-ม

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news