banner ad

หนูป่ามาเลย์

| May 11, 2016

หนูป่ามาเลย์ (Malayan wood rat)

ชื่อวิทย์ : Rattus tiomanicus (Miller)

วงศ์ : Muridae

อันดับย่อย : Myomorpha

อันดับ : Rodentia

ลักษณะตัวเต็มวัยมีน้ำหนัก 90 125 กรัม ขนลำตัวเรียบมัน ด้านหลังสีน้ำตาลมะกอก และเข้มมากขึ้นบริเวณกลางหลัง ขนท้องสีขาว หรือครีม อาศัยบนยอดปาล์ม ใต้กองทางใบในหน้าแล้ง บางครั้งขุดรูอยู่ในดินใกล้โคนต้น ไม่มีขุยดินปากรู

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

ศัตรูสำคัญของปาล์มน้ำมัน พบทางภาคใต้และเป็นพาหะหรือรังโรคติดต่อสู่คนและสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกันกับหนูชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน กัดแทะทำลายผลปาล์มน้ำมันบนต้นกินเป็นอาหารและลับฟัน นอกจากนี้ยังกัดทำลายช่อดอกเกสรตัวผู้และตัวเมีย เพื่อกินตัวอ่อนด้วงงวงผสมเกสรเป็นอาหารด้วยด้วย

พืชอาหาร ปาล์มน้ำมัน รากหญ้า กล้วยป่า ฯลฯ

การป้องกันและกำจัด

1. ล้อมตีตามกองทางใบ หรือขณะตัดทางใบและทลายปาล์ม

2. อนุรักษ์นกแสก เหยี่ยวนกเขา งูสิง งูทางมะพร้าว

3. วางเหยื่อโปรโตซัว 1 ก้อน/ต้น ก่อน ประมาณ 10-12 วัน ตามด้วยสารกำจัดหนูออกฤทธิ์ช้าตามคำแนะนำ 1 ครั้ง ปฏิบัติเช่นนี้ 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 25 วัน

 

ข้อมูลจาก : กลุ่มงานสัตววิทยา กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร

Category: ศัตรูพืช, สัตว์ศัตรูพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news