banner ad

ไพล

| November 29, 2012 | 0 Comments

ไพล

ชื่ออื่นๆ : ปูลอย ปูเลย มิ้นสะล่าง ว่านไฟ

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ : Phlai

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber cassumunar Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชจำพวกเหง้าใต้ดิน ล้มลุก แห้งเหี่ยวไปในหน้าแล้ว งอกงามในหน้าฝน ใบเดี่ยว รูปหอกเรียงยาว ผิวและขอบเรียบ กาบใบหุ้มลำต้น สูง 2-4 ฟุต สีเขียวเข้ม โคนกาบสีแดง เนื้อในเหง้าสีเหลืองอ่อน กลิ่นหมอฉุน ดอกช่อทรงพุ่มกลม เรียวยาวตั้งตรง กาบหุ้มสีน้ำตาลเข้มแดง ขอบเขียวกลีบดอกทยอยบาน ออกมาบางๆ สีดำหรือเหลือ ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า

การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ใบกินกับส้มตำ ลาบ ก้อย ทางยา หัวหรือเหง้าเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้พิษในท้อง ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ แก้บิด สมานลำไส้ ภายนอกใช้เหง้าสดฝนทาแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบเหน็บชา สมานแผล

การขยายพันธุ์ : เหง้า

ลักษณะดอก

การปลูกและการดูแลรักษา : นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน โดยเก็บหัวไพลในช่วงฤดูแล้ง เพราะช่วงฤดูแล้งลำต้นเหนือดินจะแห้งตาย เหลือแต่ลำต้นใต้ดิน จะขุดหัวขึ้นมาใช้หรือนำมาเป็นพันธุ์ สำหรับปลูกในปีต่อไป ไพลเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ดินร่วนมีการระบายน้ำดี และชอบแสงแดดปานกลาง ไม่ชอบแดดจัดมาก

ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

1.หนอนกอลายจุดเล็ก : หนอนเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนระดับผิวดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่อ ทำให้ยอดแห้งตาย การเข้าทำลายของหนอนกอลายจุดเล็กจะทำให้ผลผลิตลดลง นอกจากนี้หนอนยังเข้าทำลายไพลในระยะย่างปล้อง โดยหนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในลำต้นไพล

2.หนอนกอสีขาว : หนอนเจาะไชจากส่วนยอดเข้าไป กัดกินยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดแห้งตายโดยเฉพาะใบที่ยังม้วนอยู่ ส่วนใบยอดอื่นๆ ที่หนอนเข้าทำลายจะมีลักษณะหงิกงอ และมีรูพรุน หนอนจะเข้าทำลายส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ไม่สามารถสร้างปล้องให้สูงขึ้นไปได้อีก

3.หนอนกอสีชมพู : หนอนเจาะเข้าไปกัดกินตรงส่วนโคนของหน่อระดับผิวดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่อไพล ทำให้ยอดแห้งตาย

การป้องกันกำจัด

1. ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา อัตรา 30,000 ตัว/ไร่/ครั้ง ปล่อยติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ใช้ช่วงที่พบกลุ่มไข่ของหนอนกอ

2. เมื่อไพลอายุ 1 เดือน หรือเมื่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยว 10% ควรพ่นสารเดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน

สรรพคุณ: ใบ แก้ปวดเมื่อย แก้ครั้งเนื้อครั้นตัว

ดอก แก้ช้ำใน ขับระดู ทำลายเลือดเสีย

ต้น แก้อุจาระพิการ แก้ธาตุพิการ

ราก แก้อาเจียน แก้เลือดกำเดาออก

เหง้า ขับระดู แก้เหน็บชา แก้ปวดหัว ขับลม แก้ท้องเสีย แก้ลำไส้อักเสบ แก้ ปวดฟัน แก้อาเจียน สมานแผล แก้ปวดเมื่อย ดูดหนอง แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง สมานลำไส้ แก้ฝี ไล่แมลง

งานวิจัย

โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลเชิงพาณิชย์  2549-53

วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวและแปรรูปไพล

1. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพและสารสำคัญในไพล

ก. วิจัยและพัฒนาด้านเขตกรรมในการผลิตไพลเชิงพาณิชย์
(1.1)  ศึกษาประเมินพันธุ์ไพลที่ให้ผลผลิตและสารสำคัญสูง
(1.2)  อิทธิพลของละติจูดของพื้นที่ปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตเหง้าไพล
(1.3) เปรียบเทียบวิธีเขตกรรมต่อผลผลิตและสารสำคัญในแปลงปลูกและเกษตรกร
(1.4)  ศึกษาขนาดท่อนพันธุ์และระยะปลูกที่เหมาะสมของไพล
(1.5)  อิทธิพลของระดับความสูงของพื้นที่ปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตเหง้าไพล
(1.6)  อิทธิพลของความเข้มแสงที่มีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต  คุณภาพผลผลิต และปริมาณสารสำคัญในเหง้าไพล
(1.7)  อิทธิพลของการใช้วัสดุคลุมแปลงที่มีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณภาพ ผลผลิตเหง้าไพล
(1.8)  ศึกษาการกำหนดรอบการให้น้ำที่เหมาะสมกับไพล
(1.9)  ศึกษาธาตุอาหาร ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต คุณภาพ ผลผลิต และปริมาณสารสำคัญของเหง้าไพล

ข. วิจัยและพัฒนาวิธีการควบคุมศัตรูพืชในการผลิตไพลเชิงพาณิชย์
(2.1) วิจัยและพัฒนาวิธีการควบคุมศัตรูโรคพืชในการผลิตไพลเชิงพาณิชย์ (ด้านโรค)
(2.2)  ศึกษาแมลงศัตรูพืชที่ผลต่อคุณภาพผลผลิตไพล (ด้านแมลง)
(2.3) การจัดการวัชพืชก่อนงอกที่มีต่อการเจริญเติบโตของไพล (ด้านวัชพืช)

ค. วิจัยและพัฒนากระบวนการเก็บเกี่ยวไพลเชิงพาณิชย์
3.1  ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของไพล
3.2  วิจัยปริมาณผลผลิตเหง้า สารสำคัญและน้ำมันในพันธุ์ต่างๆเมื่ออายุเก็บ
3.3  ศึกษาวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพไพล
3.4  วิจัยและพัฒนาการผลิตสารสกัดน้ำมันจากไพล

โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไพลอย่างยั่งยืน  ปี 2554-58

1.วิจัยและพัฒนาวิธีการควบคุมศัตรูพืชในการผลิตไพลที่มีคุณภาพ
1.1  ศึกษาการป้องกันกำจัดโรคหัวเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในสภาพแปลงปลูก
1.2 การศึกษาอายุต้นกล้าไพลที่ได้จากเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหมาะสมในการปลูกในแปลง
1.3 ศึกษาผลผลิตของไพลที่ได้จากหัวพันธุ์รุ่น G1 และ G2 เปรียบเทียบกับหัวพันธุ์ที่ได้จากแปลงปกติ
1.4 คัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของไพล
1.5 ศึกษาการควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจกเชื้อแบคทีเรียของไพลโดยวิธีผสมผสาน

โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไพลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม

วิจัยและพัฒนาด้านเขตกรรมในการผลิตไพลที่มีคุณภาพเหมาะสมของไพล
1.1 การศึกษาและรวบรวมแหล่งปลูกที่เหมาะสมของไพล
- ทำการสำรวจแหล่งปลูกไพลที่ปลูกเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญ และแหล่งที่ปลูกเพื่อการผลิตวัตถุดิบในระดับชุมชน  เก็บผลผลิตไพลในแต่ละแหล่งปลูก มาตรวจหาปริมาณน้ำมัน และสารสำคัญ  เก็บข้อมูลลักษณะพันธุ์ การเกิดโรค ลักษณะดินปลูก ระดับความสูงของพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

1.2 ศึกษาขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมของแปลงทดลองไพล
- ปลูกไพลแบบ  Uniformity  Trial  ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ในเนื้อที่  273  ตารางเมตร   จำนวน  52  แถว  ๆ  ละ  28  ต้น  ระยะปลูก  25 x75  ซม.  เก็บผลผลิตเมื่อไพลมีอายุ  2  ปี   เก็บเกี่ยว  48  แถว ๆ  ละ  24  ต้น  โดยเว้นหัวท้ายด้านละ  2  แถว ชั่งน้ำหนักไพลทุกต้น  นำข้อมูลไปวิเคราะห์และประมวลผลทางสถิติ

วิจัยและพัฒนาวิธีการควบคุมศัตรูพืชในการผลิตไพลที่มีคุณภาพ

2.1 ศึกษาการป้องกันกำจัดโรคหัวเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในสภาพแปลงปลูก
- ทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชตระกูลมัสตาดและพืชอื่นๆ กับเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรค  คัดเลือกชนิดพืชที่มีสารที่ออกฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรค นำไปปลูกในแปลงปลูกไพล โดยใช้วิธีปลูกระหว่างแถว หรือปลูกพืชดังกล่าวแล้วไถพรวนเพื่อให้สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในรากฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในแปลงปลูกก่อนปลูกไพลตามหลังเปรียบเทียบกับการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในดินโดยใช้ปูนขาวผสมยูเรีย และการใส่ดินด้วยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ Bacillus subtilis

3 วิจัยและพัฒนาการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตไพลที่มีคุณภาพ
3.1 การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตไพล
- การปลูกไพลพันธุ์หยวกในแปลงทดสอบของเกษตรกร  นำเทคโนโลยีการผลิตจากงานวิจัยมาปรับใช้ในพื้นที่ต่างๆ
3.2 ศึกษาการปลูกไพลเป็นเป็นพืชแซม
- ศึกษาการปลูกไพลเป็นพืชแซมในไม้ยืนต้นที่เริ่มปลูกใหม่ เช่น ยางพารา มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด และไม้ผลที่ปลูกอยู่แล้ว เช่น มังคุด เงาะ มะม่วง กล้วย ฯลฯ โดยบันทึกการเจริญเติบโต การเกิดโรคหัวเน่า และการระบาดทำลายของแมลง ปริมาณผลผลิต รวมทั้งต้นทุนการผลิต

 

 

Tags: , , , , ,

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร บ-ม

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news