banner ad

ว่านนางคำ

| March 3, 2015

ว่านนางคำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aromatica Salisb.

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ชื่อสามัญ : -

ชื่ออื่นๆ : -

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง ประมาณ 10-14 ซม. ยาวประมาณ 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม. ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพู แฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม

การปลูก

ปลูกในดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขัง การรดน้ำในตอนที่ว่านมีใบนั้นให้รดจนชุ่ม ว่านจะทิ้งใบฝังหัวเมื่อพ้นหน้าฝน การรดน้ำควรรดเพียงแค่หมาดๆ หากรดมากๆ เหมือนตอนมีใบก็อาจทำให้หัวว่านเน่าได้

การขยายพันธุ์ :ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ความเป็นมงคล

ว่านนางคำถือเป็นพญาว่านต้นหนึ่งเช่นกันเนื่องจากสามารถคุ้มครองและแก้พิษว่านทั้งปวงได้ทั้งยังเป็นว่านที่ปลูกไว้ประจำบ้าน จะเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่คนที่อยู่ในบ้านนั้น

สรรพคุณทางยา

ใช้หัวสดตำให้ละเอียดผสมสุราโรง ๔๐ ดีกรี พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก โรคเม็ดผดผื่นคันตามร่างกาย หรือหากใช้แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้องให้ใช้หัวสดฝนกับน้ำปูนใสกินอาการดังกล่าวจะทุเลาลง หรือจะกินหัวสดๆ กับเหล้าขาวก็ได้เช่นเดียวกัน รากใช้เป็นยาขับเสมหะและใช้เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วงโรคหนองในเรื้อรัง และว่านนางคำสามารถนำมาปรุงเข้ากับยาสมุนไพรอื่นๆ ได้ปัจจุบันตามร้านขายยาแผนโบราณยังคงใช้เป็นตัวยารักษาโรคเช่นเดิม

Tags:

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ, ว่าน

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news