banner ad

สารภีป่า

| January 21, 2015

สารภีป่า (Sarphi pa)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anneslea fragrans Wall.

ชื่อวงศ์ : THEACEAE

ชื่อสามัญ -

ชื่ออื่นๆ : ปันม้า ส้านแดง ส้านแดงใหญ่ สารภี สารภีควาย สารภีดอย สารภีหมู สุน ฮัก (เชียงใหม่) คำโซ่ ตองหนัง ตีนจำ ทำซุง บานมา พระราม โมงนั่ง (ภาคอีสาน) แก้มอ้น (ชุมพร) ทึกลอ ทีลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ต้ำจึง ฮาฮอย (เขมร-สุรินทร์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

สารภีป่าเป็นต้นขนาดเล็ก สูง 10-20 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทาเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 7-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว เนื้อใบหนาและเหนียว ก้านใบสีแดงยาว 1.5-3 ซม. ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงหนาสีเหลืองแกมชมพูมี 5 กลีบ ปลายแหลม กลีบดอกเบียดชิดกันเป็นก้อนกลมอยู่ตรงกลางดอก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม ขนาด 1.5-5 ซม. ผิวเรียบ มีกลีบเลี้ยงหุ้มจนมิดผล ผลแก่จัดแตกออกได้ เมล็ดมี 2-9 เมล็ด มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดง

สรรพคุณ

ใช้ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรพวกประดงรวม 9 ชนิด ต้มน้ำดื่มรักษาโรคประดง

เปลือกและดอก เป็นยาแก้โรคบิด ไข้ และถ่ายพยาธิ

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news