banner ad

สีเสียดเหนือ

| January 20, 2015

สีเสียดเหนือ (Sisiat nuea)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu (L.f.) Willd.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)

ชื่อสามัญ : Catechu tree, Cutch tree

ชื่ออื่นๆ : สีเสียดเหลือง สีเสียดแก่น (เชียงใหม่) สีเสียด ขี้เสียด (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

สีเสียดเป็นไม้ต้น สูง 10-15 ม. เปลือกต้นสีเทาอมดำ แตกเป็นสะเก็ดตามยาว ตามกิ่งก้านมีหนามแหลมเล็กๆ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบเล็ก รูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมนเบี้ยว แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวเป็นพู่ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรเป็นเส้นเล็กสีขาว ผล เป็นฝักแบน ผิวฝักเรียบ ฝักแห้งแตกออกได้ เมล็ดเล็ก รูปแบน

สรรพคุณ

แก่น เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาแผลและโรคผิวหนัง

เปลือกต้น มีรสฝาด เป็นยาสมานแผล แก้บิด ท้องร่วง ปิดธาตุ แก้ลงแดง แก้ท้องร่วงอย่างแรง ชะล้างบาดแผล

สีเสียด (ยางต้นสีเสียดที่ถูกเคี่ยวจนงวดเป็นก้อนสีดำ) มีรสฝาดจัด บดหรือต้มรับประทานแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล

กิ่ง,ใบ ใช้สำหรับรักษาโรคเอดส์

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news