เสลาใบใหญ่
เสลาใบใหญ่ (Salao bai yai)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ : อินทรชิด (ปราจีนบุรี) เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี) ตะแบกขน (ตรราชสีมา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เสลาใบใหญ่เป็นไม้ต้น สูง 10-20 ม. แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ปลายกิ่งห้อยลง เปลือกต้นสีเทาอมดำ แตกเป็นร่องตามยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 12-24 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนปกคลุม เส้นใบข้างมี 8-12 เส้น ก้านใบยาว 1-2 ซม. ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีม่วงแดงหรือสีชมพู กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ ปลายแหลม ด้านนอกมีขน เป็นสันนูนตามยาว กลีบดอกมี 6-8 กลีบ บางและย่น ขอบจักเป็นแฉกแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก มีอับเรณูสีเหลือง ก้านช่อดอกมีขน ผล รูปไข่ ขนาด 1.5-2 ซม. ผลแห้งแตกออกได้ 5-6 ซีก เมล็ดมีปีกบางๆ
สรรพคุณ
ใบ นำมาบดกับกำยานใช้ทาแก้ผดผื่นคัน
เปลือก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในป่าใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง โดยนำมาต้มน้ำก่อน ส่วนใบนั้นจะเผาไฟแล้วใช้ใส่แผลที่พุพอง
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ