banner ad

โสมชบา

| January 19, 2015

โสมชบา (Som chaba)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus moschatus Medik. Subsp. Tuberosus (Span.) Borss.Waalk.

ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

ชื่อสามัญ : -

ชื่ออื่นๆ : จีจ้อ มหาก่าแดง (ภาคเหนือ) ข้าวต้มเล็ก (นครสวรรค์) เหง้ามหากาฬ (เพชรบูรณ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

โสมชบาเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.4-1 ม. ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งยาว มีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปฝ่ามือ กว้างและยาว 3-10 ซม. ใบโคนต้นมี 5 แฉก ใบที่อยู่ถัดไปมี 3 แฉก โคนใบรูปเงี่ยงใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 4-8 ซม. มีขนแข็ง มีหูใบรูปเส้นด้าย 6-12 แฉก ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ มีริ้วประดับรูปเส้นด้าย 6-12 แฉก ดอกสีแดงหรือสีเหลือง บานเต็มที่กว้าง 4-5 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ เกสรเพศผู้เป็นหลอดยาว เกสรเพศเมียอยู่ในหลอดเกสรเพศผู้ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล เป็นผลแห้ง รูปรี กว้าง 2 ซม. ยาว 3 ซม. ผิวมีขนแข็ง พอแห้งแตกออกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ดรูปไต

สรรพคุณ

ในประเทศจีนใช้ ราก ใช้เป็นยาแก้ปวดกระเพาะอาหาร บำรุงประสาท ใช้ทาภายนอก แก้บวม แก้เคล็ดขัดยอก และช่วยต่อกระดูกที่หัก ในประเทศเวียดนามทางเหนือ ใช้รากเป็นยาแก้บิด เป็นยาบำรุง แก้เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้วัณโรค แก้ประจำเดือนผิดปกติ แก้ อาการปวดเอว ปวดตามตัว แก้เวียนศีรษะ แก้มุตกิด แก้อาการโรคหนองใน

ใบ,ดอก ใช้ทาถูแก้บวม แก้หิดมีตัว

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news