banner ad

ชา

| January 12, 2015

ชา

สถานการณ์ทั่วไป

ตลาดชาโลกขณะนี้ SUPPLY OVER DEMAND แต่ยังมีผู้ดื่มชาจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องการดื่มชาอินทรีย์ปลอดสารพิษเมขึ้นเช่นกัน พร้อมทั้งชาเพื่อส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย เกษตรกรควรเน้นการผลิตชาให้มีคุณภาพมาตรฐานขั้น PREMIUM TEA มีเอกลักษณ์ของตนเอง และปลอดสารพิษ เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับชาไทยในการจูงใจผู้บริโภค การผลิตชา ค่าดูแลรักษาไร่ชา 30,000 บาท/ไร่/ปี ค่าผลิตใบชาสด 250 บาท/ก.ก. ค่าผลิตใบชาแห้ง 1,600 บาท/ก.ก. ราคาขายในตลาดไต้หวันของชาอินทรีย์ปลอดสารพิษจำหน่ายปลีก 10,000 บาท – 20,000 บาทต่อ ก.ก.(1,000 กรัมและขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์) มีจำนวนผลิตภัณฑ์ชาอินทรีย์ปลอดสารพิษจำหน่ายอยู่ในตลาดเพียง 5 % ของความต้องการของตลาดชาในไต้หวันทั้งหมด ราคาการผลิตเป็น 3 เท่าของราคาการผลิตในประเทศไทย

ชาเขียว(green tea) ไม่มีกระบวนการหมักเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ชาดำ (black tea) มีการหมักมาเกี่ยวข้อง

ชาใบ (ขาจีน) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนที่เป็นใบอ่อน ยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ และก้านใบที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชา ซึ่งนำมาผึ่งให้อ่อนตัว อบหรือคั่วพอหมาด บดคลึงให้ม้วนตัว แล้วทำให้แห้งโดยการอบหรือคั่วหรือย่างอีกครั้งหนึ่ง

ชาผง (ชาฝรั่ง) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนที่เป็นใบอ่อน ยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ และก้านใบที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชาซึ่งนำมาผึ่งให้อ่อนตัว นวดจนฉีกขาดและม้วนตัวแล้วหมัก ให้เกิดกลิ่นและรสเฉพาะแล้วอบให้แห้ง

1.บทนำ

 

ชาเป็นพืชสวนอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากการสำรวจของกองแผนงาน
กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าในประเทศไทยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมประมาณ 74,272 ไร่ ชาจีนพันธุ์ดีประมาณ 3,943 ไร่ โดยผลผลิตชาของโลกเป็นชาดำหรือชาฝรั่ง (Black Tea) ประมาณ 70 % อีก 30 %เป็นชาใบซึ่งรวมถึงชาจีน (Oolong Tea) และชาเขียว (Green Tea) ในแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์ชาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2545 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชาจากต่างประเทศรวม 944 ตัน มูลค่า 119 ล้านบาท และส่งออก รวม 1,681 ตัน มูลค่า 101,76 ล้านบาท จากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าถึง 17.24 ล้านบาท สาเหตุสำคัญที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชาจากต่างประเทศเนื่องจากผลผลิตต่ำ และคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและปรับปรุงพันธุ์ปัจจุบันยังมีขบวนการและขั้นตอนในการผลิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้เครื่องมือแปรรูปชาจีนที่ไม่สามารถควบคุมระบบอุณหภูมิได้ นอกจากนี้ ยังมีการนำชาอัสสัม( Camellia sinensis Var. assamica (L.) Okutzte.) มาแปรรูปเป็นชาจีน(ชาใบ) ทำให้ชาที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ การผลิตชาแต่ละชนิดจำเป็นจะต้องมีพันธุ์ที่เหมาะสม เช่น ยอดชาอัสสัม เหมาะสำหรับแปรรูปเป็นชาฝรั่ง ส่วนยอดชาในกลุ่มชาจีน (Camellia sinensis Var. sinensis (L.) Okutzte.) เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นชาใบ ซึ่งหมายถึงชาจีนและชาเขียว แต่การผลิตชาชนิดต่างๆ ในแหล่งปลูกชาบนพื้นที่สูง ส่วนใหญ่เกษตรกรจะใช้ยอดชาพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นชาลูกผสมระหว่างชาอัสสัมและชาจีน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาที่ได้มีคุณภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาจีน ส่วนผลิตภัณฑ์ชาเขียวซึ่งปัจจุบันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากนั้น ยังมีการผลิตในประเทศน้อยมาก เนื่องจากขบวนการผลิตชาชนิดนี้ยังใหม่สำหรับคนไทย และเครื่องมือที่ใช้ในการแปรรูปมีราคาแพงตลอดจนพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูปยังไม่แพร่หลายในกลู่มผู้ปลูกชา จึงมีปลูกเฉพาะงานวิจันเท่านั้น

สำหรับการปลูกชาในประเทศไทย นั้น แหล่งกำเนิดเกดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ โดยกระจายอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัดที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮองสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก สวนชาส่วนใหญ่ทางภาคเหนือจะเป็นสวนชาเก่าที่ได้มีการตัดต้นไม้สูงออกบางสวน เพื่อให้มีแสงแดดและร่มเงาเหมาะสมกับช่าป่าซึ่งมีชั้นเรือนยอดต่ำกว่าชาวบ้านนิยม เรียกชาพื้นเมืองว่า เมี่ยง ซึ่งมีจำนวนต้นตอไร่ต่ำ ประมาณ
50 200 ต้นต่อไร่ และให้ผลผลิตใบชาสดประมาณ 100-140 กิโลกรัมต่อไร่ ชาวบ้านเก็บใบชาป่าด้วยมือ โดยการเก็บใบชาแก่ครึ่งใบหรืออาจจะเก็บโดยการรูดใบทั้งกิ่งแล้วนำใบมาผลิตเป็นเมี่ยงในปัจจุบัน ช่วงใดที่เมี่ยงมีราคาสูง ใบชาป่าจะถูกนำมาผลิตเป็นเมี่ยง แต่เมื่อเมี่ยงมีราคาถูก ใบชาป่าจะถูกนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตชาจีนขนาดเล็ก ทำให้ชาจีนที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ

2.ปัจจัยที่เหมาะในการปลูกชา

  1. 1. สภาพภูมิอากาศ แหล่งกำเนิดชาธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้น

น้ำอิราดีแล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัดจากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากามานิปุริและลูไซ่ ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่าไปยังมณฑลชีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออก แล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนาม

สำหรับในประเทศไทยนั้น ชามีแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศโดยกระจายอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮองสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก รวมพื้นที่ปลูก 115,708 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นชาที่ให้ผลผลิตแล้ว 105,989 ไร่ ผลผลิตยอดชาสด 57,362 ตัน พื้นที่เหมาะสำหรับการปลูกชาควรเป็นแหล่งที่มีความชื้นในอากาศสูง มีอุณหภูมิต่ำ ควรมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,800 มิลลิเมตร /ปี และกระจายอย่างสม่เสมอ อุณหภูมิที่เหมาะสมระหว่างอ 25-30 องศาเซลเซียส

  1. 2. ระดับความสูงของพื้นที่ ความสูงของพื้นที่ทความสำคัญต่อคุณภาพของใบชามากซึ่งเป็นคุณสมบัติที่

สำคัญของใบชาคุณภาพสูง ในศรีลังกาจึงได้จำแนกพื้นที่ปลูกชาตามระดับความสูงของพื้นที่ โดยใบชาที่ปลูกในพื้นที่สูงจะมีกลี่นรส (aromatic favor ) ดีกว่าใบชาที่ปลูกในพื้นที่ต่ำ ระดับความสูงของพื้นที่จำแนกเป็น 3 ระดับ

  1. Low grown หรือ low country : ระดับความสูงต่ำกว่า 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
  2. Mid grown หรือ mid country : ระดับความสูงระหว่าง 600-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
  3. High grown หรือ high country : ระดับความสูงมากกว่า 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล

จากข้อมูลภูมิอากาศและระดับความสูงของพื้นที่ดังกล่าวทำให้พื้นที่สูงบริเวณจังหวัดภาคเหนือ

ของประเทศไทยมีความเหมาะสมกับการปลูกชาอัสสัมและชาจีนคุณภาพสูงได้

  1. 3. ดินทีเหมาะสมสำหรับการปลูกชา เนื่องจากชาเป็นพืชที่ชอบดินที่มีปฎิกิริยาเป็นกรด ดินควรเป็นดิน

ร่วนมีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายน้ำดี ชาขอบดินกรดจัดถึงกรดปานกลาง ค่าปฎิกิริยาดิน (pH) ระหว่าง 4.5-6.0 ดินที่มีคุณลักษณะดังกล่ว ได้แก่ดินที่กำเนิดจากหินแกรนิตและหินแปรจากหินแกรนิต เช่น หินไนส์(gneiss) หินชีสต์ (schist) ซ่งพบหลายพื้นที่บริเวณพื้นที่สูงภาคเหนือประเทศไทย เช่น ชุดดินดอยปุย (Dp) ชุดดินเชียงแสน(Ce) และชุดดินหนองมด (Nm)

 

3.การจัดการดินและระบบการปลูกชา

3.1การเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูก

ขั้นตอนการเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่เป็นขั้นตอนแรก ที่สาทารถบ่งชี้ได้ว่าการปลูกสร้างสวนชาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าหากสามารถเลือกพื้นที่ได้เหมาะสม และมีการเตรียมพื้นที่ได้ดี ย่อมแสดงว่าสวนชานั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในโอกาสต่อไป ดังนั้น ขั้นตอนนี้จึงจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งขั้นตอนหนึ่ง

3.1.1 การเลือกพื้นที่ ส่วนใหญ่พื้นที่ปลูชาในประเทศไทยจะเป็นแหล่งปลูกตามภูเขาทางภาคเหนือ การเลือกพื้นที่จึงต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์สภาพป่า และสภาพแวดล้อมด้วย พื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปลูกชาควรเป็นแหล่งที่มีความชื้นในอากาศสูง มีอุณหภูมิต่ำ ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,800 มม./ปี และกระจายอย่างสม่ำเสมอ ดินร่วนมีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายน้ำได้ดี ชาชอบดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลางค่าปฏิกิริยาดิน (pH) ระหว่าง 4.5-6.0 อุณหภูมิที่เหมาะสมระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส

จะเห็นได้ว่า พื้นท่ปลูชาทางภาคเหนือของประเทศไทย มีศักยภาพในการปลูกชา แต่ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดการพัฒนาด้านสายพันธุ์ กระบวนการผลิตและส่งเสริมอย่างครบวงจร

3.1.2 การเตรียมพื้นที่ปลูก

1) การเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกสร้างสวนชาใหม่ เมื่อสามารถเลือกพื้นที่ไดแล้ว ต้องเตรียมพื้นที่โดยการกำจัดวัชพืช และไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กออก ส่วนไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีระบบรากลึกและแข็งแรงควรเก็บเอาไว้สำหรับเป็นไม้บังร่มชาในช่วงฤดูร้อน และระบบรากจะช่วยป้องกันการพังทลายของดินในช่วงที่ระบบรากของชา ยังไม่แข็งแรงในการเตรียมพื้นที่ใหม่ ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ควรออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น การสร้างคูรับขอบเขาขั้นบันไดดิน คันซากพืช การปลูกหญ้าแฝก ทางระบายน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้การออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำควรสอดคล้องกับระยะที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชาด้วยคือระยะ 60×120 เซนติเมตร (สามารถปรับเป็น 30×60 เซนติเมตรได้)

2) การเตรียมพื้นที่สำหรับปรับปรุงสวนชาเก่า ส่วนใหญ่มักเป็นการปลูกแซม ซึ่งการปลูกแซมควรพิจารณาด้วยว่าชาที่มีอยู่เดิมเหมาะสมที่จะเก็บไว้หรือไม่ เพราะบางครั้งอาจเป็นแหล่งสะสมโรค การปลูกชาใหม่แซมสวนชาเก่า หลุมปลูกควรขุดให้กว้าง เพื่อป้องกันการแย่งอาหารขณะที่ชาปลูกใหม่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่และควรปลูกแซมให้เป็นแถว เพื่อให้สามารถจัดการต่างๆในสวนชาได้ง่าย การปลูกชาให้ได้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง มีการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และมีความสูญเสียจากการปลูกและการรักษาน้อย จัดได้ว่าประสบผลสำเร็จในการปลูกสร้างสวนชา แต่การจะประสบผลสำเร็จดังกล่าวได้จะต้องมีการจัดการที่ดี ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการจะได้กล่าวต่อไป

3.2 พันธุ์ชา

3.2.1 แหล่งกำเนิดการกระจายพันธ์ชา

ชามีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิรวดีแล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ต่างๆ ลักษณะคล้ายรูปพัดจากด้านทิศตะวันตกระหว่างเทือกเขานากา มานิปุริและลูไซ่ ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่าไปยังมณฑลซินเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออก แล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนาม โดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก ระหว่างเส้นลองจิจูด 95-120 องศาตะวันออก ระยะทางประมาณ 2,400 กิโลเมตร และจากทิศเหนือจรดทิศใต้ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29-11 องศาเหนือระยะทางประมาณ 1,920 กิโลเมตร

3.2.2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชา

ชาจัดเป็นพืชยืนต้นชนิดใบเลี้ยงคู่ จัดอยู่ในวงศ์ (Family) Theaceae หรือ Ternstroemiaceae พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 20 สกุล (Genera) ซึ่งประกอบด้วยพืชชนิดต่างๆ ถึง 200 ชนิด (Species) ลักษณะสำคัญของพืชในวงศ์นี้คือ ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเรียงสลับกัน 1 ข้อมีใบ 1 ใบ แผ่นใบหนา มีสีเขียวสด เส้นใบเป็นแบบ pinnately nerved ไม่มีหูใบ (exstipulate) ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มี symmetry ของดอกเป็นแบบ radial จำนวนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5-7 กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ตำแหน่งรังไข่บนดอกเป็นแบบ superior ovary รังไข่แบ่งออกได้ 3-5 ช่อง (Locule) ผลเป็นแบบแคปซูล (capsule) หรือ berry มักพบว่ามีกลีบดอกติดอยู่บริเวณขั้วผล ในวงศ์นี้มีสกุลพืช (genus) ที่สำคัญคือ พืชในสกุล Camellia L. (2n=30) ลักษณะประจำกลุ่มของพืชในสกุล Camelli พืชในสกุลนี้เป็นพืชไม่ผลัดใบ (evergreen) มีลักษณะทรงต้นเป็นไม้พุ่มและเป็นต้น พฤติกรรมการเจริญเติบโตของพืชในสกุล Camellia นี้ขึ้นอยู่กับลักษณธทางพันธุกรรมของพืชและสภาพแวดล้อมที่ได้รับ โดยทั่วไปการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบจะสลับกับช่วงการให้ดอกออกผล นั่นคือ เมื่อหยุดการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบจะมีการผลิตาดอกขึ้นในกิ่งเดียวกัน โดยตาดอกจะออกบรเวณง่ามใบของกิ่ง และจะเริ่มแทงตาดอกจากใบทางด้านล่างของกิ่งขึ้นมา ในแต่ละข้อของใบจะพบว่ามีดอกติดอยู่จำนวน 5-7 ดอกบนก้านดอกสั้นๆ ส่วนตาดอกยังคงมีตาที่จะเจริญเป็นกิ่งก้านต่อไป โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมการเจริญเติบโตและออกดอกของพืชในสกุลนี้จะสลับกันไปมาระหว่างการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบและการเจริญเติบโตทางด้านการขยายพันธุ์ ซึ่งหมายถึงมีการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ เมื่อหยุดการเจริญเติบตทางด้านกิ่งใบ ตาดอกและส่วนขยายพันธุ์จะมีการเจริญเติบโตต่อ เมื่อสิ้นสุดแล้วจะมีการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบต่อไป สลับกันจนตลอดชีพจักรของพืช พืชในสกุล (genus) นี้มี 12 หมวด(section) ประมาณ 45 ชนิด (species) กระจายอยู่ในเขตรัอน และเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียพืชชนิดที่สำคัญและมีการปลูกแพร่หลายสำหรับใช้เป็นพืชเครื่องดื่ม คือ พืชในหมวด Thea ได้แก่ ชาในกลุ่มพันธุ์ชาจีน กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม และกลุ่มพันธุ์ชาที่เกิดจากการผสมจากชาทั้งสองกลุ่มดังกล่าว นอกจากในสกุล Thea ยังมีพืชในหมวด (section) Camellia พืชในหมวดนี้ส่วนใหญ่จะหมายถึงชาที่ปลูกเพื่อเป็นไม้ดอกไม้ประดับเป็นหลัก พืชในหมวดนี้ที่มีมูลค่าทางด้านการค้า คือ Camellia Japonica L. นอกจากนี้ในพืชหมวดนี้ยังมี Camellia sasanqua Thunberg. ที่มีการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการสกัดน้ำมันจากเมล็ด

3.2.3 พันธุ์ชาที่มีการปลูกในประเทศไทย ชาที่ปลูกในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์หลักคือใช้แปรรูปเป็นเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์อื่นๆ หลายชนิด ในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากทั้งผลิตภัณฑ์ชาใบ ชาฝรั่งและผลิตภัณฑ์ชาอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากชาที่ผลิตได้ในประเทศยังมีคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อันเนื่องมาจากขาดการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการปรับปรุงพันธุ์ ทำให้ผู้ประกอบการนำพันธุ์ชาที่ได้รับการปรับปรุงในต่างประเทศเข้ามาปลูกกันมาก เช่น พันธุ์ชินชิงอู่หลง พันธุ์อู่หลงก้านอ่อน พันธุ์สี่ฤดู เป็นต้น ส่วนใหญ่พันธุ์เหล่านี้เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้แปรรูปเป็นชาอู่หลง นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ชาเพื่อใช้สำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียว 2 สายพันธุ์ คือ แม่จอนหลวง เบอร์ 2 และ เบอร์ 3 แต่สำหรับแหล่งปลูกชาบนเขตที่สูงของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นชาพื้นเมือง ซึ่งเป็นชากลุ่มพันธุ์ชาอัสสัมหรือพันธุ์ลูกผสมระหว่างชาอัสสัมและชาจีน

พันธุ์ชาที่สำคัญในกลุ่มพันธุ์อัสสัม

พันธุ์ชาในกลุ่มพันธุ์อัสสัม นิยมแบ่งตามลักษณะของสีใบ และแหล่งกำเนิด แบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ ดังนี้

  1. สายพันธุ์อัสสัมใบจาง (Light-Leaved Assam Jet) เป็นชาในกลุ่มพันธุ์อัสสัมที่มีทรงพุ่มขนาดเล็ก

ใบมีลักษณะเป็นมันสีเขียวอ่อน ใบยาวประมาณ 12-20 เวนติเมตร เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอ ให้ผลผลิตและคุณภาพต่ำ ถ้านำยอดชามาแปรรูปเป็นชาจีนจะมีสีน้ำตาล

2.สายพันธุ์อัสสัมใบเข้ม (Dark-Leaved Assam Jet) เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในกลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม ยอดและใบมีสีเขียวเข้ม ใบยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่พบบริเวณหุบเขา Brahmaputra และถ้าหากนำยอดชาพันธุ์นี้มาแปรรูปเป็นชาจีน จะได้ชาที่มีสีดำ

3. สายพันธุ์มานิปุริ (Manipuri Jet) เป็นพันธุ์ที่แข็งแรงให้ผลผลิตสูงใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี

4. สายพันธุ์พม่า (Burma Jet) เป็นพันธุ์ที่มีแหล่งกำเนิดบริเวณเทือกเขาในประเทศพม่า มีแผ่นใบกว้างเป็นรูปไข่ สีเขียวเข้ม ใบแก่มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ปลายใบปรากฎอย่างเด่นชัด เป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

5. สายพันธุ์ลูไฉ่ (Lushai Jet) เป็นพันธุ์ที่มีแหล่งกำเนิดบริเวณเทือกเขาลูไฉ่ (Lushai) ในแคว้นคาซ่า (Cachar) มีลำต้นสูงประมาณ 18 เมตร ใบมีขนาดใหญ่กว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตรหยักขอบลึก ปลายใบปรากฎอย่างเด่นชัด

 

 

พันธุ์ชาที่สำคัญในกลุ่มพันธุ์ชาจีน

พันธุ์ชาในกลุ่มพันธุ์ชาจีนที่นิยมปลูก แบ่งออกเป็นสองชนิดตามวัตถุประสงค์ของการแปรรูป ดังนี้

  1. พันธุ์ชาสำหรับใช้แปรรูปเป็นชาจีน (ชนิดชากึ่งหมัก หรือ Semifermented Tea) สายพันธุ์ที่ (Clone)

เช่น หย่วน จืออู่หลง (อู่หลงก้านอ่อน) ชินชิง เบอร์ 12 ทิไกวอิน สุ่ยเชียน ชินชิงต้าพัง ชินชิงอู่หลง ฯลฯ

  1. พันธุ์ชาสำหรับใช้แปรรูปเป็นชาเขียว (Non-fermented Tea) สายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูป

เป็นชาเขียวมีหลายสายพันธุ์ (Clone) เช่น ยาบูกิตะ สะยมะคาโอโออิวาเสะ อะชาฮี โอะคุมิโดริ ยามาโตมิโดริ ฯลฯ

กลุ่มพันธุ์ชาเขมร

สำหรับชาในกลุ่มพันธุ์ชาเขมรเป็นกลุ่มพันธุ์ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ต้องการ ทั้งนี้เพราะถ้าเกิด

การผสมข้ามระหว่างชาในกลุ่มพันธุ์ชาเขมรกับกลุ่มสายพันธุ์ชาอัสสัม หรือผสมข้ามระหว่างชาในกลุ่มพันธุ์ชาเขมรกับกลุ่มพันธุ์ชาจีน หรือผสมข้ามระหว่างชาในกลุ่มพันธุ์ชาเขมรกับกลุ่มชาลูกผสม จะทำให้ลูกผสมที่ได้มีคุณภาพต่ำ ไม่สามารถใช้แปรรูปเป็นชาคุณภาพดีตามความต้องการของตลาดได้ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้ชาในกลุ่มนี้ถูกกำจัดจากแปลงปลูกจนมีจำนวนลดลงมากในปัจจุบัน

3.3. การปลูกชา เมื่อเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูกชาได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการกำหนดระยะปลูก และการ

เตรียมหลุมปลูก ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

3.1.1 การกำหนดระยะปลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของชา การจัดการในสวนชาและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ สำหรับในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการปลูกชาในกลุ่มชาจีนเป็นหลัก

สำหรับพื้นที่ที่ปลูกที่เป็นพื้นราบ ระยะปลูกที่เหมาะสม ง่ายต่อการดูแลรักษาและให้ผลผลิตเร็ว คือระยะระหว่างแถว 180 เซนติเมตร ระหว่างต้น 30-40 เซนติเมตร หรืออาจปลูกเป็นแถวคู่สลับฟันปลา ระยะห่างระหว่างต้นแบบแถวคู่ 40-50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว (แต่ละคู่) 30-50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างคู่ 180 เซนติเมตร (การปลูกแบบนี้จะให้ผลผลิตได้เร็วกว่า แต่ใช้จำนวนต้นกล้ามากว่า)

ส่วนพื้นที่ปลูกที่เป็นไหล่เขาที่มีการทำขั้นบันได ระยะห่างระหว่างต้นสามารถใช้ระยะเดียวกันได้ แต่ระยะระหว่างแถวขึ้นอยู่กับระยะห่างของขั้นบันไดเป็นหลัก (ปกติมักใช้ระยะห่างของขั้นบันไดประมาณ 2 เมตร) ถ้าหากเป็นการปลูกเป็นแถวคู่ขนาดของขั้นบันไดจะต้องกว้างอย่างน้อย 230 เซนติเมตร

3.3.2 การเตรียมหลุมปลูก เนื่องจากระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ดังนั้นการเตรียมหลุม

ปลูกจึงสามารถใช้วิธีการขุดหลุมเป็นร่องยาวตามแถวปลูก ความกว้างของร่องประมาณ 30-45 เซนติเมตร ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร การเตรียมหลุมปลูกควรดำเนินการในช่วงฤดูแล้ง สำหรับการย้ายปลูกในฤดูฝนถัดไป

3.3.3 การย้ายปลูก การปลูกชาเพื่อให้ได้ต้นชาที่มีความสม่ำเสมอ ง่ายต่อการควบคุมทรงพุ่ม

นิยมใช้ต้นกล้าที่ได้จากการปักชำ กล้าชาจากการปักชำที่เหมาะสมต่อการย้ายปลูก จะใช้ต้นกล้าอายุประมาณ

16-18 เดือน (ปักชำประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน)

- หลังจากย้ายกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ทำการตัดยอดที่ระดับความสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร

- ควรคลุมโคนต้นกล้าด้วยฟางข้าวหรือเศษวัชพืช เพื่อป้องกันความชื้นในดินหลังการย้ายปลูก

- การให้ร่มเงาแก่ต้นกล้าในระยะแรกเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก หลังจากย้ายปลูกระบบรากของต้นกล้ายังไม่

แข็งแรง การปล่อยให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดจัดโดยตรงอาจทำให้ต้นกล้าตาย เนื่องจากสูญเสียน้ำได้ง่าย เพื่อป้องกันการสูญเสียดังกล่าว จึงควรปลูกไม้บังร่มที่เป็นไม้ล้มลุกโตเร็วก่อนการย้ายปลูกประมาณ 1-2 เดือน พืชบังร่มที่เหมาะสมใน ระยะแรกเช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วมะแฮะ เป็นต้น

4. การดูแลรักษา

4.1 การจัดทรงพุ่มและตัดแต่งชา

การตัดแต่งเป็นขั้นตอนที่สัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณ และคุณภาพผลผลิตชาการจัด

แต่งทรงพุ่มที่เหมาะสมจะทำให้ชาสามารถให้ผลผลิตได้นาน และสะดวกต่อการดูแลรักษาสวน ในที่นี้จะขอแบ่งการตัดแต่งออกเป็นสองลักษณะ คือการจัดทรงพุ่มใหม่ (Training) และการตัดแต่งทรงพุ่ม (Pruning)

- การจัดทรงพุ่มใหม่ (Training) เป็นการตัดแต่งเพื่อบังคับทรงพุ่มของชาให้เตี้ย และ

เจริญเติบโตทางด้านข้าง การตัดแต่งในลักษณะนี้กระทำครั้งแรกหลังย้ายกล้าปลูก โดยตัดยอดต้นกล้าที่ระดับความสูง 10-15 เซนติเมตร (ในช่วงฤดูฝนสำหรับประเทศเขตร้อนและในช่วงฤดูใบไม้ผลิ สำหรับประเทศเขตหนาว) หลังจากตัดยอดครั้งแรกหลังย้ายปลูก จะปล่อยให้ต้นชามีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ สำหรับในแหล่งปลูกในต่างประเทศซึ่งมีสี่ฤดู หลังจากย้ายปลูกจะปล่อยให้ต้นกล้ามีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเริ่มควบคุมทรงพุ่มอีกครั้งในปีที่ 2 เมื่อต้นชาอายุ 2 ปี จึงตัดยอดเพื่อควบคุมทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร (กระทำในช่วงเดียวกันกับการคุมทรงพุ่มครั้งแรก) เมื่อต้นชาอายุ 3 ปี จึงตัดยอดเพื่อควบคุมทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร (กระทำในช่วงเดียวกันกับการคุมทรงพุ่มครั้งที่ 2 หรือเมื่อชาอายุ 2 ปี) โดยปล่อยให้ชาแตกกิ่งข้างได้เต็มที่ทรงพุ่มชาจะเริ่มชนกัน เมื่อต้นชาอายุ 4 ปี จึงตัดยอดเพื่อควบคุมทรงพุ่มที่ระดับเก็บผลผลิตความสูงประมาณ 40-45 เซนติเมตร เมื่อายุประมาณ 4 ปี สามารถเก็บยอดชาเพื่อแปรรูปเป็นชาชนิดต่างๆ ได้

-การตัดแต่งทรงพุ่ม (Pruning) การตัดแต่งทรงพุ่มส่วนใหญ่กระทำเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ผลผลิต เป็นการรักษาระดับความสูงให้เหมาะสมต่อการจัดการ ช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง ช่วยเพิ่มคุณภาพของยอดชาสด และเพิ่มผลผลิต การตัดแต่งทรงพุ่ม แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตามความรุนแรงของการตัดแต่งดังนี้

- Skiffing เป็นการตัดแต่งให้พุ่มชาอยู่ในแนวระดับเก็บ

- Light Pruning เป็นการตัดแต่งเพื่อเพิ่มกิ่งก้านและทำความสะอาดทรงพุ่ม

- Medium Pruning เป็นการตัดแต่งเพื่อลดระดับความสูงของทรงพุ่มชา

- Heavy Pruning เป็นการตัดแต่งเพื่อจัดโครงสร้างทรงพุ่มใหม่

- Collar Pruning เป็นการตัดแต่งให้ได้ต้นใหม่

หลังจากจัดทรงพุ่มใหม่ในชาปลูกใหม่เสร็จ (ชาจะมีอายุประมาณ 4 ปี) ระดับความสูงของทรงพุ่ม

ประมาณ 40-45 เซนติเมตร (ตัดแต่งก่อนฤดูหนาว) เมื่อชาพ้นจากการพักตัวจะเริ่มแตกยอดใหม่ (ประมาณปลายเดือนมีนาคมในประเทศเขตหนาว) ปล่อยให้ยอดชามีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อถึงช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม จึงทำการเก็บยอดชา ยอดชาที่ได้เรียกว่าชาอันดับที่ 1) ในแต่ละปีจะเก็บยอดชาได้ 3 ครั้ง หลังจากเก็บยอดชาครั้งที่ 3 (ปรมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนตุลาคม) ระดับความสูงของทรงพุ่มชาจะประมาณ 46-51 เซนติเมตร จึงปล่อยให้ชามีการแตกยอดใหม่และเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ก่อนชาจะพักตัวจึงตัดทรงพุ่มชาให้เหลือความสูงประมาณ 50-55 เซนติเมตร เรียกการตัดแต่งนี้ว่า Light Skiffing เป็นการตัดแต่งประจำทุกปี ทรงพุ่มชาจะสูงขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร ในทุกๆ 3 ปี (ความสูงทรงพุ่มจะประมาณ 70-80 เซนติเมตร จึงตัดทรงพุ่มให้เตี้ยลงมาให้เหลือระดับความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร การตัดแต่งนี้เรียกว่า Deep Skiffing

เมื่อชาให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีและผ่านการตัดแต่งกิ่งหลายครั้งจะมีกิ่งสั้นๆ เนื่องจากการตัดแต่งทุกครั้งจะตัดเหนือระดับเดิมเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากเกิดความหนาแน่นของกิ่งสั้นๆ (ตีนกา) มากเกินไป ทำให้การแตกยอดใหม่ของชาลดลง ดังนั้นจึงควรทำการตัดกิ่งเหล่านี้ทิ้ง พร้อมทั้งตัดให้เกิดระดับการให้ผลผลิตขึ้นใหม่ ซึ่งกระทำได้โดยการตัดทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร การตัดแบบนี้เรียกว่า Medium Pruning (ปกตินิยมกระทำทุก 4-5 ปี) และเมื่อชามีการให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ต้นชาทรุดโทรมให้ผลผลิตลดลง การแตกกิ่งแขนงลดลง ควรตัดแต่งเพื่อจัดกิ่งหลักใหม่ โดยตัดแต่งที่ระดับความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร และปล่อยให้ต้นชามีการแตกกิ่งใหม่เรียกหารตัดแต่งนี้ว่า Heavy Pruning

ส่วนการตัดแต่งชาที่มีความทรุดโทรมมาก เพื่อเป็นการทำหนุ่มสาวใหม่ (rejuvinility) นั้น ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพของต้นชาเป็นหลัก สำหรับชาที่ขาดการดูแลรักษาจะทรุดโทรมเร็วกว่าชาที่มีการดูแลรักษาดี ซึ่งจำเป็นต้องทำหนุ่มสาวใหม่ (rejuvinility) ก่อน โดยการตัดชาทั้งต้นที่ระดับคอดิน และปล่อยให้มีการแตกกิ่งตั้งทรงพุ่มใหม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงจะเริ่มให้ผลผลิตได้ใหม่ การตัดแต่งแบบนี้เรียกว่า Collar Pruning

4.2 การให้น้ำ

การปลูกชาของเกษตรกรทางภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักไม่คำนึงถึงระบบการให้น้ำแก่ต้นชาในแปลงปลูก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ระบบการชลประทานแก่พืชในแปลงปลูกควรต้องคำนึงถึงตั้งแต่เริ่มแรก ทั้งนี้เนื่องจากการปลูกพืชโดยไม่มีระบบชลประทานที่ดี มักประสบปัญหาการขาดน้ำของชา ในระยะที่ชายังมีอายุน้อยและในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ชาชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง การให้น้ำแก่แปลงปลูกชากระทำได้หลายวิธี เช่น การปล่อยน้ำท่วมแปลง การให้น้ำตามร่องระหว่างแถวปลูก หรือการปล่อยน้ำไหลตามความลาดเอียงของขั้นบันได (ไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซ็นต์) การให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย หรือการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด

4.3 การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยแนะนำให้ใช้ปุ๋ยผสมสูตร 80-24-26 โดยในปีที่ 1 ใส่อัตรา 20 กก./ไร่ ปีที่ 2 ใส่

อัตรา 40 กก./ไร่ ปีที่ 3 ใส่อัตรา 60 กก./ไร่ หลังจากปีที่ 4 เป็นต้นไปใส่อัตรา 80 กก./ไร่ (ช่วงต้นและปลายฤดูฝน) และทุกปีควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ญหมักอย่างน้อยปีละ 2 ตัน (แนะนำให้ใส่ช่วงปลายฤดูฝน)

4.4 การคลุมดิน

การคลุมดินส่วนใหญ่นิยมกระทำเพื่อรักษาความชื้นในดิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง การ

คลุมดินยังมีประโยชน์ในแง่ของการลดปริมาณวัชพืชด้วย นอกจากนี้วัสดุคลุมดินยังช่วยให้อุณหภูมิของดินไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งเป็นที่ต้องการของชา และถ้าหากใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ ก็จะสลายตัวเป็นธาตุอาหารของชาต่อไป สำหรับแหล่งปลูกทางภาคเหนือของไทยวัสดุที่หาง่ายและเหมาะสำหรับใช้คลุมดินในแปลงปลูกชา เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่วเหลือง ตอซัง ข้าวโพด แกนข้าวโพดป่น เป็นต้น

5. การป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญ

5.1.1 โรคที่ใบ

1) โรคใบพุพอง (Blister blight)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Exobasidium vexsans (Massee)

ลักษณะอาการ เริ่มแรกเกิดจุดกลม โปร่งแสงสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองอมเขียวบนใบอ่อนและก้านอ่อน ต่อมาเมื่อแผลขยายมีผลทำให้ใบบิดงอห่อหรือเป็นรูปถ้วย และทำให้ก้านใบโค้งงอ เมื่อสังเกตดูแผลบนผิวใบด้านล่าง หรือก้านใบที่เป็นโรค จะพบกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายผงแป้ง หลังจากนั้นประมาณ 3-7 วัน แผลพุพองจะเปลี่ยนเป็นสีดำ หยุดการสร้างสปอร์และตายในที่สุด

การแพร่ระบาด เชื้อราสร้างสปอร์ (basidiospore) บนแผลพุพองที่มีสีขาวแพร่กระจายไปโดยลมและละอองน้ำฝน เข้าทำลายใบ และก้านอ่อนของชาในสภาพที่มีความเปียกชื้นนาน 8-10 ชั่วโมง ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการติดเชื้อแผลจะพัฒนาให้เห็นอาการและพัฒนาเป็นแผลพุพองที่มีสีขาว หลังจากนั้นแผลพุพองจะเปลี่ยนเป็นสีดำ หยุดการสร้างสปอร์และตายในที่สุด โดยมีวงจรชีวิตนาน 3-4 สัปดาห์ เชื้อราสาเหตุของโรคที่มีระยะการพักตัวหรืออยู่ข้ามฤดูบนต้นชา และไม่พบการสร้างสปอร์บนแผลพุพองที่ตายแล้ว

การป้องกันกำจัด

1.ตัดแต่งกิ่งและบาเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องอย่างทั่วถึง (เหลือไว้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์) การตัดแต่งทรงพุ่มประจำปีก่อนการพักตัวไม่ควรปฏิบัติก่อนปลายเดือนพฤศจิกายน

2. หมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ เมื่อพบต้นชาเป็นโรคแผลอยู่ในระยะเริ่มต้น ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาไฟหรือฝังดิน กรณีพบต้นชาเป็นโรคแผลอยู่ในระยะพุพองมีสีขาว ไม่ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกหรือเคลื่อนย้ายส่วนที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของแปลง เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของสปอร์ และควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือคอปเปอร์ออกไซด์ อัตรา 50-65* กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ อัตรา 40-50* กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่ง และพ่นซ้ำอีกครั้งภายหลังการพ่นครั้งแรกเป็นเวลา 4-5 วัน เมื่อต้นชาอยู่ในระยะแตกใบอ่อนหรือต้นฤดูฝน กรณีพบการระบาดในช่วงกลางฤดูฝน ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว โดยมีช่วงการพ่นทุก 4-5 วันต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 เดือน และเว้นช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นเวลา 7 วัน

* หมายเหตุ สารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภททองแดงอัตราความเข้มข้นต่ำ สำหรับสภาพในฤดูฝนทั่วไป และอัตราความเข้มข้นสูง 65 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีหมอกจัดและท้องฟ้าปิด

2) โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown blight)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum camelliae

ลักษณะอาการ แผลมักเกิดบริเวณขอบใบและขยายลุกลามเข้าไปด้านใน อาการเริ่มแรกเนื้อเยื่อด้านบนใบมีลักษณะสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแก่ จากนั้นบริเวณกลางแผลจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาขยายออกมาด้านนอก เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์ (fruiting body) เป็นจุดเล็กๆสีดำกระจายทั่วไปบนเนื้อเยื่อแผลด้านบนใบ

การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดไปกับลม ฝน และน้ำค้างเจริญเข้าทำลายใบชาในสภาพที่มีความชื้นสูง โรคใบจุดสีน้ำตาลมักเกิดบนใบชาที่อ่อนแอ ที่เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1) การทำลายอย่างรุนแรงของไรแดง 2) ดินขาดธาตุไนโตรเจน 3) การไม่มีไม้ร่มเงา 4) การเข้าทำลายของแมลงต่างๆ เช่น หนอนแมลงกัดกินใบ มวนยุง เป็นต้น 5) การทำลายของลูกเห็บ 6) ดินที่มีน้ำท่วมขัง 7) การครุดไถทำให้ใบชาเป็นแผล 8) กรณีต้นชายังเล็ก มีการให้ร่มเงาหรือใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป และ 9) การเข้าทำลายของโรคเน่าดำที่เกิดจากเชื้อรา Corticium theae และ C. invisum

การป้องกันกำจัด เนื่องจากโรคปรากฎให้เห็นบนใบที่อ่อนแอ การแก้ไขปัญหาของความอ่อนแอที่ใบดังกล่าว จะทำให้โรคทุเลาเบาบางลง โดยไม่มีความจำเป็นต้องพ่นควบคุมด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

5.2 การป้องกันกำจัดแมลง

1) มวนยุง (Tea Mosquito Bugs)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Heiopeltis sp. เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายยุง ลำตัว ปีกและขามีสีดำ ท้องสีเขียว กลางหลังจะมีสีเหลือง

ลักษณะการทำลาย มวนยุงจะเข้าทำลายทั้งยอดอ่อนและใบเพสลาด โดยใบชาที่ถูกทำลายจะมีรอยแผลเป็นวงเล็กๆ หรือเป็นจุดๆ ทำให้ยอดและใบอ่อนเมื่อนำมาแปรรูปและชงจะแสดงอาการเป็นวงหรือจุดในกากชา

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ฤดูแล้ง

การป้องกันกำจัด ทำลายพืชอาศัยอื่น (เช่น ชาทอง) ร่วมกับการใช้สารไล่แมลง

2) เพลี้ยอ่อน (Aphid)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aphis glycines Glover. เป็นแมลงศัตรูชาที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวอ่อนมีสีเหลืองอมเขียวขนาดเท่ากับหัวไม้ขีดไฟหรือเล็กกว่า เมื่อโตขึ้นจะมีสีคล้ำเป็นสีเขียวหม่นอมเทา ตัวแก่มีสีดำและมีปีกบินได้

ลักษณะการทำลาย จะเข้าทำความเสียหายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง และมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ทำให้รู้ว่ามีเพลี้ยอ่อนระบาดนั่นคือ จะมีมดอยู่ตามต้นที่มีเพลี้ยอ่อนทำลาย ชาที่ถูกเพลี้ยอ่อนทำลายจะคลี่ออกไม่เต็มที่ ใบหงิกม้วน ยอดมีสีซีดจาง

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ฤดูแล้ง

การป้องกันกำจัด ถ้าพบเพลี้ยอ่อนทำลายในปริมาณไม่มากนัก และสภาพอากาศฝนตก (ช่วงฤดูฝน) ไม่ควรตัดสินใจใช้สารเคมี ถ้ามีการระบาดมากให้ใช้คาร์บาริล 0.5 % อัตราตามคำแนะนำให้พ่นทั่วทรงพุ่ม

3) เพลี้ยไฟ (Thrips)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothrips dosalis ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของลำต้นและใบไม้

ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟสามารถทำลายพืชทั้งระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย โดยใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ตาดอก ดอก และผลอ่อน ทำให้ยอดใบอ่อนหงิกงอ ใบแห้งกรอบ ไม่เจริญเติบโต ขอบใบม้วน อาการที่พบส่วนมาก ถ้าทำลายบางส่วนจะทำให้เกิดแผลเป็นรอยสะเก็ดสีน้ำตาล ในระยะใบเมื่อเกิดการทำลายจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด ให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย และคาร์บาริล 0.5 % การเลี้ยงผึ้ง จะเป็นประโยชน์ทางอ้อมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เนื่องจากผึ้งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยไฟ

4) หนอนม้วนใบ (Tea Tortris Catterpillar)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Homona coffearia (Niether)

ลักษณะการทำลาย จะทำความเสียหายต่อใบและยอดอ่อนของชา โดยหนอนจะนำใบมาติดกันแล้วกัดกินใบ ตัวแม่เป็นผีเสื้อกลางคืน ออกวางไข่บนใบชาเป็นกลุ่มๆ ละ 100 ฟองหรือมากกว่านั้น ไข่จะฟักเป็นตัวบุ้งโตเต็มที่ยาว 12-20 มิลลิเมตร เมื่อเข้าดักแด้จะใช้ใบชาสร้างรัง

ช่วงเวลาการเข้าทำลาย ฤดูการให้ผลผลิตชา (ปลายฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูหนาว)

การป้องกันกำจัด มีแตนเบียนหลายชนิดลงทำลายแมลงชนิดนี้ในชวา อินโดนีเซีย ในศรีลังกา ได้มีการนำเข้าแมลงเบียน Microcentrus homonae Nixon และทำการตัดแต่งกิ่งชาเป็นประจำทุกปี

 

5.3 การป้องกันกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชในชา ทำได้โดย

- ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว

- ปลูกพืชแซมในขณะที่ชายังเล็กทรงพุ่มยังแผ่ไม่ชนกัน

- ใช้รถหรือเครื่องตัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก

หมายเหตุ ไม่ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูชา และวัชพืชโดยไม่จำเป็น

6. การเก็บเกี่ยวชา

การเก็บยอดชาโดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ ใช้มือเด็ด ใช้กรรไกรตัด และการเก็บยอดชาโดยใช้เครื่องจักร

6.1การเก็บยอดชาโดยใช้มือเด็ด นิยมใช้ในสวนชาขนาดเล็ก หรือสวนชาที่ปลูกตามไหล่เขาซึ่งไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องจักร หรือสวนชาที่ต้องการผลิตชาคุณภาพสูงและมีราคาแพง การเก็บยอดชาโดยวิธีนี้ทำให้สามารถเลือกขนาดของยอดชาได้ แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานสูง นอกจากนี้หากแรงงานที่จ้างมีคุณภาพต่ำ เช่น ขาดความรู้ในการเก็บหรือเก็บยอดชาโดยไม่ระมัดระวังจะทำให้ยอดชาสดที่ได้มีคุณภาพต่ำไปด้วย ถ้าหากเป็นแรงงานที่มีความรู้ความสามารถ อัตราค่าจ้างจะสูง เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้สูงตามไปด้วย นอกจากนี้การเก็บยอดชาด้วยมือจะทำให้ความสูงของทรงพุ่มชาหลังการเก็บยอดไม่สม่ำเสมอยากแก่การเก็บยอดในครั้งต่อไป แต่อย่างไรก็ดีการเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้สามารถเลือกยอดชาที่มีคุณภาพดีไปทำการผลิตชาคุณภาพดีได้ สำหรับแรงงานที่มีคุณภาพสามารถเก็บได้ประมาณ 10-15 กิโลกรัม/วัน

6.2 การเก็บยอดชาโดยการใช้กรรไกรตัด วิธีนี้นิยมใช้ในสวนชาขนาดเล็ก หรือสวนชาที่มปลูกตามไหล่เขาซึ่งไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องจักร การเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้สามารถเก็บยอดชาได้มากกว่าการเก็บด้วยมือ แต่ไม่สามารถเลือกขนาดของยอดชาได้ สามารถเก็บได้ประมาณ 60-100 กิโลกรัม/วัน

6.3 การเก็บยอดชาโดยใช้เครื่องจักร วิธีการเก็บยอดชาด้วยเครื่องจักร เหมาะสำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่หรือสวนที่ปลูกชาในพื้นที่ที่สามารถใช้เครื่องทุ่นแรงได้ การเก็บยอดชาด้วยเครื่องจักร จะไม่สามารถเลือกขนาดของยอดชาได้ ดังนั้นการเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้ จึงต้องกำหนดเวลาการเก็บด้วยการตัดแต่ง ดังเช่นในประเทศญี่ปุ่นหลังจากทำการตัดแต่งในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ชาจะพักตัวและเริ่มแตกยอดใหม่ประมาณเดือนมีนาคม ยอดใหม่นี้จะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี การจัดการสวนชาด้วยวิธีนี้ จำเป็นต้องมีช่วงเวลาในการจัดการดูแลรักษาด้านต่างๆ ที่แน่นอน

7. การแปรรูป

การดูแลรักษาสวนชาที่ดีจะทำให้ได้ผลผลิตสูง และคูภาพของวัตถุดิบเหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นชาชั้นดีชนิดต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามคุณภาพชายังขึ้นอยู่กับกระบวนการแปรรูปด้วย

7.1 ขั้นตอนการแปรรูปชาที่สำคัญมีดังนี้

ยอดชาสด การผลิตชาให้ได้คุณภาพดีต้องเริ่มจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ยอดชาที่ดีที่สุดในการผลิตชาคือยอดชาที่มี 1 ยอดกับ 2 ใบและเก็บเกี่ยวด้วยมือใส่ในภาชนะ เช่น ตะกร้า กระสอบ ยอดชาต้องไม่อัดแน่นเพราะจะทำให้ยอดช้ำเสียหาย เกิดความร้อนจากการหายใจของใบชาทำให้เกิดการหมักขึ้น และเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 43 องศาเซลเซียส สารแทนนินในใบชาจะเข้มข้นขึ้น มีผลต่อรสและสีของน้ำชา

การผึ่งชา (withering) ยอดชาหลังจากถูกเก็บจากต้น ใบชาจะค่อยๆ คายน้ำ ทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี สภาพใบจะเหี่ยว อ่อนนุ่ม มีความยืดหยุ่น ผนังเซลล์จะค่อยๆเปลี่ยนแปลงมีการซึมผ่านของสารต่างๆจากภายนอกเซลล์และภายในเซลล์เกิดการผสมผสานของสารต่างๆในใบชา โดยมีเอ็นไซม์ช่วยในปฏิกิริยาทางชีวเคมีเหล่านี้ ปกติในใบชาจะมีน้ำประมาณ 70-80 % ทำให้เซลล์มีลักษณะเต่งตัว ขัดขวางการทำปฏิกิริยาเคมีของสารต่างๆในใบชา การผึ่งใบชาจะช่วยลดปริมาณน้ำในใบชาลง การเปลี่ยนทางเคมีของใบชาจะดำเนินไปตามธรรมชาติอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดสารประกอบโพลีฟีนอล กรดอะมิโน และคาร์โบไฮเดรทเพิ่มขึ้น สารประกอบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อสีกลิ่นและรสของน้ำชา ใบชาที่ผึ่งได้ดีเมื่อนำยอดชามาทดลองหักงอ ยอดชานั้นจะไม่หัก และในช่วงผึ่งชานี้จะเริ่มมีกลิ่นหอมออกมาบ้าง

การคั่วชาหรือนึ่งชา (Firing or Steaming) เป็นขั้นตอนที่ใช้หยุดปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เกิดขึ้น การคั่วหรือนึ่งจะทำลายเอ็นไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส (polyphenoloxidase) ที่อยู่ในใบ และทำให้ใบอ่อนนุ่มเหมาะสำหรับขั้นตอนการนวดชา

การนวดชา (Rolling) เป็นขั้นตนการขยี้ใบชาให้เซลล์เนื้อเยื่อของใบชาแตก ทำให้สารประกอบต่างๆ ในใบชาออกมานอกเซลล์คลุกเคล้าทำปฏิกิริยาเคมีและเคลือบอยู่ส่วนต่างๆ ของใบชา เมื่อชงชาทำให้สารเหล่านี้สลายออกมาในน้ำร้อนได้ง่าย นอกจากนั้นจะทำให้ใบชาเข้าตัวกันเป็นเกลียวตามความต้องการ การนวดจะเริ่มจากนำใบชาใส่เครื่องนวด ใช้น้ำหนักหรือแรงกดเบาๆ แล้วจึงเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายให้น้ำหนักมากที่สุด

การหมักชา (Fermentation) เพื่อให้ได้กลิ่น รส และสีของน้ำชา ชาจะเริ่มเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือเริ่มเกิดการหมักตั้งแต่การผึ่งใบชา การนวดใบชาจากเครื่องนวดและจะดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถูกหยุดกระบวนการหมักด้วยการคั่วและอบ ในชาฝรั่งจะดำเนินการให้เกิดภาวะการหมักตัวอย่างเต็มที่จริงๆ หลังจากผ่านเครื่องนวดและตัดใบชาผ่านตะแกรงร่อนแล้ว นำส่วนใบชาที่ผ่านตะแกรงร่อนเข้าห้องหมักชาที่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจน ความชื้น ฯลฯ ที่เหมาะสมต่อการหมักได้ โดยเกลี่ยใบชาบนโต๊ะหมัก หรือชั้นหมักชา ความหนาของใบชาที่เกลี่ยเป็นปัจจัยสำคัญต่อปฏิกิริยาเคมี ซึ่งต้องอาศัยออกซิเจนเป็นตัวช่วย โดยทั่วไปจะเกลี่ยชั้นหนาประมาณ 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) ระยะเวลาการหมักตั้งแต่ 1-3 ชั่วโมง ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆในโรงงานขนาดใหญ่ทันสมัยจะใช้เครื่องหมักซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ตามความต้องการ ทำให้ควบคุมคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น

การอบแห้ง (Drying) ชาที่หมักได้ที่แล้วจะนำเข้าเครื่องอบแห้งซึ่งมีอยู่หลายแบบ วัตถุประสงค์หลักคือต้องการหยุดยั้งปฏิกิริยาหรือหยุดการหมักของชาและลดความชื้นในใบชาลงเหลือ 3-5% เพื่อเก็บรักษาและบรรจุต่อไป โดยทั่วไปเครื่องอบจะใช้สายพานโซ่ลำเลียง ชาหมักจะป้อนทางด้านบนและชาแห้งจะออกด้านล่าง ลมร้อนที่ใช้อบแห้งก่อนเข้าตูอบจะมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 84-94 องศาเซลเซียส อัตราการลดความชื้นหรืออัตราการระเหยน้ำที่เหมาะสมอยู่ประมาณ 12-13 กรัมต่อลูกบาศก์เมตรของลมร้อน เวลาที่ใช้อบแห้ง เครื่องทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ชาแห้งจะมีความชื้นประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์

การคัดบรรจุ (Sorting & Packing) ชาแห้งหลังจากอบจะถูกนำมาคัด ร่อนแยกก้านด้วยมือหรือเครื่องมือต่างๆ เช่น เครื่องแยกตะแกรง เครื่องคัดขนาดด้วยลม เครื่องแยกก้านใบเพื่อให้ได้ชาเกรดต่างๆ เสร็จแล้วนำมาบรรจุในถุงเพื่อจำหน่ายต่อไป

7.2 ขนาดของยอดชาที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูป

- ชาจีน ควรเก็บเมื่อใบยอดคลี่ออกเต็มที่อย่างน้อย 5 ใบ โดยเลือกเก็บยอดที่มี 3 ใบ (2 ใบบาน 1 ยอดตูม)

- ชาเขียว ควรเก็บเมื่อใบยอดคลี่ออกเต็มที่อย่างน้อย 7 ใบ ประมาณ 70% ของพื้นที่ โดยเก็บยอด 1 ยอดตูม 4 ใบบาน

- ชาฝรั่ง เลือกเก็บแบบเดียวกับชาจีน ถ้าเก็บใบมากว่าที่กำหนดจะได้ชาฝรั่งคุณภาพต่ำ

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news