banner ad

หนาดใหญ่

| January 6, 2015

หนาดใหญ่ (Nat yai)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Blumea balsamifera (L.) DC.

ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)

ชื่อสามัญ :Ngaicamphor tree

ชื่ออื่นๆ : ตั้งโฮงเช้า ใบหลม ผักชีช้าง พิมเสน (ภาคกลาง) หนาด (จันทบุรี) คำพอง หนาดหลวง (ภาคเหนือ) จะบอ (มลายู-ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หนาดใหญ่เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1-4 ม. แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-20 ซม. ยาว 8-40 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน แผ่นใบมีขนสีขาวหนาแน่นทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีเหลือง มีทั้งดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศ ดอกสมบูรณ์เพศ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเป็นแฉกแหลม ดอกเพศเมียหลอดจะเล็กเรียว ปลายแยกเป็น 2-4 แฉก มีริ้วประดับหลายชั้น รูปขอบขนาน มีขนหนาแน่น ผล เป็นผลแห้ง สีน้ำตาล ยาวประมาณ 1 มม. มีขนสีขาว

สรรพคุณ

ใบ เป็นยาขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ หรือบดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้งสูบ รักษาโรคหืด ใบสดหั่นเป็นฝอย เหมือนยาเส้นตากแห้งพอหมาดๆ มวนกับยาฉุนสูบแก้ริดสีดวงจมูก

ราก ต้มน้ำดื่ม แก้หวัด และดับกระหาย

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news