banner ad

หวดหม่อน

| January 6, 2015

หวดหม่อน (Huat Man)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Clausena excavata Burm.f.

ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ชื่อสามัญ -

ชื่ออื่นๆ : สีสม หมอน้อย (ภาคน้อย) หัสคุณ อ้อยช้าง (สระบุรี) รุย (กาญจนบุรี) ขี้ผึ้ง แสนโสก (นครราชสีมา) สามเสือ (ชลบุรี) สามโสก (จันทบุรี) สันโสก (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) เพี้ยฟาน หญ้าสาบฮิ้น หมี่ (ภาคเหนือ) สมัดใบใหญ่ หัสคุณโคก (เพชรบูรณ์) ชะมัด (อุบลราชธานี) มะหลุย (ภาคใต้) มุยใหญ่ (ภูเก็ต) ยม (ชุมพร) สำรุย (ยะลา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หวดหม่อนเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1.5-4 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทาเป็นร่องตามยาว กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 15-30 ใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว แผ่นใบล่างมีขนประปราย ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็นแฉกแหลม สีเขียว กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน เกสรเพศผู้ล้อมรอบเกสรเพศเมียมี 9-10 อัน ผล รูปกระสวยขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีแดง

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

ใบหรือทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาไข้มาลาเรีย วัณโรค เป็นยาแก้พิษ ต้มน้ำอาบหรืออบไอน้ำ แก้โรคผิวหนัง คัน ฆ่าเชื้อโรค ตำพอกหูด แผลสด ห้ามเลือด แผลถลอก ฆ่าหิด เหา

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news