banner ad

อัคคีทวาร

| November 12, 2014

อัคคีทวาร (Akkhi thawan)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B. Clarke

วงศ์ : LAMIACEAE (LABIATAE)

ชื่ออื่น : ตรีชวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน อัคคี (ภาคกลาง, เชียงใหม่)

 

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

อัคคีทวารเป็นไม่พุ่ม สูง 1-4 ม. เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน บางข้อมี 3-4 ใบ เรียงรอบข้อ รูปรียาว โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีม่วงอมฟ้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดไม่เท่ากัน ผล รูปค่อนข้างกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อน สีเขียว แก่เป็นสีดำ เมล็ดเดี่ยว รูปกลมรี สีดำ

การขยายพันธุ์ : การปักชำ การเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

ใบ มีรสขื่นร้อน ตำพอกแก้ปวดศีรษะ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน ใบแห้ง บดโรยไฟรุมสุมหัวริดสีดวงทวาร

ราก, ต้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ใช้เกลื่อนหัวริดสีดวงทวาร

ผล มีรสเปรี้ยวขื่นร้อน แก้โรคเยื่อตาอักเสบ เคี้ยวกลืนน้ำ แก้ไอ

ต้น มีรสขื่นร้อน ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news