banner ad

เขยตาย

| November 11, 2014

เขยตาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Glycosmis pentaphylla(Retz.) DC.
ชื่ออื่นๆ เขยตายแม่ยายชักปรก ลูกเขยตาย ต้นชมชื่น ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ หญ้ายาง น้ำเข้า โรคน้ำเข้า (ใต้) กะรอกน้ำข้าว ละรอก กะรอกน้ำ(ชลบุรี) ส้มชื่น ศรีชมชื่น น้ำข้าวต้น พิษนาคราช พุทธรักษา(สุโขทัย) ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ) มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์)

ชื่อวงศ์ Rutaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-6 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้น ใบออกดกทึบ

ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมวงรี ออกตรงข้าม หรือกึ่งตรงข้าม กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงกลม โคนสอบเรียว ใบด้านบนๆจะมีสีแดงที่ฐาน ขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ลำต้นเป็นเหลี่ยม

ดอกช่อเชิงลดแยกแขนง ยาว 10-30 เซนติเมตร ออกดกทึบ ดอกเล็กสีขาว ดอกย่อยเป็นกระจุกละ 12-15 ดอก ออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ขนาด 4-5 x 2-2.5 มิลลิเมตร ผิวมีต่อมเป็นจุด รูปไข่กลับ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็กๆหลายอัน มีต่อมซึ่งปลายเป็นร่อง ก้านชูดอกสั้นมาก เกสรตัวเมียเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรตัวผู้เป็นแท่ง รังไข่ขนาดกว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร รูปไข่ เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 2-3 มิลลิเมตร

ผลสดรูปทรงกลมขนาดเล็ก กว้าง 1-1.2 เซนติเมตร ยาว 1-1.8 เซนติเมตร ผิวเรียบ สีเขียวทึบ เมื่อสุกเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน มีเมล็ดเดียว ลักษณะกลม เป็นลาย พบตามป่าโปร่งทั่วไป ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ติดผลราวเดือนมีนาคม

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ชำกิ่ง ตอนกิ่ง

สรรพคุณ
ตำรายาไทย รากรสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม ฝนน้ำกินและทาแก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย ทาแผลที่อักเสบ แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิดเปลือกต้นรสเมาร้อน แก้ฝีภายนอกและภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้เนื้อไม้กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนมดอกและผลรสเมาร้อน ทารักษาหิดไม่ระบุส่วนที่ใช้กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม
ประเทศบังคลาเทศใช้ น้ำคั้นจากใบผสมน้ำตาล กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ แก้โรคตับ ใบบดผสมกับขิง รักษาผิวหนังอักเสบ ตุ่มพุพอง หรือคันแสบรากใช้ลดไข้

 

Story board ที่มาของชื่อ “ลูกเขยตายแม่ยายปรก” มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยที่บ้านเมืองยังไม่มีความเจริญทางด้านรักษาพยาบาล อย่างปัจจุบัน มีแม่ยายกับลูกเขยในชุมชนห่างไกลแห่งหนึ่ง ต้องเข้าป่าลึกไปหาของป่า ก่อนกลับลูกเขยถูกงูมีพิษร้ายกัดจนถึงแก่ความตายแม่ ยายพยายามแบกศพลูกเขยกลับบ้าน แต่ก็ทำได้ด้วยความยากลำบาก จึงลากศพไปซุกไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ พร้อมกับหักกิ่งไม้มาปกคลุมไว้ เพราะเกรงว่าสัตว์ป่าจะมาแทะกิน จากนั้นนางกึ่งวิ่งกึ่งเดินกลับไปตามญาติ พี่น้อง เพื่อนำศพลูกเขยกลับมาทำพิธีที่บ้าน เมื่อมาถึงบ้าน ปรากฏว่า ลูกเขยมานั่งรออยู่แล้ว แม่ยายตกใจมาก นึกว่าผีหลอกตอน กลางวัน ลูกเขยเล่าว่า ตนฟื้นขึ้นมา ร่างกายเต็มไปด้วยใบไม้ชนิดหนึ่ง เข้าใจว่าใบไม้นี้มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรพลิกฟื้นชีวิต แต่ก็ยังไม่มีการปักใจเชื่อ กระทั่งมีคนในหมู่บ้านเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกัน คนในหมู่บ้านจึงเรียกพืชชนิดที่รักษาพิษร้ายของงูว่า “ลูกเขยตายแม่ยายปรก”

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news