banner ad

เตยหอม

| November 27, 2012 | 0 Comments

เตยหอม

ชื่ออื่นๆ : พังลั้ง ปาหนัน หวานข้าวไหม้ ปาแนะวองิง

ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE

ชื่อสามัญ : Pandanus, Fragrant, Screw – pine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odorus Ridl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มจำพวกหญ้า สูงประมาณ 2 ฟุตแตกแยกเป็นกอที่เกิดจากหัวหรือเหง้าใต้ดิน ส่วนที่โผล่เหนือดินมีเพียงก้านและใบ ใบเรียวยาวปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบคล้ายใบสับปะรดมีสีเขียวเป็นมัน และมีกลิ่นหอมคล้ายดอกขจร ออกดอกเป็นช่อตั้ง ไม่มีก้านดอกย่อย ออกดอกยาก


การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ใบสดตำคั้นเอาน้ำจะได้น้ำสีเขียวมาผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม เช่นลอดช่อง ขนมชั้น สาลี่ เค้ก ขนมเปียกปูน หรือใช้ในรูปของใบชาชงกับน้ำร้อน หรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยใช้ดื่มเป็นประจำ บำรุงหัวใจ ทางยา

การขยายพันธุ์ : ปักชำ

การปลูกและการดูแล : นำลำต้นหรือกิ่งแขนงที่แยกจากต้นแม่โดยชำในดินที่ลุ่มน้ำ เช่น ริมดินสวน ถ้าชำในที่ดินแห้งต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา ชอบที่ร่มรำไร แต่ก็ทนแสงแดดได้ดี

สรรพคุณ : ใบ มีรสเย็นสบาย เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น ใช้ผสมอาหารหรือขนมให้น่า รับประทาน (สีเขียว) และมีกลิ่นหอม

ต้นและราก ใช้เป็นยาแก้กษัยน้ำเบาพิการ หรือเป็นยาขับปัสสาวะ และถ้านำมาต้ม กับเนื้อไม้สัก หรือใบไม้สักแล้วกินน้ำมัน จะช่วยแก้โรคเบาหวาน

อื่นๆ นอกจากใบเตยจะให้สีน่ารับประทานแล้ว ยังมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน เรียกว่า Fragrant Screw Pine ทำให้อาหารที่ใส่น้ำใบเตยมีรสหอมเย็นชื่นใจ

 

Tags: , , , , ,

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ด-น, เครื่องดื่ม

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news