banner ad

กะหล่ำปลี

| October 17, 2013

กะหล่ำปลี

ชื่ออื่นๆ : -

ชื่อวงศ์ : Cruciferae

ชื่อสามัญ : Cabbage

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. var. capitata L.

1.พันธุ์ กะหล่ำปลีมีหลายพันธุ์ ทั้งรูปหัวกลม หัวแป้น รูปหัวใจ สีเขียว สีขาว สีม่วง ถ้าแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว คือพันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยว 90-120 วัน พันธุ์กลางอายุ 80-90 วัน และพันธุ์เบามีอายุ 60-70 วัน เมืองไทยพันธุ์เบาปลูกได้ผลดีเพราะไม่ต้องการอากาศหนาวมากนัก พันธุ์เบาที่ปลูกได้ผลดีคือ พันธุ์ โคเปนเฮเก็น ,พันธุ์เออร์ลี่ เจอซีเวคฟิลล์, พันธุ์เออร์เลียนา


2. การเตรียมดิน ไถตากดินประมาณ 7 วัน ตากดินให้แห้งใส่ปุ๋ยคอก ประมาณ 3-4 ตันต่อไร่ ไถพรวนคลุกเคล้าให้ทั่ว โดยการพรวน และชักร่องด้วยรถแทรคเตอร์ ขุดหลุมปลูกระยะ 30 x30 หรือ 40 x40 ตามพันธุ์ที่ปลูกถ้าเป็นพันธุ์หนัก หัวใหญ่ ก็ปลูกห่าง ถ้าเป็นพันธุ์เบาหัวเล็กก็ปลูกถี่หน่อย

3. การเพาะกล้า ทำการเพาะกล้าในถาดหลุม 105 หลุม ราคา 100 บาท หรือเพาะบนร่องที่มีการไถดิน  ใส่ปุ๋ยคอก พรวนดิน ชักร่องให้หน้าดินเรียบ คลุกเมล็ดด้วยสารไอโพไดโอน หรือเมทาแลคซิล+คาร์โบซัลแฟน ชนิดคลุกเมล็ด หว่าน อย่าให้ถี่ หรือห่างมาก คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้สม่ำเสมอ หมั่นตรวจเรื่องโรค และแมลง รบกวน จนอายุประมาณ 30 วัน ก็ย้ายกล้าลงปลูกได้

4. วิธีการปลูก เมื่อเตรียมขุดหลุมตามระยะที่ต้องการแล้ว รดน้ำให้ชุ่ม และก่อนถอนกล้ามาปลูกควรรดน้ำในแปลงกล้าไว้ก่อนประมาณ 30 นาที เพื่อให้กล้าชุ่มน้ำจะได้ไม่แห้งเหี่ยวง่าย และควรปลูกตอนเย็นหลังบ่าย 4 โมงเย็นแล้ว หลังปลูกควรรดน้ำให้ชุ่ม

5. การให้น้ำ ควรให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ หรือรดน้ำแบบลากสายยางรดด้วยฝักบัว และควรให้อย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะเข้าปลี เมื่อเข้าปลีแล้วควรลดปริมาณให้น้ำให้น้อยลงหน่อย

6. การใส่ปุ๋ย?ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 เมื่อายุ 15 วัน หลังปลูกอัตราประมาณ 1 ช้อนชาต่อหลุม หรือต่อต้น และเมื่อายุ 30 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-8-8 หรือใส่ปุ๋ยคอก 1 กำมือต่อต้น แล้วพรวนดินกลบ และควรพ่นสารอาหารเสริมทางใบด้วย เช่น โบรอน สังกะสี

7. โรคที่สำคัญ ที่พบในการปลูกกะหล่ำปลี ได้แก่ โรคเน่า โรคใบจุด โรคใบไหม้ โรคไส้ดำ และโรคเน่าดำ แก้ไขด้วยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด แมนโดเซป คาร์เบนดาซิม ไดเมทโทม็อบ และโบรอน สังกะสี

โรคเน่าเละ อาการเริ่มแรกแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ ต่อมาขยายลุกลามทำให้แผลเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลไหม้ เนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลง มีเมือกเยิ้มออกมา และมีกลิ่นเหม็นฉุน

การป้องกันกำจัด

1. ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ และโรงเก็บให้สะอาด

2. หลีกเลี่ยงไม่ทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชเกิดแผล เพราะเชื้อจะเข้าทำลายพืชทางแผล

3. เมื่อเริ่มพบโรครีบขุดต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก

4. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคด้วยการนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก

5. ไถกลบเศษพืชผักทันทีที่เก็บเกี่ยวแล้ว และทำการตากดิน แล้วไถกลบอีกครั้ง

6. ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น

โรครากบวม

เชื้อสาเหตุ : รา Plasmodiophora brassicae Woromin

ชีววิทยาของเชื้อ : ราชนิดนี้เป็นสาเหตุของโรครากบวมของพืชตระกูลกระหล่ำ จัดเป็นราเมือกไม่สร้าง เส้นใย แต่สร้าง vegetative structure มีลักษณะเป็น plasmodium แพร่พันธุ์โดย zoospore ที่มี flagella 2 เส้น หรือมีลักษณะเป็น amoeboid cell ที่ไม่มีผนังเซลล์ (cell wall) มีแต่เยื่อหุ้มเซลล์

ลักษณะอาการ : ราเข้าทำลายส่วนของต้นหรือรากที่อยู่ใต้พื้นดิน ทำให้สังเกตอาการค่อนข้างยาก จนกระทั่งอาการรุนแรงแล้วจึงปรากฏให้เห็นอาการส่วนต้นด้านบน ใบแสดงอาการเหลืองเหี่ยวเฉาใน ตอนกลางวันที่อากาศร้อน ถ้าราเข้าทำลายรากในต้นอ่อนหรือระยะกล้าจะทำให้ต้นพืชตาย สำหรับต้น ที่โตพ้นระยะกล้าจะแสดงอาการเหลือง เหี่ยวเฉา แคระแกร็นหยุดการเจริญเติบโต ถ้าอาการรุนแรงมาก เมื่อถอนต้นขึ้นมาจะพบว่าส่วนรากมีอาการบวมเป็นก้อนคล้ายกระบอง เนื่องจากว่าราไปกระตุ้นให้เซลล์ พืชมีขนาดใหญ่ (hypertrophy) และแบ่งตัวมากกว่าปกติ

การแพร่ระบาด : ราสามารถดำรงชีวิตอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน งอกได้ดีที่อุณหภูมิ 18-25 องศา เซลเซียส และเข้าทำลายพืชได้ดีที่อุณหภูมิ 12-27 องศาเซลเซียส

การป้องกันกำจัด :

1. กำจัดวัชพืชหรือพืชตระกูลกะหล่ำให้หมดจากแปลงปลูกหลังเก็บเกี่ยว

2. อบดินในแปลงเพาะกล้าด้วยเมททิลโบร์ไมด์ หรือหว่านด้วยดาโซเมท

3. จัดการแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี อย่าให้น้ำขัง

4. ควรปรับความเป็นกรด-ด่างของดิน ให้มีสภาพด่างเล็กน้อยหรือ pH ประมาณ 7.2 โดยการเติม ปูนขาว 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ ควรทำอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ก่อนการปลูกพืช

8. แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ และหนอนคืบ ควรพ่นด้วยสารเคมี ไดโดรโตฟอส อะบาเม็กติน B.T โพรไดโอฟอส โพรฟิโนฟอส

การบินโตรนในกะหล่ำปลีที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ราคาไร่ละ 200 บาท ค่าแรงพ่นสารเคมีแบบสูบโยกสะพายหลัง 15 ลิตร ถังละ 50 ถ้าเป็น ถัง 200 ลิตร 500 บาทแบบฉีดลากสาย การพ่นต้องบินเหนือยอดกะหล่ำปลี 3 เมตร แต่ถ้าหากมีการปลูกพริกในร่องกะหล่ำปลีต้องบินสูงมากกว่านั้นเนื่องจากลมใบพัดอาจทำให้ยอดพริกหักได้ ยาที่ไม่ควรใช้ในกะหล่ำปลีกับโดรนคือ คาร์โบซัลแฟน  อีมาเม็กตินเบนโซเอท ทำให้ขอบใบกะหล่ำปลีไหม้

9. การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูกว่าพันธุ์หนักหรือพันธุ์เบา โดยหัวที่จะทำการเก็บเกี่ยวคือหัวที่แน่น และขนาดพอเหมาะ ตัดแต่งให้สวย บรรจุถุง หรือเข่ง รอส่งขายตลาด

Category: พืชผัก, พืชผัก ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news