banner ad

กล้วย

| November 23, 2012 | 0 Comments

กล้วย

กล้วยเป็นพืชอาหารของโลกที่มีปลูกอยู่มากกว่า 135 ประเทศทั้งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน จากข้อมูลทางสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO Stat, 2014) ปี 2555 ทั่วโลกมีพื้นที่เก็บเกี่ยวกล้วยประมาณ 31 ล้านไร่ ผลผลิตกล้วยประมาณ 96 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 7.69 แสนล้านบาท แนวโน้มการผลิตตั้งแต่ปี 2550-2555 พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวกล้วย ผลผลิตกล้วย และมูลค่าผลผลิตกล้วยของโลก มีอัตราเพิ่มขึ้น ประมาณ 1.19, 0.54 และ 2.49 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยแหล่งผลิตกล้วยส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชียคิดเป็น 42.3 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาอยู่ในทวีปแอฟริกา อเมริกา ออสเตรเลียโอเซียเนีย และยุโรป คิดเป็น 31.4, 24.1, 1.9 และ 0.4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ประเทศผู้ผลิตหลัก ได้แก่ อินเดีย บราซิล ฟิลิปปินส์ แทนนซาเนีย จีน เอกวาดอร์ บรุนดี ไทย อูกันดา แองโกลา อินโดนีเซีย เป็นต้น

ชื่ออื่นๆ : กล้วยมะลิอ่อง กล้วยใต้ กล้วยตาปีอ่อง

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ชื่อสามัญ : Banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa spientum Linn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินอายุหลายปี เป็นลำต้นปลอมรูปทรงกระบอก เกิดจากกาบใบห่อหุ้มซ้อนกัน ใบออกเรียงสลับ รูปขอบขนานขนาดใหญ่ ขอบเรียบ เส้นกลางใบแข็ง เส้นใบมีจำนวนมากโดยออกจากเส้นกลางใบทั้งสองข้าง ขนานกันไปจรดขอบใบ ก้านใบยาวด้านล่างกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนโคนแผ่เป็นกาบ ดอกออกเป็นช่อห้อยบงด้านช่อดอกแข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้และเพศเมีย เมื่ออยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยอยู่เป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับขนาดใหญ่สีม่วงแดง ติดบนแกนกลางช่อดอกเรียงเวียนสลับกัน ดอกย่อยรูปทรงกระบอก กลีบดอกแยก 3-5 แฉก ผลสดรูปทรงกระบอกหรือสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี มีเปลือกหนา เมื่อสุกมีรสหวานรับประทานได้

การขยายพันธุ์ : โดยการแยกหน่อหรือแยกเหง้า

การเลือกซื้อหน่อพันธุ์กล้วย (น้ำว้า, ไข่ และหอมทอง)
1.เป็นหน่อที่ได้จากแปลงผลิตพันธุ์ดี และตรงตามพันธุ์ มีการจัดการตามมาตรฐาน GAP
2.หน่อเป็นลักษณะหน่อใบแคบ (หน่อใบดาบ) หน่อมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงไม่ปรากฏอาการของการขาดธาตุอาหาร หรือการทำลายของโรคและแมลง
3.อายุหน่อไม่เกิน 3-4 เดือน เส้นผ่าศูนย์กลางโคนหน่อระหว่าง 8-12 เซนติเมตร ความสูงไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร พร้อมปลูกได้ทันที
4.ต้องมีป้ายตามมาตรฐานติดกับหน่อพันธุ์หรือภาชนะบรรจุ สามารถตรวจสอบได้

การปลูกและการดูแล : เตรียมดินโดยกำจัดวัชพืชให้หมดตากดินไว้ 5-7 วัน จากนั้นขุดหลุมให้กว้างยาวและลึกด้านละ 50 ซม. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกคลุกเคล้าดินรองก้นหลุม วางหน่อกล้วยลงกลางหลุมให้ยอดสูงกว่าระดับดินประมาณ 5 นิ้ว ส่วนตาจะอยู่ลึกประมาณ 1 ฟุต กลบดินให้เต็มหลุมและเหยียบให้แน่น การดูแล หมั่นพรวนดินกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยให้ตกผลเร็ว ลำต้นอวบแข็งแรงผลโต

————————————————————————————–

การให้ปุ๋ย : การใส่ปุ๋ยเพื่อการเจริญทางลำต้น 3 ส่วนคือครั้งแรกหลังปลูก 1-2 เดือน ครั้ง 2 หลังปลูก 3-4 เดือน ครั้ง 3 หลังปลูก 5-6 เดือนและครั้งสุดท้ายระยะการให้ผลผลิตคือประมาณ 7 เดือนหลังปลูก การเจริญเติบโตทางลำต้นจะใช้ 70-75% ของปริมาณธาตุอาหาร และระยะการให้ผลผลิตจะใช้ 25-30% ของปริมาณธาตุอาหาร

- การปลูกในวัสดุเพาะ : กล้วยไข่ต้องการธาตุไนโตรเจนไม่น้อยกว่า 60 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 15 กรัม/ต้นและโพแทสเซียม 190 กรัม/ต้น

- การปลูกบนดิน : กล้วยไข่ต้องการไนโตรเจน 85 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 50 กรัม/ต้นและโพแทสเซียม 270 กรัม/ต้น

——————————————————————————————-

การให้น้ำ : การให้น้ำของกล้วยไข่โดยใช้สูตร= K Epan Area

โดย K =สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของกล้วยไข่ (= 1 ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย) Epan = ค่าระเหยน้ำจากถาดระเหย class A-plan โดยทั่วไปการระเหยของน้ำจะอยู่ในช่วงเฉลี่ย 3.5-6 มิลลิเมตร/วัน Area= พื้นที่ดินใต้ทรงพุ่มกล้วย(3.14 0.25 0.25 ตารางเมตร)

 

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ก. ด้วงงวงเจาะเหง้ากล้วย ตัวหนอนเจาะกัดกินไชชอนอยู่ในเหง้ากล้วย ซึ่งโดยมากกินอยู่ใต้ระดับดินโคนต้น ซึ่งไม่สามารถมองเห็นการทำลายหรือร่องรอยได้ชัด การทำลายของหนอนทำให้ระบบการส่งน้ำ และอาหารจากพื้นดินขึ้นไปเลี้ยงลำต้นขาดตอนชะงักไป เมื่อเป็นมากๆ หรือแม้มีหนอนเพียง 5 ตัวในเหง้าหนึ่งๆ เท่านั้น ก็สามารถไชชอนทำให้กล้วยตายได้ หากมีแมลงติดไปกับหน่อกล้วยที่ปลูกใหม่ก็จะทำให้หน่อใหม่ตายก่อนที่จะให้เครือ ด้วงงวงเจาะต้นกล้วย ตัวเต็มวัยวางไข่ตามบริเวณกาบกล้วย ส่วนของลำต้นที่เหนือพื้นดินขึ้นไปจนถึงประมาณกลางต้น ตัวหนอนค่อยๆ เจาะกัดกินเข้าไปทีละน้อยจนถึงไส้กลางของต้น มองเห็นข้างนอกรอบต้นเป็นรูพรุนทั่วไป ทำให้ต้นกล้วยตาย หากเข้าทำลายในระยะใกล้ออกปลีจนถึงตกเครือ จะทำให้เครือหักพับกลางต้น หรือเหี่ยวเฉายืนต้นตาย

การป้องกันกำจัด

1. รักษาความสะอาดของแปลงปลูก กำจัดเศษและวัสดุต้นกล้วยที่อยู่ในแปลงปลูก ถ้าเป็นต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้วให้ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ วางกระจายให้รอยตัดหงายขึ้น เพื่อให้แห้งเร็ว ไม่เป็นที่หลบซ่อนและแหล่งอาหารของตัวเต็มวัย

2. หน่อกล้วยที่ใช้ปลูกต้องปราศจากแมลง ถ้าหากไม่แน่ใจให้จุ่มใน คลอร์ไพริฟอส 4๐% อีซี อัตรา 4๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร การขุดหน่อกล้วยต้องนำออกจากแปลงปลูกในทันที ห้ามทิ้งคาหลุมไว้ หรือทิ้งไว้ในแปลงข้ามคืนเพื่อป้องกันการวางไข่ เมื่อขุดหน่อหรือตัดต้นแล้ว ควรจะใช้ดินกลบด้วยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเข้าวางไข่ในต้นหรือเหง้าเดิมตรงรอบแผล

3. การใช้กับดักเพื่อป้องกันและลดความความเสียหาย โดยใช้ต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้ว นำมาตัดเป็นท่อนยาว 3๐ เซนติเมตร แล้วผ่าครึ่งตามยาว นำต้นกล้วยนั้นไปวางคว่ำให้รอยผ่าหันลงดินในบริเวณใกล้โคนต้นกล้วย วางในสวน กับดักละ 1 ท่อน แต่ละกับดักห่างกัน 1๐ เมตร เพื่อล่อตัวเต็มวัยให้เข้ามาในกับดัก แล้วหมั่นตรวจจับตัวเต็มวัยที่มาหลบซ่อนใต้ท่อนกล้วยนั้นมาทำลาย และควรเปลี่ยนท่อนกล้วยที่ใช้เป็นกับดักบ่อยๆ เพราะว่าท่อนกล้วยเก่าจะเหี่ยว ประสิทธิภาพการล่อจะลดลง

4. ใช้สารฆ่าแมลง คลอร์ไพริฟอส 4๐% อีซี อัตรา 4๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 1๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร ราดโคนต้นกล้วยสูงจากพื้นดิน 3๐ เซนติเมตร และรอบโคนต้น รัศมี 3๐ เซนติเมตร โดยรอบ วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเข้าวางไข่ของตัวเต็มวัย ขณะเดียวกันจะช่วยกำจัดหนอนและตัวเต็มวัยที่หลบซ่อนโคนต้นกล้วยได้

ข. หนอนม้วนใบกล้วย หนอนวัยแรกจะกัดกินอยู่ใต้ใบ โดยเริ่มจากขอบใบก่อน และขยายเป็นแถบกว้างเพื่อใช้ม้วนห่อตัว เมื่อหนอนโตขึ้น การม้วนใบมีลักษณะเป็นหลอดยาวและใหญ่ขึ้นตามตัว ระยะหนอน 23-25 วัน เข้าดักแด้ภายในหลอดประมาณ 1๐ วัน และเป็นผีเสื้อ ใบกล้วยที่ถูกหนอนกัดกินมาทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากใบกล้วยได้ การป้องกันกำจัด เก็บทำลายตัวหนอนม้วนใบที่พบตามใบกล้วย

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ก. โรคใบจุดเฟโอเซปทอเรียเริ่มแรกพบจุดขนาดเล็ก สีน้ำตาลดำ ต่อมาขยายเป็นแผลรูปยาวรี เมื่อความชื้นเหมาะสมแผลตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ขอบแผลเป็นแถบสีน้ำตาลเข้มและรอบแผลเป็นสีเหลือง

ข. โรคใบจุดซิกาโตกาสีเหลือง

เริ่มแรกพบจุดขนาดเล็ก สีเหลือง ต่อมาขยายใหญ่ เป็นขีดสีเหลืองยาวขนานไปตามเส้นใบ จากนั้นจะใหญ่ขึ้น ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาลปนเทา แผลคล้ายรูปตา มีวงสีเหลืองล้อมรอบ เมื่ออาการรุนแรงใบจะเหลือง ขอบใบแห้งและฉีกขาด ทำให้กล้วยมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การออกดอกและผลไม่ปกติ ผลไม่สมบูรณ์ มีขนาดเล็ก แก่ก่อนกำหนด

การป้องกันกำจัด

1. ตัดแต่งใบกล้วยในแต่ละต้น หรือแต่ละกอไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดความชื้นในกอกล้วย ที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือสะสมโรค
2. ตรวจแปลงกล้วยอย่างสม่ำเสมอ หากพบใบกล้วยมีอาการโรค ให้รีบตัดใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช คาร์เบนดาซิม 5o% เอสซี อัตรา 3o มิลลิลิตร ต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ โพรคลอราซ 5o% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 3๐ กรัมต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล 43% เอสซี อัตรา 3o มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ ไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 3๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ แมนโคเซบ 8o % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 3๐ กรัมต่อน้ำ 2๐ ลิตร โดยพ่นให้ทั่วต้นที่เป็นโรค

ค. โรคตายพราย หรือ โรคปานามา หรือโรคเหี่ยว ใบกล้วยบริเวณใบล่างหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเฉา ต่อมาใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้น ใบที่หักพับจะเหี่ยวแห้ง ต้นกล้วยจะชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด **โรคนี้สามารถระบาดไปทางดิน ดังนั้นต้นที่อยู่ในบริเวณนั้นจะถูกเชื้อสาเหตุโรคนี้ทำลายหมด

การป้องกันกำจัด

1. ควรเลือกแปลงปลูกที่ดินไม่เป็นกรดจัด หรือ ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ และแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี

2. คัดเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีโรคตายพรายระบาดมาก่อน หรือไม่นำหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูกขยาย และใช้หน่อพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ

3. หมั่นตรวจแปลงกล้วยอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการใบเหี่ยวเฉา ให้ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช อีไตรไดอะโซล+ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 3๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม 5o% เอสซี อัตรา 3o มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล 43 % เอสซี อัตรา 3o มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร ราดบริเวณโคนต้นหรือกอกล้วยที่เป็นโรค หรือขุดต้นที่เป็นโรคออก แล้วโรยด้วยปูนขาวให้ทั่วบริเวณกอที่เป็นโรคประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม

4. หากอาการโรคเกิดขึ้นรุนแรงจนใบเหลืองและเหี่ยวตายทั้งต้น ให้ขุดต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกพื้นที่ปลูก แล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไป

5. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

 

- โรคโคนหวีเน่า จุ่มด้วยสารเคมี โปรคลอราซและ อิมาซาริส หรือใช้ potassium sorbate 500 ml/g จุ่มนาน 5นาที

- การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ใช้ hot water treatment(HWT) โดยจุ่มในน้ำร้อน ที่ 50 องศาเซลเซียสแล้วจุ่มในน้ำที่ 25 องศาเซลเซียส 30 นาที ช่วย

- การใช้ cinnamon oil 0.3-0.4% สามารถชะลอการเกิดโรคแอนแทรคโนสของกล้วย

—————————————————————————————

 

การใช้ฮอร์โมน : การทำให้ต้นกล้วยเตี้ยลงใช้สารพาโคลบิวทราโซลอัตรา 30-90 ppm. ช่วยลดความสูงได้ 38-50% และสารยูนิโคลนาโซลอัตรา 3-9 ppm. ลดความสูงได้ 31-32% กับกล้ากล้วยที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหลังลงปลูก 4 สัปดาห์ โดยอัตราความเข้มข้นสูงจะลดความสูงกล้วยได้ดีกว่าอัตราความเข้มข้นต่ำ

————————————————————————————–

การนำไปใช้ประโยชน์

- ทางอาหาร ไส้ในกล้วยที่ยังไม่ออกเครือ (หยวกกล้วย) ใช้แกงส้ม แกงกะทิ กินสดๆ หรือต้มกินกับขนมจีน ลูกดิบนำมาแกงป่า แกงกะทิ ผลสุกกินเป็นผลไม้ ทำขนม หัวปลีกินสดหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ผัดหัวปลี ผลกล้วยดิบแกง ใส่ปลาหลดปลาไหล
- ทางยา ยางสมานแผลห้ามเลือด ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้เป็นโรคริดสีดวงทวาร หัวปลีแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด

 

สรรพคุณ

- ราก แก้โรคขัดเบา

- ใบ รักษาบาดแผลสุนัขกัด

- ผล บำรุงเลือดเนื้อ ทำให้อุจาระถ่ายสะดวก แก้บิดมุกเลือด

- หัวปลี แก้ร้อนใน โรคโลหิตจาง บำรุงน้ำนม

 

GAP กล้วย

 

บทสรุปผู้บริหารกล้วยไข่

 

by : Satja Prasongsap
Research Scientist
Horticultural Research Institute

Category: VDO, พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ก-ณ

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news