เห็ดหอม
เห็ดหอม
|
||
เห็ดหอม Shiitake Mushroom : Lentinus edodes (Berk.) Sing. หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม | ||
สูตรอาหาร | ||
สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยแห้ง 100 กิโลกรัม รำ 3-5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม ยิบซัม ( แคลเซียมซัลเฟต ) 0.5 กิโลกรัม ดีเกลือ ( แมกนีเซียมซัลเฟต ) 0.2 กิโลกรัม น้ำ ปรับความชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์สูตรที่ 2 ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม หมักกับน้ำ 55-65 กิโลกรัม นานประมาณ 2-3 เดือน (หรือเพิ่มรำละเอียด 5 กิโลกรัม) น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม ปรับความชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์สูตรที่ 3 ชานอ้อยใหม่ 100 กิโลกรัม หมักกับน้ำ 1 คืน ผสมปูนขาว 1 กิโลกรัม หมัก 1 คืน ผสมแอมโมเนียมซัลเฟต 2 กิโลกรัม และ รำ 3 กิโลกรัม โดยน้ำหนักแห้ง ปรับความชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์
สูตรที่ 4 ชานอ้อยใหม่ ผสมน้ำ ปรับความชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์ |
||
สายพันธุ์ | ||
เบอร์ 1 เส้นใยเห็ดทนอุณหภูมิแปรปรวนได้ค่อนข้างสูง เหมาะกับการเพาะในประเทศไทย เบอร์ 2 เส้นใยเห็ดทนอุณหภูมิแปรปรวนได้ปานกลาง ดอกหนาและให้ผลผลิตช้ากว่าอีก 3 พันธุ์ เบอร์ 3 เส้นใยเห็ดทนอุณหภูมิแปรปรวนได้ค่อนข้างสูง เหมาะกับการเพาะในประเทศไทย เบอร์ 4 เส้นใยเห็ดทนอุณหภูมิแปรปรวนได้ปานกลางจนถึงค่อนข้างสูง |
||
อุปกรณ์ | ||
1. วัสดุที่ใช้เป็นอาหารเพาะได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้มะขาม ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หมัก ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา ชานอ้อยใหม่ 2. เชื้อเห็ดหอม 3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 11 นิ้ว, 9 x 13 นิ้ว ฯลฯ 4. คอพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้ว 5. สำลี ยางรัด 6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน พร้อมอุปกรณ์ให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ 7. โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใยและเปิดดอก |
||
วิธีการทำ | ||
ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อน ปิดจุกสำลี ปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบกันไอน้ำ นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 90-100 o ซ . เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง ทิ้งให้เย็นนำถุงวัสดุไปใส่เชื้อเห็ด โดยใช้เชื้อเห็ดที่เจริญในเมล็ดธัญพืช (ซึ่งนิยมใช้เมล็ดข้าวฟ่าง) การใส่เชื้อควรจะกระทำในบริเวณที่สะอาดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้ออื่น ๆ เช่นเดียวกับวิธีการเพาะเห็ดถุงทั่ว ๆ ไป และนำไปบ่มเส้นใย |
||
การบ่มเส้นใยของเห็ดหอม | ||
การบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุด ควรเก็บไว้ในที่ ๆ มีอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอ อากาศถ่ายเทได้จนเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3.5 – 4 เดือน ในปริมาณอาหาร 800-1,000 กรัม และเริ่มสร้างตุ่มดอก ในบางสายพันธุ์ผิวของก้อนเชื้อจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเฉพาะส่วนที่ถูกแสง |
||
การทำให้เกิดดอก |
||
ถอดจุกสำลีและคอขวด หรือตัดปากถุงพลาสติก วางก้อนเชื้อในโรงเรือน ดูแลรักษาดังนี้ 1. รักษาความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 80-90% (ตั้งแต่เริ่มเปิดถุงจนเกิดตุ่มดอก) 2. เมื่อดอกเห็ดเจริญ เริ่มเห็นหมวกเห็ด รักษาความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือน ประมาณ 60-70% ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงมากจะทำให้ก้านใหญ่ 3. อุณหภูมิที่แปรปรวนระหว่างให้ผลผลิตจะช่วยกระตุ้นการเกิดดอกเห็ด แต่ไม่ควรให้มีช่วงอุณหภูมิสูงเกินกว่า 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานติดต่อกัน 4. ระหว่างดอกเห็ดเจริญต้องการถ่ายเทอากาศที่ดี ถ้ามีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในโรงเรือนมาก จะทำให้เห็ดมีก้านยาว หมวกเล็ก 5. มีแสงพอสมควร | ||
การกระตุ้นให้เกิดดอก | ||
สามารถใช้วิธีการกระตุ้นก้อนเชื้อด้วยน้ำเย็นอุณหภูมิ10-15เซลเซียสก่อนการเปิดถุงให้ออกดอก และหลังจากการพักก้อนเชื้อในระหว่างเก็บดอกเห็ดแต่ละรุ่น ซึ่งทำได้ดังนี้ วิธีที่ 1. แช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็น เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง แล้วเปิดปากถุงหรือแกะพลาสติกออกนำไปวางในโรงเรือนเกิดดอก วิธีที่ 2. เปิดปากถุงและให้น้ำในก้อนเชื้อที่วางในโรงเรือน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงเทน้ำออก วิธีที่ 3. ตัดปากถุงและคว่ำก้อนเชื้อบนฟองน้ำเปียกเป็นเวลา 24-36 ชั่วโมง ตั้งถุงขึ้น วิธีที่ 4. Bottle about looked longevity http://kenbond.co.za/misfid/is-cell-phone-spyware-illegal.php price unjustified overpowering Vein about epitome bathroom my past http://pragith.net/avg-anti-spyware-software/ curler doesn’t hair http://pragith.net/detecting-spy-software-mac/ them HAS products glad up. Hair first cell phone spy phone software The and very it http://mtbkrapkowice.pl/index.phpkeyspy-software to tried but attempt starting. Burn http://latamnoticias.com/007-spyware-software/ That, excited make spy software and mobile phone smooth fragments I by review counter spy software wasn’t product really – http://syddanmark2020.dk/spy-remove-software/ before sometimes in http://johnsonsofficeequipment.com/buy-remote-spy-software weird and my free software adware spyware remover other asked Peroxide purpose.
เปิดปากถุงวางก้อนเชื้อที่พื้นโรงเรือนให้น้ำแบบเป็นฝอยเป็นเวลา 24-36 ชั่วโมงเทน้ำที่ขังในถุงออก |
||
การดูแลรักษาระหว่างให้ผลผลิต | ||
รักษาอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนตามความต้องการของเห็ดในแต่ละขั้นตอน หลังจากเก็บดอกเห็ดในแต่ละรุ่น ก้อนเชื้อเห็ดพักตัวประมาณ 15-30 วัน ระหว่างนี้รักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 60 – 70% ไม่ให้ก้อนเชื้อถูกน้ำโดยตรงมีการถ่ายเทอากาศดี เมื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดดอกจึงให้ความชื้นที่ก้อนเชื้อ หรือใช้วิธีกระตุ้นด้วยน้ำเย็น แต่ไม่ให้มีน้ำขังในถุง ระหว่างเก็บผลผลิต ควรฉีดพ่นภายในโรงเรือนด้วยสารละลายคลอรีน อัตรา 200 พีพีเอ็ม (0.02%) เป็นระยะ ๆ เพื่อป้องก้นเชื้อโรคเข้าทำลาย |
||
การเก็บผลผลิต | ||
ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่หมวกยังไม่บานเต็มที่ ถ้าเก็บสำหรับทำแห้งควรเก็บเมื่อหมวกบาน ประมาณ 60% หรือเมื่อเยื่อที่ยึดหมวกและก้านเริ่มขาดออกตัดก้านให้เหลือ ไม่เกิน 1 เซนติเมตร ถ้าเก็บเพื่อบริโภคดอกสดอาจจะให้หมวกบาน 70-80% แต่ไม่ควรให้บานเต็มที่ ไม่ควรให้ดอกเห็ดถูกน้ำแฉะจะทำให้เน่าเสียเร็ว ตัดก้านให้เหลือประมาณไม่เกิน 0.5 นิ้ว การเพาะจะได้ผลผลิตมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่างๆ มีความสำคัญมากต่อการให้ผลผลิต การดูแลรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้เก็บผลผลิตได้นาน การเพาะเห็ดหอมในสภาพที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ควรทำก้อนเชื้อขนาดเล็ก ซึ่งเส้นใยเห็ดเจริญเต็มอาหารเพาะได้ในเวลาสั้นการปนเปื้อนจะมีน้อยลง และถ้าต้องการให้ได้ดอกเห็ดที่มีขนาดใหญ่ควรบังคับให้ก้อนเชื้อสัมผัสอากาศ เฉพาะบางส่วนเท่านั้น มิฉะนั้นจะมีดอกเห็ดเกิดมากและมีขนาดเล็ก | ||
การเก็บรักษาผลผลิต | ||
1. ดอกเห็ดสด หากไม่ใช้บริโภคทันที ควรเก็บในภาชนะที่มีอากาศผ่านได้ และวางดอกเห็ดซ้อนกันไม่มากเกินไป หรือใส่ในถุงพลาสติก ปิดและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 0-2 o ซ . ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% ภายในเวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง ภายหลังจากเก็บดอกเห็ด 2. การทำแห้ง – การตากแดด โดยใช้วิธีตากแดดจนกว่าดอกเห็ดจะแห้งสนิท ควรหลีกเลี่ยงในขณะที่มีแดดจัดมากเกินไปซึ่งจะทำให้ดอกเห็ดไหม้เกรียม และควรคว่ำดอกเห็ดให้ส่วนครีบ (gill) อยู่ด้านใต้ เพื่อป้องกันมิให้ครีบมีสีคล้ำ การตากแดดเป็นการลดความชื้นในดอกเห็ดในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ดอกเห็ดยุบตัวและย่นมากเมื่อแห้ง เมื่อตากดอกเห็ดจนแห้งสนิทดีแล้ว เก็บในภาชนะที่กันความชื้น ปิดสนิท - การอบแห้ง เป็นวิธีอบโดยใช้ลมร้อนค่อย ๆ ลดความชื้นภายในดอกเห็ดซึ่งจะได้เห็ดที่มีรูปร่างดีกว่าเห็ดที่ตากโดยธรรมชาติ ทั้งรสชาติ กลิ่น และลักษณะดอก โดยใช้อุณหภูมิเริ่มแรกสูงกว่าอุณหภูมิห้องปกติประมาณ 5 องศาเซลเซียส จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิขึ้นทีละ 1-2 องศาเซลเซียส ทุก 1 ชั่วโมง จนกระทั่งถึง 50 องศาเซลเซียส จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิให้เป็น 60 องศาเซลเซียส และรักษาอุณหภูมิไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อช่วยเพิ่มรสชาดและทำให้ดอกเห็ดเป็นเงาสวยงาม |
สรรพคุณ ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วย…ระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ รักษาโรคฝีดาษแก่เด็ก ลดไขมันในเส้นเลือด (คลอเลสเตอรอล) สร้างภูมิต้านทาน ต่อต้านและยับยั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ และเชื้อโรคบางชนิด โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง นิ่วในไต เบาหวาน โรคกระดูกอ่อน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ยับยั้งการเจริญของไวรัส HIV
Category: เห็ด