banner ad

เห็ดหูหนู

| June 7, 2013 | 0 Comments
เห็ดหูหนู
การเพาะเห็ดหูหนู
เห็ดหูหนู เกิดขึ้นได้ดีในสภาพธรรมชาติที่มีอากาศร้อนชื้น จะพบเห็ดหูหนูเกิดขึ้นเองได้ตามขอนไม้ทั่วไปในช่วงฤดูฝน เราสามารถคัดเลือกพันธุ์เห็ดหูหนูที่เกิดขึ้นในสภาพธรรมชาติแล้วพัฒนาปรับปรุงเป็นพันธุ์การค้าได้ ในปัจจุบันนิยมเพาะเห็ดหูหนูลงในถุงอาหารขี้เลื่อยซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
วัสดุและอุปกรณ์
1. อาหารขี้เลื่อย 2. เชื้อเห็ดหูหนู 3. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 11 นิ้ว หรือ 9 x 13 นิ้ว 4. คอพลาสติกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.5 นิ้ว , ฝาครอบพลาสติก 5. สำลี ยางรัด 6. หม้อนึ่งไม่อัดความดัน 7. โรงเรือนบ่มก้อนเชื้อเห็ด โรงเรือนเปิดดอก 8. เครื่องฉีดน้ำแบบพ่นฝอย
การเตรียมอาหารเพาะ
สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด ( ใหม่ ) 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 60 -65 กิโลกรัม สูตรที่ 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1-2 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม * ขี้เลื่อยหมักน้ำผสมแอมโมเนียมซัลเฟตและปูนขาว เป็นเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน ผสมรำละเอียด 5 กิโลกรัม ผสมน้ำให้มีความชื้น 60 -65 เปอร์เซ็นต์
วิธีการเพาะ
1. บรรจุอาหารขี้เลื่อยลงในถุงพลาสติกทนความร้อน กดให้แน่น ตึงสูงประมาณ 2/3 ของถุง 2. รวบปากถุงพลาสติกบีบอากาศออก สวมคอพลาสติก แล้วพับปากถุงพาดลง รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้มด้วยกระดาษ หรือ ปิดด้วยฝาครอบ 3. นำถุงอาหารขี้เลื่อยนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถังนึ่งไม่อัดความดันด้วยความร้อนอุณหภูมิ 90 – 100 เซลเซียส เป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง หลังจากน้ำเดือดแล้ว 4. ถุงอาหารขี้เลื่อยที่เย็นลง แล้วใส่เชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง ลงถุงละ 10 – 15 เมล็ด โดยเปิดและปิดจุกสำลีอย่างรวดเร็ว ปฎิบัติในที่สะอาดมิดชิด 5. นำถุงอาหารขี้เลื่อยที่ใส่เชื้อเห็ดแล้ว บ่มไว้ในห้องพักหรือโรงเรือนบ่มก้อนเชื้อเห็ดให้เกิดเส้นใยเห็ด โดยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (ซึ่งอุณหภูมิ ประมาณ 25 – 32 เซลเซียส ) เส้นใยเห็ดหูหนู เจริญได้ดี ไม่ว่าจะมี หรือไม่มีแสงสว่าง ไม่ต้องให้น้ำที่ก้อนเชื้อ เมื่อเส้นใยเจริญเต็มถุง และสีขาวของเส้นใยจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีลักษณะเป็นวุ้น
โรงเรือนเปิดดอก
ขนาดของโรงเรือนเปิดดอก ถุงเห็ดหูหนูควรมีขนาดที่สัมพันธ์กับจำนวนก้อนเชื้อ เพื่อรักษาความชื้น การถ่ายเทอากาศได้พอเหมาะ ภายในโรงเรือนเปิดดอกต้องสะอาดมีแสงสว่างเพียงพอที่จะทำให้เห็ดเกิดดอกได้ดี
การวางถุง / เปิดดอก
การวางถุงก้อนเชื้อเห็ดหูหนู นิยมแบบแขวนโดยเปิดฝาครอบออก ถอดจุกสำลีคอพลาสติกออกแล้วรวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดคมกรีดข้างถุงในลักษณะเฉียงลง ยาวประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร โดยรอบประมาณ 10-20 แนว วางก้อนเชื้อเห็ดหอมบนแป้นพลาสติก ซึ่งร้อยด้วยเชือกพลาสติก เรียงซ้อนเป็นชั้น หรือผูกเชือกกับปากถุงร้อยเรียงกันได้ประมาณ 10 ก้อน แล้วนำแขวนกับราว
การปฏิบัติดูแลรักษา
การรดน้ำ ควรให้น้ำแบบเป็นฝอย จำนวนครั้งในการให้น้ำขึ้นกับความชื้นในบรรยากาศ ถ้าอากาศแห้ง ร้อน ต้องเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น ไม่ควรให้น้ำขังในก้อนเชื้อ โดยเห็ดหูหนูต้องการความชื้นในโรงเรือนค่อนข้างสูง ประมาณ 80 – 95 เปอร์เซ็นต์
การเก็บผลผลิต
ดอกเห็ดหูหนูที่เกิดระยะแรก ขอบดอกจะหนา สีดอกเข้มมีสีม่วงน้ำตาล ขนมาก เมื่อเจริญเต็มที่ขอบของดอกจะบาง สีดอกจะจางลง เก็บโดยรวบดอกแล้วดึงเบาๆ ผลผลิตเห็ดได้ประมาณ 300 – 600 กรัม ขนาดถุงน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ใช้เวลาเก็บประมาณ 2 – 3 เดือน

สรรพคุณ สร้างภูมิต้านทานร่างกาย ป้องกันโรคเลือดอุดตัน ช่วยบำรุงกระเพาะ สมอง หัวใจ ปอด และตับ อาการเส้นโลหิตฝอยแตก ช่วยการไหลเวียนของโลหิต กระตุ้นการทำงานของเลือดให้เป็นปกติ บรรเทาอาการเจ็บปวด และการปวดฟัน บรรเทาอาการตกเลือด ริดสีดวง บรรเทาอาการเป็นตะคริว อาการบิด ยับยั้งเนื้อร้ายหรือมะเร็ง

Category: เห็ด

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news