banner ad

กุหลาบ

| December 13, 2024

กุหลาบ

ชื่อสามัญ : Rose
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rosa hybrids

ลักษณะพฤกษศาสตร์

1. ราก เป็นรากแขนงถ้าเป็นต้นที่ปลูกจากเมล็ดอาจมีรากแก้วแต่ขนาดจะไม่ใหญ่
2. ลำต้น มีทั้งต้นตั้งตรง หรือเลื้อยสีเขียวมีทั้งลำต้นแบบที่มีหนามและไม่มีหนาม
3. ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกรูปรีหรือรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักร ยอดอ่อนมีสีแดง แต่ละใบอาจประกอบด้วยใบย่อย 3-9 ใบ
3. ดอก เป็น ดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์
4. ผล เป็นผลกลุ่มประกอบด้วยผลย่อยขนาด เล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นทรงกลมสีแดง ดำ และมีผลยาว และผลมีหนาม และไม่มีหนาม เมื่อผลแก่จะ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีส้ม เหลือง หรือน้ำตาล

แบ่งกุหลาบออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กุหลาบดอกใหญ่ หรือกุหลาบก้านยาวเป็นกุหลาบ Hybrid tea ได้รับความนิยมมากในประเทศสหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์เม๊กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว ฝรั่งเศส และ อิตาลี
2. กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง เป็นกุหลาบ Hybrid Tea มีความยาวก้านระหว่าง 40- 60 ซม. อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี
3. กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น มีความยาวก้าน 30-50 เซนติเมตร เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และใช้งานมากในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมันนีและ เนเธอร์แลนด์
4. กุหลาบดอกช่อ เป็นกุหลาบชนิดใหม่ มี4-5 ดอกต่อหนึ่งช่อ ผลผลิตรวม 120-160 ดอกต่อตารางเมตร ความยาวก้านอยู่ระหว่าง 40-70 ซม.
5. กุหลาบหนูมีต้นขนาดเล็กหรือแคระตามธรรมชาติ

พันธุ์กุหลาบที่แบ่งตามสี

- พันธุ์ดอกสีแดง เช่น ดัลลัส เรดแวลเวต แกรนกาล่า ฮอลแลนด์
- พันธุ์ดอกสีชมพู เช่น ซิลเดอเรลา เปอร์เซีย พริ้นสดรีม เลดี้พิงค์
- พันธุ์ดอกสีขาว เช่น ไว้ทโนเบลส ซูเพลส โจซิฟิน มิสฮอลแลนด์

ก. Glow กุหลาบสองสีแดงเหลืองที่ให้ผลผลิตคงที่ ตลอดทั้งปี ดอกใหญ่ และบานดอกสวยงาม ในฤดูร้อนจะมีกานดอกสั้น แต่จะมีก้านดอกยาวในฤดูหนาว
ข. Pascal ดอกสีแดง ให้ผลผลิตสูง และมีความยาวก้านดี ในสภาพอากาศอบอุ่นและหนาวเย็น ในฤดูหนาวสีจะไม่คล้ำ ดอกทรงสูง สีแดง
ค. Nightingale ดอกสีม่วงให้ผลผลิตสูง ปลูกง่าย ขนาดดอกใหญ่ สีดอกอ่อนกว่าพันธุ์ Cool ่ Water! แต่ให้ผลผลิตมากกว่า
ง. Formula One ดอกสีขาว ดอกใหญ่ โดยที่ในช่วงอากาศร้อนดอกยังมีขนาดใหญ่ มีก้านดอกยาว และแข็งแรง มีหนามน้อย ทนต่อโรคราแป้ง
จ. Marathon ดอกสีขาวบริสุทธ์ บานสวยงามเป็นเงา สะดุดตา ทนต่อไรแดงได้ดี
ฉ. Miss Holland ดอกสีขาวให้ผลผลิตสูง ก้านดอกยาว ปลูกง่าย ไมมีหนาม ทนโรคราแป้ง
ช. Big Apple ดอกสีเหลืองอ่อนสวยงาม ในฤดูร้อนและในเดือนที่มีแสงน้อย จะมีสีค่อนข้างเขียว เป็นกุหลาบที่มีขนาดดอกใหญ่ จํานวนกลีบมาก กลีบไม่หนา อ่อนแอต่อโรคดอกเน่า
ซ. Baby Love ดอกสีมพูมีสองสี คือด้านนอกสีชมพูอ่อนด้านในสีชมพูเข้ม มีขนาดดอกใหญ่ ในช่วงฤดูร้อน มีอายุปักแจกันดี และทนโรคราแป้งได้ดี อ่อนแอต่อโรคราน้ำค้าง
ฌ. Cherry-O ดอกสีชมพูเข้ม ตรงกลางดอกมีสีอ่อนสะดุดตามเมื่อบาน มีกลีบดอกใหญ่ บานอยางช้าๆ มีหนามปานกลาง เป็นพันธุ์ที่ง่ายในการจัดการ
ญ. Dali ดอกสีชมพูเข้ม ต้นแข็งแรงมาก ให้ผลผลิตสูง ดอกบานสวยงาม มีอายุปักแจกันยาวนาน 18 วัน

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การติดตา การต่อกิ่ง การตัดชำ การทำ stenting การตอน และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การตัดแต่งกิ่ง การตัดเพื่อตัดกิ่งเก่าออก เป็นการตัดแต่งกิ่งที่แห้งและตาย การตัดแต่งเพื่อเอากิ่งที่เป็นส่วนเกินออก ตัดแต่งกิ่ง ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ไม่เหมาะสม หรือตัดกิ่งที่เกิดขึ้นแน่นเกินไป ตัดกิ่งที่ก่อให้เกิดการสะสมของโรค หรือทำให้กิ่งที่ทำให้การพ่นสารเคมีไม่ทั่วถึง การตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค เป็นแผล และกิ่งที่ผิดปกติออก ตัดแต่งเพื่อเอากิ่ง ที่ถูกโรค แมลงเข้าทำลาย หรือกิ่งที่แสดงลักษณะที่ผิดปกติออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดต่อไป การตัด แต่งเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต และการออกดอก เป็นการตัดแต่งกุหลาบเพื่อควบคุมทรงต้น

1.  การตัดต่ำ hard pruning เป็นการตัดกิ่งออกโดยให้เหลือตาจาก โคนต้นประมาณ 3-4 ตา การตัดวิธีนี้ ควรทำในต้นกุหลาบที่เพิ่งปลูกใหม่ กุหลาบพุ่มที่มีการเจริญเติบโตเป็นต้น เดี่ยวโดดเด่น ที่ใช้สำหรับการจัดงาน แสดงต่าง ๆ หรือเป็นการตัดแต่งเพื่อ ต้องการทำสาวต้นกุหลาบ ไม่นิยมทำ กับกุหลาบประเภท floribunda
2. การตัดระดับกลาง Moderate pruning เป็นการตัดกิ่งที่ต้องการ ตัดออกครึ่งหนึ่งของความยาวเดิม ถ้าเป็นกุหลาบที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี จะสามารถให้ดอกที่มีคุณภาพดี
3. การตัดสูง Light pruning เป็นการตัดกิ่งที่อยู่บนสุดออกประมาณ 2-3 ตา หลังจากตัดกิ่งที่ไม่ต้องการออกแล้ว  จะมีลักษณะของกิ่ง เรียวยาว ออกดอกเร็ว

ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด
1. โรคใบจุดสีดำ เชื้อสาเหตุ Diplocarpon rosae เกิดที่ใบและมีจุดวงกลมสีดำทีผิว ด้านบนของใบ ส่วนใหญ่เกิดที่ใบล่างก่อนหากเป็นติดต่อกันนานจะทำให้ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง การป้องกันหลีกเลี่ยงการนำต้นพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูก นำกิ่งที่เป็นโรค ไปเผาทำลาย และฉีดพ่น สารเคมีป้องกันเชื้อรา
2. โรคราน้ำค้าง เชื้อสาเหตุ Peronospora sparsa เข้าทำลายทุกส่วนของต้น ส่วนที่ถูกทำลายจะเป็นจุดสีน้ำตาลไหม้ คล้ายใบจุดสีดำ แผลส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ใบที่เป็นแผลจะร่วงอย่างรวดเร็ว ซึ่งคล้ายกับโรคใบจุด การป้องกัน รักษาความชื้นให้ต่ำโดย การระบายอากาศ หรือควบคุม ความชื้นไม่ให้เกิน 85% เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราในช่วงฤดูฝน
3. โรคราแป้ง เชื้อสาเหตุ Spherotheca panosa ผิวใบด้านบนจะแสดงลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และมีสีแดงต่อมาจะเห็นเป็นแผลสีขาวคลุมอยู่ทั่วบริเวณใบจะหงิกเสียรูป การป้องกัน ลดความชื้นในตอนกลางคืน โดย ใช้พัดลม หรือการระบายอากาศ หรือโดยให้ความร้อนและระบายอากาศ หรือใช้สารเคมีป้องกันราแป้งทุก 7 วัน หรือใช้กำมะถันผงละลายน้ำฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็น กำจัดใบหรือส่วนที่เป็นโรคออกและเผาทำลาย
4. โรคราสีเทา เชื้อสาเหตุ Botrytis cinera เข้าทำลายดอกทำให้ดอกตูมเป็นจุดสีน้ำตาล จากนั้นจะเน่าหรือแห้งไป สามารถเกิดกับดอกที่แย้มบานแล ะอ าจเน่าได้พบการระบาดในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว การระบาดของเชื้อแพร่ระบาดโดยสปอร์ของเชื้อราจะปลิวไป ตามลม
5. เพลี้ยไฟพริก เพลี้ยไฟหลากสี ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงดังนี้ สารสไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10-20 มล./น้ำ 20 ลิตร สารไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร
6. หนอนเจาะสมอฝ้าย ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงดังนี้ สารสไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร สารคลอแรนทรานิลิ โพรล/ไทอะมีทอกแซม 20/20% WG อัตรา 5 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร สารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารลูเฟนนูรอน อัตรา 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารไบเฟนทริน 2.5% EC อัตรา 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร
7. แมลงหวี่ขาวยาสูบ ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงดังนี้ สารไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารไดโนทีฟูแรน อัตรา 15 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารบูโพรเฟซิน 40% SC อัตรา 25 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารสไปโรเตตระแมท อัตรา 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารไบเฟนทริน 2.5% EC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร
8. ด้วงกุหลาบ ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงคาร์บาริล  85%WP อัตรา 40 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร
9. หนอนกระทู้หอม
10. เพลี้ยอ่อน
12. เพลี้ยหอย
13. ไรแมงมุมคันซาวา  ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงดังนี้ สารไพริดาเบน 20% WP อัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สารเฟนบูทาทินออกไซด 55% SC อัตรา 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร สารเฟนไพรอกซิเมต 5% SC 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร

การเก็บเกี่ยว
การตัดดอก จะตัดเมื่อดอกตูมและกลีบรองดอกยังติดอยู่กับตัวดอก หรือกลีบรองดอกกำลังเริ่มแยกตัวออก หรือบางพันธุ์ตัดเมื่อเห็นกลีบดอกเริ่มแย้ม หากตัดดอกที่อ่อนเกินไปดอกจะไม่บาน ในฤดูร้อนควรตัดดอกในระยที่ตูมมากกว่าเนื่องจากดอกจะบานเร็วกว่า เวลาที่ตัดดอกควรจะเป็นตอนเช้าเพราะมีอากาศเย็น ซึ่งจะทำให้ดอกไม่เหี่ยวง่ายและต้องตัดด้วยกรรไกรที่คม สะอาดโดยการตัดดอกต้องให้เหลือใบที่มี ใบย่อย 5 ใบติดอยูที่โคนกิ่ง 1 ใบ

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
1. เมื่อตัดดอกออกจากต้นแล้วนำดอกกุหลาบไปแช่ในถังน้ำที่มีสารเพื่อยืดอายุการปักแจกัน
2. โรงคัดบรรจุควรติดตั้งระบบปรับอากาศให้มีอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส เพื่อลดอัตราการหายใจ และการคายน้ำระหว่างการคัดเกรดดอกกุหลาบ
3. มาตรฐานความยาวก้านของก้านดอก 30, 40, 50, 60 และ 70 เซนติเมตร การคัดเกรดดอกกุหลาบ คือ ความแข็งแรงของก้าน คุณภาพของใบและก้าน คุณภาพของดอก
4.การเข้ากำ ในการมัดกุหลาบเข้ากำจะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เช่น กำละ 10, 20, 25 และ 50 ดอก ในการห่อดอกควรเรียงให้หน้าดอกเสมอกันและตัดปลายก้านดอกให้เท่ากัน ป้องกันการกระแทกระหว่างการขนส่ง ดอกที่เข้ากำแล้วให้แช่ก้านดอกในสารละลายที่ประกอบด้วยน้ำตาล 3 กิโลกรัม กรดซิตริค 30 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ความสูงของสารละลายในถังสูงประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำบรรจุลงกล่อง
5. การบรรจุกล่องดอกไม้ส่งไปต่างประเทศมีขนาด0.4 x 1.0 x 0.3 เมตรกว้าง x ยาว x สูง ประมาณ 250-400 ดอก ถ้าขนส่งระยะไกลควรบรรจุลงในกล่องกระดาษลูกฟูก รองพื้นกล่องด้วยพลาสติกโพลีเฟกซ์ซี่งเป็นพลาสติกที่ให้อากาศและความชื้นผ่านเข้าออกได้พร้อมบรรจุวัสดุดูดเอทธิลีนที่กุหลาบปล่อยออกมา
6. การขนส่ง ในเวลา2 ชั่วโมง มักวางมัดห่อดอกเป็นชั้น ๆในรถบรรทุกและมีแผ่นไม้ป้องกันการ กดทับ ส่วนการขนส่งที่ในระยะไกลควรบรรจุกุหลาบลงกล่องและใช้รถขนส่งที่เป็นรถที่มีระบบทำความเย็น

การตลาด

1. ขายแบบเกรดรวม รายได้ 146,000 -367,500 บาท/ไร่/ปี (ดอกละ0.80 -3 บาท) รายได้สุทธิ 37,000 -293,010 บาท/ไร่/ 2 ปี
2. ขายแบบแยกเกรด รายได้ 385,785 บาท/ไร่/ปี รายได้สุทธิ 330,360 บาท/ไร่/ 2 ปี

ต้นทุนการผลิตกุหลาบ: 139,500 – 277,390 บาท/ไร่  ผลผลิต : 122,500 – 164,250 ดอก/ไร่/ปี 1 ไร่ ปลูก 3,000 – 3,500 ต้น

เกณฑ์การปรับปรุงพันธุ์
1. ดอกใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกตูม 2.5-4 ซม. และดอกบาน 7-10 ซม.ขึ้นไป
2. ทรงดอกดีการจัดเรียงของกลีบดอกสวยงาม ดอกสมดุลกับกัานและใบ
3. มีจํานวนกลีบ 35 กลีบขึ้นไป
4. มีกลิ่นหอม
5. มีหนามน้อย
6. มีผลผลิตสูง
7. มีความยาวกาน 80 ซม.ขึ้นไป
8. ทนทานและต้านทานต่อโรคที่สําคัญ เช่น โรคใบจุด โรคราแป้ง และโรคราน้ำค้างฯลฯ
9. ระยะเวลาตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงออกดอกส้้น

Category: พืชไม้ดอก, พืชไม้ดอก ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news