banner ad

สารไตรคอนทานอล

| August 14, 2024

สารไตรคอนทานอล

สารไตรคอนทานอล Triacontanol พบได้ที่ไขบริเวณชั้นผิวเคลือบคิวทินเนื้อเยื่อพืช มีการพบครั้งแรกในใบต้นอัลฟัลฟา ช่วยเพิ่มผลผลิตแตงกวา มะเขือเทศ แรดิช ผักกาดหอม และเพิ่มน้ำหนักแห้งข้าว ข้าวโพด ในการให้สารนี้ทำให้เกิดการสังเคราะห์แสงเพิ่มมากขึ้น ช่วยในการดูดซืมธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม ช่วยเพิ่มความสูง จำนวนใบต่อต้น

1. การเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด : ข้าวโพด ใช้อัตรา 35 ppm แช่เมล็ดเป็นเวลา 6 ชั่วโมง,  แตงกวา ใช้อัตรา 35 ไมโครโมล แช่เมล็ดเป็นเวลา 12 ชั่วโมง,  เรพซีด ใช้อัตรา 2.5% แช่เมล็ดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

2. การเพิ่มน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง : มะเขือเทศ พ่นสารอัตรา 1 ppm หลังจากย้ายปลูก 6 และ 8 สัปดาห์, ถั่วแปบ พ่นสาร 10-6 M  หลังจากหว่าน 120 วัน, โกฐจุฬาลัมพา พ่นสาร 1.5 ppm บนใบทุก 10 วัน หลังปลูก 30 วัน, ผักชี  ชุมเห็ดเทศ โหระพา พ่นสาร 10-6 M หลังปลูก 30 วัน

3. การชักนำให้เกิดยอด : เสจ ใช้อัตรา 10 μg L-1 เลี้ยงชิ้นส่วนยอดในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS,  สะระแหน่ ใช้อัตรา 5 μg L-1 เลี้ยงชิ้นส่วนยอดในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS, พริกขี้หนูใช้อัตรา 2 μg L-1 เลี้ยงชิ้นส่วนยอดในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS

4. การชักนำให้เกิดโซมาติกเอมบริโอ กาแฟใช้อัตรา 11.38 μM เลี้ยงใบเลี้ยงในอาหารสูตร MS

5. การเพิ่มจำนวนดอก กล้วยไม้สกุลหวายพ่นสารอัตรา 1 ppm ที่ใบทุก 4 และ 8 สัปดาห์, เพื่องฟ้าพ่นสารอัตรา 2.5 ppm 2 ครั้งต่อสัปดาห์จนมีการพัฒนาตาดอก ช่วยพัฒนาตาดอก, แพนซีพ่นสารอัตรา 25 ppm ที่อายุ 20 และ 35 วัน, สตรอว์เบอร์รี่พ่นสารอัตรา 150 ppm

6. การเพิ่มความยาวก้านดอก : กุหลาบพ่นสารอัตรา 150 ppm จำนวน 3 ครั้ง (ทุก 10 วันหลังปลูก 3 สัปดาห์)

7. การยืดอายุการปักแจกัน :  กล้วยไม้สกุลหวาย พ่นสารอัตรา 1 ppm ที่ใบทุก 4 และ 8 สัปดาห์

8. การเพิ่มจำนวนผล : สตรอว์เบอร์รี่พ่นสารอัตรา 10 μM จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 :ระยะ 3-4 ใบ ครั้งที่ 2 : 15 หลังจากครั้งที่ 1. พริกพ่นสารอัตรา 5 ppm จำนวน 3 ครั้ง( 46 82 และ 157 วันหลังการย้ายปลูก), มะม่วงพ่นสารอัตรา 5 ppm ที่ใบเมื่อเริ่มสร้างช่อดอก, งาพ่นสารอัตรา 2 ppm ที่ใบก่อนออกดอก

9. การเพิ่มความทนทานต่อสภาพความเค็ม : ถั่วเหลืองพ่นสารอัตรา 10 mM  ที่ใบทุก 2 วันหลังจากงอก 10 วันเป็นระยะเวลา 20 วัน, ทานตะวันพ่นสารอัตรา 100 μM ที่ใบ 3 ระยะ ได้แก่ ในระยะต้นกล้า ในระยะออกดอก และในระยะต้นกกล้ารวมกับการออกดอก, มิ้นท์พ่นสารอัตรา 10-6 μM ที่ใบจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน15 วัน โดยให้ครั้งแรกหลังจากย้ายปลูก 60 วัน

10. การเพิ่มความทนทานต่อความแล้ง : ข้าวสาลีแช่เมล็ดในสารละลาย 4 ชั่วโมงอัตรา 5 ppm  ถั่วฝักยาวแช่เมล็ดในสารละลาย 24 ชั่วโมงอัตรา 0.6 ppm  ข้าวใช้อัตรา 5  และ 10 μM เติมลงในสารละลาย PEG 20 เปอร์เซ็นต์

11. การเพิ่มความทนทานต่อโลหะหนักที่ทำให้พืชการเจริญเติบโตช้าลง ข้าวโพดใช้อัตรา 35 ppm แช่เมล็ดก่อนปลูกหรือพ่นสารที่ใบ , ผักพ่นอัตรา 5,  10 และ 20  μM ในระยะที่มี 3 ใบ เรพซีดใช้อัตรา 10 และ 20  μM เติมลงในสารละลาย Hoagland’s เมื่อต้นกล้าอายุ 21 วัน, สะระแหน่ญี่ปุ่นอัตรา 1  μM พ่นสารที่ใบห่างกัน 15 วัน โดยให้ครั้งแรกหลังจากย้ายปลูก 60 วัน

Category: สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช, สารเคมี

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news