อินทผาลัม
อินทผาลัม
ชื่อสามัญ Date palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix dactylifera L.
สกุล Phoenix
พื้นที่ปลูก 6,295 ไร่ ได้แก่
ภาคตะวันออก 260 ไร่ เช่น ปราจีนบุรี 56 ไร่ ระยอง 58 ไร่
ภาคอีสาน 1,826 ไร่ เช่น สุรีนทร์ 132 ไร่ ชัยภูมิ 281 ไร่ โคราช 244 ไร่ ภาคตะวันตก 1,800 ไร่
ภาคใต้ 180 ไร่ เช่น นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา 25 ไร่
ภาคกลาง 2.500 ไร่ เช่น ลพบุรี 135 ไร่ กาญจนบุรี 720 ไร่ นครปฐม 200 ไร่ ประจวบครีรขันธ์ 200 ไร่ สมุทรสาคร 180 ไร่ สุพรรณบุรี 160 ไร่
ภาคเหนือ 1,300 ไร่ นครสวรรค์ 235 ไร่ พิษณุโลก 112 ไร่ เชียงใหม่ 141 ไร่ เพชรบูรณ์ 188 ไร่ ฯลฯ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา ลักษณะเป็นต้นเดี่ยว และแตกหน่อ ลำต้นสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 0.3-0.5 เมตร มีกาบก้านใบห่อหุ้มต้นช่อดอกจะออกจากโคนใบ มีใบบนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ก้านทางใบมีหนามแหลมยาว ยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ยาวประมาณ 6 เมตร ทางใบชี้ตรงขึ้นไป ไม่โค้งลง ปลายใบแหลมคม สีเขียวอ่อน ใต้ ใบสีเทา ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง (นิรนาม, 2549) ผลสีขาวนวล รูปทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นช่อ รสหวานฉ่่ำทานได้ทั้งผลดิบและสุก ผลสีเหลืองจนถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสี น้้ำตาลถึงน้้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด
พันธุ์ เช่น พันธุ์ฮายานีของอียิปต์ พันธุ์เด็คเล็ตนัวร์ของแอลจีเรีย พันธุ์อเบอร์ฮาจจ์ของอิรัก พันธุ์อาบิดราฮิมของซูดาน พันธุ์อาเบลของลิเบีย Barhee, Deglet Noor, Medjool , Thoory ทางเหนือปลูกพันธุ์ KL 1 (Maejo 36) บริโภคสด ส่วนพันธุ์ Deglet Nour และ Medjun บริโภคผลแห้ง
การขยายพันธุ์ ได้แก่ การเพาะเม็ด การแยกหน่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การแยกหน่อ เพิ่มความสำเร็จในการแยกหน่อโดยการตอนหน่ออินทผลัมก่อนแยกลงปลูกในแปลง ควรเลือกหน่อผิวดินบริเวณโคนต้นจะออกรากง่ายกว่าหน่อบนต้น เส้นรอบวง 60-90 เซนติเมตร ตัดกาบใบออกให้เกือบถึงเนื้อไม้ และพ่นโคนหน่อด้วยสาร iba ความเข้มข้น 1,000 หรือ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร แล้วหุ้มด้วยขุยมะพร้าวเปียกและห่อด้วยพลาสติกใสมัดด้านนอกด้วยเชือก ทำให้หน่อออกรากเป็นจำนวนมาก ตัดหน่อจากต้นแม่หลังจากตอน 6 เดือน สามารถเพิ่มการรอดชีวิตได้
การปลูกและดูแลรักษา ระยะปลูก: 8 x 8 เมตร 9 x 9 เมตร 10×10 และ 10 x 8 เมตร
การเพิ่มเปอร์เซ็นต์การติดผลของอินทผลัม ช่อเกสรตัวผู้จะแทงออกก่อนช่อเกสรตัวเมีย 2 – 3 สัปดาห์ การถ่ายละอองเกสรเพื่อให้มีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากกว่า 80% ทำได้โดยการถ่ายละอองเกสรด้วยมือบนช่อดอกเพศเมียในระยะที่กาบช่อดอกเริ่มแตกและหลังจากกาบช่อดอกแตก 2 วัน แต่ไม่ควรเกิน 4 วัน เนื่องจากทำให้เปอร์เซ็นต์การติดผลน้อยลง และหากมีจำนวนช่อดอกเพศเมียอยู่ในระยะที่เหมาะสมพร้อมกัน สามารถดำเนินการถ่ายละอองเกสรได้ทุกช่วงเวลาในวันดังกล่าว ในกรณีที่เกษตรกรมีละอองเกสรปริมาณจำกัด สามารถนำละอองเกสรปริมาณ 0.5 กรัม (ครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ปกติ) มาผสมกับแป้ง Talc 0.5 กรัม หรือสารละลายซูโครส 20% ก่อนถ่ายละอองเกสรตามปกติ
อินทผลัมเริ่มออกดอกประมาณเดือนมกราคม ต้นหนึ่งจะมีช่อดอกประมาณ 5-11 ช่อ และจะทยอยบาน ประมาณปลายเดือนมกราคมเป็นต้นไปทุก 5 วัน จะนำเกสรตัวผู้โดยตัดจากช่อดอกตัวผู้ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้พันธุ์ Khori และ Bahani สามารถเก็บเกสรตัวผู้ไว้ใช้ได้โดยนำช่อดอกไปผึ่งแดดให้น้้ำที่ติด มากับช่อดอกแห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกใส่ถังปิดฝาไว้ เก็บไว้ได้นานหลายเดือน เมื่อผสมเสร็จจะเริ่มติดผล หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ ทะลายที่ติดผลจะค่อยๆ โน้มห้อยลงมาใต้ทางใบทำให้ผลไม่เสียดสีกับหนามเมื่อลมพัด และสะดวกในการเก็บเกี่ยว ผลเริ่มแก่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม บางพันธุ์อาจแก่ก่อนนี้เป็นพันธุ์เบา (เช่น พันธุ์ Battas) เก็บเกี่ยวมากๆ ในเดือนสิงหาคม ระยะตั้งแต่ติดผลจนถึงผลแก่ประมาณ 180 – 200 วัน แต่ละทะลายจะมีผลติดดกประมาณ 6-8 กิโลกรัม
ศัตรูพืช
1. ด้วงแรดมะพร้าว ตัวเต็มวัยเข้าทำลายอินทผลัม ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วคล้ายหางปลาหรือรูปพัด รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อนทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดยอดเน่าจนถึงต้นตายได้ในที่สุด
การป้องกันกำจัด
– ทำความสะอาดบริเวณสวนอินทผลัมเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกควรเกลี่ยให้หนาไม่เกิน 15 เซนติเมตร
– ใช้ราเขียวเมตาไรเซียม สายพันธุ์ DOA-M5 ของกรมวิชาการเกษตร ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่
– ใช้สารเคมีในต้นอินทผลัมที่ไม่สูง ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคออินทผลัม ใช้สารฆ่าแมลงไดอะซินอน (กลุ่ม 1) 60% EC หรือ คาร์โบซัลแฟน (กลุ่ม 1) 20% EC 80 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล (กลุ่ม 1) 85% WP 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สลับกับ อิมิดาคลอพริด (กลุ่ม 4) 70% WG หรือ ไทอะมีทอกแซม (กลุ่ม 4) 25% WG 5-10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคออินทผลัมตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียกเพื่อป้องกันด้วงมาวางไข่ ส่วนอินทผลัมต้นสูง ให้เปลี่ยนเป็นวิธีการฉีดสารเข้าลำต้นด้วยสารอีมาเมกติน เบนโซเอต (กลุ่ม 6) 1.92% EC เข้มข้นโดยไม่ต้องผสมน้ำ 30-50 มล./ต้น โดยใช้สว่านเจาะรูให้เอียงลงประมาณ 45 องศา จำนวน 2 รู ให้ตรงกันข้ามและต่างระดับกันเล็กน้อย เจาะรูลึก 10 ซม. รูอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร แล้วฉีดสารฆ่าแมลงลงไปรูละ 15 มิลลิลิตร ปิดรูด้วยดินน้ำมัน
-ใช้ฟีโรโมนล่อด้วงแรด เอทิล-4-เมทิลออกตะโนเอต
2. ด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงสาคู หรือด้วงลาน ในอินทผลัมด้วงชนิดนี้ชอบเจาะหรือทำลายในลำต้นและทำให้ต้นอินทผลัมตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
– สามารถป้องกันและกำจัดด้วงแรดโดยใช้วิธีเดียวกับวิธีการป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าว
– ใช้น้ำมันเครื่องใช้แล้วหรือชันผสมกับน้ำมันยาง ทาบริเวณแผลโคนต้น หรือลำต้นอินทผลัมเพื่อป้องกันการวางไข่
– ใช้ฟีโรโมนล่อด้วงงวงมะพร้าว 4-เมทิล-5-โนนาโนน
3. โรคราเขม่า หรือ โรครา Glaphiola leaf spot เกิดจากเชื้อรา Glaphiola phoenicis มีการระบาดมากในอินทผลัม ลักษณะของเชื้อราที่ทะลุใบขึ้นมามีลักษณะเหมือนรูปถ้วย มีเส้นใยเล็กๆ สีเหลือง คล้ายเส้นด้ายโผล่ขึ้นมา เพื่อช่วยกระจายสปอร์ออกไป เมื่อกระจายสปอร์ออกไปแล้วเส้นใยเล็ก ๆ จะยุบลงเป็นสีดำ รวมทั้งสามารถสัมผัสได้ด้วยมือ
การป้องกันกำจัด
– ตัดใบล่างที่แสดงอาการของโรคไปเผาบริเวณนอกสวน
– ไม่ควรรดน้ำแบบสปริงเกอร์ เพราะเชื้อราจะกระจายมากขึ้น โดยทำเป็นแบบวงรอบทรงพุ่ม การลดความชื้นจะทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง
– พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ได้แก่ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ไทแรม คลอโรทาโรนิล ไทอะเบนดาโซล อะซอกซีสโตรบิน ไดฟีโนโคนาโซล หรือ แมนโคเซบ
การเก็บเกี่ยวเมื่อผลแก่จะมีสีแดง หรือเหลืองเข้มหรือมีผลสุก 5-10 เปอร์เซ็นต์เกษตรกร จะปีนขึ้นไปโดยใช้เชือกที่ถักแบนๆ โอบรัดไปด้านหลังของเกษตรกรและพันรอบต้น แล้วค่อยๆ ขยับขึ้นไปโดย ใช้เท้าเหยียบไปบนต้นที่มีโคนทางใบที่หลงเหลืออยู่จากการตัด ท าให้ขึ้นได้ง่ายมาก เมื่อตัดแล้ววางลงบน ตะกร้า หย่อนเชือกลงมาด้านล่าง ผู้ที่อยู่ใต้ต้นจะเป็นผู้เก็บกองไว้ ต้นหนึ่งให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กิโลกรัม หรือ 8,000 ลูกต่อปี ทยอยเก็บเกี่ยวได้ตลอด ระยะเวลาออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 7-8 เดือน เมื่อเก็บเกี่ยวผลอินทผลัมที่ผลสุกแก่แล้ว ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 8องศาเซลเซียส เก็บไว้ได้นาน 1 ปีการพัฒนาของผลหลังการผสมเกสร แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะผลดิบ ระยะผลสมบรูณ์เต็มที่ ระยะผลสุกแก่ และระยะผลแห้ง
Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ