banner ad

มะแขว่น

| November 14, 2022

มะแขว่นแต่ละสายพันธุ์ พบความแตกต่างทางสัณฐานในหลายลักษณะของมะแขว่นแต่ละสายพันธุ์ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญพบว่า สายพันธุ์มะแขว่นพื้นบ้าน (KT) มีปริมาณสาร limonene มากที่สุด และ สายพันธุ์สองแคว (น่าน) มีปริมาณสาร 4-terpineal มากที่สุด

การเก็บรักษา

-การเก็บรักษาผลผลิตมะแขว่นหลังอบเป็นระยะเวลา 6 เดือน สีของผลผลิตมะแขว่นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กนอย โดยสวนใหญจะมีสี gray-brown ในทั้ง 2 ระดับอุณหภูมิ การบรรจุในถุงฟอยด์ (Foil bag) สีจะยังคงสภาพได้ใกล้เคียงสี เดิมมากที่สุดและมีปริมาณสารสําคัญ limonene มากที่สุด
-อุณหภูมิในการอบที่ 50-60 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบแห้งผลผลิตมะแขว่นสด การอบด้วยคู้อบประสิทธิภาพสูงที่ 50 องศาเซลเซียส มีปริมาณนํ้ามันหอยระเหยมากที่สุด 6.26 % (v/w) และที่ 60 C มีปริมาณสาร limonene มากที่สุดเทากับ 311.80 การอบด้วยตูอบไฟฟาที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส มีปริมาณสาร 4-terpineol มากที่สุดเท่ากับ 33.26
-การเก็บรักษาผลผลิตมะแขว่นที่อบแห้งแล้วที่ 5 C ในทุกกรรมวิธีผลผลิตจะมีปริมาณนํ้ามันหอมระเหยที่มากกวา การเก็บรักษาที่ 25 C
-การเก็บรักษาในถุงฟอยด์สามารถเก็บรักษาสภาพสีให้คงเดิมได้ดีที่สุด การเก็บในถุงสุญญากาศสามารถรักษา ปริมาณน้ํามันหอมระเหยและรักษาปริมาณ limonene ได้ดีที่สุด
-การใช้ถุงชนิด HDPE เก็บที่อุณหภูมิ 5 C สามารถรักษาปริมาณสาร 4-terpineol ไว้ได้

งานวิจัย

1.ศึกษาวิจัยความหลากหลายและการตรวจวิเคราะห์จำแนกชนิดพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปสกุลมะแขว่น (2559-2562)
2. พันธุกรรมและพฤกษเคมีของมะแขว่นในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
3. การทดสอบเครื่องอบแห้งมะแขว่น

การศึกษามะแขว่นบนพื้นที่สูง
- เปรียบเทียบสายต้นมะแขว่นที่เหมาะสมในการผลิตเชิงการค้าที่คัดเลือกได้ในแหล่งต่างๆ
- เปรียบเทียบการเจริญเติบโตมะแขว่นที่ได้จากการคัดเลือก
- เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและปริมาณสารส าคัญ มะแขว่นที่ได้จากการคัดเลือก

สร้างผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรมจากมะแขว่น

1.จัดหาผลผลิตมะแขว่นที่มีคุณภาพและเหมาะสมในการแปรรูปจัดทําข้อกําหนดเฉพาะของวัตถุดิบมะแขว่น
2.ศึกษารวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากมะแขว่นในภูมิปัญญาทั้งด้าน อาหาร ยา และการใช้ประโยชน์อื่นๆ
3.สกัดสารสําคัญและน้ํามันหอมระเหยจากมะแขว่น และตํารับจากภูมิปัญญา
4.ทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ํามันหอมระเหย และ/หรือสารสกัดจากมะแขว่น และตํารับจากภูมิปัญญา
5.หาอัตราส่วนและส่วนประกอบที่เหมาะสมในการใช้งานในแต่ละผลิตภัณฑ์ 6.พัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะแขว่น (ในกลุ่มเครื่องสําอาง/อาหาร) 7.ประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ในแต่ละรูปแบบตามเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์และศึกษาความคงตัวเบื้องต้น
8.ออกแบบและจัดทําบรรจุภัณฑ์ พร้อมจัดกิจกรรมแนะนําและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์
9.ถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการในเขตภาคเหนือและจัดจําหน่ายในช่องทางต่าง ๆ

Pages: 1 2

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร บ-ม

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news