แก่นตะวัน
แก่นตะวัน
ชื่ออื่นๆ ทานตะวันหัว, แห้วบัวตอง
ชื่อวงศ์ ASTERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus tubcrosus L.
ชื่อสามัญ Jerusalem artichoke or Sunchoke
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก่นตะวันเป็นพืชล้มลุกและมีดอกจัดอยู่ในตระกูลทานตะวัน เพาะปลูกในเขตร้อนได้ดี ลำต้น สูงประมาณ 1.5-2 เมตร มีหัวสะสมอาหาร หัวเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่เรียบ คล้ายหัวของขิง หรือข่าและมันฝรั่ง มีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง สีม่วง รับประทานได้ ใบ จะมีขนตามกิ่งและใบ ผิวใบสาก ใบรีรูปไข่ บางพันธุ์มีขอบใบหยัก ทนทานต่อแมลงได้ดี ดอก เป็นทรงกลมแบน ดอกออกเป็นช่อ มีสีเหลืองสดใสคล้ายกับดอกบัวตองและทานตะวัน แต่จะเล็กกว่ามาก พันธุ์แนะนำคือ พันธุ์แก่นตะวัน # 1
ขยายพันธุ์ โดยการใช้หัวลงปลูก หรือเพาะชำก่อน
ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ หัว
วิธีการปลูก เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี ปลูกได้ทุกฤดู โดยเฉพาะฤดูฝน เริ่มจากการไถดะไถแปร ตากดินไว้ประมาณ 7 วัน ไถชักร่อง หรือยกร่อง ขนาดความกว้าง 120 เมตร ยาวแล้วแต่ความต้องการ ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 1 ตันต่อไร่ คลุกเคล้ากับดินให้เข้ากัน ปรับให้ร่องสม่ำเสมอ น้ำไม่ขัง ขุดหลุมลึกประมาณ 30 ซม. ระยะปลูกประมาณ 50 x 50 -80 ซม. นำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ โดยทำการเพาะจนมีตาอ่อนและสูงประมาณ 5-10 ซม. ลงหลุมปลูกแล้วกลบดิน รดน้ำเช้า-เย็น และทุกวันโดยไม่ให้น้ำขัง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 20 วันครั้งรวม 2 ครั้ง อัตราตามข้อบงใช้ของปุ๋ยแต่ละยี่ห้อ จนอายุ 60 วัน เริ่มอออกดอก และ 120 วัน สามารถเก็บผลผลิตโดยการขุดหัวได้ ผลผลิตหัวสดประมาณ 4,000-6,000 กก./ไร่ สามารถใช้ทั้งหัวและต้นแก่นตะวันหมัก เพื่อผลิตเอทานอลได้ 80-100 ลิตร อายุการเก็บเกี่ยวที่ 120 วัน สามารถปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง
สรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน โรคมะเร็งลำไส้ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ลดน้ำหนัก สร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้อาการท้องเสียท้องผูก ลดกลิ่นปากจากเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันพิษจากโลหะหนัก เช่นตะกั่ว ป้องกันอาการภูมิแพ้ และแพ้อาหารโดยเฉพาะในเด็ก กระตุ้นการดูดซึมธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมและธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังนำหัวไปรับประทานสด ทำขนม ประกอบอาหาร ผลิตก๊าซโซฮอล์ ผลิตเอทนอล และอื่นๆ
พื้นที่ทดสอบ จังหวัดลพบุรี
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ